WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
   การรายงานงบงวด 4Q59 มาได้ครึ่งทาง หลังจากนี้จะทยอยประกาศเงินปันผลจ่าย แต่ด้วยข้อจำกัดในการระดมเงินกู้ยืม (รวม B/E) ทำให้บริษัทจดทะเบียนบางแห่ง หันมาจ่ายหุ้นปันผลแทนเงินสด เพื่อเก็บเงินสดไว้ขยายธุรกิจ เช่น IFS, LIT ซึ่งกดดัน SET ต่ำกว่า 1,600 จุดต่อไป กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นรายหุ้น Top picks ยังชอบ PTTGC([email protected]) เป็น Flagship ด้านปิโตรเคมีในประเทศไทย และ FSMART([email protected]) เติบโตสูงตามกระแสสังคมยุคเทคโนโลยีสมัยใหม่

 

(+) เศรษฐกิจไทยปี 2560 ไม่ตื่นเต้นอยู่ที่ 3.5% vs 3.2% ปีนี้

   สัปดาห์นี้ตลาดน่าจะให้น้ำหนักการแถลง “Fed Minute ของการประชุมรอบที่ผ่านมา” วันที่ 22 ก.พ. นี้ ซึ่งมีประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ตามที่ Fed คาดไว้ไม่เกิน 3 ครั้ง(ขึ้นราว 0.75%) หลังดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังขยายตัวต่อเนื่องและทิศทางเงินเฟ้อเพิ่มอย่างก้าวกระโดดมาอยู่ที่ 2.5% ในเดือน ม.ค. จาก 2.1% เดือน ธ.ค.59 จาก 1.6% เดือน พ.ย.59 ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันดัน flow ไหลออกจากภูมิภาค

   ขณะที่ไทยเช้านี้ (ตามเวลาในประเทศ 9.30น.) สภาพัฒน์เตรียมรายงาน GDP Growth งวด 4Q59 ซึ่ง ASPS คาดที่ 3%yoy (เท่ากับ Consensus คาด) ซึ่งคาดว่าการบริโภคครัวเรือนจะชะลอตัว ผลกระทบจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ แม้จะได้ชดเชยจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของรัฐในช่วงปลายปี 2559 ก็ตาม ทั้งปี 2559 ASPS ประเมิน GDP Growth จะอยู่ที่ 3.2% จาก 2.8% ในปี 2558

   และปี 2560 ASPS คาด GDP Growth ที่ 3.5% โดยปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังคงมาจากการลงทุนและการใช้จ่ายของรัฐเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่คาดว่าจะเกิด การลงทุนจริงใน 2H60 รถไฟฟ้าสี ส้ม ชมพู เหลือง และรถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ เป็นต้น ยังไม่รวมการเปิดประมูลใหม่ (ภายใต้แผนประมูลปี 2559) เช่น รถไฟฟ้าสายม่วงใต้ บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ 1.31 แสนล้านบาท และสายสีแดงอ่อน บางซื่อ-หัวหมาก 4.4 หมื่นล้านบาท เป็นต้น และตามแผนที่จะประมูลของปี 2560 เช่น รถไฟฟ้าสีเขียวต่อขยาย เหนือและใต้ สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน เป็นต้น

   ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน น่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น จากการให้สิทธิประโยชน์ดึงดูดการลงทุนเอกชน ผ่าน พรบ. BOI ใหม่ ผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 60 กล่าวคือ สิทธิประโยชน์เว้นภาษีเงินได้สูงสุด 9-13 ปี และลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราไม่เกิน 50% ของอัตราปกติ อีกไม่เกิน 10 ปี (เดิมที่ยกเว้นภาษีไม่เกิน 8 ปี + ลดหย่อนภาษีไม่เกิน 5 ปี) ซึ่งน่าจะดึงดูดให้เอกชนกลับมาลงทุนรอบใหม่ และช่วยดึงอัตราส่วน การลงทุนเอกชน/ GDP จากปัจจุบัน 20% มาเป็น 30% ปี 2538 ก่อนที่จะเกิด วิกฤติต้มยำกุ้งในปีถัดมา

 

(+) ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นไทย เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค
   วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าราว 310 ล้านเหรียญ แต่ยังมีอยู่ 2 ตลาดฯ ที่ยังมีการขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียขายสุทธิราว 55 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิในวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆอีก 3 แห่ง ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ซื้อสุทธิกว่า 257 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ไต้หวัน 54 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) และไทย 54 ล้านเหรียญ หรือ 1.88 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 684 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
   ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 2.02 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 1.07 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเล็กน้อยในวันก่อนหน้า)

 

(0) SET ซึมซับการรายงานงบ 4Q59 : IVL ดีกว่าคาด
   สัปดาห์นี้ และสัปดาห์หน้า บริษัทจดทะเบียนน่าจะทยอยรายงานผลประกอบการงวด 4Q59 ซึ่งขณะนี้รายงานมาแล้วกว่า 100 บริษัท (Market Cap กว่า 50% ของทั้งตลาดฯ) มีกำไรสุทธิ 4Q59 รวมกันอยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท ยังคงเพิ่มขึ้นกว่า 20% จากช่วงเดียวกันของปี 2558 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการฟื้นตัวของหุ้น Global โดยล่าสุดที่รายงานคือ IVL ซึ่งพบว่าสูงกว่าคาด และ PTT แม้จะต่ำกว่าคาดก็ตาม
   IVL (FV@B44) กำไรสุทธิงวด 4Q59 อยู่ที่ 2.96 พันล้านบาท (ลดลง 7.1%qoq) ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานปกติอยู่ที่ 2.6 พันล้านบาท (ลดลง 9.6%qoq) ดีกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดทั้ง 2 ส่วน โดยการลดลงของกำไรปกติเกิดจากปริมาณการผลิตที่ปรับตัวลดลง 4.8%qoq มาอยู่ที่ 2.26 แสนตัน แต่ spread ผลิตภัณฑ์โดยรวมที่ดีกว่าคาด โดยรวมจึงส่งผลให้ EBITDA ต่อตัน ในงวด 4Q59 ปรับตัวลดลงเพียงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 90 เหรียญฯต่อตัน จาก 91 เหรียญฯต่อตัน ในงวดก่อนหน้า ส่วนกำไรจากรายการพิเศษอยู่ที่ 346 ล้านบาทโดยรวมแล้ว กำไรสุทธิทั้งปี 2559 เท่ากับ 1.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวจากปีก่อนหน้า และดีกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาดไว้ สำหรับแนวโน้มงวด 1Q60 คาดกำไรปกติพลิกกลับมาเติบโตจากทั้งปริมาณการผลิตที่คาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามช่วงฤดูกาล และ spread ผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้น และคาดว่าทั้งปี 2560 กำไรปกติจะเห็นการเติบโตต่อเนื่อง 12.8%yoy หนุนโดยปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นราว 10.5%qoq โดยฝ่ายวิจัยประเมิน Fair Value ที่ 44 บาท นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่ Fair Value จะเพิ่มขึ้นได้อีกหากสหรัฐมีการลดภาษีนิติบุคคลลงเหลือ 15% จาก 35% โดยทุกๆ 5% ของอัตราภาษีที่ลดลงจะส่งผลให้กำไร IVL ปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 1.5-2% จากประมาณการเดิม และจะส่งผลให้มูลค่าพื้นฐานปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกราว 1-2 บาทต่อหุ้น
   PTT (FV@B400) กำไรสุทธิ 4Q59 อยู่ที่ 1.91 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 100 เท่าตัว yoy แต่ลดลง 29%qoq หลักๆ มาจากการรับรู้ขาดทุนการด้อยค่าสินทรัพย์ของ PTTEP และการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทร่วม อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเฉพาะผลการดำเนินงานปกติมีการเติบโต โดยเฉพาะในธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีตาม PTTGC โดยรวมกำไรสุทธิปี 2559 อยู่ที่ 9.46 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 375%yoy ส่วนผลการดำเนินงานปี 2560 – 2561 คาดจะยังเห็นการเติบโตเฉลี่ย 15% ต่อปี ด้วยผลบวกเต็มที่จากลูกทุกสายธุรกิจที่เป็น Flagships ในแต่ละสาย ทั้ง PTTEP (กลุ่มปิโตรเลียม) ตามราคาน้ำมันที่ยังเป็นขาขึ้น PTTGC (กลุ่มปิโตรเคมี) จากการกลับมาเดินเครื่องเต็มที่ของทั้งโรงงานปิโตรเคมี และโรงกลั่น เช่นเดียวกับ TOP (กลุ่มโรงกลั่น) และล่าสุด PTTOR (กลุ่มน้ำมันและค้าปลีก) ที่เตรียม IPO ช่วงปลายปี 2560

