WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  SET Index ยังผันผวนตามแรงขายรับงบหุ้นรายตัวที่สร้างความผิดหวัง และมีผลต่อการจ่ายเงินปันผลลดลง (INTUCH) ยกเว้นบางบริษัทที่ Turnaround เช่น TSTH, TASCO กลยุทธ์ยังเน้นรายหุ้นที่กำไรเติบโตมั่นคง และมีปันผลสูง (ASK, PTTGC, SCCC, TCAP, LH) Top picks ยังชอบ SCB(FV@B178), TSTH([email protected]) และวันนี้แนะนำเก็งกำไร AOT(FV@B448) ซึ่งจะแตกพาร์จาก 10 บาทเหลือ 1 บาทในวันที่ 9 ก.พ. น่าจะให้ผลตอบแทนชนะตลาดระยะสั้นๆ

 

(-) ทั่วโลกเตรียมตัวรองรับ นโยบายกีดกันการค้าสุดโต่งของทรัมป์ฯ
  หลังจากตลาดหุ้นโลกตอบรับด้านบวก ต่อนโยบายเศรษฐกิจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นับจากชนะเลือกตั้งเป็นต้นมา โดยเฉพาะนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อการจ้างงานในประเทศ อาทิ การให้สิทธิประโยชน์บริษัทใน US ลงทุนในประเทศ (บริษัทที่ไม่ย้ายฐาน อาทิ เฟียต ไครสเลอร์, โตโยต้า, ฟอร์ด) แต่จะเก็บภาษีบริษัทที่ย้ายฐานการผลิต และการเร่งรื้อเจรจาสนธิสัญญาอเมริกาเหนือ NAFTA ใหม่อีกครั้งเพื่อให้สหรัฐได้เปรียบทางการค้า (สหรัฐ แคนาดา เม็กซิโก)
  และยังคงเดินนโยบายต่างประเทศ ที่ต้องการกีดทางการค้ารุนแรงขึ้น โดยล่าสุด เตรียมจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าประเทศเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 20% การถอนตัวออกจากข้อตกลงการค้าเสรี (TPP) 12 ประเทศ และยกเลิกวีซ่ากับ 7 ประเทศมุสลิม อิรัก, ซีเรีย, ลิเบีย, อิหร่าน, โซมาเลีย, ซูดาน และเยเมน เป็นเวลา 90 วัน รวมถึงห้ามผู้อพยพเข้าประเทศสหรัฐเป็นเวลา 120 วัน ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ ยุโรป ซึ่งยังมีความเสี่ยงจาก Brexit และ Italexit นอกเหนือจากปัญหาการเมืองในประเทศ (จะมีการเลือกตั้งของประเทศสมาชิกอื่น เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์) ทั้งนี้หากอิตาลีถอนตัวออกจากยุโรปอีกประเทศจะกระทบต่อยุโรปในวงกว้าง เพราะอิตาลีเป็น 1 ในประเทศสมาชิกที่ใช้สกุลเงินยูโร (Single currency มี 19 ประเทศ VS อังกฤษใช้เงินปอนด์) และค้าขายกับยุโรป 54%ของการค้าทั้งหมดของอิตาลี ขณะที่อังกฤษค้าขายกับยุโรป 58% ทำให้ประเมินได้ว่าการประชุมธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ในปี 2560 น่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อไป
  และฝั่งเอเซีย จีน เป็นประเทศถัดมาที่น่าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าของนายทรัมป์ที่เคยนำเสนอมาตลอดว่า จีนได้ดุลการค้ากับสหรัฐสูงสุดราว 40% ของการขาดดุลทั้งหมดปีละ 4 แสนล้านเหรียญฯ ขณะที่ผลกระทบต่อไทย น่าจะมีทั้งทางตรง (สหรัฐนำเข้าไทยราว 10% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย สินค้านำเข้าหลักคือ แผงวงจรชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน ยางแผ่นและยางแท่ง และอาหารทะเล เป็นต้น) ไทยได้ดุลการค้ากับสหรัฐราว 2% ของการขาดดุลของสหรัฐทั้งหมด) และทางอ้อม (ไทยส่งออกไปจีนราว 11.05% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด)
  ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ธนาคารกลางในภูมิภาค น่าจะยืนดอกเบี้ยที่เดิมต่อไปอย่างน้อยอีก 6 เดือนแรกของปีนี้ ติดตามผลการประชุมของธนาคารกลางในเอเชีย คือ 8 ก.พ. การประชุม กนง. และ 9 ก.พ. ประชุมธนาคารกลางฟิลิปปินส์ ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวเชื่อว่าจะหนุนให้ค่าเงินในภูมิภาคทรงตัวหรือแข็งค่า และยังหนุน Fund Flow แม้อาจจะเห็นแรงซื้อ สลับขายอยู่ก็ตาม

 

(-) INTUCH อาจจ่ายปันผลลดตามการชะลอตัวของ ADVANC/THCOM
  ยังเป็นช่วงของการรายงานงบงวด 4Q59 ล่าสุด INTUCH รายงานกำไรสุทธิที่ 2.56 พันล้านบาท (-3.8%qoq, -42.1%yoy) ลดลงตามการถือหุ้นในบริษัทร่วม 2 แห่ง คือ ถือหุ้น 40.45% ใน ADVANC (กำไรสุทธิลดลง 41%yoy) และ 41.14% ใน THCOM (พลิกขาดทุนจากกำไร) ทั้งนี้ กำไรสุทธิในปี 2559 ของ INTUCH เติบโตเพียง 2%yoy เนื่องจากรายการพิเศษ แต่กำไรปกติลดลงถึง 23%yoy และมีโอกาสที่จะต้องปรับลดประมาณการกำไรในปี 2560 จากผลกระทบของ THCOM ที่ฝ่ายวิจัยอยู่ในระหว่างทบทวนประมาณการ ทั้งนี้ยังรวมถึงการจ่ายเงินปันผล แม้ยังคงนโยบายที่อัตรา 100% ของกำไรสุทธิ แต่ในงวด 2H59 จ่ายได้เพียง 1.61 บาทต่อหุ้น เมื่อรวมกับงวด 1H59 ที่จ่ายแล้ว 2.13 บาท รวมทั้ง ปี 2559 จะจ่ายได้เพียง 3.71 บาท ส่วนในปี 2560 ก็อาจจะลดลงจากเดิมที่ประเมินไว้ 3 บาทต่อหุ้น ในเบื้องต้นคาดว่าจะเหลือ 2.6 บาท ติดตามอ่านรายละเอียด INTUCH ใน Equity Talk ได้วันนี้


  ทั้งนี้สวนทางกับบางบริษัทที่มีผลประกอบการดีกว่าคาด และทำให้ต้องปรับประมาณการขึ้น ดังเช่น TSTH (ซื้อ:[email protected]) ซึ่งรายงานผลประกอบการ 3Q59/60 (ต.ค.-ธ.ค. 59) พลิกมามีกำไร เหนือเกินความคาดหมายมาก ทำให้มีการปรับประมาณการและ Fair Value ขึ้นจากเดิม ขณะเดียวกันยังมีฐานะการเงินที่ใกล้จะปลอดภาระหนี้ (Interest Bearing Debt เพียง 0.26 เท่า และมีเฉพาะหนี้สินระยะสั้นเท่านั้น) ทำให้ TSTH มีโอกาสจะกลับมาจ่ายเงินปันผล (หากนำส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ 3.26 พันล้านบาท มาล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่ทั้งหมด 2.95 พันล้านบาท) ซึ่งถือว่าเป็นการกลับมาจ่ายเงินปันผลได้อีกครั้งในรอบ 10 ปี (ฝ่ายวิจัยยังไม่ได้รวมไว้ในประมาณการเพื่อยึดหลักอนุรักษ์นิยม) ราคาตลาดปัจจุบันยังมี upside 28% จากมูลค่าพื้นฐาน 1.41 บาท (อ่านรายละอียดใน Equity Talk วานนี้)
  ขณะที่ AOT(FV@B448) ประกาศแตกราคาพาร์ จากปัจจุบัน 10 บาทเหลือ 1 บาท มีผลวันที่ 9 ก.พ. 2560 ทั้งนี้จากสถิติในอดีต (หุ้นใน SET 100 ในช่วง 10 ปีที่มีการแตกพาร์) พบว่าถ้าซื้อก่อนที่การแตกพาร์ 1-2 วัน จะให้ผลตอบแทนราว 3-4% จึงแนะนำให้เก็งกำไรระยะสั้น เพราะราคาหุ้นปัจจุบันมี upside เหลือเพียง 8.2%

 

(0) Earnings Preview TASCO ดีกว่าคาดปรับเพิ่มกำไรและ Fair Value
  ขณะนี้แม้มีหลายบริษัทยังมิได้ประกาศงบ แต่นักวิเคราะห์ ASPS ได้จัดทำ Earnings preview มีมุมมองเป็นบวกมากขึ้น คือ TASCO (FV@B28) เกิดจากราคายางมะตอยล่าสุดเดือน ม.ค. ที่เพิ่มขึ้น 30% นับจากปลายปี 2559 ผลจากปริมาณการผลิตยางมะตอยในภูมิภาคที่ลดลง โดยเฉพาะผู้ผลิตยางมะตอยในเกาหลีใต้ลดกำลังการผลิตลง (G Caltex, S-Oil, SK Energy) ขณะที่ความต้องการใช้ในภูมิภาคโดยเฉพาะจีนยังคงเพิ่มขึ้น จากแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ส่งผลให้ spread ระหว่างราคายางมะตอยเทียบกับราคา ณ สิ้น 3Q59 ปรับขึ้นกว่า 19%
  ขณะที่ทางด้านต้นทุนยางมะตอยกลับเพิ่มในอัตราที่ช้ากว่าคือเพียง 15% ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับจากปี 2558 ขณะที่ปริมาณการขายยางมะตอยในประเทศปีนี้ คาดว่ายังอยู่ในระดับสูงใกล้เคียงกับปีก่อน ซึ่งถือเป็นปีที่มีการใช้ยางมะตอยมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ฝ่ายวิจัยปรับประมาณการกำไรปี 2560 ขึ้น 20% เป็น 2,903 ล้านบาท ส่งผลให้ Fair Value ขยับขึ้นเป็น 28 บาท จึงปรับคำแนะนำขึ้นเป็น ซื้อ
KCE(FV@B110) นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินกำไรสุทธิงวด 4Q59 จะเท่ากับ 762 ล้านบาท ลดลง 3.1% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 14.5% yoy) เนื่องจากเป็นช่วง low season ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วน กดดันแนวโน้มรายได้รวมอ่อนตัวลง 1.4% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 7.7% yoy) เหลือ 3.5 พันล้านบาท ขณะที่คาดการณ์ gross margin จะทรงตัวใกล้เคียงงวด 3Q59 ที่ 36.0% และ ทั้งปี 2559 กำไรสุทธิจะเติบโต 32% จากปี 2558 และ ปี 2560 จะเติบโตอีก 17% อย่างไรก็ตามความเสี่ยงที่จะทำให้กำไรของ KCE ไม่เป็นไปตามคาดหมายมีอย่างน้อย 2 ประเด็นคือ
  1. ต้นทุนทองแดง (คิดเป็น 10% ของต้นทุนรวม) เฉลี่ยปี 2560 ที่เพิ่มขึ้น 18.4%yoy น่าจะกดดันประสิทธิภาพกำไรระยะกลางและยาว เพราะบริษัทได้มีการทำป้องกันความเสี่ยงไว้ 50% ของปริมาณที่ใช้ทั้งหมด ทั้งนี้จากการศึกษาของนักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่าราคาวัตถุดิบทองแดงที่สูงขึ้นทุกๆ 1% จะกดดันต่อกำไรสุทธิปี 2560 ลดลง 0.3%
  2. เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากสมมติฐานที่กำหนดไว้ 36 บาทต่อดอลลาร์ แต่ล่าสุดลงมาที่ 35 บาทฯ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรอีกประการหนึ่ง เพราะปัจจุบัน KCE มีสัดส่วนรายได้ในรูปดอลลาร์สหรัฐ 70% ขณะที่ต้นทุน 50% จึงมีส่วนต่างที่มีความเสี่ยงต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ 20% และจากการศึกษาพบว่า เงินบาทที่แข็งค่าทุกๆ 1 บาท จะทำให้กำไรสุทธิลดลง 5.5%
  ส่วนประเด็นที่สหรัฐเตรียมออกมาตรการกีดกันทางการค้าสินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้าจากทั่วโลกถือว่าเอเซียอาจจะกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เชื่อว่า KCE น่าจะกระทบทางตรงน้อยเพราะแม้ส่งออกไปสหรัฐฯ ราว 20% ของรายได้รวม แต่สินค้าส่งออกหลักเป็นแผ่น PCB (แผงวงจร) ซึ่งเป็นสินค้าขั้นต้นในอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงไม่เข้าข่ายถูกกีดกัน (กีดกันเฉพาะสินค้านำเข้าสำเร็จรูป) แต่เนื่องจากราคาหุ้น KCE ขึ้นมาจนใกล้เต็มมูลค่าพื้นฐาน จึงแนะนำให้ switch ไปเข้าหุ้นที่ยังมี upside สูงกว่า คือ SVI ([email protected]) ที่มีความเสี่ยงจากนโยบายการค้าจากสหรัฐฯน้อยกว่า เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้จากสหรัฐฯเพียง 10%

 

(+) ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค และไทย
  ในช่วงปลายเดือน ม.ค. จนถึงปัจจุบัน แรงซื้อหุ้นจากต่างชาติเริ่มชะลอตัวลง และมีแรงซื้อ-ขายสลับกันในบางประเทศ แต่ยังมียอดซื้อสะสมสุทธิจากต้นปี 2560 จนถึงปัจจุบัน โดยวานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 162 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ถูกขายสุทธิราว 8 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 78 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 36 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4), เกาหลีใต้ 86 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิราว 34 ล้านเหรียญ หรือ 1.19 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิราว 2.16 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 1.6 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1.3 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมเท่ากับ 3.87 หมื่นล้านบาท) ส่งผลให้ Bond Yield 10 ปี ที่เคยอยู่ที่ 2.76% ในวันที่ 1 ก.พ. 60 ปรับตัวลดลงมาจนล่าสุดอยู่ที่ 2.68%

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!