- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 18 January 2017 18:09
- Hits: 1157
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
SET เริ่มอ่อนแรง คาดปรับตัวลงอีกพัก แนะนำเลือกหุ้นทยอยซื้อลบ!!
ตลาดหุ้นวานนี้ : หลังจาก SET พยายามแกว่งตัวด้านบวกอีกในภาคเช้า แต่ยังมีแรงขายกดดันให้อ่อนตัว จนทำให้ภาคบ่ายดัชนีไหลย้อนลบลงอีกครั้ง เนื่องจากนักลงทุนยังไม่มั่นใจต่อผลกระทบจากกระบวนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ(Brexit) รวมทั้งนักลงทุนบางส่วนยังรอดูความชัดเจนของนโยบาย ปธน.สหรัฐคนใหม่ที่จะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 ม.ค. นอกจากนี้ยังรอติดตามความคืบหน้าเกี่ยวกับการลดกำลังการผลิตน้ำมันจากที่ประชุม OPEC, Non-OPEC ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ด้วย
แนวโน้มตลาดวันนี้ : การแถลงขั้นตอนการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ(Brexit) มีผลกดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปส่วนใหญ่ยังปิดทำการด้านลบ ถึงแม้ว่าการระบุว่าข้อตกลงขั้นสุดท้ายจะต้องผ่านการลงมติในรัฐสภาจะช่วยพยุงตลาดหุ้นไว้ได้บ้าง แต่แรงขายหุ้นกลุ่มการเงินและอุตสาหกรรมยังกดดันตลาดอยู่ หลังว่าที่ ปธน.สหรัฐแสดงความเห็นว่าการแข็งค่าของดอลลาร์ส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ทำให้ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ส่วนใหญ่ยังคงเปิดตัวด้านลบต่อเนื่อง ในขณะที่ FSS คาดหมายว่า SET ยังมีแนวโน้มที่จะอยู่ในช่วงปรับพักตัวลงอีกสักพัก ก่อนลุ้นแรงซื้อดันกลับในรอบหน้าต่อไป
กลยุทธ์ : เรายังแนะนำให้รอเลือกหุ้นทยอยซื้อช่วง SET ปรับลงเช่นเดิม
แนวรับ 1565-1563 , 1560-1553 จุด
แนวต้าน 1568-1572 , 1575-1577 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : TFG, ALT, RS(short)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนกลับมาไหลเข้าภูมิภาค US$62ล้าน แต่เป็นการไหลเข้าไต้หวันประเทศเดียว US$103ล้าน และไทยมีเม็ดเงินไหลเข้าแต่น้อยมากที่ US$0.04ล้าน ขณะที่ไหลออกเกาหลีใต้ US$25ล้าน และอินโดนีเซีย US$9ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลออกจากภูมิภาค โดยตลาดติดตามการแถลงนโยบายจาก Trump ในคืนวันศุกร์นี้
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(-) ปัจจัยต่างประเทศกดดันหุ้นขนาดใหญ่ การให้สัมภาษณ์ของทรัมป์ว่าค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเกินไปทำให้ดอลลาร์อ่อนลงทันที แต่ดอลลาร์ยังมีโอกาสกลับมาแข็งค่า นักลงทุนยังรอการแถลงนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ในวันรับตำแหน่งคืนวันศุกร์นี้ แม้ว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าไทยในระยะสั้นๆนี้แต่กระจุกอยู่ในตลาดพันธบัตรมากกว่าจะเป็นหุ้น
(-) ประเด็นหนี้ตั๋ว B/E กดดันบรรยากาศหุ้นเล็ก ข่าวการผิดนัดชำระหนี้ตั๋ว B/E อาจกดดันบรรยากาศการลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก แต่นักลงทุนควรพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะบางบริษัทมีปัญหาขาดสภาพคล่อง เช่น RICH, KC (ส่วน IFEC แจ้งว่าเป็นปัญหาทางเทคนิค) แต่บางบริษัทอาจเป็นเพียงปัญหาการจัดการ สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาสั้นๆ ผลของการผิดนัดชำระหนี้ จะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น สินทรัพย์ค้ำประกัน (ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร) ถูกยึดหรือขายสินทนัพย์มาชำระหนี้ ทำให้ความสามารถในดำเนินธุรกิจและผลประกอบการลดลง สำหรับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน มีผลกระทบน้อยเพราะสถานะทางการเงินยืดหยุ่นกว่ามาก
(+) KBANK กำไรสุทธิ 4Q16 ดีกว่าคาด โดย -5.6% Q-Q, +87% Y-Y จากค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าคาด สำหรับกำไรทั้งปี 2016 +1.8% Y-Y ถือว่าแข็งแกร่งเพราะปี 2016 เป็นปีแห่งการตั้งสำรองเพิ่มแต่ KBANK ยังสามารถทำให้กำไรเติบโตได้ ส่วน NPL เริ่มนิ่งและ Coverage ratio สูงอยู่ที่ 131% เรามีแนวโน้มปรับเพิ่มกำไรและราคาพื้นฐานที่ให้ไว้ 202 บาท ยังแนะนำซื้อ
