- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 27 December 2016 17:12
- Hits: 1175
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
เข้าสู่เทศกาลปีใหม่ 2560 นักลงทุนบางส่วนเริ่มหายจากตลาด ขณะที่แรงกดดันยังมาจากขายต่างชาติ ซึ่งถ่วงดุลกับแรงซื้อของ สถาบันในประเทศ แนะนำให้สะสมหุ้นข้ามปี คือ ได้ประโยชน์เงินบาทอ่อนค่า (GFPT, TU) และปันผล (ASK, RATCH) เลือก ASK(FV@B27) เป็น Top Pick
(+) ยอดส่งออก พ.ย. ฟื้นช่วงสั้น ความเสี่ยงจากยุโรปยังมีอยู่
กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออก(X) ในรูปดอลลาร์ เดือน พ.ย. กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ 10.2%yoy เทียบกับหดตัว 4.2% เดือน ต.ค. ทำให้เฉลี่ย 11M59 ยังหดตัวเล็กน้อย 0.05% เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะหมวดเครื่องจักร เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง น้ำตาลทรายและสินค้าหมวดน้ำมัน ส่วนด้านการนำเข้า(M) ยังขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 คือ 3%yoy (โดยเฉลี่ย11M59 ยังหดตัว 5.1%) หากสถานการณ์ยังดีขึ้นต่อเนื่องคาดว่า การส่งออกและนำเข้าใน 4Q59 จะอยู่ที่ 2.1% และ -4.8% และทั้งปี 2559 จะอยู่ที่ 0% และ -3.5% ตามสมมติฐานของ ASPS ส่วนในปี 2560 คาดการณ์ การส่งออกและนำเข้า จะอยู่ที่ 2% และ -1.5% ภายใต้สมมติฐาน เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะจากปัญหา Brexit และ Italexit รวมถึงการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ หลังจากทรัมป์ เข้าบริหารประเทศ
โดยสรุปงวด 4Q59 ปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังมาจากมาตรการภาครัฐ เริ่มจากกระตุ้นกำลังซื้อ (เงินให้เปล่าผู้มีรายได้น้อย 1.27 หมื่นล้านบาท) ยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า 19 ประเทศๆ 1 พันบาท และมาตรการช็อปช่วยชาติ แม้ผลกระทบจากการปราบปรามทัวศูนย์เหรียญใน 4Q59 ทำให้นักท่องเที่ยวจีน ลดลง 16.2% (ลดลง 4.7 แสนราย) โดยภาพรวมยังทำให้ GDP Growth ปี 2559 คาดที่ 3.2% มีโอกาสเป็นไปได้ (9M59 โต 3.3%)
และปี 2560 คาดปัจจัยขับเคลื่อนหลักยังคงเป็นการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการลงทุนเร่งด่วนปี 2559 ของกระทรวงคมนาคม 21 โครงการ ปัจจุบันคัดเลือกผู้รับเหมาเสร็จสิ้น 5 โครงการ อาทิ ท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ศูนย์ขนส่งสินค้า รถไฟทางคู่(จิระ-ขอนแก่น) รถไฟฟ้าสายสีส้ม ชมพู เหลือง วงเงิน 1.39 แสนล้านบาท คาดจะเริ่มเกิดการลงทุนจริงในปี 2560 โครงการที่อยู่ในขั้นตอนประมูลคัดเลือกผู้รับเหมา 10 โครงการวงเงิน 4.1 แสนล้านบาท จะทยอยเกิดขึ้นต่อเนื่องในปีหน้าอีกทั้งในปี 2560 กระทรวงคมนามคมมีแผนลงทุนต่อเนื่องอีก 36 โครงการ วงเงิน 8.7 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีแผนลงทุนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่มุ่งส่งเสริม 3 จังหวัดภาคตะวันออกคือ ระยอง ชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา มุ่งในอุตสาหกรรม 5 S-Curve ใหม่ แผน 5 ปี คาดว่าจะมีส่วนผลักดันการลงทุนภาคเอกชนให้กระเตื้องขึ้นจากที่มีสัดส่วนเพียง 18% ของ GDP ( เทียบกับช่วงวิกฤติปี 2540 สูงถึง 30%) ทำให้คาดว่า GDP Growth ปี 2560 ขยายตัวได้ที่ 3.5%
และคาดว่า กนง. น่าจะยังคงยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ติดต่อกันตั้งแต่ เม.ย.58) อย่างน้อยใน 1H59 และหลังจากนี้ขึ้นกับแนวโน้มเงินเฟ้อจะเร่งขึ้นจาก 0.6% ในพ.ย. 2559 โดย ASPS คาดเงินเฟ้อสิ้นปี 2560 ที่ 1.47% เทียบกับ 0.8% ในปี 2559 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 45 เหรียญฯ ในปี 2559 และ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล ในปี 2560)
(-) วันคริสต์มาส Fund Flow ยังไหลออกจากตลาดหุ้นเอเชียต่อเนื่อง
วานนี้แม้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์หยุดทำการ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในแถบยุโรปและอเมริกา เนื่องจากเป็นวันหยุดชดเชยวันคริสต์มาส ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่งในเอเชียยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่าราว 91 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากตลาดหุ้นเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 42 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 40 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิราว 9 ล้านเหรียญ หรือ 328 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 376 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 3.33 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 4.75 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5)
(0) กลยุทธ์การลงทุน สะสมหุ้นข้ามปี ASK, GFPT, CK, UNIQ, BJC, RATCH
ช่วง 4 วันสุดท้ายของปี 2559 ก่อนจะเข้าสู่เฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ 2560 เชื่อว่าแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ (LTF, RMF, Window Dressing) ยังคงช่วยประคอง SET Index เหนือ 1500 จุด ได้สั้น ๆ นักลงทุนที่ต้องการลงทุนข้ามปี แนะนำให้เลือกลงทุนเป็นรายหุ้นที่มีเหตุผลเฉพาะกลุ่มคือ:
Dividend Play : ตามปกติหลังประกาศงบปี 2559 คือ ช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2560 จะเข้าสู่ฤดูกาลประกาศจ่ายปันผล โดยจะทยอยขึ้นเครื่องหมาย XD ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2560 เป็นต้นไป กลยุทธ์การลงทุน Dividend Play ให้ซื้อก่อน XD 2-3 เดือน และ ขายวันขึ้นเครื่องใหม่ XD โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยคัดกรอง เลือกจาก Dividend Yield ปี 2559 และ 2560 สูงกว่า 4% ต่อปี มี EPS Growth ปี 2560 เติบโต กว่า 10% Upside สูงกว่าราคาปัจจุบันเกินกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ หุ้นที่เข้าเงื่อนไขคือ ASK (FV@B27), THANI ([email protected]), SCCC (FV@B340) และ RATCH (FV@B65)
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่า 2 กลุ่มคือ
เกษตร-อาหาร: เนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในการดำรงชีพ และเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้าจากสหรัฐ แต่ขึ้นกับโครงสร้างของรายได้และต้นทุนอัตราแลกเปลี่ยน กล่าวคือ
GFPT (FV@B19) เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ ไปยังยุโรป และเอเชีย โดยเน้นที่ตลาด ญี่ปุ่น ในสัดส่วน 50% ของปริมาณการส่งออกรวม (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 18% รายได้ยูโร 2% ขณะที่ต้นทุนดอลล่าร์ 15%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 2.4%
TU (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารทะเล (ทูน่า กุ้ง แซลมอน) ไปยังยุโรป และ เอเชีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 69% รายได้ยูโร 24% ขณะที่ต้นทุนรูปดอลล่าร์ 60%) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.5%
และ CPF ([email protected]) เพราะส่วนใหญ่เป็นส่งออกจะเป็นผลิตภัณฑ์ไก่ หมู กุ้ง อาหารสำเร็จรูป และ อาหารสัตว์ (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 4% รายได้ยูโร 1% ขณะที่ต้นทุนในรูปดอลล่าร์ 3% และหนี้สินเป็นดอลลาร์ 1.2 พันล้านเหรียญฯ) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 4.9%
KSL (FV@B6) ผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาล ส่งออกราว 60%ของรายได้รวม ส่วนใหญ่ไปตลาดเอเชีย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 60% ขณะที่ต้นทุนเป็นบาท และหนี้สินเป็นดอลลาร์20 พันล้านเหรียญฯ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 6.7%
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มส่งออกเกษตรอีกหุ้นหนึ่งคือ STA (FV@B25) เป็นผู้ผลิตและส่งออกยางแท่งและยางแผ่นรมควัน ตลาดส่งออกหลักอยู่ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะจีน ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยางส่งออกจะถือว่าเป็นสินค้าขั้นกลาง จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากสหรัฐฯ และน่าจะได้ประโยชน์จากเงินบาทอ่อนค่ามากที่สุด เนื่องจากรายได้หลักราว 70% มาจากการส่งออกยางพารา (รับรู้รายได้เป็นสกุลดอลลาร์) แต่ต้นทุนการผลิตทั้งหมดเป็นเงินบาท (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 85% ขณะที่ต้นทุนเป็นบาท และหนี้สินเป็นดอลลาร์ 30 พันล้านเหรียญฯ ) โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 7.2%
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์: โดยหากพิจารณาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกีดกันจากสหรัฐไม่มากนัก ขณะที่สินค้าส่งออกกลุ่มนี้น่าจะอยู่ในขั้นกลางเป็นหลัก จึงน่าจะกระทบน้อย พบว่า ผู้ที่ตลาดส่งออกไปสหรัฐในสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบรายได้รวม คือ HANA 8% ตามด้วย SVI 10% ส่วน KCE มีสัดส่วน 20% และ DELTA สูงสุด 30%
แต่หากพิจารณาผลบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่าพบว่า และ KCE (FV@B110) ได้ประโยชน์มากสุด โดยเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 7.3% (รายได้ในรูปดอลลาร์ 70% และต้นทุนดอลลาร์ 50%)
รองลงมาคือ HANA (FV@B38) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 6.2% (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 100% ขณะที่ต้นทุน 60%)
DELTA(FV@B81) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.7% (รายได้ในรูปดอลาร์ 70% ขณะที่ ต้นทุน 50%)
และ SVI ([email protected]) เงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะเพิ่มกำไรจากประมาณการเดิม 5.2% (รายได้อยู่ในรูปดอลลาร์ 70% ขณะที่ต้นทุน50%)
หุ้นรับเหมาก่อสร้าง: ได้ประโยชน์จากความคืบหน้าการลงทุนภาครัฐ ซึ่งทำให้ Backlog ทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น น่าจะหนุนรายได้และกำไรของกลุ่มฯ โดยรวมดีขึ้นในปี 2560 โดยเฉพาะ UNIQ (FV@B25) ซึ่งคาดว่างานใหม่คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 57.3% ของ Backlog เดิมที่มีอยู่ ทำให้เป็นหุ้นที่มีการเติบโตสูงสุด ขณะที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่ม จึงชอบ UNIQ มากสุด ทั้งยังมี upside สูงถึง 29.5% ตามมาด้วย CK ที่มีฐานธุรกิจกระจายตัวที่ดี (ถือหุ้น TTW 19.40%, BEM 29.73%)
หุ้นเติบโตสูง: เลือก BJC (FV@B64) และ BLA (FV@B62)
หุ้น Energy Recovery: ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันที่ยืนเหนือ 50 เหรียญฯต่อบาร์เรล และในปี 2560 ASPS ประเมินไว้ที่ 50 เหรียญฯ แต่มีแนวโน้มจะขึ้นไป 60 เหรียญฯ (IEA คาดการณ์) จึงเลือก PTT (FV@B400) และ PTTEP (FV@B102)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์