- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 27 December 2016 17:35
- Hits: 1424
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ไม่มี
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : SET Index เมื่อวันวานนี้ปิด +5.25 จุดที่ 1515.23 การซื้อขายเบาบางเพียง 2 หมื่นกว่าล้านบาทเท่านั้น นักลงทุนส่วนใหญ่หยุดซื้อขายก่อนเทศกาลปีใหม่ นักลงทุนแต่ละกลุ่มซื้อ/ขายสุทธิไม่มาก ส่วนประเด็นหลักช่วงนี้ ได้แก่
+ แรงซื้อ LTF โค้งสุดท้าย & Window Dressing…ซึ่งตามสถิติ 15 ปีย้อนหลังแล้ว ในเดือนธ.ค. SET บวกมากกว่าลบ (เทียบ MoM) โดยปรับขึ้น 10 ครั้ง (บวกเฉลี่ย 5.9% ต่อครั้ง) ลดลง 5 ครั้ง (ลบเฉลี่ย 5.4% ต่อครั้ง)
+ เลือกซื้อหุ้นปันผลสูง โดย DBSV แนะ 4 หุ้นปันผลเด่นใน 4 อุตสาหกรรม ประกอบด้วย กลุ่มแบงค์เป็น TISCO, กลุ่มพลังงานเป็น BCP, กลุ่มอสังหาฯเป็น LH และกลุ่มกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็น DIF
+ ทยอยซื้อสะสมหุ้นที่คาดว่าจะมีกำไรเติบโตแกร่งในปี 60 หุ้นเด่นเป็น TKN, MTLS, CHG, LPH, WORK, ERW, ANAN, AP เป็นต้น
กลยุทธ์ : การซื้อเล่นรอบยังเน้นตามด้วยค่าบวกของราคาหุ้นและดัชนี, ถือ/สะสมหุ้นดีที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอ และทยอยซื้อลงทุนหุ้นเติบโตแกร่งช่วงราคาปรับฐาน/อ่อนตัว หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์วันนี้เป็น ANAN
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้นสัญญาณเป็นบวกเล็กๆ (ปิดบวกแต่ยังอยู่ใต้เส้น SMA10) ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวกหรือซื้อที่แนวรับดัชนี 1500, 1490 จุด แนวต้านระยะสั้น 1520, 1530 จุด
การ SCAN หุ้นพบว่าหุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ PYLON, JTS, MAJOR หุ้นที่ยังอยู่ใน List ได้แก่ KAMART, SF, TICON, SPALI, WICE, UNIQ, SCN, LPH หุ้นที่แนะนำไปแล้วและให้หาจังหวะขายทำกำไร คือ TSE หุ้นที่หลุด List –ไม่มี-
ปัจจัยต่างประเทศ
+ อิตาลี : รัฐบาลอิตาลีอนุมัติเงินช่วยเหลือภาคธนาคาร 2 หมื่นล้านยูโร
คณะรัฐมนตรีอิตาลีได้อนุมัติเงินช่วยเหลือภาคธนาคารในวงเงิน 2 หมื่นล้านยูโร ซึ่งรวมถึง Banca Monte dei Paschi di Siena (BMPS) ธนาคารรายใหญ่อันดับ 3 ของประเทศหลังเพิ่มทุน 5 พันล้านยูโรไม่สำเร็จ ทั้งนี้ตามกฎข้อบังคับใหม่ของสหภาพยุโรป ผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิต้องแปลงสภาพเป็นหุ้นและต้องรับผิดชอบความเสียหายก่อนที่รัฐบาลจะเพิ่มทุนให้ เพื่อไม่ให้ผู้จ่ายภาษีต้องแบกรักภาระในการพยุงธนาคารที่ประสบปัญหาการเงินมากเกินไป
- ญี่ปุ่น : การว่างงานเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้นและเงินเฟ้อยังห่างจากเป้าหมายมาก…เศรษฐกิจซบเซา
อัตราว่างงานเดือนพ.ย.59 ของญี่ปุ่น ปรับตัวขึ้น 0.1% สู่ระดับ 3.1% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่สัดส่วนตำแหน่งงานงานว่างต่อจำนวนผู้หางานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 1.41 ในเดือนพ.ย. ซึ่งหมายความว่า มีตำแหน่งงานว่างทั้งหมด 141 ตำแหน่งรองรับผู้หางานทุกๆ 100 คน ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) เดือนพ.ย. ปรับตัว -0.4%YoY ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 9 เพราะราคาพลังงานร่วงลง สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (Headline CPI) +0.5%YoY ซึ่งอัตราเงินเฟ้อดังกล่าวห่างจากเป้าหมายที่ +2.0% อย่างมาก บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังซบเซา และกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่แข็งแกร่งนัก
• ตลาดหุ้น & โภคภัณฑ์สหรัฐ ยุโรป และลอนดอนปิดทำการเนื่องในวันคริสต์มาส
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
+ ไทย : อัตราเติบโตส่งออกเดือนพ.ย.59 เติบโต 10.2%YoY หลักๆมาจากส่งออกทองคำ
กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกเดือนพ.ย. +10.2%YoY เป็น 18,911 ล้านUS$ สืบเนื่องจากการส่งออกทองคำเติบโตสูงถึง 72.5%YoY และการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์เพิ่มขึ้น การส่งออกไก่สดแช่แข็งขยายตัวเพิ่มหลังส่งออกไปเกาหลีใต้ได้ตั้งแต่พ.ย.59 เป็นต้นไป มูลค่าส่งออกไปสหรัฐ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เติบโตเป็นเลขสองหลักได้ แต่การส่งออกไปตะวันออกกลางยังหดตัว อย่างไรก็ดี มูลค่าส่งออกระดับ 1.8 หมื่นล้านUS$ ต่อเดือนก็ถือว่าไม่ได้สูงมากในภาวะปกติ และสอดคล้องกับประมาณการของเราสำหรับ 11M59 มูลค่าส่งออก -0.05% และนำเข้า -5.1% เกินดุลการค้า 19,721 ล้านUS$ สำหรับทั้งปี 59 กระทรวงพาณิชย์คาดจะ -1% ถึง +0% สำหรับปี 60 ทางกระทรวงฯคาดไว้ว่าจะขยายตัว 2.5% ถึง 3.0% ขณะที่สภาพัฒน์ฯประมาณการไว้ที่ +2.4%
• บอร์ด BOI เชื่อยอดส่งเสริมการลงทุนปี 59 ได้ 5.5 แสนล้านบาท
ปี 60 ตั้งเป้า 6 แสนล้านบาทที่ประชุมบอร์ดบีโอไอรับทราบยอดคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ 11M59 ที่ 5 แสนล้านบาท และมั่นใจว่าทั้งปี 59 จะได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 5.5 แสนล้านบาท โดยมียอดอนุมัติในโครงการลงทุนแล้ว 800,000 ล้านบาท ส่วนในปี 60 ตั้งเป้าหมายยอดคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนไว้ที่ 6 แสนล้านบาท โดยขณะนี้ BOI อยู่ระหว่างการผลักดันกฎหมาย 4 ฉบับ เพื่อรองรับแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน, พ.ร.บ. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ, พ.ร.บ.ว่าด้วยระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และพ.ร.บ. เศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งมั่นใจว่าพ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับจะช่วยดึงดูดการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
+ Window Dressing ปิดงวดสิ้นปี 59
สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการซื้อขายปี 59 ซึ่งจะมีแรงซื้อ LTF & RMF โค้งสุดท้าย (ส่วนใหญ่เป็น LTF) เข้ามา รวมถึงมีความหวังว่านักลงทุนสถาบันจะทำราคาปิดสิ้นงวดปี 59 หรือที่เรียกกันว่า Window dressingซึ่งตามสถิติแล้วเราพบว่าดัชนีตลาดหุ้น (SET) ในเดือนธ.ค.จะมีการปรับขึ้นมากกว่าลดลง เมื่อพิจารณาย้อนหลังไป 15 ปี (ปี 2545-2559) พบว่า SET เดือนธ.ค.ปรับขึ้น 10 ครั้ง ปรับลง 5 ครั้ง โดยในการปรับขึ้นมีอัตราบวกเฉลี่ย 5.9% ต่อครั้ง และการปรับลงมีอัตราลบเฉลี่ย 5.4% ต่อครั้ง
นักวิเคราะห์ & กลยุทธ์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค : [email protected]