(0) ข้อจำกัดตั๋ว B/E หนุนการจ่ายปันผลเป็นหุ้นแทนเงินสด : IFS, LIT
   ตลาดน่าจะซับซับการรายงานงบ 4Q59 ซึ่งทุกบริษัทต้องรายงานให้ครบภายใตสิ้นเดือนนี้ และหลังจากนี้ตลาดน่าจะเข้าสู่ช่วงฤดูกาลการจ่ายเงินปันผล โดยคาดว่าจะทยอยขึ้น XD (สิทธิได้รับเงินปันผล) และจ่ายเงินปันผล ช่วง มี.ค.- พ.ค. 2560 (สำหรับผลการดำเนินงานช่วง 2H59 หรือ 4Q59) ซึ่งก็หมายความว่านักลงทุนมีช่วงเวลาการถือหุ้นเพียง 1 – 3 เดือน เท่านั้น โดยหุ้นปันผลสูงที่กำหนดขึ้น XD ในเดือน มี.ค. เช่น RATCH ขึ้น XD วันที่ 1 มี.ค. (คาด div. yield’59 ที่ 4.6%), ADVANC ขึ้น XD วันที่ 5 เม.ย. (คาด div. yield’59 ที่ 5.9%), INTUCH ขึ้น XD วันที่ 7 เม.ย. (คาด div. yield’59 ที่ 6.8%) เป็นต้น
   ส่วนหุ้นปันผลสูงอื่นๆ ที่ยังไม่ประกาศวัน XD แต่ราคาหุ้นยัง laggard อาทิ GLOW (คาด div. yield’59 ที่ 7.3%), SENA (คาด div. yield’59 ที่ 7.3%), LH (คาด div. yield’59 ที่ 6.7%), MCS (คาด div. yield’59 ที่ 6.6%), ASK (คาด div. yield’59 ที่ 6.3%) เป็นต้น
เป็นที่สังเกตว่า บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ ที่มีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง และมีกระแสเงินสดในมือเพียงพอ จะยังสามารถจ่ายเงินปันผลออกมาในรูปเงินสดได้ ยกเว้นบางบริษัทที่เริ่มตระหนักถึงปัญหา วิกฤติการผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงิน (B/E) ที่บางบริษัทเริ่มประสบปัญหา ทำให้กระทบต่อความเชื่อถือและอาจจะทำให้การระดมเงินในลักษณะของการก่อหนี้ผ่านหุ้นกู้ หรือ B/E อาจจะทำได้ไม่ง่ายเหมือนที่ผ่านมา จึงบางบริษัทเริ่มตระหนักถึงปัญหาและเตรียมเก็บเงินสดไว้ขยายธุรกิจ และเปลี่ยนการจ่ายปันผลเป็นหุ้นแทน ที่เห็นได้ชัดจะเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง ซึ่งโครงสร้างธุรกิจปกติแล้วจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) สูง (หนี้สินหลักๆ คือ เงินกู้ยืม) ซึ่งที่ผ่านมาได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจากที่โครงสร้างหนี้สิน ระยะสั้น ต่อ หนี้สินระยะยาวเพิ่มมากขึ้น
   กล่าวคือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของกลุ่มฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 2.64 เท่า ณ สิ้นปี 2558 สู่ 2.91 เท่า ณ 9M59 โดยบริษัทที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ คือ ASK, THANI และ AEONTS ที่ 6.0, 5.6 และ 4.6 เท่า ตามลำดับ
   ดังนั้นเพื่อลดสัดส่วน D/E ลง บริษัทในกลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง จึงนำร่องในการจ่ายปันผลเป็นหุ้นแทน ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากบริษัท LIT และ IFS ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นในอัตราส่วน 10 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ (จ่ายเงินสด 0.112 บาทต่อหุ้นเป็นค่าภาษีฯ) และ อัตราส่วน 20 หุ้นเดิม ต่อ 1 หุ้นใหม่ (จ่ายเงินสด 0.1 บาทต่อหุ้นเป็นค่าภาษีฯ) ขึ้นเครื่องหมาย XD 27 มีนาคม 2560 และ 1 มีนาคม 2560 ตามลำดับ
   เชื่อว่าแนวคิดนี้น่าจะสมเหตุสมผลในภาวการณ์ปัจจุบัน ประกอบกับราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียนบางแห่งได้ปรับตัวขึ้นมาในระดับสูง การเพิ่มทุนผ่านการจ่ายการจ่ายหุ้นปันผลอาจจะได้รับความนิยมมากขึ้น
   แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ Dilution Effect แต่ก็คาดว่าไม่มากนัก ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาด แม้ไม่มากนัก แต่ทำให้ SET Index แกว่งตัวต่ำกว่า 1,600 จุด ตราบที่ยังไม่มีประเด็นใหม่

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!