WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

รีบาวด์
Highlight
    ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ คาดรีบาวด์ หลังตลาดคลายกังวลต่อ Fed Tightening ระดับหนึ่ง แต่ยังรอจับตาประเด็น อาร์เจนติน่าผิดนัดชำระหนี้ และผลประชุม ECB ปลายสัปดาห์นี้
    ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ EU: Sentix Investor Confidence ส.ค. คาด 8.8 (Vs 10.1) Indonesia ส่งออก มิ.ย. คาด -1%y-y (Vs -8.1%)
     - วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติฃขายสุทธิ -467 พันลบ. (ขายสะสม 4 วัน รวม -5.02 พันลบ.) และนักลงทุนสถาบันในประเทศขายต่อ -1.12 พันลบ. (ขายสะสม 6 วันรวม -8.80 พันลบ.)
+ การเมือง คาดประชุมสภาครั้งแรก 8 ส.ค. เลือกประธานสภา และรองประธานสภา ก่อนประชุมสัปดาห์ต่อๆไป เลือกนายกฯและพิจารณา งบปี 58
      คาดดัชนีฯ รีบาวด์ช่วงต้นสัปดาห์ กรอบ 1470/1480 จุด – 1510/1520 จุด โมเมนตั้มบวก มาจาก ตลาดเริ่มคลายวิตกในระดับหนึ่ง ต่อ ผลกระทบจากดอกเบี้ยเฟด (การปรับขึ้นดอกเบี้ย จะยังคงใช้เวลานาน) สถานะการณ์ในอาร์เจนติน่า ไม่มีผลกระทบลุกลาม เพราะเป็นเพียง Technical Default ขณะที่ ECB Meeting กลางสัปดาห์นี้ อาจมีสัญญาณเชิงบวก
กลยุทธ์: เราแนะนำ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ ใช้กลยุทธ์ ขึ้นขาย-ลง รอซื้อที่แนวรับ สำหรับการลงทุนระยะ 1-2 สัปดาห์นี้ หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB INTUCH SIRI QH AP CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL

หุ้นในกระแส:
     หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 4.0%) ได้แก่ EFORL ADAM EA MACO PDG SUTHA MAX KTB หุ้นที่ลงกว่า 3.0% ได้แก่ RPC ICHI CENTEL TMB TTW DCON BEC
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+283 IVL+170 CPF+144 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ SCC-594 TRUE-473 KBANK-251 SCB-102
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 120 TRUE 98 PTT 95

Market Outlook
      คาดดัชนีฯ วันนี้ รีบาวด์จำกัด แนวต้าน 1510/1515 จุด แนวรับ 1490/1485 จุด การคลายวิตกต่อปัญหาอาร์เจนติน่า การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด รวมถึงอาจมีข่าวดีจาก ECB ขณะที่ปัจจัยในประเทศอาจมีข่าวดีจากรายชื่อคณะรัฐมนตรีใหม่ จะส่งผลบวกต่อดัชนีตลาดฯสัปดาห์นี้ แนะนำ ขึ้นขาย-เพื่อรอซื้อคืน 1480/1470 จุด เน้นหุ้นปันผลดี กำไรดี
     คาดดัชนีฯ 1-2 สัปดาห์นี้ ยังคงผันผวนสูง ในกรอบ 1470/1480 จุด – 1510/1520 จุด หลังจากตลาดเริ่มคลายวิตกในระดับหนึ่ง ต่อ ผลกระทบจากดอกเบี้ยเฟด(การปรับขึ้นดอกเบี้ย จะยังคงใช้เวลานาน) สถานะการณ์ในอาร์เจนติน่า ไม่มีผลกระทบลุกลาม เพราะเป็นเพียง Technical Default ขณะที่ ECB Meeting กลางสัปดาห์นี้ อาจมีสัญญาณเชิงบวกต่อการออกมาตรการการเงินเพิ่ม เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะ QE ส่วนปัจจัยในประเทศ การประชุมสภาสนช.นัดแรก เพื่อเร่งงบใช้จ่ายปี 58 และประเด็นบุคคลมารับตำแหน่งนายกฯและคณะรัฐบาล จะเป็นปัจจัยบวกระยะสั้นต่อตลาดหุ้นไทย ส่วนความเสี่ยงคือ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 2Q57F GDP คาดเติบโตอ่อนแอ รายงานกำไรบจ.แย่กว่าคาด และทิศทางค่าเงินดอลล์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าเทียบสกุลเอเชีย (FX Loss) เราแนะนำ นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ ใช้กลยุทธ์ขึ้นขาย-ลง รอซื้อที่แนวรับ สำหรับการลงทุนระยะ 1-2 สัปดาห์นี้

Investment Theme สำหรับการลงทุนระยะ 1-2 สัปดาห์ แนะนำ
1) หุ้นปันผลสูงมากกว่า 5% ปีนี้ แนะนำ SAMTEL MODERN TISCO BCP และสะสมเมื่ออ่อนตัว ADVANC DTAC BTS TTW LPN SPALI (ความเสี่ยงขาลงมีจำกัด)
2) หุ้น High Growth ปีนี้ ที่ยังคงมี % Upside สูงกว่า 20% แนะนำ JAS PSL BCP THCOM TTCL KBANK SCB SINGER BECL
3) หุ้นเก็งกำไร Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ CSS IVL GOLD ANAN JUBILE MINT SVI

ปัจจัยในประเทศ –ลุ้นเม็ดเงินใหม่จาก บลจ.หนุนความเชื่อมั่น
วันพุธที่ 6 ส.ค. คาดผลประชุมกนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ RP 1วันไว้ที่ระดับ เดิม 2% (คาดดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำตลอดปีนี้ +หุ้นปันผลดี)
วันที่ 6-7 ส.ค. KTAM / SCBAM/ MFC / LHAM ทยอยเปิดขายทริกเกอร์ฟันด์ คาดเม็ดเงินลงทุนอย่างน้อย 1- 2 พันลบ. จากมูลค่ากองทุน 5 พันลบ. หรือมากกว่า จะทยอยเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยในช่วงก่อนวันหยุดยาวปลายสัปดาห์หน้า หลังจาก UOBAM ปิดการขายไปเมื่อ 29 ก.ค. มูลค่าโครงการ 2 พันลบ. จะเป็นตัวแปรสำคัญที่ผลักดัน SET INDEX ในช่วงกลางเดือน ส.ค.
     วันที่ 8 ส.ค. คาดประชุมสภาสนช.200 คน นัดแรกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาเพื่อนำทูลเกล้าถวายฯ ก่อนที่สัปดาห์ต่อๆไป จะเริ่มประชุม วาระสำคัญ คือ พิจารณาบุคคลดำรงตำแหน่งนายกฯ และพรบ.ร่างงบประมาณปี 58 (รายชื่อบุคคลดำรงตำแหน่งคณะรัฐบาลและนายกฯ จะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาด หากเป็นไปตามคาดการณ์ล่วงหน้าของสื่อหลายแห่ง แต่จะเป็นผลบวกต่อ การใช้จ่ายงบฯ ปี 58 ที่สามารถเบิกจ่ายใช้เงินได้ทันที +กลุ่มอิงนโยบายรัฐ เช่น รับเหมาก่อสร้าง ฯลฯ)
     ตลอดสัปดาห์นี้ - บจ.ที่มิใช่สถาบันการเงิน จะทยอยประกาศงบการเงินอย่างต่อเนื่อง ก่อนครบกำหนดรายงานกลางเดือนส.ค. นี้

ปัจจัยต่างประเทศ -ลุ้นสัญญาณบวกจาก ECB Meeting & ปัญหาอาร์เจนติน่าคลี่คลาย
     +ผลประชุมธนาคารกลาง ยุโรป อังกฤษ ญีปุ่น วันพฤหัสฯ-ศุกร์ นี้ คาดว่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม ขณะที่การคาดหวังเชิงบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงโลก จะอยู่ที่ ECB Meeting จะออกมาตรการผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมหรือไม่ (โดยเฉพาะสัญญาณการออก QE) หลังสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปอ่อนแอ และเงินเฟ้อชะลอตัว
     *ปัญหาอาร์เจนตินา คาดกันว่าการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนตินาจะไม่ก่อให้เกิดภาวะปั่นป่วนวุ่นวายทางการเงินระหว่างประเทศ เพราะอาร์เจนตินาถูกโดดเดี่ยวจากตลาดสินเชื่อโลกนับตั้งแต่ที่ผิดนัดชำระหนี้ในปี 2002 ขณะที่ประเด็นต่อเนื่องหลังการเกิด Technical Default คือ ผู้ถือครองพันธบัตรปรับโ ค ร ง ส ร้า ง ข อ ง อ า ร์เ จ น ติน า ต้อ ง ตัด สิน ใ จ ว่า จ ะ ดำ เ นิน ก ร ะ บ ว น ก า ร เ ร่ง ใ ห้ชำ ร ะ ห นี้ในทันที (acceleration) หรือไม่ โดยเรียกร้องให้รัฐบาลอาร์เจนตินาจ่ายทั้งเงินต้น พร้อมดอกเบี้ยเต็มตามจำนวนในทันที กระบวนการนี้จะดำเนินไปได้ก็ต่อเมื่อผู้ถือครองพันธบัตรอย่างน้อย 25% ของมูลค่าพันธบัตรทั้ง 16 ร า ย ก า ร ที่ใ ช้ใ น ก า ร ป รับ โ ค ร ง ส ร้า ง ห นี้ใ น ปี 2005แ ล ะ 2010 เ รีย ก ร้อ ง ใ ห้ธ น า ค า รแบงก์ ออฟ นิวยอร์ค เมลลอนตัดสินอย่างเป็นทางการเรื่องการผิดนัดชำระหนี้ โดยทางธนาคารมีเวลา 60 วันในการตัดสินใจ
    +วันศุกร์ที่ผ่านมา ตลาดคลายวิตก Fed Tightening ไประด้บหนึ่ง หลังรายงานจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ ก.ค. ออกมาต่ำกว่าคาด 209k (Vs คาดการณ์ +230k , ค่าเฉลี่ย 6 เดือนย้อนหลังที่ +244k แต่เดือนมิย ปรับขึ้น 10k เป็น +298k และเดือนพค ปรับขึ้น 5k ส่วนอัตราว่างงาน กค เพิ่มขึ้น 0.1% เป็น 6.2% เป็นผลจากจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 329k ส่งผลอัตรา participation rate เพิ่มขึ้น 0.1pp เป็น 62.9%
     US Economy คาดปีนี้ เติบโต 2.1% (Vs ปี 56 2.2%) คาด /2H57F เติบโต 3.2% หลังจาก 2Q57 GDP ครั้งแรกรายงานเติบโต 4%q-q เป็นผลจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ดีขึ้นตามลำดับ อัตรา Saving rate ที่เพิ่มขึ้น 5.3%q-q ใน 2Q57 Vs 4.9% 1Q57 สะท้อนการเงินของภาคเอกชนมี Personal Income สูงขึ้นและปรับเพิ่ม Nonresidential Fix Investment ปลายปี 56 สูงขึ้น อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเร่งขึ้นเช่นกัน Core PCE เพิ่มขึ้น 2.1% ใน 3 เดือน อัตรา Employment cost index ค่าจ้าง เร่งตัวขึ้น 2.4% จาก 1.7% และ Average hour earnings เพิ่มขึ้นเป็น 2% จากเดิม 1.9% ส่งผลทั้งปี 57F คาด +1.9% (Vs ปี 56 1.5%)
ปัจจัยเทคนิค: ระยะสั้น หลังจากทดสอบแนวต้านสำคัญของกรอบขาขึ้นที่ 1550 จุดแล้วไม่ผ่าน ดัชนีฯอยู่ระหว่างการวกกลับมาทดสอบแนวรับของกรอบที่ 1483/1462 จุด(61.8% และ 100% ของ Retracement กรอบ 1462-1550จุด) ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1515/1520 จุด อิทธิพลของการปรับฐานดังกล่าว ประกอบกับ การเริ่มเข้าสู่ภาวะ Neutral (จากเดิม Very Overbought) ของ Stochastics, RSI สะท้อนดัชนีฯสัปดาห์นี้จะผันผวนในกรอบ 1483/1470 -1520 จุด (จากเดิม ขาลงตลอดเกือบทั้งสัปดาห์)
พอร์ตลงทุนหุ้นระยะยาว : เน้นลงทุนกลุ่ม Domestic Play หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB ADVANC SIRI PS CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL
ระยะยาว ต่างชาติอาจมีการปรับพอร์ตลงทุน : เน้น Cyclical Play เพิ่มขึ้น

     ภายใต้แนวโน้มขาขึ้นของดอกเบี้ยโลก อิงเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยตั้งแต่กลางปีหน้าเป็นต้นไป ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติอาจมีการปรับพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นกลุ่ม Cyclical Play และลดน้ำหนักลงทุน กลุ่มอิงการบริโภคในประเทศ(Domestic Plays) โดยเฉพาะประเทศในเอเชียที่มีปัญหาขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูง เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย ฯลฯ เนื่องจาก Costs of Funds ที่สูงขึ้น จะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในประเทศลดลง
อย่างไรก็ดี ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไทย ที่ยังคงอ่อนแอ แต่เริ่มมีสัญญาณใกล้ผ่านจุดต่ำสุด อิงนโยบายรัฐบาลที่กระตุ้นความเชื่อมั่นและลงทุนโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมถึงนโยบายการเงิน ที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยฯ อยู่ในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้เราคาดว่า หุ้นกลุ่มอิงการบริโภคในประเทศ ที่มีปันผลดี อาทิ แบงก์ ค้าปลีกอสังหาฯ จะยังคงปรับตัวดีกว่าตลาด (Outperform) ในช่วง 6-12 เดือนข้างหน้า
** สัปดาห์ที่ผ่านมา : ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ฮ่องกง ปรับขึ้นดีสุดในโลก ส่วนไทย แย่สุดในเอเชีย
+/- ตลาดหุ้นโลก: ตลาดหุ้นเอเชียฯ ยังคงปรับตัวดีกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรป โดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ปรับขึ้นสูงสุด +1.93%w-w รองลงมา คือ ฮ่องกง +1.31%w-w (สัปดาห์ก่อน ฮ่องกงเป็นอัดับ 1 +3.25%w-w ส่วนเกาหลีใต้ เป็นอันดับ 3 +0.71%w-w) หลังจากเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัว จากรายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯ 2Q57 เติบโตดีกว่าคาด +4%q-q (Vs -2.1%q-q ใน 1Q) และภาคการผลิตจีน เติบโตสูงสุดรอบ 27 เดือน พร้อมทั้ง IMF คาดจีนจะเติบโตปีนี้ 7.5%
ขณะที่ตลาดหุ้นยุโรป สหรัฐฯ ต่างปรับตัวลดลงสูงสุดรายสัปดาห์ (ลดลง 1.65%w-w ถึง -4.5%w-w) อันเป็นผลจากการเผชิญปัญหา การผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า ปัญหาสถาบันการเงินโปรตุเกส และการวิตกต่อการคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด อาจเร็วกว่าคาด ถ่วงลงแรง โดยเฉพาะช่วง 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์
-ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับตัวแย่สุดในภูมิภาค -2.83%w-w (Vs +0.68% +1.01%w-w ตามลำดับ) เป็นผลจากวิตกต่อ แรงขายจากทริกเกอร์ฟันด์ ที่ถึงเป้าหมายของนักลงทุนสถาบันในประเทศและแรงขายต่างชาติ จากผิดหวังแนวโน้มเศรษฐกิจไทยอาจอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ หลังส่งออกมีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าคาด และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจไทย เดือนมิย.57 อยู่ที่ 48 (ต่ำกว่าระดับ 50 จุดเป็นเดือนที่ 12) รวมถึงการวิตกต่อ เฟดคุมเข้มนโยบายการเงิน ปัญหาผิดนัดชำระหนี้อาร์เจนติน่า ฯลฯ ส่งผลสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนสถาบันสัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิรวม -4.87 พันลบ.(Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +1.68 พันลบ.) และกองทุนในประเทศ ขายสุทธิอีก -8.13 พันลบ. (Vs สัปดาห์ก่อน -919 ลบ.)
กลุ่มอุตฯ หลักๆ ต่างปรับลดลงถ้วนหน้า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
กลุ่มอุตฯที่ลดลงน้อยสุด w-w คือ กลุ่มแบงก์ -0.2%w-w รองลงมา คือ ICT -0.57% ส่วนกลุ่มที่แย่สุด คือ อสังหาฯ -5.82%w-w รองลงมา คือ วัสดุก่อสร้าง พลังงาน ต่างปรับลดลงมากกว่า 5%w-w
ส่วนทั้งเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กลุ่มอุตฯ ที่ปรับขึ้นสูงสุด คือ กลุ่มแบงก์ +4.44%m-m โดยเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ส่วนกลุ่มที่แย่สุดคือ กลุ่ม ICT -3.83%m-m
- ตลาดโภคภัณฑ์ ปรับตัวลดลงจากรายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีกว่าคาด :
ราคาน้ำมันดิบ สัญญาเดือน ก.ย. เช่นเดียวกันกับราคาทองคำ ต่างกลับมาปรับลดลงในสัปดาห์นี้ ลดลง 3.2%-4.12%w-w โดยน้ำมันดิบร่วงลงจากวิตกอุปทานล้น ขณะที่ทองคำ มีแรงขายจากแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯแข็งแกร่ง ส่วนค่าระวางเรือ รีบาวด์ต่อเนื่อง แต่ด้วยปริมาณจำกัด +1.6%w-w จากข่าวเศรษฐกิจจีนเติบโตดี ขณะที่ปัจจัยฤดูกาล คาดค่าระวางเรือจะปรับขึ้นแข็งแกร่งในช่วงปลายเดือน ส.ค. เป็นต้นไป จนถึงปลายปี
- ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน : ดอลล์แข็งค่าจาก Green back
     ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 และพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 10.5 เดือนในตะกร้าเงิน (81.327) ส่วนค่าเงิน EUR วันศุกร์ อยู่ที่ 1.34 ดอลล์สหรัฐฯ จากแรงซื้อคืนดอลล์สหรัฐฯ สูงถึง $11.1bn. สะสมเป็น $22.4bn. โดยระดับสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นปีก่อนอยู่ที่เดือน ม.ค. 56 $25.7bn. (และ Short EUR $4.2bn.สะสมเป็น -$19.1bn. ซึ่งถือเป็นจำนวนต่ำสุด นับตั้งแต่ ส.ค. 55) วิตกปัญหาผิดนัดชำระหนี้อาร์เจนติน่า และเศรษฐกิจที่อ่อนแอของยุโรป ส่วนเทียบเยน ปิดที่ระดับ 103 เยนต่อดอลล์สหรัฐฯ ใกล้เคียงกับระดับต่ำสุด 4 เดือนที่ 103.15 เยนต่อดอลล์สหรัฐฯ
Morgan Stanley คาดว่า อัตราแลกเปลี่ยนสกุลดอลล์สหรัฐฯจะแข็งค่าขึ้นใช่วง 3Q-4Q57F และสิ้นปี 58F โดยคาดว่า EUR/USD อยู่ที่ 1.33 และ 1.31/ดอลล์สหรัฐฯ และ 1.23 /ดอลล์ ตามลำดับ และ USD/JPY อยู่ที่ 102 และ 105 เยน/ดอลล์สหรัฐฯ และ 115 เยน/ดอลล์ ตามลำดับ
ส่วนแนวโน้มค่าเงินบาท/ดอลล์สหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ คาดว่าเงินบาทต่อดอลล์สหรัฐฯ มีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยอยู่ในกรอบ 31.7 - 32.5/32.7 บาท

ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: เดือนหน้าประชุมสภานัดแรก
ประเด็นการเมือง (Update):
โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง200สนช.เรียกประชุม7ส.ค.นี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗ จำนวน 200 ราย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
กกต.คาด สรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปฯ ครบ 250 คน ภายใน 2 ต.ค.
กกต. คาดว่า กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) จะแล้วเสร็จภายในวันที่ 2 ต.ค. หลังวานนี้ มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสรรหาสมาชิก สปช.แล้วโดยหลังจากนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะต้องประกาศแต่งตั้ง คณะกรรมการสรรหา สปช. 12 คณะ ประกอบด้วย คณะกรรมการสรรหาในด้านต่างๆ 11 ด้าน และคณะกรรมการสรรหาระดับจังหวัด ทั้ง 77 จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการ ภายในวันที่ 13 ส.ค.นี้ คสช.เร่งสภาพัฒน์ทำคำแถลงนโยบายรัฐบาลใน 15 ส.ค., "ประยุทธ์" ย้ำคสช. ไม่ใช่รัฐบาล คสช. ระบุว่า ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. หรือสภาพัฒน์) และสำนักงานเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เร่งดำเนินการจัดทำร่างคำแถลงนโยบายรัฐบาลให้แล้วเสร็จและส่งให้คสช.พิจารณา ภายในวันที่ 15 ส.ค.นี้ ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.)ในฐานะ หัวหน้าคสช. ขอให้ทุกฝ่ายช่วยทำความเข้าใจกับสังคมว่า คสช.ไม่ใช่รัฐบาล แต่จะทำงานคู่ขนานกัน โดยจากนี้โครงสร้างคสช.จะลดขนาดลง เพื่อให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน ควบคู่กับรัฐบาล ดังนั้นให้แต่ละฝ่ายเร่งสรุปผลงาน และส่งให้สำนักงานเลขานุการ คสช. เพื่อเตรียมส่งข้อมูลให้กับรัฐบาลชุดใหม่ ที่จะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. นี้

2. Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (/24-30 กค. 57) ซื้อคืน Equities และซื้อต่อ Bonds ส่วนกองทุนไทย กลับมาถูกไถ่ถอนอีกครั้งเป็นสัปดาห์ที่ 17 จาก 18 สัปดาห์
Recommendation : แนะนำ บจ.คาดกำไรเติบโตดี-ปันผลระหว่างกาล ได้แก่ KBANK KTB TMB PTTEP PTT MINT IVL
แรงซื้อสุทธิรายเดือน ของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นเอเชีย 6 ประเทศ
Fund Flow: สัปดาห์ที่ผ่านมา (/24-30 กค. 57) ซื้อคืน Equities และซื้อต่อ Bonds ส่วนกองทุนไทย กลับมาถูกไถ่ถอนอีกครั้งเป็นสัปดาห์ที่ 17 จาก 18 สัปดาห์
สัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายมีการเปลี่ยนแปลง โดยกลับมาซื้อ สุทธิ Equities Funds +$5.3bn. เป็นการซื้อ 4 ใน 5 สัปดาห์ล่าสุด ( -$5bn. +$6.2bn. +$5.4bn. +$1.3bn. -$0.6bn. สะสม YTD +$81.3bn.) เป็นแรงขายเกือบทั้งหมดใน DM (Vs สัปดาห์ก่อน +$4.1bn.) ส่วน Bond Funds มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 20 ในรอบ 21 สัปดาห์ +$2bn. (สัปดาห์ก่อนหน้า +$1.9bn.+$3.5bn. ตามลำดับ สะสม YTD+$113.1bn.)
ตลาดหุ้น USA กลับมาซื้อสุทธิถึง+$5.9bn. เป็นการซื้อสัปดาห์ที่ 8 ในรอบ 9 สัปดาห์ (Vs สัปดาห์ก่อน -$7.6bn. +$4.3bn. +$3.7bn.) ส่งผล แรงซื้อสะสม YTD +$80.3bn. (Vs +$119bn. y-y) ขณะที่ ตลาดหุ้น Europe มีแรงขายเพิ่มขึ้น -$1.3bn. (Vs สัปดาห์ก่อน -$135mn. -$32.9mn.) เป็นการขายสัปดาห์ที่ 4 ในรอบ 57 สัปดาห์ สะสมสุทธิ $98.5bn.
ส่วนกองทุนในตลาดเกิดใหม่ สัปดาห์ที่ผ่านมามีแรงซื้อกลับมาเช่นเดียวกันที่ +$5.3bn. (จากทรงตัว -$15mn ในสัปดาห์ก่อน) โดยมีแรงซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกองทุน GEM และ กองทุนเอเชีย(ไม่รวมญี่ปุ่น) +$3.0bn. สูงสุดรายสัปดาห์นับตั้งแต่ต้นเดือน เมย. และ +$2.3bn. ตามลำดับ
6 ชาติเอเชียฯ มีแรงซื้อต่อเป็นสัปดาห์ที่ 12 ด้วยปริมาณสูงขึ้นเล็กน้อย
สำหรับ 6 ชาติในเอชียไม่รวมญี่ปุ่น พบว่า มีแรงซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 12 ด้วยปริมาณสูงขึ้นเล็กน้อยเป็น +$1.9bn. (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า +$1.7bn. +2.3bn. +$2.1bn.) สะสม 12 สัปดาห์รวม +$20.6bn.
เอเชียเหนือ โดยเฉพาะเกาหลีใต้ มีแรงซื้อสูงสุดรอบ 10 สัปดาห์ +$1.3bn. (Vs สัปดาห์ก่อน +663mn. +$814mn) จากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และส่งผลให้แรงซื้อเดือน ก.ค. สูงสุดรอบ 9 เดือนที่ +$4bn.(0.6% Mkt Cap) รองลงมา คือ ไต้หวัน +$639mn (Vs สัปดาห์ก่อน +$190mn)
ส่วนกลุ่ม TIPs กลับมาเป็นถูกขายสุทธิ โดยขายตลาดหุ้นไทย -$99mn. (Vs +$130mn +$218mn. +$192mn.) และฟิลิปปินส์ -$1mn.(Vs -$46mn.) ส่วนตลาดหุ้นอินโดนีเซีย มีแรงซื้อเล็กน้อย+$49mn. (Vs +$129mn. +$745mn.) เช่นเดียวกับ อินเดีย มีแรงซื้อเหลือเพียง +$54mn. (Vs สัปดาห์ก่อน+$649mn.)

3.Fed Tightening: อาจเป็นลบระยะสั้น แต่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดพันธบัตร มากกว่าตลาดหุ้น
KTZ คาดว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย จะมีผลโดยตรงต่อแนวโน้มดอกเบี้ยของไทย จะปรับขึ้นในทิศทางและปริมาณเดียวกัน โดยผลสำรวจล่าสุด ส่วนใหญ่คาดขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกใน 2Q/3Q58F ประมาณ 0.25-1%
มุมมองระยะยาว คาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจะไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นโลก
อิงสถิติย้อนหลังของตลาดหุ้นสหรัฐฯ เราพบว่า การหันมาเริ่มคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด จะไม่ส่งผลกระทบเชิงลบอย่างมีนัยต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ (คาดมีผลกระทบโดยตรงต่อตลาดพันธบัตร และย้ายลงทุนมายังตลาดหุ้นทดแทน อิงผลกำไรบจ.มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามขาขึ้นของวัฎจักรเศรษฐกิจ โดยตลาดคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะเติบโตเฉลี่ยสูงกว่า 3% )
อิงสถิติการปรับขึ้นดอกเบี้ย Fed Fund Rate ของเฟดครั้งแรกและต่อเนื่องจนสูงกว่า 1 ppt ในช่วงปี 1970-2003 ที่ผ่านมา พบว่า ดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +8.9% ในช่วง 8 เดือนก่อนการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก และปรับขึ้นเฉลี่ย 11% ในช่วง 21 เดือนต่อมาหลังจากปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟด ยกเว้นปี 1999/2001 ที่ผลตอบแทน -15.5% เนื่องจากระดับ Valuation ในช่วง dot com bubble มีการปรับขึ้นไปสูงกว่าความเป็นจริงมาก
ทั้งนี้ ตลาดคาดว่า เฟดจะเริ่มต้นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ครั้งแรกในช่วงเดือน มี.ค. 58 และขึ้นต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. 59 ทั้งนี้ ระดับอัตราดอกเบี้ยที่เร่งตัวขึ้น คาดว่าจะกระทบในส่วนของ Risk Free Rate ระยะสั้น แต่ก็ถือว่ายังคงแตกต่างจากระดับดอกเบี้ยที่ใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้น ที่ใช้ Long-term rate และยังคงต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 2% นอกจากนี้ การประเมินมูลค่าหุ้น ยังคงอิง Equity Risk Premium (ERP) ของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งภายใต้เศรษฐกิจขาขึ้นของโลก คาดว่าระดับความเสี่ยงดังกล่าวจะมีจำกัด
US S&P 500 เฉลี่ยปรับขึ้น 8.9% ก่อนเฟดเริ่มวัฎจักรขาขึ้นดอกเบี้ย 8 เดือน และเฉลี่ย +11.4%หลังเฟดเริ่มต้นวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น 21 เดือน

-4. อาร์เจนติน่า : Argentina’ Technical Default ปัญหาลบชั่วคราว
เป็นการผิดนัดชำระหนี้ครั้งที่ 2 ในรอบ 13 ปี (ครั้งแรกปี 2001) แต่เป็นผลจากการไม่ต้องการจ่าย มากกว่าการไม่สามารถจ่ายได้ เนื่องจาก การเจรจา ระหว่าง รัฐบาลอาร์เจนฯ และเจ้าหนี้พันธบัตร (US Hedge Fund)ที่มีมุมมองต่าง ทำไห้รัฐบาลอาร์เจนติน่า ตัดสินใจไม่จ่ายดอกเบี้ย 539 ล้านดอลล์สหรัฐฯ ได้ภายในกำหนดเส้นตาย รัฐบาลอาร์เจนติน่า กล่าวหากองทุน US Hedge Funds เป็นพวก Vulture Funds และการต้องจ่ายหนี้ให้ครบทั้งจำนวนแก่ Hedge Funds ที่ซื้อมาในราคาส่วนลดสูง จะส่งผลให้รัฐบาลฯต้องจ่ายหนื้คืนให้กับ Bondholders อื่นๆ ครบทุกจำนวนเช่นกัน
ผลจากการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนตินา ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับเครดิต S&P ลดเครดิตสู่ระดับ ผิดนัดชำระหนี้บางส่วน Technical Default จากเดิม CCC-/Cและฉุดดัชนีหุ้นบลูชิพ Merval Index ร่วงลง -8.4% ทั้งนี้ ปัจจุบัน อาร์เจนตินา มีหนี้สกุลเงินต่างประเทศ 2 แสนล้านดอลล์สหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงพันธบัตรที่ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว มูลค่า 3 หมื่นล้านดอลล์สหรัฐฯ
แม้จะมีปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า แต่ผลกระทบต่อตลาดการเงินโลกคาดว่าจะมีจำกัด เนื่องจาก ระดับความเสี่ยงของตราสารหนี้ของอาร์เจนติน่า อยู่ในระดับ High Risk อยู่แล้ว และส่วนใหญ่เป็นผลจาก การไม่ต้องการจ่าย มากกว่า ไม่มีเงินมาจ่าย อย่างไรก็ดี อาจส่งผลกระทบต่อ Bond Funds ที่ถือตราสารหนี้ของกลุ่ม Emerging Markets Countries อื่นๆด้วย โดยเฉพาะประเทศที่มีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้อาจถูกขายอย่างมีนัยเทียบกับประเทศที่มีสถานะการเงินมั่นคง

5. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
หุ้นที่คาดประกาศผลกำไรแล้วดีกว่าคาดการณ์ของตลาด ที่ผ่านมา ได้แก่ DELTA ASP ส่วนที่แย่กว่าคาดคือ SCC ขณะที่สัปดาห์นี้ จับตารายงานผลกำไรบจ. GOLD PTTGC AAV ADVANC CPALL MAKRO IVL SIRI
Bloomberg Consensus : 2Q14E earning estimate by sector คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะรายงานกำไรเติบโต y-y สูงสุด +105.3% รองลงมา คือ กลุ่มอาหาร +86.5%y-y ปิโตรเคมี +70%y-y แย่สุดคือ กลุ่มเหล็ก -168.9%y-y ขนส่ง -146.7%y-y +/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ AIG (4/8) Walt Disney (5/8) Time Warner (6/8)

+/- 6. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : ไฮไลท์อยู่ที่ ECB – BOJ Meeting, รายงาน 2Q57F GDP อินโดนีเซีย อิตาลี , ผลประชุมกนง ไทย
วันจันทร์ 4 ส.ค. : EU: Sentix Investor Confidence ส.ค. คาด 8.8 (Vs 10.1) Indonesia ส่งออก มิ.ย. คาด -1%y-y (Vs -8.1%)
วันอังคาร 5 ส.ค. : USA ISM ภาคบริการ ก.ค. คาด 56.3 (Vs 56) คำสั่งซื้อโรงงาน มิ.ย. คาด +0.6%m-m (Vs -0.5%) ผลประชุมธนาคารกลางอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย คาดคงดอกเบี้ยที่ 8% และ 2.5% ตามลำดับ Indonesia: 2Q57F GDP คาด 5.2%y-y เท่าเดิม
วันพุธ 6 ส.ค. : USA ดุลการค้า มิ.ย. คาด -$44.5bn. (Vs -$44.4bn.) Thai: ผลประชุมกนง. คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2% Italy: 2Q57F GDP คาด +0.1%q-q(Vs -0.1%) Germany:Factory orders มิ.ย. คาด +0.5%m-m (vs -1.7%)
วันพฤหัสบดี 7 ส.ค. : ผลประชุมธนาคารกลางยุโรป อังกฤษ คาดคงดอกเบี้ยที่ 0.15% 0.5%ตามลำดับ USA:Consumer credits มิย คาด $18bn.(Vs $19.6bn.) Germany:Industrial Production มิย คาด +1.3%m-m(Vs -1.8%)
วันศุกร์ 8 ส.ค. : Japan ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.1% China: ส่งออกดุลการค้าเดือน ก.ค. คาด +6.5%y-y +$26bn. (Vs +7.2% +$31.56bn.) USA:Wholesale Inventories มิ.ย. คาด +0.6%m-m (Vs 0.5%) Germany ส่งออก มิ.ย. คาด +1.3%m-m (Vs -1.1%)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ผลสำรวจชี้ PMI ภาคการผลิตอังกฤษขยายตัวต่ำสุดรอบ 1 ปี ใน ก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอังกฤษโดย Markit/CIPS ร่วงลงสู่ระดับ 55.4 ในเดือน ก.ค. จาก 57.2 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2013 และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ต่ำสุดในผลสำรวจของรอยเตอร์
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตยูโรโซนทรงตัวในเดือน ก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิตสำหรับภาคการผลิตขั้นปลายของยูโรโซนอยู่ที่ 51.8 ในเดือน ก.ค. ไม่เปลี่ยนแปลงจากระดับของเดือน มิ.ย. แต่ลดลงจากข้อมูลขั้นต้นที่ระดับ 51.9 โดยดัชนี PMI ของเยอรมนีเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.4 ในเดือน ก.ค. จากระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนที่ 52.0 ในเดือนมิ.ย. ดัชนี PMI ของฝรั่งเศส ลดลงสู่ระดับ 47.8 ในเดือน ก.ค.จาก 48.2 ในเดือน มิ.ย. ดัชนี PMI ของ อิตาลี อยู่ที่ 51.9 ในเดือน ก.ค. ลดลงจากระดับ 52.6 ในเดือน มิ.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ และดัชนี PMI ของสเปนอยู่ที่ ระดับ 53.9 ในเดือน ก.ค. ลดลงจาก 54.6 ในเดือน มิ.ย.
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ภาคการผลิตญี่ปุ่นชะลอตัวเล็กน้อยในเดือน ก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ในภาคการผลิตของญี่ปุ่นขั้นปลายจาก Markit/JMMA ลดลงสู่ระดับ 50.5 ในเดือนก.ค.จากข้อมูลขั้นต้นที่ 50.8 และข้อมูลขั้นปลายที่ 51.5 ในเดือน มิ.ย. ดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ถึงการขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน แต่ภาวะชะลอตัวอาจจะสร้างความวิตกให้แก่ผู้กำหนดนโยบาย
ผลสำรวจ HSBC เผยดัชนี PMI ภาคการผลิตขยายตัวสูงสุดรอบ 18 เดือน ใน ก.ค. ผลสำรวจของเอชเอสบีซี/มาร์กิตระบุว่า ภาคการผลิตของจีนขยายตัวมากที่สุดในรอบ 18 เดือน ในเดือน ก.ค. ขณะที่คำสั่งซื้อใหม่พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบหลายเดือน ซึ่งบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังคงฟื้นตัวขึ้น หลังจาก รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเอชเอสบีซี/มาร์กิตดีดตัวแตะระดับ 51.7 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค.2013 จากระดับ 50.7 ในเดือนมิ.ย. แต่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์เบื้องต้นที่ 52
สหรัฐเผยจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มน้อยกว่าคาดในก.ค. ขณะว่างงานดีดแตะ 6.2% กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 233,000 ตำแหน่ง จากระดับ 298,000 ในเดือนมิ.ย. และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1997 ที่ตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าเดือนละ 200,000 ตำแหน่ง เป็นเวลา 6 เดือนติดต่อกัน ส่วนอัตราว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 6.2% ในเดือนก.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 6.1%

สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ลงต่อ แต่ด้วยปริมาณจำกัด หลังข่าวร้ายจ้างงานนอกภาคเกษตร ต่ำกว่าคาด
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลดลง แต่ด้วยปริมาณจำกัด โดยดัชนี DJIA ปิดลดลง 69.93 จุดหรือ -0.42% สู่ระดับ 16,493.37 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดลบ 5.52 จุดหรือ -0.29% สู่ระดับ 1,925.15 จุด Nasdaq ปิดร่วงลง 17.13 จุด หรือ -0.39% สู่ระดับ 4,352.64 จุด หลังจากกระทรวงแรงงาน รายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตร กค ออกมาต่ำกว่าคาด 2.09 แสนราย Vs คาด 2.98 แสนราย การจ้างงานในภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 198,000 ตำแหน่งในเดือน ก.ค. ขณะที่ภาครัฐเพิ่มการจ้างงาน 11,000 ตำ แหน่ง นอกจากนี้ ยังมีการทบทวนปรับตัวเลขจ้างงานในเดือน มิ.ย. และพ.ค.เพิ่มขึ้น 15,000 ตำแหน่ง แต่อัตราว่างงาน เพิ่มขึ้นเป็น 6.2% (Vs 6.1%) ส่งผลให้ตลาดคลายวิตกต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟด
ทั้งนี้ ตลาดหุ้น S&P500 -2.7%w-w ลดลงสูงสุดรายสัปดาห์ นับตั้งแต่ 1 มิ.ย. 55 ส่วน DJIA -2.8%ww แย่สุดนับต้งแต่ 24 ม.ค. Nasdaq -2.3%ww ลดลงสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.

- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลงต่อ วิตกเศรษฐกิจชะลอ ปัญหาผิดนัดหนี้ของอาร์เจนตินา
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลงแรงต่อเนื่อง -2.9%w-w โดยดัชนี FTSE ปิดลง 50.93 จุด หรือ -0.76% สู่ 6,679.18 จุด ดัชนี CAC40 ปิดร่วง -43.36 จุด หรือ -1.02% สู่ 4,202.78 จุด และ DAX ดิ่งแรง 197.40 จุด หรือ -2.10% สู่ 9,210.08 จุด ปัญหาเศรษฐกิจยุโรปชะลอตัว(Euro PMI กค แย่กว่าคาด 51.8 Vs คาด 51.9) ต้นทุนแรงงานสหรัฐฯเพิ่มขึ้นแรง และปัญหาผิดนัดชำระหนี้ของอาร์เจนติน่า ยังคงเป็นปัจจัยถ่วงตลาดหุ้นยุโรปลดลง
หุ้นธนาคารแบงโค เอสปิริโต ซันโตทรุดตัวลง 40% ในวันศุกร์ หลังดิ่งลง 42% ในวันพฤหัสบดี ขณะที่ทางธนาคารเปิดเผยผลขาดทุน 3.6 พันล้านยูโร และการกันสำรองสูงกว่าคาดเพื่อรองรับการขาดทุนจากกลุ่มบริษัทของตระกูลเอสปิริโต ซันโต
นักลงทุนมีความกังวลต่อการที่สหรัฐและสหภาพยุโรปออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย เนื่องจากบริษัทในกลุ่มบลูชิพของยุโรปราว 40% ซึ่งรวมถึงบริษัทเยอรมนีหลายแห่ง มีรายได้มากกว่า 5% จากการลงทุนในตลาดรัสเซีย

-ราคาน้ำมันดิบ Brent และ Nymex เดือนกค ร่วง วิตกอุปสงค์ชะลอ อุปทานล้น
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ ก.ย. ปิดลดลง 1.18 ดอลลาร์ สู่ 104.84 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดรอบ 2 สัปดาห์ วิตกอุปทานล้น อุปสงค์อ่อนแอ
ส่วน Nymex ส่งมอบ กย. ลดลงอีก 0.29 ดอลล์ต่อบาร์เรล มาปิดที่ระดับ 97.88 ดอลล์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดตั้งแต่ 5 กพ และร่วงลง 6.8%m-m แย่สุดรายเดือนนับตั้งแต่ พค 55 วิตกอุปสงค์จากโรงกลั่นลดลง

+ราคาทองคำ ฟื้นตัว หลังคาดดอกเบี้ยเฟด ไม่ปรับขึ้นเร็ว
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด + 12 ดอลล์มาปิดที่ระดับ 1,294.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รีบาวด์จากระดับต่ำสุดรอบ 6 สัปดาห์ หลังจากตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ ทำให้โอกาสเร่งขึ้นดอกเบี้ย และถ่วงดอลล์สหรัฐฯ อ่อนตัว

- ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index กลับมาปิดลบ หลัง ปิดบวก 7 วัน
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดลดลง 4 จุดมาปิดที่ 751 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก

ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!