- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 07 March 2017 17:37
- Hits: 1818
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
โอกาส Fed ขึ้นดอกเบี้ยมีน้ำหนักมากขึ้นในการประชุม 14-15 มี.ค. นี้ ซึ่งกดดันสภาพคล่องโลก และหนุนวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นโลกรอบใหม่ กนง. อาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น ซึ่งจะกดดันหุ้นที่ หนี้สินสูงเช่น ลิสซิ่ง ตรงข้าม ธ.พ. บางแห่งได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น แต่ดอกเบี้ยมิใช่ปัจจัยเดียวที่มีผลต่อกำไร แต่ขึ้นกับการขยายตัวสินเชื่อ จึงยังเลือก SCB(FV@B178) Top pick
(0) ยิ่งใกล้วันประชุม Fed โอกาสขึ้นดอกเบี้ยสูงขึ้น
ยิ่งใกล้วันประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) 14-15 มี.ค. ความคาดหวังของตลาดต่อการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น สะท้อนผลสำรวจ Fed Fund Future ของ Bloomberg พบว่าโอกาสขึ้นดอกเบี้ยขึ้น 96% จาก 94% ในวันก่อนหน้า และในรอบถัดไปตั้งแต่รอบ พ.ค. เป็นต้นโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 96% ทั้งนี้เพราะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังแข็งแกร่ง สะท้อนยอดคำสั่งซื้อสินค้าภาคโรงงาน(Factory Order) เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดอยู่ที่ 1.2%yoy (เพิ่มติดต่อกัน 2 เดือน) สอดคล้องกับภาคครัวเรือน พบว่ายอดขายบ้านใหม่ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน และที่สำคัญ เงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย โดยอยู่ที่ 2.5% เดือน ม.ค. 60 (จาก 2.1% ธ.ค. และ 1.0% พ.ย.59)
ขณะที่ประธานาธิบดีทรัมป์วานนี้ ยังคงเดินหน้ามาตรการห้ามประชาชนประเทศมุสลิมรวม 6 ประเทศเข้าสหรัฐเป็นเวลา 90 วัน อาทิ ลิเบีย, อิหร่าน, โซมาเลีย, ซูดาน และเยเมน (แตกต่างจากคำสั่งเดิมที่ออกตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี 20 ม.ค. มีทั้งหมด 7 ประเทศ โดยครั้งนี้ตัด อิรักออก) ให้มีผลบังคับใช้ 16 มี.ค. และยังคงห้ามมิให้ผู้อพยพเข้าประเทศเป็นเวลา 120 วัน เหมือนเดิม โดยความแตกต่างในคำสั่งใหม่ คือ ไม่รวมผู้ที่มี VISA หรือถือ Green card ขณะที่ประเด็นการกีดกันทางการค้า เชื่อว่ามีโอกาสที่นายทรัมป์จะเลือกกีดกันประเทศที่สหรัฐขาดดุลการค้าหลักๆ โดยเฉพาะ จีน (สหรัฐขาดดุลการค้ากับจีนสูงสุดราว 40% ของการขาดดุลทั้งหมดปีละ 4 แสนล้านเหรียญฯ) ทั้งนี้สินค้าที่สหรัฐนำเข้าจีนหลักคือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น รองเท้า เชื่อว่ากระทบต่อไทย แม้กระทบทางตรงน้อย (สหรัฐนำเข้าไทยราว 10% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย สินค้านำเข้าหลักคือ แผงวงจรชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน ยางแผ่นและยางแท่ง และอาหารทะเล เป็นต้น) แต่อาจจะกระทบทางอ้อม เพราะไทยส่งออกไปจีนราว 11.05% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด)
(-) ต่างขายทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทยติดต่อกันเป็นวันที่ 6
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 202 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) แต่เป็นการสลับมาซื้อสุทธิเพียง 2 ประเทศเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิราว 290 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 15 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิราว 35 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 5 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และไทยที่ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคกว่า 63 ล้านเหรียญ หรือ 2.2 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 6 โดยมียอดขายรวมกว่า 7.5 พันล้านบาท) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ยังคงซื้อสุทธิราว 