- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 05 August 2014 15:52
- Hits: 2409
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นยังไม่มีประเด็นใหม่ นอกจาก Earnings Results และความพยายามผลักดันโครงการลงทุนภาครัฐ 5 แสนล้านบาท ก่อนการจัดสรรงบ ยังหนุนหุ้นก่อสร้างเล็ก P/E ต่ำ + upside เลือก PYLON([email protected]) และ SEAFCO ([email protected]) เป็น Top picks
เงินเฟ้อไทยต่ำ จึงน่าจะยืนดอกเบี้ยฯ ถึงสิ้นปี
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 6 ส.ค. (พรุ่งนี้) คาดว่า กนง. น่าจะยังยืนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ไว้เช่นเดิม จนถึงสิ้นปี 2557 ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะอ่อนแอ และอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือน มิ.ย. ยังอยู่ในระดับต่ำ 2.16% (ทำให้ดอกเบี้ยสุทธิติดลบเล็กน้อย) โดยคาดว่าแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของไทยน่าจะเกิดขึ้นในปี 2558 เนื่องจากความต้องการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจน โดยเฉพาะการเริ่มเปิดประมูลในต้นปี 2558 และการเบิกจ่ายเงินต่าง ๆ น่าจะเกิดขึ้นราว 6 เดือนหลังของปี 2558 (โดย กนง. ได้ลดดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดเดือน เม.ย. 0.25%) แล้ว คาดว่าสหรัฐน่าจะมีแผนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในปี 2558 หลังจากการตัดลด QE เสร็จสิ้นในเดือน ต.ค. นี้ ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องทางการเงินของโลกค่อย ๆ ลดลง ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดในระยะกลางและยาว
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านได้ทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วก่อนหน้านี้เนื่องจากถูกกดดันด้วยอัตราเงินเฟ้อในระดับสูง นำโดย มาเลเซีย เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเซีย ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 3.25% (เป็นครั้งแรกตั้งแต่ พ.ค. 2554 หลังจากยืนดอกเบี้ยที่ 3% มานานเกือบ 3 ปี) เนื่องภาวะเงินเฟ้อที่สูงเกิน 3% นับตั้งแต่สิ้นปี 2556 และตามมาด้วย ฟิลิปปินส์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 3.75% ครั้งแรกในรอบ 21 เดือน) จากอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงทรงตัวในระดับ 4.4-4.5% นับตั้งแต่ พ.ค.– มิ.ย. 2557 ทั้งนี้ฟิลิปปินส์ได้มีการปรับขึ้นอัตราการดำรงเงินสดสำรอง (RRR) 1% เป็น 20% เมื่อเดือน พ.ค. เป็นต้นมา เพื่อดูดซับสภาพคล่อง และ คาดว่าในไม่ช้าประเทศเพื่อนบ้านที่เหลือจะต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 7.5% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 หลังจากที่ได้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายไปตั้งแต่ มิ.ย. 2556 ถึง พ.ย. รวม 5 ครั้ง (เปลี่ยนแปลง 1.75%) เป็น 7.5% ตั้งแต่ พ.ย. 2556
ต่างชาติสลับมาซื้อไทย แต่เชื่อปัจจัยกดดันยังมี
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ราว 338 ล้านเหรียญฯ (เทียบกับวันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 6 ล้านเหรียญฯ) ทั้งนี้ยอดซื้อหลักมาจากเกาหลีใต้ ที่สลับมาซื้อสุทธิอย่างหนักราว 226 ล้านเหรียญฯ (หลังจากที่ขายสุทธิเมื่อวาน โดยก่อนหน้านี้ซื้อมาตลอด) ตามมาด้วยอินโดนีเซียที่กลับมาเปิดทำการอีกครั้ง และซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ราว 76 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว) ตามมาด้วยไต้หวันซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2 แต่ลดลง 34% จากวันก่อนหน้าเหลือราว 45 ล้านเหรียญฯ และไทยสลับมาซื้อสุทธิราว 33 ล้านเหรียญฯ (1.1 พันล้านบาท, หลังจากที่ขายสุทธิติดต่อกัน 4 วันก่อนหน้า) สวนทางกับ ฟิลิปปินส์ที่ยังคงขายสุทธิเป็นวันที่ 3 ราว 42 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่าตัว)
แม้ว่า นักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง หลังจากที่ขายสุทธิ 4 วันก่อนหน้า รวม 5.0 พันล้านบาท แต่จะพบว่าการเข้าซื้อของต่างชาติในกลุ่ม TIP ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมายังค่อนข้างเบาบาง และยังมีสลับขายในบางประเทศ และเช่นเดียวกับตลาดตราสารหนี้ของไทย พบว่าต่างชาติได้ขายสุทธิออกมาเป็นวันที่ 2 ราว 5.4 พันล้านบาท (ยอดขายสุทธิสูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน) ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยล้วนกดดันค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่าอีกครั้งในสัปดาห์นี้ (หลังจากที่แข็งค่าต่อเนื่องมานานกว่า 6 เดือน กว่า 3%) โดยพบว่าค่าเงินบาท ได้เริ่มอ่อนค่าเมื่อ 29 ก.ค. จนถึงวานนี้ราว 1.3% แต่ยังอ่อนค่าน้อยว่าประเทศในกลุ่ม TIP ซึ่งถูกแรงขายจากต่างชาติเช่นกันคือ ค่าเงินรูเปียะของ อินโด อ่อนค่ากว่า 3% ยกเว้นค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ และค่าเงินริงกิต อ่อนค่าเพียง 1.04% และ 0.63% ตามลำดับ
ยังไม่มีประเด็นใหม่ นอกจาก Earnings Results
นอกจากการเดินหน้าผลักดันแผนลงทุน 5 แสนล้านบาท แม้จะยังไม่มีการจัดสรรงบประมาณก็ตาม แต่ช่วยหนุนความเชื่อมั่นของตลาด ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ยังคงมีการรายงานผลประกอบการงวด 2Q57 ของภาคการผลิต ซึ่งล่าสุด คือ ADVANC (FV@B 250) ปรากฏว่ามีกำไรต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยคาด 5.6% โดยประกาศกำไรลดลง 10.6% จากงวด 1Q57 เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาการเมืองในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ต้องบันทึกต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการเร่งลงทุนโครงข่าย 3G (ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นน้อยกว่าต้นทุนที่สูงขึ้น) ส่งผลให้ฝ่ายวิจัยต้องปรับลดประมาณการปี 2557-2558 ลงเฉลี่ยปีละ 9.1% แต่ยังคงแนะนำซื้อ เนื่องจากราคาที่ลดลงมามากยน่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว ประกอบกับ Div. Yield สูงถึง 6.7% และ เช่นเดียวกับ STANLY (FV@B 220) รายงานกำไรปกติลดลง 25%qoq ตามภาวะซบเซาของกลุ่มยานยนต์ และ ผลกระทบจากปัญหาการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แต่คาดแนวโน้มช่วงที่เหลือของปี 2557/58 น่าจะดีขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจและการเมืองที่เข้ารูปเข้ารอย
ส่วนหุ้นที่ทำ preview คือ SC([email protected]) นักวิเคราะห์ ASP ได้ทำการประมาณผลกำไรในงวด 2Q57 ซึ่งคาดกำไร จะเติบโตก้าวกระโดด โดยมีกำไร 322 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.62 เท่าตัวจากไตรมาสที่ผ่านมาและ 13% YoY ซึ่งเป็นผลมาจากการเริ่มโอนฯ โครงการคอนโดมิเนียม ใหม่ 3 แห่ง ได้แก่ Centric ติวานนท์, สาทร 11 และ The Crest Santora หัวหิน ทำให้การรับรู้รายได้อยู่ที่ระดับเหนือ 2.5 พันล้านบาท ขณะที่ทางด้านยอดขาย หรือ Presale ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน โดยอยู่ที่ 2.29 พันล้านบาท เทียบกับ 1.17 พันล้านบาทใน 1Q57 ขณะที่ปัจจุบันราคาหุ้นมีค่า PER 8.45 เท่าและให้ Dividend Yield 4.7% Fair Value กำหนดที่ PER 10 เท่า หรือ 4.45 บาท แนะนำ ซื้อ
และเช่นเดียวกับต่างประเทศ ยังมีการทยอยรายงานงบการเงินของตลาดหุ้นสหรัฐ โดยพบว่า ตลาดหุ้น S&P 500 ได้ประกาศออกมาแล้วกว่า 380 บริษัท ซึ่งดีกว่าคาดคือ ภาคบริการ (consumer services) ซึ่งมีการเติบโตมาจากด้านยอดขายเป็นหลัก เช่นเดียวกับกลุ่มเทคโนโลยี ยอดขายโตกว่า 8%qoq ขณะที่กลุ่มสื่อสารและการแพทย์สามารถทำยอดขายและกำไรได้ดีกว่าคาดมาก กล่าวโดยรวม ๆ พบว่าผลประกอบการดีกว่าคาด (กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ทั้งภาคการเงิน และภาคการผลิต พบว่า กว่า 70% มีการเติบโตทั้งในด้านยอดขายละกำไร) และนำไปสู่การปรับประมาณการกำไรตลาดขึ้น โดยล่าสุด Bloomberg คาดการณ์ว่า EPS ของตลาดจะอยู่ที่ 119.48 เหรียญ/หุ้น เพิ่มขึ้นมาโดยลำดับจาก 118.13 เหรียญ/หุ้น เมื่อสิ้นงวด 2Q57 และ 117.18 เหรียญ/หุ้น เมื่อสิ้นงวด 1Q57 ผลประกอบการที่ดีขึ้น เป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นสหรัฐฟื้นตัววานนี้ แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่า sale on fact และ ผลกระทบจากการใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นน่าจะยังคงกดดันตลาดหุ้นสหรัฐในช่วงที่เหลือของปีนี้
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล