WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      Fund Flow ยังไหลออกตามทิศทางการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ แต่รัฐยังเดินหน้ากระตุ้นกำลังซื้อ โดยเตรียมออกมาตรการช๊อปช่วยชาติอีกรอบ หนุนหุ้นค้าปลีก แต่ SET ยังคงแกว่งตัวต่ำกว่า 1,500 จุด ไปอีกพัก Top Picks เลือก BLA(FV@B62) ได้ประโยชน์จาก Bond Yield ที่เพิ่มระยะสั้น และ BCH([email protected]) จากนโยบายหนุนท่องเที่ยว

(+) รัฐเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจอีกครั้ง ผ่านมาตรการช๊อปช่วยชาติ
     การเดินหน้าออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกภาคส่วนของรัฐในช่วง 4Q59 ยังมีต่อเนื่อง ล่าสุด กระทรวงการคลังเตรียมออกมาตรการช็อปช่วยชาติช่วงปลายปี โดยให้นำใบเสร็จในการซื้อสินค้าและบริการรวมถึงการท่องเที่ยว ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ระยะเวลา 15-30 วัน (เทียบกับปี 2558 เพียง 7 วัน) หลังจากที่ได้อัดฉีดเงินให้เปล่าแก่ผู้มีรายได้น้อยวงเงิน 1.27 หมื่นล้านบาท และยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่า 1 พันบาท (1ธ.ค.59- 28ก.พ.60) พร้อมขยายระยะเวลา (Long Stay VISA) เป็น 10 ปี (เดิมไม่เกิน 1 ปี) อ่านรายละเอียด Market talk 22 พ.ย.59 ซึ่งนโยบายที่ทำทั้งหมดนี้เป็นการหนุนการใช้จ่ายภาคครัวเรือน หรือ (C) ซึ่งน่าจะมีส่วนสำคัญหนุน GDP Growth งวด 4Q59 เกิน 3.2% และทั้งปีน่าจะเหนือ 3.2% (GDP Growth 9M2559 เฉลี่ย 3.3%)
      และน่าจะหนุนธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกโดยตรง อาทิ CPALL([email protected]), BJC(FV@64), ROBINS (FV@75) และ HMPRO([email protected]) และหากพิจารณา upside พบว่า BJC มี upside มากสุดราว 18.52% รองลงมา HMPRO 18.18% ROBINS 16.28% CPALL 16.17% และ BEAUTY 14.68% เป็นต้น ยังเลือก BJC เป็น Top pick เช่นเดิม

(-) ตลาดหุ้นโลกยังผันผวน ตาม Fund Flow ที่ไหลออก
การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐที่คาดว่าจะขึ้นแน่นอนในเดือน ธ.ค. เป็นสิ่งที่ตลาดรับรู้แล้ว สิ่งที่ต้องติดตามกันต่อ คือ ในปีหน้าดอกเบี้ยจะปรับขึ้นมากน้อยแค่ไหน ขึ้นกับปัจจัยรอบด้านทั้ง GDP Growth อัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งความเสี่ยงปัญหาเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายดอกเบี้ยต่ำในช่วก่อนหน้า ดังที่กล่าวไปในวานนี้ว่าในอดีตสหรัฐเคยปรับขึ้น Fed Fund Rate อย่างต่อเนื่องมาแล้ว 2 ช่วง คือ ช่วงกลางปี 2542 ถึง กลางปี 2543 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นจากวิกฤตดอทคอม กับอีกช่วง คือ กลางปี 2547 ถึง กลางปี 2549 เนื่องจากเงินเฟ้อที่แกว่งรุนแรงจากฟองสบู่อสังหาฯ (ก่อนที่จะเกิด Subprime ตามมา) ซึ่งทั้ง 2 ช่วงนั้น ตลาดหุ้นสหรัฐ S&P ปรับขึ้นได้ราว 4.8% และ 12.5% ตามลำดับ
สำหรับไทยนั้น ในช่วงแรกของการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ คือ กลางปี 2542 ถึง กลางปี 2543 ปรากฏว่า ธปท. ลดดอกเบี้ยจาก 2.25% เป็น 1.5% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงนั้นหดตัวถึง -1.21% ในช่วงปี 2542 ก่อนที่จะขยับขึ้นสู่ 2% ในช่วงกลางปี 2543 ส่วนกระแส Fund Flow ในตลาดหุ้นมีการไหลออก โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิกว่า 4 หมื่นล้านบาท (โดยเฉพาะช่วงต้นถึงกลางปี 2543 นักลงทุนต่างชาติมักขายติดต่อกัน 10-12 วันทำการ) กดดัน SET Index ลดลงหนักถึง 33%
ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยช่วงที่ 2 คือ กลางปี 2547 ถึง กลางปี 2549 ธปท. ปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องถึง 15 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นจาก 1.25% เป็น 5% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยพุ่งขึ้นเร็วจาก 2.17% เป็น 4.14% ส่วนกระแส Fund Flow มีการไหลเข้าสู่ภูมิภาค โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทย นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิราว 2.4 แสนล้านบาท (ช่วงต้นปี 2549 นักลงทุนต่างชาติซื้อติดต่อกันถึง 24 จาก 25 วันทำการ) แต่การปรับขึ้นของดัชนีก็ไม่มากนัก ปรับขึ้นราว 4.9% เท่านั้น
กล่าวโดยสรุป การปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐในปีหน้าจะเป็นไปในทิศทางใด ยังคงต้องอาศัยปัจจัยในหลายประการ ทั้งแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ การเติบโตของเศรษฐกิจ และนโยบายของประธานาธิบดีคนใหม่ว่าจะเป็นเช่นไร เช่นเดียวกับผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย ยังต้องอิงเศรษฐกิจในประเทศเป็นสำคัญ

(-) ตลาดหุ้นเอเชียและค่าเงินอ่อนค่า กดดันจากนโยบายกีดกันการค้าของนายทรัมป์ฯ
      นับจากสหรัฐได้ประธานาธิบดีคนใหม่พบว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงผันผวนในทิศทางขาลง โดยเฉพาะในแถบเอเซีย นำโดย ฟิลิปปินส์ ปรับลดลงมากสุด 7% และเป็นการลดลงต่อเนื่องจากช่วงกลางปี ตามมาด้วย อินเดียลดลง 6.3% หลังจากที่เป็นช่วงขาขึ้นนับจากต้นปีนี้ อินโดนีเซียลดลง 5.5% จากที่แกว่งตัวนับจากกลางปี ขณะที่มาเลเซียลดลงเพียง 2.345% และ ไทยอ่อนตัวเล็กน้อยราว 1.9% ยกเว้น เวียดนาม ที่ทรงตัว และ จีน บวกเล็กน้อย เพราะตลาดหุ้นทั้ง 2 แห่ง ก่อนหน้าถือว่าขึ้นน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน รายละเอียดดังปรากฏในภาพถัดไป
%การเปลี่ยนแปลงดัชนีตลาดหุ้นโลกหลังเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ และ ytd
     และเช่นเดียวกันกับค่าเงินในภูมิภาคเอเซียอ่นอค่าลงมากสุด นำโดยเงินเยนอ่อนค่ามากสุด 8.2% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ตามมาด้วยเงินริงกิตอ่อนค่า 6.% เงินรูเปียะห์ (อินโดนีเซีย) 3.6% เงินรูปีย์ (อินเดีย) 3.3% เงินเปโซ 3.3% และเงินบาท 2.2% ซึ่งเชื่อว่าผลกระทบจากเงินทุนไหลออก เพื่อปรับพอร์ตก่อนที่นโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในต้นปี 2560 ซึ่งมีนโยบายมุ่งกีดกันทางการค้ากับประเทศที่ได้เปรียบและเกินดุลการค้ากับสหรัฐ ประเทศในภูมิภาคเอเซียที่มีฐานการส่งออกไปสหรัฐ และสินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์จึงเป็นเป้าหมายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
      ตรงกันข้ามกับตลาดหุ้นสหรัฐที่ยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง เนื่องจากตลาดรับรู้กำไรตลาดหุ้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทันที จากนโยบายของนายทรัมป์ ที่จะลดภาษีนิติบุคคล เหลือ 15% จากเดิมมีอัตราสูงสุด 39% (เช่นเดียวกับประเทศไทยมีการลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% เหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556) และยังเสนอลดภาษีบุคคลธรรมดาเหลือ 3 ช่วง อัตราภาษีลดลงเหลือ 12-33% จากเดิม 7 ช่วงอัตราภาษี 10-39.6% รวมถึงลดภาษีมรดกจากเดิมที่เก็บระหว่าง 18-40%


       และตลาดหุ้นญี่ปุ่น ที่สามารถปรับขึ้นได้สวนทิศทางตลาดหุ้นโลก โดยตลาดหุ้นนิกเกอิปรับขึ้นกว่า 13% นับจากวันที่ 9 ต.ค. ถึงวานนี้ แม้ค่าเงิน เยนจะ อ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาคดังกล่าวข้างต้นก็ตาม คาดว่าน่าจะเป็นผลจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (government Bond Yield) อายุ 10 ปี ที่สามารถขยับขึ้นมามาในแดนลบเป็นครั้งแรก สอดคล้องกับ ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ต้องการดูแลเรื่อง ผลตอบแทนจากพันธบัตร มากกว่าการ ขยายฐานเงิน (Monetary Base) เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ โอกาสที่ เงินเฟ้อจะขยับขึ้นจากนี้มีความเป็นไปได้มากขึ้น

(-) ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นทั้งภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง ด้วยมูลค่าราว 329 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียง 2 วัน) และยังเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยไต้หวันขายสุทธิราว 128 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 115 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน), อินโดนีเซีย 30 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12), ฟิลิปปินส์ 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5), และไทยที่ถูกขายสุทธิราว 37 ล้านเหรียญ หรือ 1.32 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 24 วันทำการ โดยมียอดขายรวมสูงถึง 3.83 หมื่นล้านบาท) สวนทางนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 799 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 1.35 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 2.20 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันถึง 10 วัน โดยมียอดขายรวมกว่า 8.43 หมื่นล้านบาท)

นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์ : พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ : ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!