- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 11 November 2016 17:04
- Hits: 1960
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ปรับตัวขึ้นตามต่างประเทศที่ปรับลงในวันก่อน แต่เป็นช่วงสั้น ๆ ตลาดหุ้น และ ค่าเงิน ยังผันผวนกำลังวิ่งหาจุดดุลยภาพใหม่ ยังให้ลดน้ำหนักหุ้นส่งออกที่มีความเสี่ยงต่อค่าเงิน และให้มาเน้นหุ้นเติบโตจากเศรษฐกิจในประเทศ ก่อสร้าง/อุปโภคบริโภค (ASK, CK, UNIQ, WHA, BJC) Top pick BJC(FV@B64)และ FSMART(FV@B21)ผู้นำตู้เติมเงินและเข้าสู่ Banking Agent รายแรกของประเทศ
(0) ตลาดหุ้นโลกยังผันผวน เพื่อหาจุดสมดุลใหม่
วานนี้ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวเหนือความคาดหมาย และเป็นการปรับตัวขึ้นตามตลาดหุ้นเอเซีย ซึ่งมีการฟื้นตัวกลับมาที่เดิม ก่อนที่การเลือกตั้งสหรัฐจะเสร็จสิ้นอย่างเป็นทางการ) หลังจากที่วันพุธปิดตลาดไปติดลบ ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และเช่นเดียวกับตลาดหุ้นยุโรป (เยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส) ปรับตัวขึ้นแรงและกลับมาสู่จุดเดิมก่อนวันเลือกตั้ง เช่นกัน
ขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐก็ฟื้นตัวแรง และทำสถิตสูงสุดใหม่ และผิดจากสถิติในอดีต ที่ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวลดลงนานถึง 2 สัปดาห์ หลังจากเลือกตั้ง โดยเฉพาะหากผลการเลือกตั้งได้ประธานาธิบดีคนใหม่ที่เปลี่ยนพรรคการเมือง (ปี 2535 , 2543 และ 2551) ซึ่งโดยเฉลี่ยลดลง 6% ซึ่งน่าจะมาจากความไม่มั่นใจต่อนโยบายเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนไปจากรัฐบาลก่อนหน้า สถานการณ์นี้จึงค่อนข้างผิดปกติ เนื่องจากนโยบายการค้าของประธานาธิบดีคนใหม่ ต้องการกีดกันการค้าและผู้อพยพฯ ซึ่งน่าจะกดดันเศรษฐกิจ และ การค้าโลก โดยเฉพาะประเทศที่เป็นคู่ค้าสหรัฐในระยะกลาง – ยาว
ส่วนตลาดหุ้นไทยพบว่าการฟื้นตัวในรอบ 2 วันที่ผ่านมา นำโดยหุ้น domestic play เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่หุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด 10 และ 20 อันดับแรก ดังปรากฏในภาพถัดไป
จึงเชื่อว่าตลาดหุ้นโลกน่าจะแกว่งสักระยะหนึ่ง ส่วนตลาดหุ้นไทยยังคงเผชิญกับแรงกดดัน ประกอบกับระดับ Valuation ตลาดหุ้นไทยที่มี Expected P/E สูงถึง 16.8 เท่า รวมทั้งแรงขายในหุ้นรับการประกาศงบ 3Q59 น่าจะทำให้ SET Index อยู่ในภาวะที่ทรงกับลง
กลยุทธ์การลงทุน จึงยังแนะนำสะสมหุ้นผันผวนต่ำ เงินปันผลสูง เช่น ASK, TMT รวมทั้งหุ้นที่แนวโน้มผลประกอบการ 4Q59 เติบโตโดดเด่น เช่น WHA, ASK และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคในประเทศ เช่น BJC รวมทั้งหุ้นในกลุ่มพลังงาน PTT, PTTEP ที่อาจได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี จากโอกาสที่ OPEC จะร่วมมือกันควบคุมการผลิตในการประชุมวันที่ 30 พ.ย. นี้
(-) ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกประเทศ รวมถึงไทย
แม้วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในเอเชียกลับมาฟื้นตัว หลังจากตกหนักในวันก่อนหน้า อย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 12 แม้ด้วยมูลค่าเล็กน้อย 9 ล้านเหรียญ แต่เป็นการขายสทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่สลับมาซื้อสุทธิราว 86 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 5 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศ ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิราว 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยขายสุทธิราว 59 ล้านเหรียญ หรือ 2.0 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 14 โดยมียอดขายสุทธิรวมกว่า 1.8 หมื่นล้านบาท) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิถึง 2.7 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิราว 2.4 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 2.9 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วัน) ส่งผลให้ Yield ของพันธบัตรรัฐบาลไทย 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 8.5 bps มาอยู่ที่ 2.22% ซึ่งสูงสุดในรอบ 1 เดือนที่ผานมา และยังเป็นในทิศทางเดียวกับตลาดตราสารหนี้อื่นๆในภูมิภาค
(+) FSMART ผู้นำตู้เติม & ก้าวสู่ Banking Agent รายแรก เป็น Growth stock
วันนี้ขอนำเสนอหุ้นน้องใหม่เป็นหุ้นที่มีการเติบโตที่น่าประทับใจ จากการรุกตลาดสู่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย คือ ให้บริการตู้ติมเงิน ภายใต้ “บุญเติม” (สีส้ม) โดยเกือบทั้งหมดมาจากการเติมเงินโทรศัพท์มือถือระบบ Prepaid (ทั้งระบบ 1.24 แสนล้านบาท ขณะที่ผู้ใช้โทรศัพท์ระบบ Prepaid มีทั้งสิ้น 70 ล้านราย หรือคิดเป็น 80% ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ทั้งประเทศ) และปัจจุบันคาดว่ามีผู้เติมเงินระบบ Prepaid ผ่าน FSMART มีทั้งสิ้นกว่า 20 ล้านราย
ปัจจุบันช่องทางการเติมเงินให้บริการระบบ Prepaid มี 4 ช่องทางคือ ตัวแทนอิสระสูงสุด 30%, 7-11 (ผ่านเครื่องชำระอิเล็กทรอนิก) 25% ตู้เติมเงิน 20% และ อื่นๆ (ATM, Website, บัตรเติม) 25% ในจากการเติมเงินผ่านตู้เติมเงิน (20% ของทังหมด) ปัจจุบันให้บริการอยู่ 3 ราย คือ FSMART ซึ่งคาดว่าน่าจะส่วนแบงตลาด 75% ที่เหลือจะมีส่วนแบ่งตลาดเท่า ๆ กัน SINGER และ AJD
ปัจจุบัน FSMART มีตู้ให้บริการทั่วประเทศ 8.56 หมื่นตู้กระจายอยู่ทั่วทุกภาค จังหวัด ทุกประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นรายใหญ่สุด หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 45% ของจำนวนตู้ทั้งประเทศที่ 2 แสนตู้ โดยคู่แข่งขันหลักมีอยู่ 2 รายคือ SINGER และ AJD 6 หมื่นตู้และ 3.5 หมื่นตู้ หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 30% และ 20% และแนวโน้ม FSMART จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับ AJD เนื่องจาก AJD มีนโยบาย เน้นขายตู้เงินผ่อน มีรายได้รับเป็นดอกเบี้ย และ เร่งการขายทำให้สามารถเพิ่มยอดขายได้รวดหลังจากเข้าตลาดฯ เพียง 1 ปี ขณะที่ SINGER ขายเงินผ่อนเช่นกัน แต่นโยบายเชื่องช้ากว่า และในอนาคตอาจเผชิญกับคู้แข่งรายใหม่อย่าง 7-11 ซึ่งปัจจุบันเป็นพันธมิตรของ FSMART ซึ่งมีเงินทุนและฐานลูกค้าที่ชัดเจน
ขณะที่ FSMART มีนโยบายเน้นลงทุนตู้เติมเงินเอง และหาตัวแทน และพันธมิตร ในการหากทำเลที่ตั้งตู้ พร้อมดูแลความเรียบร้อยของตู้ให้บริการตลอดเวลา โดยและแบ่งผลประโยชน์ 50%50% กับตัวแทน ซึ่งวิธีนี้ถือว่าประสบความเร็จในการทำตลาด เพราะแม้จะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในเรื่องจำนวนตู้ แต่ในด้านลูกค้าที่เติมเงินคาดว่าน่าจะแย่งส่วนแบ่งยากกว่า ด้วยนโยบายการวางระบบปฏิบัติงานที่เป็นสากล (Oracle Data Base) และ ระบบ Call Center ให้บริการ 24 ชั่วโมง ได้รับการสนุนจาก FORTH ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น 47%
ด้วยการลงทุนในตู้เอง ทำให้ FSMART สามารถต่อยอดธุรกิจใหม่ ๆ ได้เพิ่มเติมเพื่อรองรับการแข่งขัน ของธุรกิจตู้เติมเงินดังกล่าว โดยขณะนี้ FSMART ได้ก้าวสู่ธุรกิจ Banking Agent โดยได้รับอนุมัติจาก ธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วเป็นบริษัทแรกของประเทศ พร้อมกับได้ทำสัญญากับ KTB ให้บริการโอนเงิน (ฝาก) ผ่านตู้บุญเติม (กำหนดวงเงินไม่เกิน 5000 ค่าธรรมเนียมใกล้เคียง ATM) ขณะนี้มีผู้ทำรายการทั่วประเทศราว 20% ของจำนวนตู้บุญเติม หรือวันละ 2500 รายการทั่วประเทศ และขณะนี้กำลังเจรจากับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่เพิ่ม ซึ่งบริษัทตั้งเป้าหมายจะให้ได้อย่างน้อย 4 ธนาคาร ซึ่งการก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่มีต้นทุนน้อยมากจึงน่าจะช่วยเพิ่มกำไรในระยะยาว
กำไรสุทธิ งวด 3Q59 เท่ากับ 104 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48%yoy และ 9M59 มีกำไรสุทธิ 287.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48% yoy และคาดว่าทั้งปี 2559 จะมีกำไร 388 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 60% และ เป็น 554 ล้านบาทในปี 2560 เพิ่มขึ้น 43%Yoy และภายใต้สมมติฐานเติมเงิน 9.05 หมื่นตู้ ในปีนี้ และเพิ่มปีละ 2 หมื่นตู้ ปี 2560 ยอดเติมเงินเฉลี่ย 2.4 หมื่นบาทต่อตู้ปีนี้ และเพิ่มเป็น 2.7 หมื่นบาทต่อตู้ใน ปี 2560 ซึ่งยอดเติมเงินที่เพิ่ม จะมาจากลูกค้าของ AIS ที่ย้ายจากที่เคยเติมเงินที่ 7-11 หลัง 7-11 ยุติการให้บริการเติมเงินระบบ Prepaid ของ AIS ตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย. ทำให้ AIS ทำตลาดควบคู่กับ FSMART ซึ่งหนุนให้ยอดเติบโตเงินที่ FSMART เพิ่มขึ้นแล้วในปัจจุบัน
ประเมินมูลค่าพื้นฐาน ณ. สิ้นปี 2560 อิงวิธี (DCF) เท่ากับ 21 บาท (WACC 6.7% Terminal Growth 1%) หรือเทียบกับ expacted P/E 33.5 เท่าในปี 2559 และ คาดว่าจะลดลงเหลือ 22.3 เท่าในปี 2560 แม้จะดูแพงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง AJD และ SINGER แต่ถ้าพิจารณา PEG มีค่าเพียง 1 เท่าปีนี้และจะเหลือ 0.4 เท่าในปี 2560 ถือว่าถูกที่สุด (อ่านรายละเอียดใน Initial Coverage หุ้น FSMART วันนี้)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์