153 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 โดยมียอดซื้อรวมกว่า 7.5 พันล้านบาท)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย แม้นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 1.36 หมื่นล้านบาท แต่ กับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิ 944 ล้านบาท และเป็นการขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 6 โดยมีมูลค่ารวมกว่า 1.25 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้น 5.6 bps. (mtd) อยู่ที่ 2.71% และยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นๆในภูมิภาค ซึ่งทั้งแรงขายหุ้นและตราสารหนี้ไทยเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า โดยล่าสุดอยู่ที่ 35.05 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลง 0.48% (mtd)
(-) ดอกเบี้ยขาขึ้นกดดันหุ้นลิสซิ่ง สื่อสาร และค้าปลีก บางแห่ง
ดังที่กล่าวไปแล้ววานนี้ถึงแนวโน้มดอกเบี้ยไทยอาจปรับตัวขึ้นตามสหรัฐ จากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น (ก.พ. อยู่ที่ 1.44% เทียบกับ 1.55% เดือน ม.ค. และ 1.13% ใน ธ.ค. 59) ขณะที่ดอกเบี้ยนโยบายไทยอยู่ที่ 1.5% ทำให้ช่องว่างระหว่างดอกเบี้ยฯกับเงินเฟ้อเริ่มลดลง แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นจึงกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะผู้ที่พึ่งพาการกู้ยืม และมีต้นทุนการกู้ยืมมีสัดส่วนดอกเบี้ยลอยตัวสูง ขณะที่ผลตอบแทน / ราคาขายปรับเพิ่มไม่ได้หรือได้น้อย เช่น กลุ่มธุรกิจการเงินรายย่อยในกลุ่ม leasing / hire perchase เรียงลำดับหุ้นที่ได้รับผลกระทบมากสุด ได้แก่ S11 เพราะดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ทั้งหมด แต่ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 77% รองลงมาคือ ASK และ THANI เพราะดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่เกือบทั้งหมด ขณะที่ต้นทุนเงินกู้ยืมเป็นลอยตัว 35% และ 30% ตามลำดับ
บริษัทที่กระทบปานกลาง ถึงเล็กน้อย คือ SAWAD โครงสร้างดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ทั้ง 100% แต่ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 28% ตามมาด้วย AEONTS ดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ 100% แต่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายคงที่ 91% ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 9% MTLS ดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ 100% แต่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายคงที่ 92% ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 8% เช่นเดียวกับ TK ดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ 100% แต่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายคงที่ 92% (กระทบจากดอกเบี้ยลอยตัว 8% เท่ากัน) และสุดท้าย SINGER ดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ 100% แต่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายคงที่ 96% ขณะที่ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัวเพียง 2%
และ ไม่กระทบเลยคือ GCAP เพราะดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ 100% เท่ากับ ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายคงที่ 100%
ตรงกันข้ามที่ได้ประโยชน์เพราะดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัวในอัตรามากกว่าต้นทุนดอกเบี้ยที่ลอยตัว คือ IFS ดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัว 100% แต่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลอยตัว 96% ยังได้ประโยชน์อยู่ 4% รองลงมาคือ LIT ดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัว 72% แต่ต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว 69% ส่วนต่าง 3%
