- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 01 February 2017 18:00
- Hits: 2816
บล.โกลเบล็ก : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
Market View : รอผล FED
Stock of the town : IRCP EASON
Analyst Meeting : ORI
หุ้นมีข่าว : BAY BBL BEM PTT TRC SGF
ภาวะตลาดหุ้นไทยวานนี้ทรุดตัวลงแรงจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ , แรงขายกลุ่มพลังงานหลังราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง รวมถึงนลท.ชะลอการซื้อเพื่อรอผลการประชุม FOMC ส่งผลให้ SET ปิดที่ 1,577.31 จุด (-13.25 จุด) Vol. 5.3 หมื่นลบ.โดย Foreign Net -1,214 ลบ. , TFEX Net -10,676 สัญญา
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย
- ตลาดหุ้น DJ ปรับตัวลงจากความกังวลนโยบายระงับการเข้าสหรัฐของพลเมือง 7 ชาติมุสลิม รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐในเดือนม.ค.ลดลงสู่ระดับ 111.8
- สายการบินไทยเก็บค่าภาษีน้ำมัน 150 บาท/เที่ยวมีผลตั้งแต่ 1 ก.พ.
+ ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้นล่าสุด 52.7 US/Barrel จากเงินUSDอ่อนค่าลง รวมถึงเดือนม.ค.การผลิตน้ำมันกลุ่มโอเปกลดลงกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วัน
+ ครม.อนุมัติย้ายสายไฟฟ้าที่พาดบนดินลงใต้ดินใน 3 พื้นที่โครงการ งบประมาณกว่า 9 พันลบ.
+ ธปท.เผยเศรษฐกิจเดือนธ.ค.ขยายตัวต่อเนื่องหลังส่งออก,ท่องเที่ยวฟื้น มาตรการกระตุ้นใช้จ่ายหนุน โดยเดือนธ.ค.ส่งออก +5.6% , นำเข้า +10.5% แต่ทั้งปี 59 ส่งออกขยายตัว 0.0% มูลค่า US$ 214,112 ล้าน , นำเข้าปี 59 -4.7% มูลค่า US$ 178,359 ล้าน
+ รมว.คมนาคม ชงจ้าง BEM เดินรถ 1 สถานีเข้า ครม.7 ก.พ.
+/- 31 ม.ค. - 1 ก.พ. การประชุม FOMC (คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.75%) แต่ต้องติดตามว่าจะกล่าวถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่
+/- ทิศทาง Fund Flow ต่างชาติชะลอตัว. แต่แนวโน้มค่าเงินบาทยังทรงตัวที่ราว 35.2 BATH/USD.
** ตลาดหุ้น จีน ไต้หวัน ปิดทำการวันนี้ (31 ม.ค.) เทศกาลตรุษจีน
** วันนี้ SGFกลับมาเทรด MAI พร้อมขยายเข้าสู่สินเชื่อรายย่อย
ภาวะตลาดหุ้นไทยขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุนประกอบกับ Fund Flow ที่พลิกเป็น Net Sell ทั้งหุ้นและ TFEX เพื่อรอผลการประชุม FOMC เป็นแรงกดดันดัชนี อย่างไรก็ตามคาดว่าแรงซื้อดักงบและปันผลปี 2559 รวมถึงแรงเก็งกำไรรายตัวจะช่วยพยุงดัชนีไม่ให้ทรุดตัวลงแรง ดังนั้นประเมินว่า SET จะแกว่งตัวในกรอบ 1,570 - 1,590 จุด
กลยุทธ์การลงทุน Selective Buy กลุ่มที่มีปัจจัยสนับสนุน
- IVL ราคาฝ้ายพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ล่าสุด 75 US/Tons
- CTW ILINK ARROW อานิสงส์ครม.อนุมัติย้ายสายไฟฟ้าลงใต้ดินใน 3 พื้นที่โครงการ งบประมาณกว่า 9 พันลบ.
