- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 28 December 2016 15:12
- Hits: 1187
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยืนเหนือ 1,500 จุดได้จากแรงหนุนสถาบันในประเทศ แม้มีแรงขายต่างชาติแต่เบาบางลง และสู่เทศกาลปีใหม่ 2560 นักลงทุนบางส่วนเริ่มหายจากตลาด ทำให้ Volume ซื้อขายเบาบาง กลยุทธ์เลือกหุ้นได้ประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า (GFPT) และปันผลสูง (ASK, RATCH) และหุ้นน้ำมัน ชอบ PTTEP(FV@B102)
(-) ดัชนีความเชื่อมั่นสหรัฐเพิ่ม หนุนดอกเบี้ยขึ้นต่อปี 2560
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังดีต่อต่อเนื่อง ล่าสุด ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 3.93%mom (ที่ 113.7 จุด) เพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกันและเป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปี เพราะ ประชาชนมีความคาดหวังเชิงบวกต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ อาทิ การลดภาษีทุกกลุ่มทั้งบุคคลธรรมดาเหลือ 12-33% (3 ขั้น) จากเดิม 10-39.6% (7 ขั้น) และ นโยบายลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% จากเดิม 35% เป็นต้น ซึ่งน่าจะหนุนเงินเฟ้อทะยานขึ้นไปแตะเป้าที่ Fed วางไว้ได้ที่ 2% (ล่าสุดเดือน พ.ย.59 อยู่ที่ 1.7% VS อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5-0.75%) หนุนให้ Fed ขึ้นดอกเบี้ยตลอดปี 2560 ได้มากถึง 1%
แต่อย่างไรก็ตามถือว่าตลาดหุ้นสหรัฐน่าจะสะท้อนเรื่องดอกเบี้ยไประดับหนึ่ง หากพิจารณาค่าเงิน Dollar ที่มีแนวโน้มชะลอการแข็งค่า เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ (Dow Jones สหรัฐ) น่าจะเริ่มแกว่งตัว โดยเชื่อว่าจะยังไม่ผ่านแนวต้านสำคัญทางจิตวิทยาที่ระดับ 20,000 จุดได้ หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐได้ได้ปรับขึ้นต่อเนื่องกว่า 600 จุด หรือเกือบ 9% นับจากวันเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา และน่าจะเพราะอยู่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี นักลงทุนจึงมีการปรับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยงช่วงวันหยุดยาว
ขณะที่ไทย เชื่อว่า กนง.น่าจะยังยืนดอกเบี้ยที่1.5% ตามเดิมไปจนถึงกลางปี 2560 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ เดือน พ.ย. อยู่ที่ 0.6% ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า (ASPS คาดเงินเฟ้อสิ้นปี 2559 ที่ 0.8% และ 1.47% ในปี 2560 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 45 เหรียญฯ ในปี 2559 และ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในปี 2560)
(+) ราคาน้ำมันมีโอกาสเกิน 55 เหรียญฯ หนุนหุ้นน้ำมันเดินหน้าต่อปี 2560
ตลาดน้ำมันโลกน่าจะมีสัญญาณที่ดีขึ้น หลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ยอมตัดลดการผลิตรวมราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่ ม.ค. 2560 เป็นเวลา 6 เดือน (ลดลงจากยอดการผลิตเดือน ต.ค. โดย OPEC ยอดลด 1.2 ล้านบาร์เรล นำโดยซาอุดิอาระเบียผู้ผลิตอันดับ 1 ตัดลด 4.86 แสนบาร์เรล และผู้ผลิตอันดับ 2 อิรัก ลดลง 4.48 แสนบาร์เรล ส่วนด้าน Non-OPEC ลด 5.58 แสนบาร์เรล) ทั้งนี้ยอดผลิตน้ำมันที่ลดลงคิดเป็น 1% ของกำลังการผลิตทั้งโลก
หากอิงยอดผลิตเดือน พ.ย. อยู่ที่ 98.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน พบว่ายังเกินความต้องการอยู่ 1.25 ล้านบาร์เรล แต่อย่างไรก็ตาม EIA คาดความต้องการใช้น้ำมันโลกปี 2560 จะเพิ่มขึ้นราว 1.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งจึงน่าจะทำให้ราคาน้ำมันโลกสมดุลได้ในช่วง 1H60 ตามคาด และหนุนให้ราคาน้ำมันขึ้นไปซื้อขายเหนือระดับ 50 เหรียญฯ ได้ต่อเนื่อง ทำให้ทางกลุ่ม OPEC คาดว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบขึ้นมาที่ระดับ 60-70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ล่าสุดราคาน้ำมันตลาดล่วงหน้า WTI สามารถขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 6 เดือนที่ 53.90 เหรียญฯต่อบาร์เรล แม้ว่าจะมีมูลค่าซื้อขายที่เบาบางในช่วงหยุดเทศกาลก็ตาม (เช่นเดียวกับ Brent ขึ้นไประดับ 56 เหรียญฯต่อบาร์เรลเช่นเดียวกับ ดูไบปิดตลาด 51.45 เหรียญฯต่อบาร์เรล)
แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงจะเพิ่มตามมาด้วย เพราะทุกครั้งที่ราคาน้ำมันดิบทะยานขึ้นแตะ 60 เหรียญฯ จะมียอดผลิตน้ำมันจากฝั่ง ผู้ผลิต Shale oil and gas (มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าผู้ผลิตน้ำมันแบบเดิม ๆ) เพิ่มเติมเข้ามาในตลาด (สะท้อนสหรัฐฯรายงานจำนวนหลุมขุดเจาะเพิ่มขึ้น 13 หลุมเป็น 523 หลุมสูงสุดตั้งแต่ ม.ค.) ขณะที่สมมติฐานราคาน้ำมันดิบของ ASPS เฉลี่ย 55 เหรียญฯ ในปี 2560 ทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันฯ กล่าวคือ หากราคาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เหรียญฯ จะหนุนกำไรและมูลค่าพื้นฐานของ PTTEP เพิ่มขึ้น 7.5% และ 9 บาทต่อหุ้น และเช่นเดียวกับ PTT จะเพิ่มขึ้น 2.8% และ 8 บาท ตามลำดับ จึงชื่นชอบ PTTEP (FV@B102) และ PTT (FV@B400) มากสุดรองลงมาคือ BANPU ที่ได้อานิสงส์เช่นกัน
(+) ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นบางประเทศ แต่ยังขายตลาดหุ้นไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง ด้วยมูลค่าราว 113 ล้านเหรียญ หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 8 วัน โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 135 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) และอินโดนีเซีย 19 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ และไทยยังคงขายสุทธิราว 17 ล้านเหรียญ หรือ 626 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6)
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าแรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันฯจะช่วยหนุน SET Index ในช่วงท้ายของปีได้ สังเกตได้จากวานนี้นักลงทุนสถาบันฯเริ่มซื้อสุทธิหนักขึ้น ด้วยมูลค่าราว 1.8 พันล้านบาท และยังเป็นการซื้อสุทธิสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในเดือน ธ.ค. 59 นี้ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 3.69 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 1.81 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 5 วัน)
(0) กลยุทธ์การลงทุน สะสมหุ้นข้ามปี ASK, GFPT, CK, UNIQ, BJC, RATCH
ช่วง 3 วันสุดท้ายของปี 2559 ก่อนจะเข้าสู่เฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ 2560 เชื่อว่าแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ (LTF, RMF, Window Dressing) ยังคงช่วยประคอง SET Index เหนือ 1500 จุด ได้สั้น ๆ นักลงทุนที่ต้องการลงทุนข้ามปี แนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายหุ้นที่มีเหตุผลเฉพาะกลุ่มคือ:
Dividend Play : ตามปกติหลังประกาศงบปี 2559 คือ ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2560 จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศจ่ายปันผล โดยจะทยอยขึ้นเครื่องหมาย XD ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 เป็นต้นไป กลยุทธ์การลงทุน Dividend Play ให้ซื้อก่อน XD 2-3 เดือน และ ขายวันขึ้นเครื่องใหม่ XD โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยคัดกรอง เลือกจาก Dividend Yield ปี 2559 และ 2560 สูงกว่า 4% ต่อปี มี EPS Growth ปี 2560 เติบโต กว่า 10% Upside สูงกว่าราคาปัจจุบันเกินกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ หุ้นที่เข้าเงื่อนไขคือ ASK (FV@B27), THANI ([email protected]), SCCC (FV@B340), RATCH (FV@B65) และ LH ([email protected])
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า 2 กลุ่มคือ
เกษตร-อาหาร: เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีพ และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ แต่ขึ้นกับโครงสร้างของรายได้และต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยน กล่าวคือ
GFPT (FV@B19) เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ ไปยังยุโรป และเอเชีย โดยเน้นที่ตลาด ญี่ปุ่น ในสัดส่วน 50% ของปริมาณการส่งออกรวม (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 18% รายได้ยูโร 2% ขณะที่ต้นทุนดอลล่าร์ 15%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 2.4%
TU (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (ทูน่า กุ้ง แซลมอน) ไปยังยุโรป และ เอเชีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 69% รายได้ยูโร 24% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลล่าร์ 60%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.5% แต่อย่างไรก็ตามความเสี่ยงต้องคำนึงถึงตอนนี้คือ มีคดีความถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับปัญหาการฮั้วราคาขายทูน่ากระป๋องที่สหรัฐฯ ระหว่าง StarKist, Bumble Bee และ Chicken of the sea (บริษัทย่อยของ TU) ในช่วงปี 2554-2556 ทั้งนี้ ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนจากทางกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ (DOJ) โดยผู้บริหารของ Bumble Bee ได้ออกยอมรับเกี่ยวกับข้อหาดังกล่าว (plead guilty) อย่างไรก็ตาม TU ยืนยันว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฮั้วราคาขายทูน่า แต่หากกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯตัดสินว่า TU มีความผิดก็จะโดนค่าปรับ ซึ่งปัจจุบันยังประเมินมูลค่าไม่ได้
และ CPF ([email protected]) เพราะส่วนใหญ่เป็นส่งออกจะเป็นผลิตภัณฑ์ไก่ หมู กุ้ง อาหารสำเร็จรูป และ อาหารสัตว์ (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 4% รายได้ยูโร 1% ขณะที่ต้นทุนในรูปดอลล่าร์ 3% และหนี้สินเป็นดอลลาร์ 1.2 พันล้านเหรียญฯ) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 4.9%
KSL (FV@B6) ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาล ส่งออกราว 60%ของรายได้รวม ส่วนใหญ่ไปตลาดเอเชีย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 60% ขณะที่ต้นทุนเป็นบาท และหนี้สินเป็นดอลลาร์20 พันล้านเหรียญฯ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 6.7%
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มส่งออกเกษตรอีกหุ้นหนึ่งคือ STA (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกยางแท่งและยางแผ่นรมควัน ตลาดส่งออกหลักอยู่ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีน ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยางส่งออกจะถือว่าเป็นสินค้าขั้นกลาง จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯ และน่าจะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุด เนื่องจากรายได้หลักราว 70% มาจากการส่งออกยางพารา (รับรู้รายได้เป็นสกุลดอลลาร์) แต่ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นเงินบาท (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 85% ขณะที่ต้นทุนเป็นบาท และหนี้สินเป็นดอลลาร์ 30 พันล้านเหรียญฯ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 7.2%
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: โดยหากพิจารณาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันจากสหรัฐไม่มากนัก ขณะที่สินค้าส่งออกกลุ่มนี้น่าจะอยู่ในขั้นกลางเป็นหลัก จึงน่าจะกระทบน้อย พบว่า ผู้ที่ตลาดส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบรายได้รวม คือ HANA 8% ตามด้วย SVI 10% ส่วน KCE มีสัดส่วน 20% และ DELTA สูงสุด 30%
แต่หากพิจารณาผลบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่าพบว่า และ KCE (FV@B110) ได้ประโยชน์มากสุด โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 7.3% (รายได้ในรูปดอลลาร์ 70% และต้นทุนดอลลาร์ 50%)
รองลงมาคือ HANA (FV@B38) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 6.2% (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 100% ขณะที่ต้นทุน 60%)
DELTA(FV@B81) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.7% (รายได้ในรูปดอลาร์ 70% ขณะที่ ต้นทุน 50%)
และ SVI ([email protected]) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.2% (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 70% ขณะที่ต้นทุน50%)
หุ้นรับเหมาก่อสร้าง: ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าการลงทุนภาครัฐ ซึ่งทำให้ Backlog ทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น น่าจะหนุนรายได้และกำไรของกลุ่มฯ โดยรวมดีขึ้นในปี 2560 โดยเฉพาะ UNIQ (FV@B25) ซึ่งคาดว่างานใหม่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 57.3% ของ Backlog เดิมที่มีอยู่ ทำให้เป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูงสุด ขณะที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่ม จึงชอบ UNIQ มากสุด ทั้งยังมี upside สูงถึง 29.5% ตามมาด้วย CK ที่มีฐานธุรกิจกระจายตัวที่ดี (ถือหุ้น TTW 19.40%, BEM 29.73%)
หุ้นเติบโตสูง: เลือก BJC (FV@B64) และ BLA (FV@B62)
หุ้น Energy Recovery: ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันที่ยืนเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล และในปี 2560 ASPS ประเมินไว้ที่ 50 เหรียญฯ แต่มีแนวโน้มจะขึ้นไป 60 เหรียญฯ (IEA คาดการณ์) จึงเลือก PTT (FV@B400) และ PTTEP (FV@B102)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์