ตรงกันข้ามกับกลุ่ม ธ.พ. ดอกเบี้ยขาขึ้นอาจจะเอื้อประโยชน์เพราะการปรับเพิ่มดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อจะทำได้เร็วกว่าต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย คือ ต้นทุนเงินฝาก ซึ่งมีระยะเวลาของการฝากเงิน ทำให้ net interest margin หรือ NIM ของธนาคารน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ BBL ([email protected]) สินเชื่อลอยตัว 66% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 54% (มี gap 12%) และ KTB ([email protected]) สินเชื่อลอยตัว 74% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 66% มี gap 8% นอกจากนี้ทั้ง 2 แห่งยังเป็น net lender ในตลาดปล่อยกู้ระหว่างธนาคาร โดย BBL ปล่อยสินเชื่อส่วนนี้ 2 แสนล้านบาท หรือราว 10% ของสินเชื่อ และ KTB คิดเป็น 14%
ขณะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่อื่นๆ อาจจะไม่ได้ประโยชน์ หรืออาจจะเสียประโยชน์เพราะอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัวน้อยกว่าต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝากลอยตัว เช่น SCB(FV@B178) มีสัดส่วน สินเชื่อลอยตัว 51% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 57% และ KBANK ([email protected]) สินเชื่อลอยตัว 60% เทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากที่ลอยตัว 72%
ส่วนธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางที่น่าจะเสียประโยชน์ ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น เริ่มจาก BAY พบว่าสัดส่วนดอกเบี้ยสินเชื่อ ลอยตัวเพียง 4% ขณะที่ส่วนใหญ่เป็นดอกเบี้ยคงที่ 93% ขณะที่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลอยตัว 53% และ คงที่ 47%
ตามมาด้วย TMB สัดส่วนสินเชื่อดอกเบี้ยลอยตัว 53% (ดอกเบี้ยคงที่ 46%) ขณะที่ต้นทุนลอยตัว 77% (ดอกเบี้ยจ่ายคงที่ 19%)
เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กอยู่ในฐานะเสียประโยชน์ นำโดย KKP สินเชื่อลอยตัว 28% (คงที่ 65%) ขณะที่ต้นทุนลอยตัว 64% (ที่เหลือส่วนใหญ่คงที่ 36%) ตามมาด้วย TISCO สินเชื่อลอยตัวน้อย 11% ดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่สัดส่วนสูง 87% ขณะที่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลอยตัว 38% ที่เหลือส่วนใหญ่คงที่ 62%
ยกเว้น TCAP อาจจะกระทบปานกลางในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง เพราะดอกเบี้ยสินเชื่อลอยตัว 38%(ดอกเบี้ยสินเชื่อคงที่ 68%) ขณะที่ต้นทุนลอยตัว 45% (ที่เหลือเป็นดอกเบี้ยเงินฝากคงที่ 54%)
แต่อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลง กระทบต่อ NIM มิใช่ปัจจัยกำหนดแนวโน้มกำไรอย่างเดียว แต่ยังขึ้นกับการปล่อยสินเชื่อของแต่ละธนาคาร ซึ่งต้องพิจารณาจากอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก (Loan to Deposit Ratio) ด้วย หากการลงทุนเดินหน้าตามแผนภาครัฐ คาดว่าน่าจะมีน้ำหนักหักล้างเรื่องดอกเบี้ยได้
ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมหรือภาคบริการอื่นๆ แม้จะมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนใกล้เคียงหรือมาก กว่า 1 เท่า แต่ส่วนใหญ่ได้มีการปรับรู้แบบการกู้ยืมที่เป็นดอกเบี้ยคงที่ คือ การออกหุ้นกู้ยืม (Debenture) ที่มีระยะเวลานาน ผลกระทบต่อการขึ้นดอกเบี้ยในระยะ 1-2 ปีนี้จึงกระทบจำกัด
กลุ่มสื่อสาร ทางด้าน Operator 3 ราย แม้อัตราส่วนหนี้ภายนอก (IBD) ต่อส่วนทุน (Gearing ratio) ไม่สูงมาก แต่น่าเป็นห่วงในบางบริษัท กล่าวคือ
DTAC (FV@B30) มี Net gearing ratio 1.1 เท่า ณ สิ้นปี 2559 (D/E 3.25 เท่า) โดยมีหนี้สินรวม 4.9 หมื่นล้านบาท แต่ในจำนวนนี้เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน 4.55 หมื่นล้านบาท หรือ ราว 92.5% เท่านั้น ซึ่งมีต้นทุนดอกเบี้ยลอยตัว ที่เหลือส่วนที่เป็นดอกเบี้ยคงที่ (การออกหุ้นกู้ระยะยาว) จึงอาจจะกระทบจากดอกเบี้ยที่กำลังเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ขณะเดียวกัน DTAC ยังมีปัญหาที่คลื่นให้บริการน้อย ทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการสูงคู่แข่งขันอีก 2 รายไม่ได้ ทำให้ผลประกอบการถดถอย