- กลุ่มที่คาดว่ากำไรปี 2559 เติบโต PTT IRPC PTTGC TOP BANPU WICE SYNEX ANAN ORI FSMART BCH BIG SMT BEAUTY BJC
Analyst Meeting
ORI (ราคาปิด 11.70 บาท ราคา Bloomberg Consensus 10.47 บาท)
- Consensus คาดกำไรไตรมาส 4 จะสูงสุดในปีนี้ราว 330-380 ล้านบาทเติบโต 124%QoQ และเติบโต 184%YoY และคาดกำไรปี 16 อยู่ที่ราว 650-700 ล้านบาทเติบโต 75%YoY ขณะที่ยังสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นได้ที่ระดับ 42-44%
- ปี 17 บริษัทมีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ 9 โครงการมูลค่าราว 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อมาเสริมความแข็งแกร่งของงานในมือ (Backlog) ที่มีอยู่ราว 1.28 หมื่นล้านบาท ณ ปลายปี 16 ซึ่งจะสร้างความมั่นคงของรายได้อีก 3-4 ปี โดยคาดว่าจะยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้นราว 40% ได้
- ในอนาคตมีแผนนำบริษัท PRIMO ซึ่งเป็นบริษัทลูกดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารอาคารชุด รับจ้างทำความสะอาดเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยปลดล็อกมูลค่าหุ้น ORI ได้เพิ่มเติม
หุ้นมีข่าว
SGF (ราคาปิดเมื่อ 16 ส.ค.50 ที่ราคา 0.26 บาท/หุ้น) บมจ.สยามเจเนอรัลแฟคตอริ่งได้กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจการเงินในวันนี้ (1 ก.พ.60) เนื่องจากที่บริษัทได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของการพ้นเหตุเพิกถอนหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว SGF ประกอบธุรกิจให้บริการสินเชื่อระยะสั้นในรูปแบบเงินให้กู้ยืม และสินเชื่อแฟคเตอริ่ง ในช่วง 9M59 มีกำไรสุทธิ 45.80 ล้านบาท +217% BV ล่าสุด 0.11 บาท
Analyst Meeting : BAY (ราคาปิด 39.50 บาท ถือ ราคาเหมาะสม 41.50 บาท)
- แผนการดำเนินงานปี 60 ตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 6-8% จากกลุ่มลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะบริษัทญี่ปุ่นและลูกค้ารายย่อย ชะลอตัวจากที่เติบโต 11% ในปี 59 จากฐานที่ใหญ่ขึ้น โดยจะรักษา NIM ที่ระดับ 3.7% ใกล้เคียงกับปี 59
- คุณภาพสินทรัพย์จะควบคุม %NPL ให้อยู่ต่ำกว่า 2.5% เทียบกับ 2.21% ในปี 59 มีนโยบาย credit cost ที่ราว 140 bps ลดลงเล็กน้อยจาก 147bps ในปี 59 เป้า loan loss coverage เท่ากับ 140% จาก 143% ในปี 59
- การเปลี่ยนแปลงนโยบายการจ่ายเงินปันผลจากเดิมจ่ายคงที่ในอัตรา ไม่ต่ำกว่า 30% เป็นพิจารณาจ่ายเงินปันผลโดยคำนึงถึงความเพียงพอของเงินกองทุนและผลประกอบการ ผู้บริหารชี้แจงว่าน่าจะยังคงจ่ายในระดับเดิมแต่ฐานกำไรต่อหุ้นที่เพิ่มขึ้นทำให้เห็นว่า payout ratio ลดลง (สถิติปี 2555 - 2559 จ่ายเงินปันผลปีละ 2 งวด งวดละ 0.40 บาท)ARIP ไม่ต่อสัญญาร่วมผลิตรายการ-ให้โฆษณากับสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกตั้งแต่ม.ค.
