- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 30 January 2017 18:04
- Hits: 2453
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : เมื่อวันศุกร์ SET Index ปิดเกือบทรงตัวที่ 1590.80 จุด แม้ว่าจะมีแรงขายในกลุ่มแบงค์, พลังงาน, สายการบิน แต่มีแรงซื้อในกลุ่มรับเหมา & วัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี เข้ามาชดเชย การซื้อขายชะลอลงไปเพราะเป็นวันไหว้เทศกาลตรุษจีน ต่างชาติขายสุทธิ 1.1 พันล้านบาท สถาบันในประเทศและรายย่อยขายสุทธิ สำหรับปัจจัยสำคัญในช่วงนี้ ได้แก่
• จับตาผลประชุมเฟด 31 ม.ค.-1 ก.พ.นี้ นักวิเคราะห์คาดเฟดยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ แต่มีโอกาสปรับขึ้นในการประชุมเดือนมี.ค.60 จาก Guidance ที่ให้ไว้ในตอนประชุมเมื่อเดือนธ.ค.59 ว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปี 60-61-62 (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.75%)
• ติดตามนโยบายทรัมป์ โดยเฉพาะเรื่องการปรับลดภาษีรายได้นิติบุคคล (ปัจจุบันอยู่ที่ 35%) ซึ่งคาดว่าจะเป็น Catalyst สำคัญอีกเรื่องในตลาดหุ้นสหรัฐ
•/+ วันนี้ (30 ม.ค.60) สศค.จะเปิดเผยการปรับเพิ่ม GDP Growth ของไทยสำหรับปี 60 เป็น +4% จากเดิม +3.4%
-/• การเรียกเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบินเที่ยวบินในประเทศจาก 0.2 เป็นไม่เกิน 4 บาท/ลิตรทำให้ต้นทุนสายการบินในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ก็น่าจะส่งผ่านไปยังผู้บริโภคได้ส่วนหนึ่ง สำหรับสายการบินที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมากกว่าโดยเปรียบเทียบ คือ AAV รองลงมาเป็น BA และ THAI ส่วน BAFS ไม่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้เลย
•/+ บจ.ทยอยรายงานผลประกอบการ 4Q59 และปี 59 รวมถึงการประกาศจ่ายปันผล ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นตลาดเดือนก.พ.
• จัดพอร์ตบนความสมดุลของ Risk & Return (แบ่งเป็น 3 หมวด : หุ้นปันผล, หุ้นมั่นคง และหุ้นเติบโต) และทำ Re-balancing ต่อเนื่อง ทั้งนี้ตลาดหุ้นปีนี้มีแนวโน้มผันผวน ความเสี่ยง FX มากขึ้น และเริ่มต้นปีบน Index ที่สูง หุ้นพื้นฐานแนะนำเป็น KKP
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นสัญญาณเป็นกลางๆ ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก สำหรับการเทรดดิ้งมีฟิวเตอร์ที่ไม่ควรหลุด 1580 จุด แนวต้านระยะสั้น 1600, 1610-1620 จุด แนวรับกรณีหลุดแนวฟิวเตอร์ 1560-1550 จุด หุ้นเด่น คือ BIG, RS, RCL, AJ, SAMTEL, TWPC
ปัจจัยต่างประเทศ & ในประเทศสำคัญ
ปัจจัยต่างประเทศ :
• สหรัฐ : จับตาผลประชุมเฟด 31 ม.ค.-1 ก.พ.60
จับตาดูการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 31 ม.ค. - 1 ก.พ.นี้ซึ่งสำนักงานซินหัวรายงานโดยอ้างอิงผลสำรวจว่า นักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งคาดการณ์ว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ แต่อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอีก 0.25% เป็น 1.00% ในการประชุมเดือนมี.ค.60
ทั้งนี้คณะกรรมการเฟดได้ออกรายงานคาดการณ์ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมประจำเดือนธ.ค.59 ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีหน้า ครั้งละ 0.25% โดยเพิ่มขึ้นจากจำนวน 2 ครั้งที่มีการคาดการณ์ในเดือนก.ย.59 ส่วนในปี 61 และ 62 เฟดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยปีละ 3 ครั้ง โดยปรับขึ้นครั้งละ 0.25% ไม่เปลี่ยนแปลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate จะเป็น 3.0% ภายในสิ้นปี 62
• อังกฤษ : นายกฯพบทรัมป์...จะเจรจาการค้าทวิภาคีกับสหรัฐทันทีเมื่อออกจาก EU เรียบร้อย
นางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เดินทางเยือนทำเนียบขาวเพื่อพบปะหารือกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐ เมื่อ 27 ม.ค.60 โดยได้หารือกันประเด็นข้อตกลงการค้าทวิภาคีหลังอังกฤษออกจากสมาชิก EU ด้วยโดยทรัมป์กล่าวชมเชยอังกฤษเรื่อง Brexit เพราะทำให้เป็นอิสระทางการค้าโดยไม่ต้องมี EU มากำกับดูแล และกล่าวว่าพร้อมเจรจาการค้ากับอังกฤษทันทีหลังออกจาก EU
- ทรัมป์ออกคำสั่งฉุกเฉินห้ามพลเมือง 7 ประเทศมุสลิมเดินทางเข้าสหรัฐ
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีในวันศุกร์ที่ผ่านมา ห้ามพลเมือง 7 ประเทศ ได้แก่ ซีเรียเยเมน ซูดาน โซมาเลีย อิรัก อิหร่าน และลิเบีย เดินทางเข้าสู่สหรัฐเป็นเวลา 90 วัน และระงับการเดินทางเข้าสู่สหรัฐของผู้ลี้ภัยจากทุกประเทศเป็นเวลา 120 วัน จนทำให้ผู้โดยสารที่เป็นพลเมืองของประเทศเหล่านี้ถูกกักตัวเมื่อเดินทางถึงสนามบินในสหรัฐ และผู้โดยสารส่วนหนึ่งได้ถูกห้ามขึ้นเครื่องบินเพื่อเดินทางเข้าสู่สหรัฐ จนต้องตกค้างอยู่ที่สนามบินในต่างประเทศ
-/• สหรัฐ : เศรษฐกิจ 4Q59 เติบโตน้อยกว่าคาด
# รายงาน GDP 4Q59 ออกมาที่ +1.9% ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ +2.2% เพราะส่งออกและการใช้จ่ายผู้บริโภคชะลอตัว สำหรับทั้งปี 59 เศรษฐกิจสหรัฐ +1.6% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี และลดลงจาก +2.6% ในปี 58
# ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป -0.4% ในเดือนธ.ค. โดยได้รับผลกระทบจากอุปสงค์เครื่องบินที่ลดลง
• ปัจจัยจับตาในสหรัฐสัปดาห์นี้
ประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ ซึ่งรวมถึงเฟซบุ๊ก และแอปเปิล อิงค์
• ตลาดหุ้นสหรัฐ : เมื่อวันศุกร์ปิดในกรอบแคบ
ดัชนี DJIA ปิดที่ 20,093.78 จุด ลดลง 7.13 จุด หรือ -0.04% ดัชนี NASDAQ ปิดที่ 5,660.78 จุด เพิ่มขึ้น 5.60 จุด หรือ +0.10% ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,294.69 จุด ลดลง 1.99 จุด หรือ -0.09% ทั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐไตรมาส 4/59 เติบโตน้อยกว่าที่ตลาดคาดไว้ และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนอ่อนตัวลงในเดือนธ.ค.59
- ราคาน้ำมันดิบ : อ่อนลงหลังแท่นขุดเจาะสหรัฐกลับมาดำเนินงานเพิ่มขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมี.ค.ลดลง 61 เซนต์ หรือ 1.1% ปิดที่ 53.17 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ลดลง 72 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 55.52 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยที่กดดดัน คือ รายงานของเบเกอร์ ฮิวจ์ ที่ระบุว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่มีการใช้งานในสหรัฐเพิ่มขึ้นต่อเป็นสัปดาห์ที่ 2 อีก 15 แท่น สู่ระดับ 566 แท่นเมื่อสัปดาห์ก่อน
• ราคาทองคำ : อ่อนลงเล็กน้อย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 1.4 ดอลลาร์ หรือ 0.12% ปิดที่ 1,188.40 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ :
- กลุ่มสายการบิน : รัฐบาลเรียกเก็บภาษีน้ำมันสำหรับที่ใช้กับเที่ยวบินในประเทศเพิ่มขึ้น
• ครม.เมื่อ 24 ม.ค.60 มีมติเห็นชอบให้มีการเรียกเก็บภาษีน้ำมันเครื่องบินเป็นไม่เกิน 4 บาท/ลิตร (จากเดิมเรียกเก็บที่ 0.20 บาท/ลิตร) โดยได้มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งรัฐบาลประเมินว่าจะมีรายได้เพิ่มจากส่วนนี้ราว 8 พันล้านบาท ทั้งนี้จะเรียกเก็บจากน้ำมันสำหรับเที่ยวบินในประเทศเท่านั้น แต่น้ำมันที่ใช้กับเที่ยวบินต่างประเทศได้รับการยกเว้น ซึ่งการเรียกเก็บดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ต้นทุนน้ำมันเครื่องบินสูงขึ้น 20-25% (หรือราว 13 ดอลลาร์/บาร์เรล) เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันเครื่องบินในปัจจุบัน
• เราประเมินและมีสมมติฐานว่าบริษัทน้ำมันจะส่งผ่านภาษีที่เรียกเก็บดังกล่าวไปยังผู้ประกอบการสายการบิน ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นข่าวลบกับผู้ประกอบการสายการบิน โดยเฉพาะสายการบินที่มีต้นทุนน้ำมันเป็นสัดส่วนสูงและมีเที่ยวบินในประเทศมาก อย่างไรก็ตาม ภาระต้นทุนที่เพิ่มส่วนหนึ่งจะถูกส่งผ่านไปยังผู้บริโภค โดยการปรับขึ้นราคาค่าตั๋วเครื่องบินในประเทศ สำหรับโครงสร้างการใช้น้ำมันและรายได้ของแต่ละบริษัทสายการบิน เป็นดังนี้
# BA : มีการใช้น้ำมัน 1.44 ล้านบาร์เรล/ปี หรือราว 172 ล้านลิตรต่อปี สัดส่วนการบินในประเทศ 70% ผลกระทบต่อกำไรกรณีแย่ที่สุดหากไม่สามารถผลักต้นทุนที่เพิ่มออกไปได้เลย คือ 337 ล้านบาท หรือราว 10% ของประมาณการกำไรปี 60
# AAV : มีการใช้น้ำมัน 3.6-3.8 ล้านบาร์เรล/ปี หรือราว 430-453 ล้านลิตรต่อปี สัดส่วนการบินในประเทศ 50% ผลกระทบต่อกำไรกรณีแย่ที่สุดฯ คือ 634 ล้านบาท หรือราว 25% ของประมาณการกำไรปี 60
# THAI : มีการใช้น้ำมัน 18.5 ล้านบาร์เรล/ปี หรือราว 2,206 ล้านลิตรต่อปี สัดส่วนการบินในประเทศ 4% ผลกระทบต่อกำไรกรณีแย่ที่สุดฯ คือ 247 ล้านบาท หรือราว 5% ของประมาณการกำไรปี 60
# BAFS : ทางบริษัทยืนยันมาแล้วว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีน้ำมันเครื่องบิน เพราะเปน็ เพียงผู้จัดหา Facilities คือจัดเก็บและบริการเติมน้ำมันให้กับสายการบินที่มาเป็นลูกค้าเท่านั้น
โดยภาพรวมดูเหมือน AAV จะต้องเผชิญกับความท้าทายมากที่สุดใน 3 บริษัทสายการบินที่กล่าวถึงข้างต้น แต่ทางบริษัทก็ยืนยันว่าสามารถบริหารจัดการเรื่องนี้ได้ และทำให้ผลกำไรไม่ได้ลดลงมากอย่างที่กังวลกัน ทั้งนี้มีกระแสข่าวว่าผู้ประกอบการกลุ่มสายการบินจะขอหารือกับภาครัฐเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งต้องติดตามกันต่อไปว่าจะมีการพบปะหารือจริงหรือไม่ และถ้าจริงผลออกมาเป็นอย่างไร
•/+ ไทย : คลังมั่นใจปัจจัยบวกขยับเศรษฐกิจปี 60 เติบโตได้ 4%
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า วันนี้ (30 ม.ค.60) กระทรวงการคลังจะปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 2560 ใหม่ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว +3.4% เป็น +4% โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้รวบรวมปัจจัยบวกและลบที่ยังไม่ได้นำมาประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจไทยก่อนหน้านี้เข้ามา ซึ่งคาดว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายเรื่องที่ได้ดำเนินการไปและการลงทุนภาครัฐที่คืบหน้ามากขึ้นในปนี ี้ รวมทั้งภาคสง่ ออกที่เติบโตเป็นบวกได้มากขึ้น จะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจไทยปี 60 ขยายได้ได้มากกว่าปี 59
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]