และ TRUE([email protected]) มี Net gearing ratio ต่ำเพียง 0.52 เท่า ณ สิ้นปี 2559 (D/E 2.4 เพราะมีหนี้สิน supplier และหนี้สินค่าใบอนุญาตค้างชำระ) โดยมีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยรวม 1.188 แสนล้านบาท แต่ในจำนวนนี้เป็นหนี้กับสถาบันการเงิน (ดอกเบี้ยลอยตัว) เพียง 1.678 หมื่นล้านบาท หรือ ราว 14% เท่านั้นที่เหลือส่วนใหญ่ เป็นหนี้สินที่เกิดจากการออกหุ้นระยะยาวซึ่งมีดอกเบี้ยตายตัว จึงดูเหมือนกระทบน้อย แต่ด้วยยอดหนี้สินจำนวนมาก และ TRUE มีต้นทุนคงที่สูงจากการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่จำนวนมากและค่าใช้จ่ายการตลาดที่สูง จึงกดดันให้ผลประกอบการขาดทุนและมีกระแสเงินสดติดลบต่อเนื่องอีกนาน
สุดท้าย ADVANC(FV@B180) มี net gearing ratio ราว 2.0 เท่า ณ สิ้นปี 2559 (D/E 5.45 เพราะมีหนี้สิน supplier และหนี้สินค่าใบอนุญาตคลื่นค้างชำระ) โดยมีหนี้สินที่มีดอกเบี้ยรวม 9.8 หมื่นล้านบาท แต่ในจำนวนนี้เป็นหนี้กับสถาบันการเงินเพียง 2.7 หมื่นล้านบาท หรือ ราว 27.6% เท่านั้น (ดอกเบี้ยลอยตัว) ที่เหลือส่วนใหญ่ 72.4% เป็นหนี้สินที่เกิดจากการออกหุ้นระยะยาว (Debenture) ซึ่งมีดอกเบี้ยคงที่
ส่วนผู้ประกอบการในกลุ่มสื่อสารที่เหลือ น่าจะมีผลกระทบต่อแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นเช่นกัน แม้จะมี net gearing ต่ำกว่า 1 เท่า คือ
THCOM([email protected]) มี net gearing ratio 0.21 เท่า (D/E 0.75 เท่า) แต่จากหนี้สินที่มีอยู่ปัจจุบัน 1 หมื่นล้านบาท พบว่าเป็นเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 53% ซึ่งเป็นส่วนที่ดอกเบี้ยลอยตัว (ที่เหลือ 47%) เป็นการออกพันธบัตรจึงน่าจะกระทบระดับหนึ่ง
JAS([email protected]) มี net gearing ratio 0.58 เท่า (D/E 3.55 เท่า) ปัจจุบันมีหนี้สิน 8.8 พันล้านบาท แต่จำนวนนี้เป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 75% ซึ่งเป็นส่วนที่ดอกเบี้ยลอยตัว (ส่วนน้อยเป็นการออกพันธบัตรซึ่งดอกเบี้ยคงที่) จึงน่าจะกระทบมากอีกบริษัทหนึ่ง
ถัดมาคือ ค้าปลีก ด้วยลักษณะธุรกิจที่มีกระแสเงินจากการดำเนินงานสูง รองรับการขยายสาขาได้อย่างสบายๆ โดยไม่จำเป็นต้องกู้ยืมมาก เช่น HMPRO และ ROBINS มี net gearing ratio 0.75 เท่า และ 0.06 เท่า ตามลำดับ
ยกเว้นบางบริษัทมี Net gearing ratio ค่อนข้างสูง เช่น กรณีของ CPALL และ BJC อยู่ที่ราว 3.6 เท่า และ 1.34 เท่านั้น เพราะเกิดจากการเข้าไปซื้อหรือ ควบรวมกิจการ เช่น กรณีของ CPALL เข้าไปซื้อกิจการของ MAKRO เมื่อปี (ใช้เงิน 1.89 ล้านบาท เพื่อถือหุ้น 98%) หรือกรณีของ BJC เข้าไปซื้อ BIGC เป็นเงิน 2.1 แสนล้านบาท (BJC ถือหุ้น 98%)
แต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณารายละเอียดพบว่าหนี้สินของ CPALL และ BJC เป็นหนี้สินที่ดอกเบี้ยคงที่เพราะมีการออกหุ้นกู้ยืมเป็นแหล่งกู้ยืมหลัก กล่าวคือ CPALL มีหนี้สิน 1.98 แสนล้านบาท พบว่าเป็นการออกหุ้นกู้ 1.79 แสนล้านบาท หรือราว 90% ของหนี้ทั้งหมด ขณะที่ BJC มีหนี้สินรวม 1.52 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการออกหุ้นกู้ยืมเกือบทั้งหมด 92%
และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ แม้ส่วนใหญ่จะมี net gearing ratio ไม่เกิน 1 เท่า และส่วนใหญ่ก็จะกู้ยืมด้วยวิธีการออกหุ้นกู้จึงมีผลกระทบน้อย เช่น SC 1 เท่า SIRI 1.15 เท่า QH 0.99 เท่า และ SPALI 0.9 เท่า ยกเว้น PACE net gearing ratio อาจจะสูง 10 เท่าตัว แต่เมื่อได้เงินเพิ่มทุนจากพันธมิตร จะลดลงเหลือ 2 เท่าในปีนี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์