Analyst Meeting : BBL (ราคาปิด 174.50 บาท ซื้อ ราคาเหมาะสม 192 บาท)
- ปี 60 ตั้งเป้า loan growth 4-6% แบ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 4-6% สินเชื่อ SME 4-6% สินเชื่อรายย่อย 5-7% และสินเชื่อตปท. 3-5%
- NPL มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ไม่ใช่ระดับที่น่าเป็นห่วง ธนาคารมีแผนตั้งสำรองหนี้สูญในระดับเดียวกับปี 59 (สำรองหนี้สูญปี 59 = 1.57 หมื่นลบ.) ปลายปี 59 มี Coverage Ratio 174% แม้ลดลงจาก 185% ในปี 58 แต่ยังสูงสุดในกลุ่ม
ประเด็นบวก BEM (ราคาปิด 7.05 ราคาเหมาะสม 7.40) รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ได้เจรจาว่าจ้างBEM เดินรถ 1 สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กม. โดยให้ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและบริหารการเดินรถ และรฟม.ได้สรุปเรื่องเสนอมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว ทั้งนี้จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุมวันที่ 7 ก.พ.60 และขั้นตอนหลังจากนั้นจะเป็นการลงนามสัญญากับเอกชนเพื่อเริ่มติดตั้งระบบและทดสอบแล้วเสร็จภายใน 5 เดือน คาดว่าจะเปิดเดินรถได้ในต้นเดือน ส.ค.60
PTT (Bloomberg Consensus 404) จัดงบ 1 หมื่นลบ.ปีนี้ขยายปั๊ม-ปรับปรุงระบบคลัง,เจรจาพันธมิตรทำโรงแรมในปั๊มสรุป Q1/60
เชลล์ ตกลงขายหุ้นแหล่งบงกช 22.222% ให้ Kuwait Foreign Petroleum Exploration มูลค่า 900 ล้านเหรียญฯ
ความเห็น ไม่ส่งผลกระทบต่อ PTTEP ที่ถือหุ้นใหญ่ 44.44% และเป็นผู้ดำเนินการในแหล่งบงกช เรามองว่าการขายหุ้นของเชลล์เป็นการขายเพื่อเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสด ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน
TRC (ราคาเหมาะสม 1.75) คาดเซ็นสัญญางาน EPCC เหมืองโปแตซใน H1/60 หวังดัน backlog ไปกว่า 3 หมื่นลบ.
UPA ทุ่ม 66.7 ลบ.เข้าร่วมทุนโรงไฟฟ้าขยะ 2 แห่งในอยุธยารวม 25.4 MW, เล็งยื่นขอขายไฟ มี.ค.
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ -122.65 จุด
- ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 19,864.09 จุด ร่วงลง 107.04 จุด หรือ -0.54% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,614.79 จุด เพิ่มขึ้น 1.08 จุด หรือ +0.02% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,278.87 จุด ลดลง 2.03 จุด หรือ -0.09% โดยนักลงทุนยังคงวิตกกังวลต่อการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามในคำสั่งเพื่อระงับการเข้าสหรัฐของพลเมืองจาก 7 ชาติมุสลิม นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในเดือนม.ค.
ตลาดน้ำมัน NYMEX +0.18 USD/Barrel
- สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 18 เซนต์ หรือ 0.3% ปิดที่ 52.81 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากผลสำรวจซึ่งระบุว่า การผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับตัวลดลงในเดือนม.ค. อย่างไรก็ตาม นักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่ทางการสหรัฐจะเปิดเผยรายงานสต็อกน้ำมันดิบในวันนี้
ปัจจัยบวก
+ วานนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีมติคงนโยบายผ่อนคลายการเงิน และปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และมีมติขยายระยะเวลาการปล่อยเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงินอีก 1 ปีพร้อมระบุในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจรายไตรมาสว่า GDP ของญี่ปุ่นจะขยายตัว 1.5% ในปี 60
+ สหรัฐเผย ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.3% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ หลังจากเพิ่มขึ้น 5.1% ในเดือนต.ค.
+ สหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีต้นทุนการจ้างงาน (ECI) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนแรงงานที่กว้างที่สุด ดีดตัวขึ้น 0.5% ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบรายไตรมาส หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.6% ในไตรมาส 3
+ เศรษฐกิจยูโรโซนขยายตัว 0.5% ใน 4Q59 เพิ่มขึ้นจากระดับ 0.4% ใน 3Q59 ขณะที่อัตราการว่างงานในยูโรโซนดิ่งลงสู่ระดับ 9.6% ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค.2009 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.8% ในเดือนม.ค. เทียบกับระดับ 1.1% ในเดือนธ.ค.
+ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนธ.ค.59 อยู่ที่ 105.72 ขยายตัว 0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) ทำให้ MPI ไตรมาส 4/59 เพิ่มขึ้น 1.46% และภาพรวมทั้งปี ขยายตัว 0.45% โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวก ได้แก่ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง
+ สภาผู้ส่งออกฯ คาดปี 60 ส่งออกโต 2% จากปีก่อนโต 0.45% มองผลบวกราคาน้ำมันสูงขึ้น และการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
+ ครม. มีมติอนุมัติแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ.2560-2564) โดยเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด 76 จังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด จำนวน 18 กลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งเห็นชอบคำของบประมาณประจำปี 2561 เพื่อใช้ในการดำเนินการดังกล่าวรวม 63,145 ล้านบาท คิดเป็นทั้งหมด 2,505 โครงการ
ปัจจัยลบ
- ผลสำรวจของ Conference Board ระบุว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐลดลงสู่ระดับ 111.8 ในเดือนม.ค. หลังจากพุ่งแตะระดับ 113.7 ในเดือนธ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะแตะระดับ 113.0 ในเดือนม.ค.
- ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเมินผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ไทยมีแนวโน้มลดลงในปี 60 หลังจากที่ผลการดำเนินงานในปี 2559 มีสัญญาณการปรับตัวเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และอัตรากำไรที่ลดลง สอดคล้องกับแนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมเป็นลบของภาคธนาคารพาณิชย์ไทยที่ฟิทช์ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนเงินกองทุนและอัตราส่วนสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญยังคงปรับตัวเข็งแกร่งขึ้นและน่าจะสามารถรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ยังคงอ่อนแอได้
ปัจจัยที่ต้องจับตา
ในประเทศ
- 31 ม.ค. กำหนดประชุมครม. / ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- สัปดาห์ที่ 4 สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
- 6 ก.พ. ก.คลังเปิดตัว"โครงการแก้หนี้นอกระบบ"
- 8 ก.พ. 60 กำหนดประชุมกนง. ครั้งที่ 1/2560 (คาดว่าที่ประชุมกนง.มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิม)
- 15 ก.พ. งาน "Opportunity Thailand" ซึ่งครม.อนุมัติงบกลาง 125 ล้านบาทผลิตสื่อโฆษณาการพลิกโฉมประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 อวดศักยภาพไทยหวังดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ
ต่างประเทศ
- 31 ม.ค. ญี่ปุ่น เปิดเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนเดือนธ.ค. /อัตราว่างงานเดือนธ.ค. / การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนธ.ค.
- กำหนดประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น มีการคาดการณ์ในวงกว้างว่า แบงก์ชาติญี่ปุ่นจะปรับเพิ่มแนวโน้มการขยายตัวเศรษฐกิจภายในประเทศ เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและเงินเยนที่ร่วงลงมีส่วนช่วยกระตุ้นการส่งออกและการผลิต
- อังกฤษ เปิดเผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค. / รัฐสภาจะทำการอภิปรายร่างกฎหมาย Brexit
- ฝรั่งเศส เปิดเผย GDP ไตรมาส 4/2559 / อัตราว่างงานเดือนม.ค.
- เยอรมนี เปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนธ.ค. / อัตราว่างงานเดือนธ.ค.
- อียู เปิดเผย GDP ไตรมาส 4/2559 / อัตราว่างงานเดือนธ.ค. / อัตราเงินเฟ้อเบื้องต้นเดือนม.ค.
- สหรัฐ เปิดเผยดัชนีราคาบ้านนพ.ย. / ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคม.ค.
- 31 ม.ค.-1 ก.พ. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย(เช้า 2 ก.พ.) นักวิเคราะห์คาดเฟดจะมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ย
- 1 ก.พ. ญี่ปุ่นเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตม.ค.
- จีน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคบริการเดือนม.ค.
- สเปน อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ อียู เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนม.ค.
- สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนม.ค. / ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนม.ค. / ดัชนีภาคการผลิตเดือนม.ค. / การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างเดือนธ.ค. / สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์
- 2 ก.พ. ญี่ปุ่น เปิดเผยทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือนม.ค. / ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.
- อียู เปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธ.ค.
- กำหนดประชุมธนาคารกลางอังกฤษ
- สหรัฐ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ / ผลิตภาพ-ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยไตรมาส 4/2559
- 3 ก.พ. ญี่ปุ่น เปิดเผยรายงานการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น
- จีน เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนม.ค.
- ฝรั่งเศส เปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.
- ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ อียู เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนม.ค.
- อียู เปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนธ.ค.
- สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนม.ค. / ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนม.ค. / ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธ.ค.
- 8 ก.พ. จับตาสภาอังกฤษเตรียมโหวตร่างกฎหมาย Brexit ทั้งนี้ รัฐสภาจะทำการอภิปรายร่างกฎหมาย Brexit ในวันที่ 31 ม.ค. และหลังจากนั้น จะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการในระหว่างวันที่ 6-8 ก.พ.
- มี.ค. 60 นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษจะเริ่มกระบวนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป(Brexit)อย่างเป็นทางการ
Analyst - วิลาสินี บุญมาสูงทรง
ชัยยศ จิวางกูร
ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์