- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 01 December 2016 00:27
- Hits: 12851
บล.บัวหลวง : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
รอบด้านตลาดหุ้น
Sideways
วันนี้คาด Sideways กรอบ 1,490-1,505 จุด
สัปดาห์ที่แล้วดัชนีฯหุ้นไทย ฟื้นตัวหลังไม่หลุดแนวรับ 1,450 +/-10 จุด ตามคาดโดยยกฐานต่ำสูงขึ้น ส่งผลให้โมเมนตั้มสัปดาห์นี้ มีลุ้นขึ้นต่อ ไปทดสอบแนวต้าน 1,520/1,530 จุด แนวรับ 1,485 จุด โดยสัปดาห์ก่อน หุ้นไทยได้แรงหนุนความเชื่อมั่นจากเศรษฐกิจ 3Q16 ที่ขยายตัวดีตามคาด
และปัจจัยหนุนจิตวิทยาหุ้นไทย สัปดาห์นี้คาด จะมาจากตัวเลขเศรษฐกิจ โลก โดย US GDP คาดขยายตัว 3% จาก 2.9% และดัชนีฯภาคการผลิต สหรัฐฯ และ จีนที่ขยายตัวเกิน 50 จุด / ส่วนปัจจัยลบ การลงประชามติรับร่าง รธน.ใหม่ของ อิตาลี คาดส่งผลลบตลาดหุ้นยุโรป แต่เชื่อมีผลแค่จิตวิทยาช่วงสั้นต่อหุ้นโลก และ หุ้นไทย
ระยะเดือน (พ.ย.) ลงผิดคาด หลุด 1,480 จุด ทำให้แนวโน้มรายเดือน คาดลง-ปิด Gap แถวๆ 1,450 +/- 10 จุด (1,455/1,450/1,440 จุด) ก่อนจึงจะค่อยฟื้นตัว โดยคงแนวต้านเดิม 1,530 จุด แนะนำ ซื้อถัวตามแนวรับ/เลือกซื้อรายตัว
ส่วนเดือนธ.ค. คาด แรงขายต่างชาติเริ่มชะลอลงในเดือน ธค. และมีโอกาสที่เดือน มค. ปีหน้า จะเกิด January effect เหมือนกับปี 2012-13 และ 15 ที่ดัชนีหุ้นขึ้นในช่วงเดือน มค. อิงสมมุติฐานต่างชาติถือหุ้นไทยเหลือเพียง 29% ต่ำสุดในรอบ 5 ปี และ หากคำนวณเม็ดเงินต่างชาติที่สามารถซื้อหุ้นไทย กลับไปสัดส่วนเฉลี่ย ที่ 32% คาดเม็ดเงินไหลมีโอกาสไหลเข้าได้ถึง 3.5 แสนล้านบาท ซึ่งตามสถิติ เงินต่างชาติจะเข้าเยอะช่วง มีค.เพื่อรับปันผลจากผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา
กลยุทธ์คงแนะ หุ้นที่มีโอกาสปรับกำไรขึ้น จากกำไรที่ดีกว่าคาดใน 3Q16 และ BLS คาดโตต่อเนื่องใน 4Q16 และเพิ่มการสะสมหลักทรัพย์ที่มี โอกาสจะมีกำไรดีขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธุรกิจหรือโครงสร้างผู้ถือหุ้น
หุ้นแนะนำวันนี้ หุ้นรับมาตรการท่องเที่ยว : AOT แตกพาร์ 10 เหลือ 1 บ.+ปันผล 6.83 บ. แนวรับ 387 บ. ต้าน 395 บ. MINT (แนวรับ 35.25 บ. ต้าน 37 บ.) THAI (แนวรับ 24.1 บ. ต้าน 25 บ.)
รายงานพื้นฐาน BLS วันนี้
(+) AOT รายงานกำไรสุทธิ 4Q16 (ก.ค.-ก.ย.) ที่ 4.214 พันล้านบาท ลดลง 28% YoY และ 17% QoQ หากไม่รวมรายการพิเศษ ขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ 4 ล้านบาท, การปรับรายการภาษี 111 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 22 ล้านบาท กำไรหลักอยู่ที่ 4.310 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 39% YoY แต่ลดลง 10% QoQ กำไรที่ออกมาเป็นไปตามที่เราและตลาดคาด โดยประเด็นที่หนุนให้กำไรหลักโตได้ดี YoY มาจาก ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยว, จำนวนเที่ยวบิน และรายได้ส่วนอื่นๆที่เพิ่มขึ้น รวมถึงดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง บริษัทประกาศแตกพาร์จาก 10 บาทต่อหุ้น เป็น 1 บาทต่อหุ้น ซึ่งจะรอการอนุมติจากที่ประชุมในวันที่ 27 ม.ค. ปีหน้า และยังประกาศจ่ายปันผล 6.83 บาท/หุ้น สำหรับงวดการดำเนินงานปี 2016 คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผลถึง 49.85% XD วันที่ 8 ธ.ค. นี้และจ่าย 9 ก.พ. ปีหน้า สำหรับมุมมองไตรมาสหน้าเรามองว่ากำไรใน 1Q17 (ต.ค.-ธ.ค.) จะอ่อนตัวลง YoY จากผลของการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญ แต่เรามองว่าเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น
(+) SEAFCO คาดราคาหุ้นยังคงมีปัจจัยหนุนให้ไปต่อได้ แม้ราคาจะปรับตัวขึ้นมาราว 12% นับแต่เราเริ่มคำแนะนำซื้อเมื่อเดือนที่แล้ว จากปัจจัยหนุน 1) กำไรที่จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว เพราะกำไรที่อ่อนแอใน 3Q16 เป็นผลจากโครงการทางลอดพรานนก ซึ่งเป็นโครงการที่จบไปแล้ว 2) คาดกำไรปีหน้าคาดเติบโตสูง 45% เป็น 217 ล้านบาท ได้รับอานิสงค์จากงาน รถไฟฟ้า 3 สาย ซึ่งจะช่วยให้มีงานมากพอสำหรับรายได้ทั้งปี ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเปิดซองฯ คาดกลาง ธ.ค. จะรู้ผลสายสีชมพู-เหลือง และต้นปีหน้ารู้ผลสายสีส้ม คาดจะเห็นผู้รับเหมาหลักส่งงานต่อให้ผู้รับเหมารากฐานอย่างต่อเนื่องในช่วงต้นปีหน้า นอกจากนี้ช่วง 1Q17 ยังมีการเปิดประมูลงานรถไฟทางคู่อีก 5 สาย คาดงานที่ออกมาเป็นจำนวนมากจะช่วยให้มาร์จิ้นเพิ่มขึ้นตามการแข้งขันที่ลดลงด้วย เราคงคำแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 13.50 บาท
(-) PLAT เรายังคงคำแนะนำ ขาย แม้ว่าในระยะสั้นจะมีปัจจัยหนุนการเติบโตจากการเปิดตัวโครงการใหม่ ตลาดนีออน ที่จะเปิดตัวในวันพรุ่งนี้ แต่เราประเมินว่าจะเพิ่มมูลค่าในระยะยาวเพียง 0.05 บาท/หุ้น ภาพมุมมองใน 1-2 ปีนี้เรายังคงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการซื้อสินค้าออนไลน์ที่จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อห้างแพลทตินัมรวมถึงโครงการในอนาคตที่จะเกิดขึ้น "The Market" ยิ่งไปกว่านั้นราคาหุ้นตอนนี้เทรดกันอยู่ที่ PER ปี 2017 25.7 เท่า ในขณะที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) อยู่ที่ 10% เทียบกับ CPN ที่เทรด PER 25.5 เท่าแต่โต CAGR สูงถึง 16.3% ถือว่าดูแพง เราปรับราคาเป้าหมายขึ้นจาก 6.6 บาทเป็น 6.65 บาท สะท้อนโครงการที่จะเปิดตัวใหม่
(+) TICON ความเห็นในการลงทุนเชิงกลยุทธ์ สะสม (Earnings turnaround) หลายปีที่ผ่านมาราคาหุ้นลงเพราะกังวล การไม่มีสินทรัพย์ขายเข้ากอง ซึ่งทำให้กำไรของ TICON ลดลงมาตลอด 4-5 ปี (2013-16) แต่จากนี้ไปจะไม่มีประเด็นนี้กดดันราคาหุ้นอีกต่อไป
1) กำไร Bottom out หลังรายงานกำไรสุทธิ 3Q16 ที่ 21.9 ลบ. (+167% y-y จาก 3Q15 8.2 ลบ.) โดยกำไร 4Q16 มีแนวโน้มจะขยายตัวก้าวกระโดด (โตหลายเท่า ทั้ง y-y, q-q ) จากผลการดำเนินงานปกติ
2) การเพิ่มทรัพย์สินในช่วงที่ผ่านมา ทั้งการลงทุนใน นิมคมและโกดังที่อินโดนีเซีย และ การขยายพื้นที่ฯในประเทศ จะรับรู้กำไร ในปีหน้าแบบ Recurring income โดยไม่เน้นการขายสินทรัพย์เข้ากองอีก
ส่งผลให้แนวโน้มกำไรจะกลับไปโตแบบช่วงปี 2007-2010 ที่กำไรโตในกรอบ 400-1 พันล้านบาท (โดย 9 เดือน 2016 มีกำไร 270 ลบ แคนี้กำไรปีหน้า ก็เห็นแนวโน้มโตไปเป็นเท่าตัวแล้ว)
3) หลังการใส่เงินเพิ่มทุน ของกลุ่ม FPHT (เสี่ยเจริญ) จะได้เงินมา ขยายสินทรัพย์ราว 5 พันล้านบาท และ อีก 8 พันล้านบาท นำไป รีไฟแนนซ์หุ้นกู้ที่ทยอยหมดอายุปีหน้า ซึ่งคาดว่าจะประหยัดดอกเบี้ยไปได้เกือบครึ่ง ทั้งนี้ TICON มีดอกเบี้ยต้องจ่ายไตรมาสละ 200 ล้านบาท (หนุนกำไรสุทธิก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะในปีหน้า)
4) Scope of Upside จะมาจาก การขยายการลงทุนในอินโดฯเพิ่ม อาจผ่านการเข้าถือ Stake เพิ่มจาก 25% เป็น 40% (ลูกค้าหลัก Uniliver...ต้องการขยายตลาดอินโดฯ มองเห็นช่องทางในการโต) การลงทุนในเวียดนาม (กลุ่มเสี่ยเจริญ ซื้อ เมโทร เวียดนาม) การโตไปกับกลุ่ม BJC BIGC ในประเทศ และ ตลาดออนไลน์ ที่โตเร็วมากทำให้ลูกค้าที่ใช้บริการอย่าง Lazada ต้องขยายการเช้าพื้นที่ของ TICON อยู่ทุกๆเดือน
หุ้นมีข่าว / ประเด็น
(+/-) +BTS STEC RATCH / -BEM CK รฟม.เปิดประมูล ซองข้อเสนอลงทุน-ผลตอบแทน รฟฟ.สีชมพู-เหลือง ผ่านคุณสมบัติทั้งคู่ มั่นใจ เมย. 60 เซ็นสัญญาจ้าง (ที่มา ข่าวหุ้น)
(+/-) หุ้นเข้า-ออก MSCI Standard index มีผล 1 ธค. นี้: BJC KCE ส่วนหุ้นเข้า MSCI Small Cap index (+) addition…COM7 MALEE TKN TFG / (-) deletion…ASP BJCHI CBG COL CGD DNA KCE ROJNA (ที่มา MSCI)
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(+) เมื่อวาน US GDP 3Q16 2nd +3.2% ดีกว่าคาดที่ +3% จาก 2.9% (ที่มา Bloomberg)
(+) พุธ US personal spending คาด +0.5% m-m คงที่ US PCE index ตค. คาด +0.3% จาก +0.2% m-m. ฝรั่งเศส CPI พย. คาด +0.5% จาก 0.4% y-y, Euro area HICP inflation คาด 0.5% คงที่ และถ้อยแถลง ประธาน ECB ที่ Madrid, ญี่ปุ่น Industrial production คาด -0.1% จาก +0.6% m-m. เกาหลีใต้ Industrial production ตค.คาด -1.8% จาก -2% y-y. อินเดีย GDP 3Q16 คาด 7.5% จาก 7.1% y-y. (ที่มา Bloomberg)
(0/+) พฤหัส US ISM ภาคการผลิต พย. คาด 52 จาก 51.9 EU area PMI ภาคการผลิต พย. คาด 53.7 คงที่ อังกฤษ PMI ภาคการผลิต เดือน พย. คาด 54.6 จาก 54.3, จีน PMI ภาคการผลิต คาด 51 จาก 51.2 เกาหลีใต้ ส่งออก พย. คาด +2% จาก -3.2% y-y. ไทย เงินเฟ้อ พย. คาด +0.7% จาก 0.3% y-y. (ที่มา Bloomberg)
(0) วันศุกร์ US อัตราว่างงาน คาด +4.9% จาก 4.9% และอัตราการจ้างงานนอกภาคเกษตร คาด +180k จาก 161k เกาหลีใต้ GDP 3Q16 คาด 2.7% y-y. (ที่มา Bloomberg)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค