WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
    Fund Flow ไหลออก แม้ยังคาดแรงหนุนจากกองทุนในประเทศ แต่ดัชนียังผันผวน +/-1,500 จุด กลยุทธ์ฯ ยังให้น้ำหนักไม่เกิน 40% ของเงินลงทุน และเน้นรายหุ้น (BJC(FV@B64) และ SCC(FV@B610) คาดเกิด window dressing) ลงทุนภาครัฐ UNIQ(FV@B25)) วันนี้เลือก GFPT(FV@B19) เป็น Top pick ไก่ส่งออกสดใส หลังญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ประสบปัญหาไข้หวัดนก

(0) BOJ, และ ธปท. ยังใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อ
     ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวล่าช้า สหรัฐเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยเป็นครั้งแรก 0.25% (หลังจากขึ้นไป 0.25% เมื่อปลายปี 2558) และยังจะมีโอกาสขึ้นอีก 0.75-1% ในปี 2560 หากเงินเฟ้อยังคงเดินหน้าแตะเป้าหมายระยะยาวที่ 2% โดยล่าสุดเงินเฟ้อขยับขึ้นมา 1.7% ในเดือน พ.ย. (ทำให้ช่องว่างระหว่างเงินเฟ้อและดอกเบี้ยนโยบายติดลบ) สวนทางสหภาพยุโรป (ECB) ยังใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย โดยที่ประชุมรอบล่าสุด ยังคงนโยบายการเงินผ่อนคลาย (คงดอกเบี้ยฯ 0% พร้อมขยายโครงการรับซื้อพันธบัตรอีก 9 เดือน จากเดิมที่สิ้นสุด มี.ค. 2560 เป็น ธ.ค. 2560 แต่ได้ปรับลดวงเงิน QE เหลือเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร จากปัจจุบัน 8 หมื่นล้านยูโร โดยจะจะเริ่ม เม.ย. 2560) และที่ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาให้ยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อขยับขึ้นมา 0.6% ในเดือน พ.ย. และ 0.3% ในอังกฤษ แต่ความกังวลต่อ Brexit และ Italexit ยังมีน้ำหนักมากขึ้น


    เช่นเดียวกับเอเชีย ยังคงนโยบายการเงินผ่อน ล่าสุดปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารอินโดนีเซีย ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.75% เศรษฐกิจยังฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไปและเตรียมตัวรองรับมาตรการกีดกันทางการค้าสหรัฐ หลังประธานาธิบดีคนใหม่เข้ารับตำแหน่ง 20 ม.ค. 2560 และสัปดาห์นี้มีประชุมดังนี้
19-20 ธ.ค. ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายฯที่ ติดลบ 0.1% ตามเดิม และคาดคงฐานเงิน (Money Base ) ผ่านการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล (ปีละ 80 ล้านล้านเยน) ควบคู่กับการรักษาเส้นผลตอบแทน (Yield curve) ทุกช่วงอายุ ซึ่งทำให้ BOJ มีความคล่องตัวในการแทรกแซงปริมาณเงินในระบบ สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ของญี่ปุ่น (Bond yields) ที่พลิกกลับมาเป็นบวกตั้งแต่ 15 พ.ย.59 ล่าสุดอยู่ที่ 0.079% และในช่วงที่ผ่านมาค่าเงินดอลลาร์เทียบเยนมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง 14.27% นับตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย. ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นดังกล่าวฯ
และ 21 ธ.ค. คาดที่ประชุม กนง. จะคงดอกเบี้ยที่ 1.5% ตามเดิม (ติดต่อกันตั้งแต่ เม.ย.58) โดย ASPS คาด กนง. น่าจะยืนดอกเบี้ยนโยบายถึงกลางปี 2560 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างล่าช้า

 

(-) ต่างชาติเริ่มขายหุ้นในภูมิภาคหนักขึ้นเรื่อยๆ
แรงขายหุ้นในภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ หลังจากที่ชะลอตัวและกลับมาซื้อในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้ โดยวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 179 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิราว 37 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศยังขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิสูงถึง 95 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 27 วัน) ตามมาด้วยไต้หวัน 47 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน), ฟิลิปปินส์ 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทย 55 ล้านเหรียญ หรือ 1.98 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิราว 827 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 4 วัน)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาซื้อสุทธิราว 1.59 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 3.67 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)

 

(+) เกิดหวัดนกในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นโอกาสของ GFPT
    สถานการณ์ไข้หวัดนกระบาดทั้งในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ยังรุนแรง โดยสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นตรวจพบไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ที่ ฮอกไกโด และได้สั่งทำลายไก่ไปกว่า 2.1 แสนตัว ทั้งยังได้ออกมาตรการกักกันเพื่อป้องกันการแพร่กระจายกับฟาร์มอีกกว่า 7 แห่ง รวมกว่า 1.92 แสนตัว ครั้งนี้ถือว่า รุนแรง และปัญหายังบานปลาย นับจากตรวจพบตลอดทั้งเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา และทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งทำลายไก่และเป็ดไปแล้วกว่า 8 แสนตัว หรือ 1.9 พันตัน
และในวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลเกาหลีใต้ตรวจพบโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N6 ระบาดหนักและได้สั่งทำลายไก่ไปแล้วกว่า 16 ล้านตัว หรือ 3.8 หมื่นตัน นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นกัน


     เหตุไข้หวัดนกที่ระบาดทั้งในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไก่ไทยทั้ง GFPT, TFG และ CPF ได้ประโยชน์จากช่องทางระบายไก่สู่ต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจไก่ราว 70% 64% และ 10% ตามลำดับ
ทั้งนี้ประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นตลาดส่งออกไก่เป็นหลักไทย คือราว 50% ของปริมาณไก่ส่งออกทั้งประเทศ ทำให้คาดว่าจะนำเข้าเนื้อไก่จากประเทศไทยมากขึ้นจากคาดการณ์ปัจจุบันที่ 3.8 แสนตันในปี 2560 เพิ่มขึ้น 6% yoy โดยปัจจุบันส่วนแบ่งตลาดของปริมาณการส่งออกไก่ไทยสู่ญี่ปุ่นของ CPF GFPT และ TFG เท่ากับ 20% 13% และ 3% ของปริมาณส่งออกไก่ไทยทั้งหมด
ส่วนทาง รัฐบาลเกาหลีใต้ เพิ่งอนุมัติให้นำเข้าไก่สดแช่แข็งไปเกาหลีใต้ ได้ เมื่อ 9 พ.ย. 59 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี หลังจากไทยปลอดจากไข้หวัดนกมานาน โดยในอดีตไทยเคยส่งออกไก่สดแช่แข็งสู่เกาหลีใต้มากสุดราว 4 หมื่นตัน/ปี แต่ในปีหน้าประเมินไว้ 1-2 หมื่นตัน หรือคิดเป็น 2-3% ของปริมาณการส่งออกไก่ของไทย และจะทยอยส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 4 หมื่นตันได้ในช่วง 2 ปีข้างหน้า
และในสถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่องมาที่ 35.83 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าสมมติฐานค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2560 ที่ฝ่ายวิจัยกำหนดไว้ที่ 35 บาท/เหรียญฯ ยิ่งบวกต่อผู้ประกอบการส่งออก ฝ่ายวิจัยแนะนำซื้อ GFPT(FV@B19) ที่ได้ประโยชน์มากสุด และเลือกเป็น Top pick

 

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!