WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  ความคืบหน้าประมูลรถไฟฟ้า (เหลือง+ชมพู) หนุนหุ้นรับเหมาฯ แม้ยังมีแรงขายต่างชาติ และตลาดยังกังวลว่าหาก ทรัมป์ ฯ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ จะกดดันการส่งออก จากนโยบายกีดกันทางการค้าสุดโต่ง กลยุทธ์เน้นสะสมหุ้นกำไรเด่น 4Q59 (ASK,

(+) รถไฟฟ้าสีเหลืองและชมพูยื่นซองฯ หนุนหุ้นก่อสร้าง : CK
  คาดว่าประเด็นที่ตลาดฯ ให้น้ำหนักในวันนี้ มี 2-3 ประเด็นหลัก เริ่มจากประเด็นแรก การรายงานงบงวด 3Q59 น่าจะทำให้เกิดแรงงขายรับงบรายหุ้นที่ผลประกอบการสอดคล้องกับ หรือใกล้เคีงกับนักวิเคราะห์ รวมถึงหุ้นที่ต่ำกว่าประมาณและอาจจะนำไปสู่การปรับลดประมาณการ ทั้งนี้ยกเว้นหุ้นที่ผลกำไรดีกว่าคาดและอาจจะนำไปสู่การปรับเพิ่มประมาณการในที่สุด
  ประเด็นถัดมาคือ การยื่นซองประมูลโครงการรถไฟฟ้า สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 53,490 ล้านบาทและสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงินลงทุน 51,810 ล้านบาท โดย รฟม. คาดว่าจะสามารถเปิดซองเทคนิค (ซองที่ 1) ในวันที่ 17 พ.ย. 2559 และทยอยเปิดซองต่อไปจะกระทั่งได้ผู้รับเหมาที่ชนะการประมูล โดยคาดจะเซ็นสัญญาได้ช่วงเดือน เม.ย. และเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. 2560 ทั้งนี้ รถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทางเป็นรถไฟฟ้าโมโนเรล โดยให้เอกชนร่วมลงทุนรูป PPP แบบ Net Cost โดยรัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเอกชนลงทุนค่างานโยธา ระบบรถไฟฟ้า และขบวนรถ รวมทั้งการบริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา ระยะเวลา 33 ปี ดังนั้น ผู้รับเหมารายใหญ่ที่มีความพร้อมในเรื่องฐานเงินทุนน่าจะมีโอกาสชนะประมูล เนื่องจากเอกชนจะต้องลงทุนเองทั้งโครงการ รัฐจะสนับสนุนวงเงินไม่เกินค่าก่อสร้าง โดยสายสีชมพูอยู่ที่ 20,135 ล้านบาท และสีเหลือง 22,354 ล้านบาท (เอกชนที่จะชนะประมูลคือผู้ที่ให้รัฐสนับสนุนเงินลงทุนน้อยที่สุด) ฝ่ายวิจัยคาดว่า ผู้ประกอบการรายใหญ่ทุกรายทั้ง ITD CK STEC และ UNIQ จะร่วมกับพันธมิตรที่มีความชำนาญในการเดินรถไฟฟ้าเพื่อเข้าร่วมประมูล กล่าวคือ ITD จะจับมือกับ SK Engineering & Construction จากเกาหลีใต้ และ Trandev จากฝรั่งเศส, CK จับมือกับ BEM STEC จับมือกับ BTS และ UNIQ จับมือกับ SMRTจากสิงคโปร์ และ ซิโดรไฮโดร และไชน่าสเตท จากจีน ซึ่งคาดว่าผู้รับเหมาทุกรายน่าจะได้งานตามความสามารถที่แตกต่างกัน
  และสุดท้าย การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ระหว่างฮิลลารี คลินตัน และ โดนัลด์ ทรัมป์ ในวันที่ 8 พ.ย. ประชาชนกว่า 120 ล้านคนจะลงคะแนนเสียง โดยคาดว่าจะทราบผล Exit Poll กันในช่วงสายๆ ของวันที่ 9 พ.ย. (ตามเวลาประเทศไทย) ล่าสุดผลสำรวจ คลินตันยังนำทรัมป์อยู่ที่ 46.4 ต่อ 45.0 ทั้งนี้ การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นการเลือกตั้งแบบ popular vote นั้นคือ ประชาชนจะไปเลือกผู้แทนของแต่ละมลรัฐ (popular vote) เพื่อไปเลือกตั้งประธานาธิบดี (electoral vote) อีกทีหนึ่ง ในวันที่ 19 ธ.ค. ดังนั้น คนที่ได้เป็นประธานาธิบดีจะต้องชนะในส่วนของ electoral vote โดยคณะผู้เลือกตั้ง จะมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกับจำนวนวุฒิสมาชิกในมลรัฐของตน ที่มีอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐซึ่งมีอยู่ 538 เสียง โดยผู้ชนะจะต้องคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 270 เสียง ซึ่งในอดีตเคยมีผู้ชนะ popular vote แต่ไปแพ้ electoral vote ล่าสุดเมื่อ 16 ปีที่แล้วก็คือ อัล กอร์ แพ้ต่อ จอร์จ ดับเบิลยู บุช (ด้วยคะแนนเสียง Electoral Vote 266 ต่อ 271 เสียง) แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว คะแนน Popular Vote และ Electoral Vote มักจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

(-) อุตสาหกรรมส่งออกที่กระทบหากทรัพป์ ฯ ได้เป็นประธานธิบดีสหรัฐ
  เนื่องจากผลสำรวจก่อนการเลือกตั้งยังไม่ชนะแบบเด็ดขาด ทำให้มีโอกาสพลิกโผลได้ หากเป็นเช่นนั้นเชื่อว่านโยยายการกีดกันทางการค้าของนาย ฯ ทรัพป์ ฯ ดังที่กล่าวไว้ในวันศุกร์ที่ผ่านมา) น่าจะกดดันต่ออุตสาหกรรมส่งออกในภูมิภาคเอเชีย (ดังตารางด้านล่าง) รวมถึงการร่วมมือทางการค้า TTP ซึ่งทรัมป็ ต้องการเริ่มเจรจาใหม่เพื่อให้สหรัฐอยู่ในฐานะได้เปรียบคู่แข่งขันทางการค้า ทั้งนี้แม้ว่าไทยมิได้เข้าร่วม TTP แต่หากพิจารณายอดการส่งออกเชื่อว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียน่าจะได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หากพิจารณษสัดส่วนการส่งออกของแต่ละประเทศไปยังสหรัฐดังนี้
  ประเทศที่มียอดส่งออกไปสหรัฐมากสุด 3 ลำดับแรก คือ จีน สูงสุด 17% ของยอดส่งออกทั้งหมดของจีน รองลงมา ฟิลิปปินส์ (14%) และ อินโดนีเซีย(13.4%) ลำดับรองลงมาคือ ญี่ปุ่น (11%) เกาหลีใต้(8.7%) และมาเลเซีย (8.4%) และ ไทย (6.9%) โดยส่งออกหลักๆ ผสมระหว่างสินค้าใช้แรงงาน (labor intensive) กึ่งรแรงงาน (Semi-Skill Labor) และ ใช้เครื่องจักร (Capital Intensive) ดังนี้

สินค้าส่งออกประเทศแถบเอเซียไปสหรัฐ
  labor intensive ได้แก่ อุตสาหกรรม รองเท้า เสื้อผ้า และเครื่องห่ม หลักๆ จากประเทศอินโดนีเซียสัดส่วนสูงถึง 32%ของยอดส่งออกไปสหรัฐ รองลงมาคือ อินเดียสัดส่วน 19.6%) ฮ่องกง 19.2.7% จีน (15.5%) ฟิลิปปินส์ (12%) ไทย (5.5%) และเกาหลีใต้ (2.1%)
Semi-Skil Labor
  อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หลักๆ จากประเทศมาเลเซียสัดส่วนสูงสุดถึง 62%ของยอดส่งออกไปสหรัฐ รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์ 52% ไทย 48% จีน 44% อินโดนีเซีย 12% อินเดีย 7.7%
  พลาสติกและยาง นำโดย อินโดนีเซีย 11.1% ไทย 10.3% มาเลเซีย 3.7% จีน 4.4%
Capital Intensive
  เครื่องจักรไฟฟ้า นำโดยไต้หวัน 36.7%
  พลาสติก เกาหลีใต้ 4.5% ญี่ปุ่น 3.4%
  เครื่องจักร และชิ้นส่วนฯ นำโดยฮ่องกง 49.4%ของยอดส่งออกรวม รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 35% และ ญี่ปุ่น 32%
รถยนต์/ขนส่ง นำโดยญี่ปุ่น 40%, ของยอดส่งออกรวม รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 33% ไต้หวัน 6.3% อินเดีย 4.9% ฟิลิปปินส์ 4.2% จีน 4.1% และ ไทย 4%
  เหล็ก เกาหลีใต้ 10.5% อินเดีย 6.6% ไต้หวัน 6.1%

(-) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทั้งภูมิภาค
  วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่ากว่า 492 ล้านเหรียญ และยังเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 188 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 173 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8), อินโดนีเซีย 70 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน), ฟิลิปปินส์ 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 8) และไทย 41 ล้านเหรียญ หรือ 1.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 โดยมียอดขายสุทธิรวมกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิราว 1.0 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
  ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯยังคงซื้อสุทธิราว 1.6 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!