- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 23 January 2017 17:52
- Hits: 7443
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
'Earning Season : ประกาศกำไร & จ่ายปันผล'
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : ตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ปรับขึ้น 8.11 จุดปิดที่ 1562.99 การปรับขึ้นนำโดยกลุ่มพลังงาน, ธนาคารพาณิชย์, โรงพยาบาลเล็ก, และหุ้นกลาง-เล็กกระจายไปในกลุ่มต่างๆ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ 3.7 พันล้านบาท รายย่อยขายสุทธิ ส่วนอีก 2 กลุ่มซื้อ/ขายสุทธิไม่มาก สำหรับปัจจัยสำคัญช่วงนี้ ได้แก่
ทรัมป์ขึ้นรับตำแหน่งปธน.อย่างเป็นทางการ...เริ่มด้วยการปูทางไปสู่การยกเลิกโอบามาแคร์
/- วิตกปัญหาขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นของสหรัฐ ซึ่งอาจต้องขยายเพดานการก่อหนี้อีกรอบ (ขณะนี้รัฐมีหนี้ 104% ของจีดีพี)
/- ค่าเงิน US$ ร่วงหลังทรัมป์ขึ้นรับตำแหน่งด้วยคะแนนนิยมต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 37%
/+ จับตาผลประกอบการ 4Q59 และปี 59 รวมถึงการประกาศจ่ายปันผลบริษัทจดทะเบียน
+ มีโอกาสที่รัฐบาลจะเพิ่มการจ่ายค่าประกันสังคม (คาดไว้ที่ +3%) และค่า RW...เป็นบวกกับโรงพยาบาลที่รับคนไข้ประกันสังคม เช่น BCH, CHG, LPH, RJH, VIBHA เป็นต้น ทั้งนี้ทางฝ่ายวิจัยฯ DBSV ให้ LPH เป็นหุ้น Top Pick
จัดพอร์ตบนความสมดุลของ Risk & Return (แบ่งเป็น 3 หมวด : หุ้นปันผล, หุ้นมั่นคง และหุ้นเติบโต) และทำ Re-balancing ต่อเนื่อง ทั้งนี้ตลาดหุ้นปีนี้มีแนวโน้มผันผวน ความเสี่ยง FX มากขึ้น และเริ่มต้นปีบน Index ที่สูง หุ้นพื้นฐานแนะนำเป็น LPH
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นสัญญาณเป็นบวกเล็กๆ ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก แนวต้านระยะสั้น 1570-1580 จุด
สำหรับหุ้น SCAN ทางเทคนิคที่เข้ามาใหม่เป็น KTB, MC, PREB, PTTGC, TWPC, JWD
ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ LHBANK, FORTH, GUNKUL, KOOL, PSL หุ้นแนะนำที่หาจังหวะ Take Profit เป็น BCH, TTA, EPCO หุ้นที่หลุด List คือ MDX
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]
Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ & ในประเทศที่สำคัญ
ปัจจัยต่างประเทศ :
สหรัฐ : ทรัมป์ขึ้นรับตำแหน่งปธน.ด้วยคะแนนนิยมต่ำสุดเป็นประวัติการณ์...เริ่มมาตรการด้วยการล้มเลิกโอบามาแคร์
# เมื่อวันที่ 20 ม.ค.60 นายโดนัล ทรัมป์ เข้าทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 พร้อมกับคะแนนนิยมที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์เพียง 37% ตามโพลล์ของซีบีเอสนิวส์ สำหรับนโยบายแรกที่ได้กล่าวถึงนั้นพุ่งเป้าไปที่นโยบายหลักประกันสุขภาพของโอบามา หรือโอบามาแคร์ โดยสั่งการให้หน่วยงานทั้งหลายของรัฐบาลยอมให้มีการยกเว้นทุกด้านที่เป็นไปได้ เพื่อจำกัดภาระทางเศรษฐกิจและกฎระเบียบที่เกิดจากกฎหมายโอบามาแคร์ ถือเป็นการโหมโรงก่อนที่เขาและรัฐสภาที่พรรครีพับลิกันครองเสียงข้างมากจะเดินหน้าล้มเลิกโอบามาแคร์ตามที่ทรัมป์เคยลั่นวาจาไว้ ทั้งนี้นายทรัมป์กล่าวว่ารัฐบาลจะดำเนินการด้วยกฎง่ายๆ เพียง 2 ข้อคือ 1. ซื้อสินค้าอเมริกัน และ 2. จ้างงานชาวอเมริกัน
# เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ คือ การยกเลิกข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) แล้วหันไปเจรจากับแต่ละประเทศ/หรือกลุ่มประเทศในรูปแบบทวิภาคีแทน โดยเป็นที่จับตาว่าการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน, สหรัฐ-ญี่ปุ่น, สหรัฐ-เม็กซิโก จะเป็นอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ออสเตรเลียกล่าวว่าจะผลักดันประเทศสมาชิก 10 ประเทศในการกดดันสภาคองเกรสสหรัฐให้ร่วมลงนามในข้อตกลง TPP ดังกล่าว แม้ว่าทรัมป์จะไม่เห็นด้วยก็ตาม สำหรับประเทศที่ลงนามในข้อตกลง TPP ฉบับปัจจุบัน ได้แก่ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น บรูไน แคนาดา ชิลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์ เวียดนาม และสหรัฐ
# สำหรับความคาดหวังกับ Fiscal Policies หลักๆ คือ ขยายการลงทุนในโครงการสาธารณูปโภคต่างๆ และการลดอัตราภาษีรายได้นิติบุคคล อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวนี้ ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาลที่อาจจะเพิ่มขึ้น (ล่าสุดหนี้สาธารณะของสหรัฐอยู่ที่ 104% ของจีดีพี) และรัฐบาลอาจต้องขอขยายเพดานหนี้สาธารณะอีกรอบ
/- สหรัฐ : นักวิชาการการเมืองเม็กซิโกวิพากษ์ว่าทีมงานทรัมป์หลายคนขาดประสบการณ์
# นายวัลเดส ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยอเมริกาเหนือแห่งมหาวิทยาลัย National Autonomous University of Mexico (UNAM) ตั้งข้อสังเกตว่า ทรัมป์เลือกรัฐมนตรีด้วยความชอบส่วนตัว ไม่ได้เลือกตามประสบการณ์ทางการเมือง โดยหลายคนที่เขาเลือกก็เป็นมหาเศรษฐีเหมือนเขา และแทบไม่มีประสบการณ์ในตำแหน่งที่ได้รับการแต่งตั้ง นอกจากนั้นยังมีแนวคิดอนุรักษ์นิยมเหมือนทรัมป์ด้วย
# ผู้ที่นายวัลเดสรู้สึกเป็นกังวลที่สุดก็คือ ไมเคิล ฟลินน์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ เพราะการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งนี้ไม่ต้องผ่านการรับรองจากวุฒิสภา และทรัมป์จะรับฟังคำแนะนำในเรื่องสำคัญๆจากบุคคลนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ISIS ซีเรีย อิรัก หรือตะวันออกกลาง และอีกคนที่อาจเป็นปัญหาคือ วิลเบอร์ รอสส์ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ที่ชอบกว้านซื้อบริษัทล้มละลาย นำมาฟื้นฟู และกอบโกยเงินจนร่ำรวย นอกจากนั้นยังมี เจฟฟ์ เซสชันส์ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเคยถูกกลุ่มคนละตินอเมริกาและองค์กรเอ็นจีโอหลายแห่งในสหรัฐกล่าวหาว่าเป็นพวกเหยียดเชื้อชาติ
# อย่างไรก็ดี ยังมีรัฐมนตรีบางคนที่นายวัลเดสรู้สึกว่าเหมาะสมกับตำแหน่ง ได้แก่ จอห์น เคลลี อดีตผู้บัญชาการระดับสูงในกองกำลังนาวิกโยธิน ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และ เจมส์ แมททิส อดีตผู้บัญชาการกองกำลังนาวิกโยธินสหรัฐ ที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
+ สหรัฐ : ตลาดหุ้นปรับขึ้นแต่ค่าเงิน US$ อ่อนลงต้อนรับปธน.คนที่ 45
# ดัชนี DJIA เพิ่มขึ้น 94.85 จุด หรือ 0.48% ปิดที่ 19,827.25 ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 7.62 จุด หรือ 0.34% ปิดที่ 2,271.31 จุด ดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 15.25 จุด หรือ 0.28% ปิดที่ 5,555.33 จุด
# ส่วนค่าเงิน US$ อ่อนค่าลง โดยดัชนีค่าเงินดอลลาร์วันศุกร์ -0.37% มาที่ 100.78 (และเช้านี้ลงมาที่ 100.5) ทั้งนี้ตลาดมองว่าทรัมป์ยังไม่ได้ประกาศรายละเอียดของมาตรการต่างๆมากนัก ทำให้ยังมีความไม่แน่นอนสูง
+ ราคาน้ำมันดิบ : บวกก่อนการประชุมกลุ่มใน&นอกโอเปก แต่จำกัดด้วยแท่นขุดเจาะสหรัฐที่เพิ่มขึ้น
