- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 29 December 2016 16:41
- Hits: 1502
บล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สถานการณ์แวดล้อมทั้งเศรษฐกิจในประเทศ ราคาน้ำมัน มีน้ำหนักในทางบวกต่อตลาดหุ้น นอกจากนี้แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันในประเทศ ยังสามารถดูดซับแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติได้ องค์ ประกอบดังกล่าวน่าจะทำให้ SET Index ยืนในระดับที่สูงได้ เลือกหุ้นได้ประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า (GFPT) หุ้นปันผลสูง (ASK, RATCH) และหุ้นน้ำมัน ชอบ PTTEP(FV@B102)
(+) นับถอยหลัง OPEC & Non-OPEC ตัดลดกำลังผลิต ยังเกื้อหนุนราคาน้ำมันโลก
วานนี้ราคาน้ำมันโลกขยับขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 18 เดือน โดย WTI ขึ้นไปยืนเหนือ 54 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับน้ำมันดิบดูไบ ขยับขึ้นไปที่ 53.16 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยหนุนราคาน้ำมัน มาจากคาดการณ์สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ รายสัปดาห์ สิ้นสุด 23 ธ.ค. (รายงานค่ำวันนี้-ตามเวลาในไทย เนื่องจากวันจันทร์ที่ผ่านมาช่วงเป็นวันหยุดคริสต์มาส) คาดว่าจะลดลง 1.5 ล้านบาร์เรล บวกกับการตัดลดกำลังผลิตของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC กว่า 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นระยะเวลา 6 เดือน (ล่าสุด ซาอุดิอาระเบียยอมตัดลดกำลังการผลิตลง 4.86 แสนบาร์เรล, เวเนซุเอล่าลด 9.5 หมื่นบาร์เรล) ขณะที่รัสเซียออกมาคาดการณ์การเติบโตของกำลังผลิตน้ำมันดิบในปี 2560 ที่ 4.5-5.0% น้อยกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 6-7% ทั้งนี้ กลุ่ม OPEC และ Non-OPEC จะจัดการประชุมอีกครั้งในวันที่ 13 ม.ค นี้ เพื่อประเมินสถานการณ์ต่อไป ซึ่งน่าจะเป็น Sentiment เชิงบวกให้กับราคาน้ำมันอีกรอบหนึ่ง โดยรวมการที่ราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับสมมติฐานของ ASPS เฉลี่ยปี 2560 ที่ 55 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่งผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน ทั้ง PTTEP และ PTT โดยราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ทุกๆ 5 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล จะหนุนกำไรและมูลค่าพื้นฐานของ PTTEP เพิ่มขึ้น 7.5% และ 9 บาทต่อหุ้น และเช่นเดียวกับ PTT จะเพิ่มขึ้น 2.8% และ 8 บาท ตามลำดับ จึงยังคงชื่นชอบ PTTEP (FV@B102) และ PTT (FV@B400)
(+) สศค. คาดเศรษฐกิจไทยปิดจบปีใกล้เคียง ASPS ประเมิน
คาดว่าเศรษฐกิจไทยงวด 4Q59 จะยังขยายตัวได้เมื่อเทียบกับงวด 3Q59 โดยปัจจัยขับเคลื่อนยังคงได้แรงหนุนมาจาก ยอดส่งออก (X) ในรูปดอลลาร์ เดือน พ.ย. ที่กลับมาขยายตัวแรงที่ระดับ 10.2%yoy (เทียบที่ -4.2% เดือน ต.ค.) ประกอบกับรัฐยังเดินหน้าออกมาตรการ กระตุ้นการบริโภค (C) คือ แจกเงินให้เปล่าผู้มีรายได้น้อย 1.27 หมื่นล้าน มาตรการช็อปช่วยชาติ ลดหย่อนภาษี 1.5 หมื่นบาท และการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า 19 ประเทศๆ ละ 1 พันบาท ซึ่งเป็นตัวหนุนรายได้ภาคครัวเรือนในงวด 4Q59 มากขึ้น ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ (G) แม้เป็นไปตามเป้าแต่คาดชะลอตัวตามฤดูกาล(งวดปีงบประมาณ 1Q60) ล่าสุดเบิกจ่ายไป 20.89% โดยภาพรวมทำให้สำนักงานเศรษฐกิจต่างๆ ยังคงคาดการณ์ GDP Growth ปี 2559 เฉลี่ยที่ 3.2% (สศค. คาด 3.3% และ ธปท. 3.2% VS ASPS ที่ 3.2%)
ขณะที่ปี 2560 ASPS คาดว่าปัจจัยภายนอกที่ควรให้น้ำหนักคือ มาตรการการกีดกันทางการค้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าจะเกิดขึ้นเป็นรูปธรรมมากน้อยเพียงใด อาทิ การขึ้นภาษีนำเข้าประเทศที่ได้เปรียบทางการค้าหรือเกินดุลการค้ากับสหรัฐ โดยเฉพาะ จีน (ได้ดุลการค้ากับสหรัฐเป็นอันดับ 1) ขณะที่ไทย เกินดุลอันดับที่ 12 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยขับเคลื่อนหลักในประเทศยังคงเป็นการลงทุนและการใช้จ่ายภาครัฐ นอกเหนือจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่รัฐเดินหน้าประมูลไปแล้วในปีนี้ และจะเริ่มเกิดการลงทุนจริงในปีหน้า อาทิ รถไฟรางคู่ 5 เส้น รถไฟฟ้าสีชมพู เหลือง ส้ม และมอเตอเวย์ ประกอบกับแผนลงทุนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ระยะยาว 5 ปี มีแผนเดินหน้าชัดเจน คาดว่าจะหนุน GDP Growth ปี 2560 ขยายตัวได้ที่ 3.5% (สมมติฐาน C โต 2.7% I 3.9% G 2.5% และ(X&M) ขยายตัว 2% และ -1.5%) และหนุนให้ กนง. ยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ติดต่อกันตั้งแต่ เม.ย.58) ASPS คาดว่าจะมีทิศทางทรงตัวถึงใน 1H59
(0) KSL คาดการณ์ปีหน้ากำไรโตแรงเกือบ 60%
KSL รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q58/59 เท่ากับ 811 ล้านบาท สูงกว่าคาด เพิ่มขึ้นถึง 831.5% qoq (และพลิกจากที่ขาดทุนสุทธิ 226 ล้านบาท ในงวด 4Q57/58) สาเหตุหลักมากำไรจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนสุทธิหลังหักภาษีเท่ากับ 911 ล้านบาท จากการเปลี่ยนวิธีการประเมินที่ดินในส่วนของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนเป็นมูลค่ายุติธรรมจากเดิมบันทึกเป็นราคาทุน ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะผลการดำเนินงานในงวด 4Q59 พบว่าขาดทุนจากการดำเนินงาน 43 ล้านบาท (แย่กว่าคาด) มีปัจจัยกดดันจากธุรกิจไฟฟ้า จากการหยุดซ่อมบำรุงที่โรงไฟฟ้าอ. น้ำพอง จ. ขอนแก่น และธุรกิจน้ำตาลอ่อนตัวลงจากสัดส่วนการขายน้ำตาลดิบมากขึ้น (ราคาขายต่ำกว่าราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์)
ASPS จึงคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2559/60-61 แม้ว่าคาดกำไรสุทธิปี 2559/60 จะลดลง 32.0% yoy เนื่องจากได้รวมกำไรพิเศษไว้ในประมาณการ แต่คาดกำไรจากการดำเนินงานปี 2559/60 จะพลิกกลับมาเติบโตโดดเด่นถึง 55.6% yoy เป็น 970 ล้านบาท จากแนวโน้มราคาขายน้ำตาลดิบเฉลี่ยปี 2559/60 เพิ่มขึ้นเป็น 21.0 เซ็นต์/ปอนด์ สำหรับคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560/61 จะเติบโตต่อเนื่องอีก 15.1% yoy จากปัญหาภัยแล้งคลี่คลายลง หนุนแนวโน้มปริมาณขายน้ำตาลเพิ่มขึ้น 6.7% yoy เป็น 8.0 แสนตัน และแนวโน้มปริมาณขายเอทานอลเพิ่มขึ้น 6.7% yoy เป็น 80 ล้านลิตร จึงยังคงคำแนะนำซื้อ และเลือกเป็น top pick กลุ่มน้ำตาล กำหนด Fair value ปี 2560 เท่ากับ 6 บาท อิงวิธี SOTP
(-) ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในเอเชียเกือบทุกประเทศ ยกเว้นไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 332 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิถึง 4 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 165 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 118 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 8 วัน), อินโดนีเซีย 50 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวเท่านั้นที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิเล็กน้อยราว 8 ล้านเหรียญ หรือ 291 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯ ที่ซื้อสุทธิสูงถึง 2.09 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 6.90 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 338 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
(0) กลยุทธ์การลงทุน สะสมหุ้นข้ามปี ASK, GFPT, CK, UNIQ, BJC, RATCH
คาดว่าไม่น่ามีประเด็นใดที่เป็นปัจจัยลบกดดันในช่วง 2 วันสุดท้ายของปี 2559 ก่อนจะเข้าสู่เฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ 2560 ทั้งปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศที่ปีนี้น่าจะเติบโตได้ตามเป้าที่หลายๆ สำนักเศรษฐกิจวางไว้ และการลงทุนภาครัฐก็มีการแก้ไขข้อกำหนดต่างๆ เพื่อให้การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเดินหน้าต่อไปได้ด้วยความรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องให้น้ำหนักคือ การขายทำกำไรของหลายๆ ตลาดหุ้นโลกในช่วงท้ายปี เห็นได้จากตลาดหุ้น Dow Jones วานนี้ นอกจากไม่สามารถทะลุผ่าน 20,000 จุด ได้แล้ว ยังมีการปรับฐานลงมา ซึ่งน่าจะเกิดกจากการปรับพอร์ตการลงทุนของกองทุนต่างๆ ในสหรัฐ จึงทำให้คาดกันว่า DJIA น่าจะได้เห็น 20,000 จุด ในปีหน้า ในส่วนของตลาดหุ้นไทย หลังจากมีการทำ Window dressing ในช่วงสัปดาห์นี้ อาจจะมีการขายทำกำไรใน 1-2 วันนี้เช่นกัน จึงอาจเห็นการย่อตัวลงมาบริเวณ 1515-1520 จุด
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนข้ามปี แนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายหุ้นที่มีเหตุผลเฉพาะกลุ่มคือ :
Dividend Play : ตามปกติหลังประกาศงบปี 2559 คือ ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2560 จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศจ่ายปันผล โดยจะทยอยขึ้นเครื่องหมาย XD ตั้งแต่ เดือน มี.ค. 2560 เป็นต้นไป กลยุทธ์การลงทุน Dividend Play ให้ซื้อก่อน XD 2-3 เดือน และ ขายวันขึ้นเครื่องใหม่ XD โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยคัดกรอง เลือกจาก Dividend Yield ปี 2559 และ 2560 สูงกว่า 4% ต่อปี มี EPS Growth ปี 2560 เติบโต กว่า 10% Upside สูงกว่าราคาปัจจุบันเกินกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ หุ้นที่เข้าเงื่อนไขคือ ASK (FV@B27), THANI ([email protected]), SCCC (FV@B340), RATCH (FV@B65) และ LH ([email protected])
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า 2 กลุ่มคือ
เกษตร-อาหาร: เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีพ และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ แต่ขึ้นกับโครงสร้างของรายได้และต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยน กล่าวคือ
GFPT (FV@B19) เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ ไปยังยุโรป และเอเชีย โดยเน้นที่ตลาด ญี่ปุ่น ในสัดส่วน 50% ของปริมาณการส่งออกรวม (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 18% รายได้ยูโร 2% ขณะที่ต้นทุนดอลล่าร์ 15%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 2.4%
TU (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (ทูน่า กุ้ง แซลมอน) ไปยังยุโรป และ เอเชีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 69% รายได้ยูโร 24% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลล่าร์ 60%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.5% แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงต้องคำนึงถึงตอนนี้คือ มีคดีความถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับปัญหาการฮั้วราคาขายทูน่ากระป๋องที่สหรัฐฯ ระหว่าง StarKist, Bumble Bee และ Chicken of the sea (บริษัทย่อยของ TU) ในช่วงปี 2554-2556 ทั้งนี้ ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนจากทางกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ (DOJ) โดยผู้บริหารของ Bumble Bee ได้ออกยอมรับเกี่ยวกับข้อหาดังกล่าว (plead guilty) อย่างไรก็ตาม TU ยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฮั้วราคาขายทูน่า แต่หากกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯตัดสินว่า TU มีความผิดก็จะโดนค่าปรับ ซึ่งปัจจุบันยังประเมินมูลค่าไม่ได้
และ CPF ([email protected]) เพราะส่วนใหญ่เป็นส่งออกจะเป็นผลิตภัณฑ์ไก่ หมู กุ้ง อาหารสำเร็จรูป และ อาหารสัตว์ (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 4% รายได้ยูโร 1% ขณะที่ต้นทุนในรูปดอลล่าร์ 3% และหนี้สินเป็นดอลลาร์ 1.2 พันล้านเหรียญฯ) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 4.9%
KSL (FV@B6) ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาล ส่งออกราว 60%ของรายได้รวม ส่วนใหญ่ไปตลาดเอเชีย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 60% ขณะที่ต้นทุนเป็นบาท และหนี้สินเป็นดอลลาร์20 พันล้านเหรียญฯ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 6.7%
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มส่งออกเกษตรอีกหุ้นหนึ่งคือ STA (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกยางแท่งและยางแผ่นรมควัน ตลาดส่งออกหลักอยู่ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีน ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยางส่งออกจะถือว่าเป็นสินค้าขั้นกลาง จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯ และน่าจะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุด เนื่องจากรายได้หลักราว 70% มาจากการส่งออกยางพารา (รับรู้รายได้เป็นสกุลดอลลาร์) แต่ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นเงินบาท (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 85% ขณะที่ต้นทุนเป็นบาท และหนี้สินเป็นดอลลาร์ 30 พันล้านเหรียญฯ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 7.2%
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: โดยหากพิจารณาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันจากสหรัฐไม่มากนัก ขณะที่สินค้าส่งออกกลุ่มนี้น่าจะอยู่ในขั้นกลางเป็นหลัก จึงน่าจะกระทบน้อย พบว่า ผู้ที่ตลาดส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบรายได้รวม คือ HANA 8% ตามด้วย SVI 10% ส่วน KCE มีสัดส่วน 20% และ DELTA สูงสุด 30%
แต่หากพิจารณาผลบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่าพบว่า และ KCE (FV@B110) ได้ประโยชน์มากสุด โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 7.3% (รายได้ในรูปดอลลาร์ 70% และต้นทุนดอลลาร์ 50%)
รองลงมาคือ HANA (FV@B38) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 6.2% (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 100% ขณะที่ต้นทุน 60%)
DELTA(FV@B81) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.7% (รายได้ในรูปดอลาร์ 70% ขณะที่ ต้นทุน 50%)
และ SVI ([email protected]) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.2% (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 70% ขณะที่ต้นทุน50%)
หุ้นรับเหมาก่อสร้าง: ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าการลงทุนภาครัฐ ซึ่งทำให้ Backlog ทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น น่าจะหนุนรายได้และกำไรของกลุ่มฯ โดยรวมดีขึ้นในปี 2560 โดยเฉพาะ UNIQ (FV@B25) ซึ่งคาดว่างานใหม่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 57.3% ของ Backlog เดิมที่มีอยู่ ทำให้เป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูงสุด ขณะที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่ม จึงชอบ UNIQ มากสุด ทั้งยังมี upside สูงถึง 29.5% ตามมาด้วย CK ที่มีฐานธุรกิจกระจายตัวที่ดี (ถือหุ้น TTW 19.40%, BEM 29.73%)
หุ้นเติบโตสูง: เลือก BJC (FV@B64) และ BLA (FV@B62)
หุ้น Energy Recovery: ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันที่ยืนเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล และในปี 2560 ASPS ประเมินไว้ที่ 55 เหรียญฯ แต่มีแนวโน้มจะขึ้นไป 60 เหรียญฯ (IEA คาดการณ์) จึงเลือก PTT (FV@B400) และ PTTEP (FV@B102)
ภรณี ทองเย็น
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์