WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
Fed ขึ้นดอกเบี้ยฯ 0.25% ตามตลาดคาด แต่ส่งสัญญาณขึ้นต่ออีก 0.75% 2-3 ปีข้างหน้า กังวลเงินเฟ้อ หากทรัมป์ ลดภาษีฯ ตามหาเสียงไว้ ซึ่งหนุน fund flow ไหลออก แต่ยังมีแรงหนุนจากกองทุนสถาบันในประเทศ ทำให้ SET ยืนเหนือ 1,500 จุด ยังเลือก Top picks SCC (FV@B610), BJC(FV@B64) และ UNIQ(FV@B25)

(-) Fed ขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาด แต่จะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ใน 2-3 ปีข้างหน้า
หลังเสร็จสิ้นการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ หรือ Fed เป็นเวลา 2 วัน (13-14 ธ.ค.) มีข้อสรุปให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.50-0.75% (ครั้งแรกในปีนี้และเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ยืนดอกเบี้ยต่ำ 0% นาน 8 ปี) พร้อมได้ส่งสัญญาณได้ปรับเพิ่มดอกเบี้ยในระยะยาวขึ้น (Long term interest rate) ในปี 2560-2562 โดยจะปรับปรับขึ้นปีละ 3 ครั้ง ๆ ละ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2560 จะอยู่ที่ 1.5% (จากเดิมที่คาดเพียง 2 ครั้งในการประชุมรอบ ก.ย.) และสิ้นปี 2561-2562 จะอยู่ที่ 2.25% และ 3% ตามลำดับ ซึ่งกดดันตลาดหุ้นสหรัฐปรับฐานระยะสั้น

     ทั้งนี้ เพราะ Fed มีมุมมองบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ยังแข็งแกร่ง และปรับเพิ่ม GDP Growth ของสหรัฐปี 2559 -2560 เป็น 1.9% และ 2.1% (จาก 1.8% และ 2%) และคงที่ 2% ปี 2561 และได้ปรับเพิ่มเงินเฟ้อสิ้นปีนี้มาที่ 1.5% (เดิมคาดที่ 1.3%) และเพิ่มเป็น 1.9% ในปี 2560 และ 2% ในปี 2561-2562 โดย Fed ให้น้ำหนักต่อนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ของว่าที่ประธานาธิบดี นายโดนัล ทรัมป์ โดยเฉพาะการลดภาษีนิติบุคคล เหลือ 15%(เดิม 35%) และภาษีบุคคลธรรมดา เหลือ 12-33% (3 ขั้น) จากเดิม 10-39.6% (7 ขั้น) และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ราว 1ล้านล้านเหรียญ (มากกว่าของไทย 10 เท่า) ซึ่งจะหนุนกำลังซื้อกำลังซื้อและกำไรของธุรกิจ (โดยไม่ได้ทำอะไรเพิ่มเหมือนประเทศไทยที่มีการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปีภาษี 2555 และ 20% ในปีภาษี 2556 เป็นต้นไป) ซึ่งจะหนุนให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในที่สุด
โดยสรุปแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ หนุนให้กองทุนทั่วโลกต้องปรับพอร์ต และดึงเงินกลับสหรัฐ เนื่องจากคาดหวังผลตอบแทนที่ดีขึ้น ขณะที่ฝั่งเอเชียยังต้องเผชิญแรงขายของต่างชาติ และการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปภาษีนำเข้า (การย้ายฐานการผลิตของบริษัทสัญชาติอเมริกัน) และการยกเลิก/เจราใหม่ในสนธิสัญญาการค้า อาทิ FTA และ TPP ถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นเอเชีย ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด หลังนายทรัมป์เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดี 20 ม.ค. 2560 ซึ่งทำให้ทุกประเทศในแถบเอเซียที่เป็นคู่ค้าหลักของสหรัฐจะต้องปรับตัวในการปรับสินค้าส่งออกใหม่ เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Market talk พรุ่งนี้)

(0) Fund Flow ยังไหลออก ตราบที่ Fed ยังเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย
แม้วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าราว 141 ล้านเหรียญ แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออกเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ที่ถูกซื้อสุทธิราว 136 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) และไต้หวัน 34 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ยังคงถูกขายสุทธิเช่นเดิม คือ อินโดนีเซียขายสุทธิราว 23 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 25 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อยราว 4 ล้านเหรียญ หรือ 144 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิถึง 1.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
และการที่ Fed ส่งสัญญาณขึ้นต่อเนื่องในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า จะยิ่งหนุน Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่านักลงทุนสถาบันฯสลับมาขายสุทธิราว 1.7 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 496 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)

(0) ราคาน้ำมันย่อ แม้สต็อกน้ำมันลดมากกว่าคาด แต่กดดันจากดอลลาร์แข็งค่า
วานนี้มีรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) สิ้นสุดสัปดาห์ (9 พ.ย.) พบว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลง 2.6 ล้านบาร์เรล มากกว่าตลาดคาด (VS คาดลด 1.6 ล้านบาร์เรล) ซึ่งเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 และเช่นเดียวกับสต็อกน้ำมันสำเร็จรูปดีเซล ลดลง 0.8 ล้านบาร์เรล (ยกเว้นสต็อกน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้นแต่ในอัตราชะลอตัวลง)
อย่างไรก็ตาม ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา IEA ได้มีการรายงานกำลังผลิตเดือน พ.ย. ของกลุ่ม OPEC ที่ 34.2 ล้านบาร์เรลต่อวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ปริมาณน้ำมันดิบโลกอยู่ที่ราว 98.2 ล้านบาร์เรล เกินดุลอยู่ราว 1.25 ล้านบาร์เรล (แต่ลดลงจาก 2 ล้านบาร์เรลในช่วงต้นปีจากปริมาณน้ำมันดิบด้าน Non-OPEC ที่ลดลง) ทั้งนี้หากพิจารณาความต้องการน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นตามเศรษฐกิจโลกแม้ไม่มากนัก และความร่วมมือในการลดกำลังผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC ตามข้อตกลงในการประชุมครั้งหลังสุด จะทำให้ Demand-supply น้ำมันกลับมาสมดุลได้เร็วขึ้น (อาจจะเริ่มขาดดุลราว 6 แสนบาร์เรลในช่วง 1H60) สอดคล้องกับ OPEC ที่คาดว่าตลาดน้ำมันจะเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้น แต่อย่างไรก็ตามการที่ Fed ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่า กดดันราคาน้ำมันปรับฐานช่วงสั้นๆ แต่เชื่อว่าเป็นโอกาสสะสม ยังแนะนำซื้อทั้ง PTTEP(FV@B102) และ PTT(FV@B400>

(+) ช่วงที่เหลือของปีนี้ แรงซื้อสถาบันยังมีอยู่ แต่เป็นการประคองดัชนีเท่านั้น
คาดว่าแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือปลายปีน่าจะยังแกว่งตัวในกรอบแคบๆ พร้อมมูลค่าการซื้อขายเบาบางลง ทั้งนี้ หากลองย้อนดูสถิติในอดีต พบว่าตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ธ.ค. SET Index ให้ผลตอบแทนเป็นลบเล็กน้อยที่ -0.06% (ด้วยความน่าจะเป็นที่ผลตอบแทนเป็นเพียงเพียง 40%) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นประเทศเพื่อนบ้านในช่วงเวลาเดียวกัน กลับ outperform มากกว่าตลาดหุ้นไทย ทั้งตลาดหุ้นอินโดนีเซีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ (ดังภาพด้านล่าง) แต่อย่างไรก็ตามในปีนี้ แรงขายต่างชาติมีน้ำหนักมากขึ้น เมื่อ Fed ส่งสัญญานขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า อาจจะทำให้ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านมีสภาพในต่างกับประเทศไทย
สำหรับตลาดหุ้นไทย แม้สถิติอดีตบ่งบอกว่าไม่สามารถให้ผลตอบแทนเป็นบวก แต่หากพิจารณาเป็นรายหุ้นพบว่าสามารถเอาชนะตลาด ด้วยความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งเชื่อว่าเกิดจากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากเม็ดเงินผ่านการซื้อของนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี LTF/RMF ที่มักกระจุกตัวในช่วงปลายปี (คิดเป็นกว่า 46% ของยอดซื้อทั้งปี) รวมถึง ปรากฏการณ์ Window Dressing ( สอดคล้องกับสถิติ 10 ปีย้อนหลัง พบว่า ในเดือน ธ.ค. นักลงทุนสถาบันฯ ซื้อสุทธิ 9 ใน 10 ปี ด้วยมูลค่าเฉลี่ยกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท)
กลยุทธ์การลงทุน : แนะนำลงทุนในหุ้นที่กองทุนนิยมซื้อสะสมในช่วงท้ายปี และให้ได้ผลตอบแทนสูงกว่า SET Index โดยทยอยสะสมได้ตั้งแต่ 3 สัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นปี และขายช่วงสิ้นปี โดยหุ้นที่ฝ่ายวิจัยแนะนำ คือ
หุ้นเด่นที่คาดว่าจะถูกทำ Window Dressing งวด 4Q59

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!