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ.พุ่งขึ้น 1.05 ดอลลาร์ หรือ 2% ปิดที่ 52.42 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ส่งมอบเดือนมี.ค.เพิ่มขึ้น 1.33 ดอลลาร์ หรือ 2.5% ปิดที่ 55.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับขึ้นก่อนมีการประชุมของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันจะมีขึ้นที่กรุงเวียนนาในวันเสาร์ที่ 21 ม.ค. โดยการประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อตรวจสอบระดับการปฏิบัติตามข้อตกลงลดกำลังการผลิตของประเทศสมาชิก อย่างไรก็ตาม แรงบวกของสัญญาน้ำมันได้ถูกสกัดลงในระหว่างวัน หลังเบเกอร์ ฮิวจ์ รายงานว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันที่มีการใช้งานในสัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้น 29 แท่น สู่ระดับ 551 แท่น
ราคาทองคำ : ขยับขึ้นเล็กน้อย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.เพิ่มขึ้น 3.4 ดอลลาร์ หรือ 0.28% ปิดที่ 1,204.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ :
+ กลุ่มโรงพยาบาล : มีโอกาสที่รัฐบาลจะเพิ่มการจ่ายค่าประกันสังคม...ให้ LPH เป็นหุ้น Top Pick
# มีความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลจะปรับขึ้นการจ่ายค่าประกันสังคม เพื่อสะท้อนต้นทุนด้านการแพทย์ที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันจ่ายอยู่ที่ 1,460 บาท/คน/ปี สำหรับการจ่ายเพิ่มคาดว่าเป็นประมาณ +3% รวมทั้งอาจจะปรับเพิ่มค่าภาระเสี่ยง (RW) จากปัจจุบันที่อยู่ระดับ 432 บาท/คน/ปีด้วย
# หากมีการเพิ่มจริง ก็เป็นข่าวดีกับโรงพยาบาลที่รับคนไข้ประกันสังคม เช่น BCH, CHG, LPH, RJH, VIBHA เป็นต้น ทั้งนี้ RJH มีสัดส่วนรายได้จากคนไข้ประกันสังคม 45.6% ของรายได้รวม, LPH มี 45%, CHG มี 36% และ BCH มี 35% ซึ่งเรื่องนี้จะทำให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 60 ของ LPH เพิ่มจากปัจจุบันได้อีก 3.5%, RJH เพิ่มเกือบ 4% และ CHG เพิ่มราว 5% ทั้งนี้เราคำนวณตามจำนวนคนไข้ประกันสังคมของแต่ละโรงพยาบาลโดยมีสมมติฐานว่าต้นเพิ่มน้อยกว่ารายได้เพราะธุรกิจโรงพยาบาลมี Fixed Cost ประมาณ 1 ใน 3 ของต้นทุนทั้งหมด
# หุ้น Top Pick ของฝ่ายวิจัยฯ DBSV ในช่วงนี้เป็น LPH (แนะนำซื้อ ราคาพื้นฐาน 10.90 บาท) เนื่องจากมีการเติบโตของกำไรในปี 60 แข็งแกร่งที่ประมาณ 26% และมี P/E ปี 60 ที่ 36 เท่า ซึ่งต่ำกว่าหุ้นโรงพยาบาลขนาดเล็กอื่นๆ ที่มี P/E ปี 60 สูงกว่า 40 เท่า ทั้งนี้ประมาณการรายได้ กำไร และราคาพื้นฐานของ LPH ที่ 10.90 บาท ยังไม่รวมผลดีจากการขยายอัตราค่าประกันสังคมที่มีความเป็นไปได้ดังกล่าวข้างต้น
+ รัฐบาลกำลังพิจารณาต่ออายุลดภาษีการลงทุน
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าภายในสัปดาห์นี้จะหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เร่งสรุปการขยายมาตรการลดหย่อนภาษี 2 เท่าของรายจ่ายเพื่อการลงทุน เพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนที่ซบเซามาหลายปี โดยจะเสนอให้ครม.พิจารณาภายในเดือนม.ค.60 นี้
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค - [email protected]