(+) TMB กำไรสุทธิ 4Q16 ดีกว่าที่เราคาดประมาณ 10% โดย +16% Q-Q, -18% Y-Y เป็น 2.1 พันล้านบาทจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสูงกว่าคาด ส่วนกำไรทั้งปี 2016 -12% Y-Y จากการตั้งสำรองสูง ส่วนการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้เป็นไปในเชิงบวก โดยนอกจากผู้บริหารจะให้เป้าทางการเงินปี 2017 เป็นบวกกว่าที่เราคาดไว้แล้ว ยังลดการโฟกัสด้านคุณภาพหนี้ ซึ่งสะท้อนถึง NPL และ Coverage ratio ที่แข็งแกร่งตามเป้าของธนาคารแล้ว เราปรับกำไรปี 2017 เพิ่ม 7.5% เป็น +9.4% Y-Y (เดิมคาด +4.9% Y-Y) จากการปรับสินเชื่อเป็น +8% (เดิม +5%) ปรับ NIM เพิ่มเป็น 3.3% (เดิม 3.12%) ปรับราคาพื้นฐานขึ้นเป็น 2.70 บาท จากเดิม 2.50 บาท ยังคงแนะนำซื้อ
(+) BIG แนวโน้มผลประกอบการ 4Q16 อาจดีกว่าที่เราและตลาดเคยประเมินไว้ และเป็นไปได้ที่จะสร้างสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง จากสินค้าใหม่ที่เปิดตัวจำนวนมาก และแรงหนุนจากมาตรการช้อปช่วยชาติในช่วงปลายปีก่อน ขณะที่โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆที่แม้จะพัฒนากล้องได้ดีขึ้น แต่ยังไม่สามารถแทนที่กล้องจริงๆได้ ประกอบกับ BIG ก็ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันเพื่อลดความผันผวนจากการขายกล้อง เรามีแนวโน้มปรับกำไรและราคาพื้นฐานขึ้น เบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ในช่วง 6.40-6.90 บาท ยังคงแนะนำซื้อ
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
18 ม.ค. - สหรัฐ:เงินเฟ้อ (ม.ค.)
- ยูโรโซน:เงินเฟ้อ (ม.ค.)
19 ม.ค. - ECBประชุม
- อินโดนีเซีย: ธนาคารกลาง (BI) ประชุม
- สหรัฐ:Housing start & building permits (ธ.ค.)
20 ม.ค. - จีน:4Q16 GDP, Industrial Production, Retail sales (ธ.ค.)
- สหรัฐ: Trump เข้ารับตำแหน่งปธน.คนที่ 45 อย่างเป็นทางการ
21-22 ม.ค. - OPEC ประชุมติดตามผลเรื่องการลดการผลิต
23 ม.ค. - ไทย:ยอดขายรถ (ธ.ค.)
24 ม.ค. - ยูโรโซน:Markit Eurozone Manufacturing PMI (ม.ค.)
25 ม.ค. - เกาหลีใต้:4Q16 GDP
- ไต้หวัน: 4Q16 GDP
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านเก่า (ธ.ค.)
26 ม.ค. - ฟิลิปปินส์:4Q16 GDP
- สหรัฐ: ยอดขายบ้านใหม่ (ธ.ค.)
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาปิดในแดนลบหลังทราบรายละเอียดและแผนในการ Brexit ของอังกฤษ ขณะที่ตลาดยังคงวิตกกังวลต่อการเข้าดำรงตำแหน่งของทรัมป์ในปลายสัปดาห์นี้
(-) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนยังปิดในแดนลบโดยช่วงแรกของการซื้อขายปรับลงอย่างหนัก แต่นายกฯอังกฤษระบุว่าข้อตกลง Brexit ขั้นสุดท้ายจะต้องผ่านรัฐสภา
(-) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้แกว่งตัวค่อนมาในแดนลบตามตลาดหุ้นภูมิภาคอื่น และตอบรับเชิงลบต่อความเห็นของทรัมป์เรื่องค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งเกินไป
(+) ส่งผลให้ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าค่อนข้างแรงอีกครั้ง ล่าสุดเคลื่อนไหวในกรอบ 35.20-35.35 บาท/ดอลลาร์
(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 0.11 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 52.48 ดอลลาร์/บาร์เรล จากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่า รวมถึงซาอุดิอาระเบียที่ยังยึดมันที่จะลดกำลังการผลิตตามที่ตกลงกันในการประชุม OPEC
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ก.พ. พุ่งขึ้น 16.70 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,212.90 ดอลลาร์/ออนซ์ สูงสุดในรอบ 2 เดือนจากค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงหลังทรัมป์ให้ความเห็นว่าค่าเงินดอลลาร์แข็งเกินไปเมื่อเทียบกับเงินหยวน
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch