WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  SET ปรับฐาน ยังมีอยู่ทั้งแรงขายของกองทุน LTF ที่ครบกำหนด 5 ปีปฏิทิน และแรงขายรับงบธนาคารฯ กลยุทธ์การลงทุนเลือกรายหุ้นที่มีเงินปันผลสูง (ASK, SCCC, TCAP, LH, PTTGC) และหุ้น Global ที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก (PTT, PTTEP, PTTGC, TTA) เลือก PTTGC(FV@B76) เป็น Top pick

 

(0) Dollar กลับมาผันผวนอ่อนค่า ตามแรงกระเพื่อมผู้นำคนใหม่
  ล่าสุดแม้ IMF ได้คงคาดการณ์ GDP Growth โลกปี 2560 ที่ 3.4% แต่ ปรับเปลี่ยนบางประเทศคือ ปรับลด 1). ซาอุดิอาระเบียลด 1.6% เหลือ 0.4% 2). อินเดีย ลด 0.4% เหลือ 6.6% 3). อิตาลี ลด 0.2% เหลือ 0.7% 4). บราซิล ลด 0.3% เหลือ 0.2% 5. เม็กซิโก ลด0.6% เหลือ 1.7% ( จากนโยบายของนายโดนัล ทรัมป์ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อเม็กซิโกมากเป็นอันดับ 2 รองจากจีน)
  ขณะที่ปรับขึ้นในบางประเทศ อาทิ สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 2.3% (จากนโยบายการลดภาษี และเน้นการลงทุนของนายทรัมป์) 2. ญี่ปุ่น เพิ่ม 0.2% เป็น 0.8% 3. อังกฤษ เพิ่ม 0.4% เป็น 1.5% และจีนปรับเพิ่มขึ้น 0.3% เป็น 6.5%
  แต่อย่างไรก็ตามการปรับในครั้งนี้ยังไม่ได้รวมผลกระทบของ Brexit เข้าไว้ หลังจากวานนี้นางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้มีการแถลงแผนร่างการเตรียมตัวออกจาก EU กล่าวคือ ออกจากการเป็น Single Market โดยไม่ต้องผ่านการอนุมัติของรัฐสภา ซึ่งจะทำให้ได้รับสิทธิการเจรจาทางการค้าและการควบคุมกฎหมายภายใต้รัฐสภาตนเองในทันที แต่เป็นที่สังเกตว่า ค่าเงินปอนด์เทียบดอลลาร์แข็งค่าขึ้นราว 2% ซึ่งคาดว่าเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์ ที่อ่อนค่าอย่างหนักราว 1% หลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์ Wall Street ฉบับล่าสุด โดยไม่เห็นด้วยกับเงินดอลลาร์แข็งค่าเกินไป เพราะจีนพยายามทำให้เงินหยวนอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ส่งผลให้บริษัทของสหรัฐไม่สามารถแข่งขันกับบริษัทของจีนได้

 การให้ความเห็นของนายทรัมป์ฯ ดังกล่าวได้ลดความคาดหวังของตลาดต่อทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ จากเดิมที่คาดว่าจะขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง จากปัจจุบัน 0.5-0.75% (เทียบกับเงินเฟ้อที่ 1.7% เดือน พ.ย.) และดังที่กล่าวมาตลอดว่า ตลาดหุ้นสหรัฐ DJIA ปรับตัวขึ้นกว่า 12% ในช่วงเวลา 2 เดือน โดยติดแนวต้านระยะสั้น 20,000 จุด นับจากที่ทรัมป์ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี จนถึงช่วงก่อนคริสต์มาส และตลาดหุ้นสหรัฐก็เข้าสู่ช่วงปรับฐานมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับตลาดหุ้นพัฒนาแล้วในยุโรป พบว่าหลายประเทศยังคงปรับตัวขึ้นเช่นกันแม้ในอัตราที่น้อยกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ แต่พบว่าตลาดหุ้นยุโรปเพิ่งมาปรับฐานช่วงต้นปี 2560 กล่าวคือตลาดเยอรมันปรับตัวขึ้น 10% โดยติดแนวต้านระยะสั้นที่ 11600 จุด ตามมาด้วย ฝรั่งเศสปรับขึ้น 8% ระยะสั้นแนวต้าน 4,900 จุด และ อังกฤษปรับขึ้นเกือบ 9% โดยที่ตลาดหุ้น FTSE ของอังกฤษ เพิ่งปรับฐานหนักเมื่อวานนี้ โดยลดลงแรง 1.45%
  จากนี้ไปคาดว่าตลาดหุ้นต่างประเทศต่างประเทศ คงไม่มีอะไรใหม่ และคงต้องรอแถลงการณ์ของนายทรัมป์ฯ เมื่อขึ้นรับตำแหน่งว่าจะมีการหยิบยกนโยบายเศรษฐกิจที่ต้องการหาเสียง มาขยายเพิ่มเติมหรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการลดภาษีของทุกกลุ่มฯ และการกีดกันทางการค้า รวมถึง ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐในวันที่ 30 ม.ค. – 1 ก.พ.ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของปีนี้ จะยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจที่ดี และขึ้นดอกเบี้ย ตามที่เคยพูดไว้หรือไม่ ขณะที่ผลการสำรวจของ Bloomberg ล่าสุดพบว่า Fed Fund Rate ในปี 2560 จะอยู่ที่ 1.5% หรือเพิ่มขึ้น 3 ครั้ง โดยส่วนใหญ่ให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในช่วงเดือน มิ.ย. – ธ.ค. 2560

 

(-) หุ้นธนาคารมีแรงเทขายรับงบ 4Q59 ล่าสุด TMB
  กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ยังทยอยรายงานงบฯ 4Q59 ออกมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจาก TISCO รายงานงบ 4Q59 ออกมาต่ำกว่าคาดเล็กน้อย อยู่ที่ 1.29 พันล้านบาท แต่โดยรวมปี 2559 กำไรสุทธิอยู่ที่ 5 พันล้านบาท เติบโต 17.8% ขณะที่ปี 2560 คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตต่อเนื่องอีก 18.2% อยู่ที่ 5.9 พันล้านบาท ตามด้วย LHBANK งบ 4Q59 เป็นไปตามคาดที่ 624 ล้านบาท หดตัวลง 10.6% qoq แต่ขยายตัว 35.6% yoy โดยรวมปี 2559 กำไรสุทธิอยู่ที่ 2.7 พันล้านบาท ส่วนปี 2560 ฝ่ายวิจัยลดประมาณการกำไรสุทธิลง 5.4% จากเดิม คาดกำไรสุทธิปี 2560 หดตัวราว 1.5% yoy ส่วน EPS หดตัวสูงกว่าถึง 36.6% yoy เนื่องจากการเพิ่มทุนถึง 55% ของทุนเดิม จะทำให้เกิดผลกระทบต่อ dilution effect ของ EPS และ ROE ที่ลดลง
  ส่วนวานนี้ TMB ประกาศงบฯ 4Q59 กำไรสุทธิอยู่ที่ 2.13 พันล้านบาท หดตัว 18.2%qoq แต่ขยายตัวได้ 15.9% yoy ส่งผลให้ทั้งปี 2559 กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.22 พันล้านบาท หดตัวลงราว 12%
  ทั้งนี้ ราคาหุ้นทั้ง 3 ธ.พ. หลังประกาศงบฯ ล้วนแต่เผชิญกับ Sell on fact ทั้งสิ้น โดยวานนี้ TISCO ปรับลดลงแรงถึง 2.38% LHBANK ลดลง 1.67% ส่วน TMB แม้ราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากวันก่อนหน้า แต่ราคาปิดก็ลดลงจากราคาสูงสุดของวันถึง 2.67% จึงคาดว่า ธ.พ. แห่งอื่นๆ ที่จะทยอยประกาศผลการดำเนินงานจนครบในช่วงสัปดาห์นี้ ก็มีโอกาสถูก Sell on fact เช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้ในช่วงสั้น อาจต้องหลีกเลี่ยงไปก่อน แต่ก็ถือเป็นจังหวะที่ดีที่ราคาอ่อนตัว เข้าสะสมหุ้น ธ.พ. ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มี Valuation ที่น่าจูงใจ ยังคงแนะนำ SCB(FV@B177) จากประสิทธิภาพการหารายได้ดอกเบี้ยและที่มิใช่ดอกเบี้ย และคุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแกร่งขึ้นมากในปี 2560 และ TCAP(FV@B50) จากแนวโน้มการฟื้นตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปี 2560 อีกทั้งพัฒนาการบวกของธุรกิจใน 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของกำไรได้ดีกว่า ธ.พ.กลาง-เล็ก อื่นๆ

(-) ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยเล็กน้อย แต่แรงขาย LTF น่าจะเพิ่มขึ้น
  แม้ภาพรวมวานนี้ต่างชาติจะสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 63 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วันทำการ) แต่ยังขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 26 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), และฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดหุ้นอีก 2 แห่งที่เหลือต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกซื้อสุทธิสูงถึง 111 ล้านเหรียญ และไทยซื้อสุทธิเล็กน้อย 4 หมื่นเหรียญ หรือเพียง 1 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วันทำการ)
  ทั้งนี้สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯ ที่ขายสุทธิราว 924 ล้านบาท สลับจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้า และ หากพิจารณาในช่วงครึ่งแรกของเดือน ม.ค. ปีนี้ พบว่า นักลงทุนสถาบันฯ ซื้อ – สลับขาย ทำให้มียอดซื้อสุทธิสะสม 1.95 พันล้านบาท ซึ่งผิดจากหลายปีก่อนหน้านี้ที่ช่วงครึ่งแรกของเดือน ม.ค. มักจะขายออกมา แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้คาดว่าน่าจะมีแรงขายของกองทุน LTF (ผู้ถือหน่วยลงทุนตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยเทียบเท่า SET Index อยู่ที่ประมาณ 1501 จุด) โดยหากพิจารณาสถิติในอดีต 10 ปีย้อนหลัง พบว่าสถาบันมักขายสุทธิในช่วงต้นปีเฉลี่ย 2.3 พันล้านบาท (ด้วยโอกาส 50%)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 3.48 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 4.33 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)

(+) กลยุทธ์ Dividend Play ซื้อก่อนขึ้น XD 2 เดือน : ASK, LH, SCC, TCAP และ PTTGC
  หลังการประกาศงบการเงินงวดปี 2559 จะเข้าสู่ช่วงจ่ายเงินปันผล (รายไตรมาส ครึ่งปี หรือ 1 ปี) ราวเดือน มี.ค.- พ.ค. จึงแนะนำ หุ้นปันผลสูง ทั้งนี้จากการศึกษาข้อมูลในอดีตย้อนหลัง 5 ปี ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการลงทุนในหุ้นปันผลเด่น คือ ให้ซื้อก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือนและขายทำกำไรในวันขึ้น XD โดยแบ่งผลตอบแทนที่ได้ออกเป็น 2 กรณีหลักๆ ดังนี้
  หุ้นที่จ่ายปันผลปีละครั้ง หากซื้อก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 11.66% ด้วยความน่าจะเป็นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกกว่า 84% โดยพบว่า หุ้นที่จ่ายปันผลปีละครั้ง อย่าง THANI ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 27.0% รองลงมา คือ IRPC 17.3%, IFS 15.6%, ASK 12.6%, TK 12.1%, SC 6.7%, TISCO 5.6%, KTB 3.9% และ SITHAI 4.3%
  หุ้นที่จ่ายปันผลปีละมากกว่า 2 ครั้ง หากซื้อก่อนวันขึ้น XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในอดีตสูงถึง 7.57% ด้วยความน่าจะเป็นที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกราว 79% โดยพบว่า AH ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 15.8% ตามมาด้วย BCP 13.8%, SENA 13.4%, AIT 13.4%, MAJOR 12.5%, INTUCH 11.6%, MCS 11.1%, ADVANC 10.4%, HANA 10.3%, GLOW 10.3%, SPALI 9.8%, TCAP 7.5%, TTW 7.3 %, SAT 7.2%, LANNA 7.1%, BBL 6.9%, PTTGC 6.8% และบริษัทอื่นๆอีกกว่า 15 บริษัท ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดได้ในบทวิเคราะห์ฉบับเต็ม Quantitative Analysis เมื่อวานนี้
เลือก ASK, LH, SCC, TCAP และ PTTGC หุ้นเด่น Dividend Play

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!