- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 01 November 2016 15:43
- Hits: 7742
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดยังขาดประเด็นหนุนใหม่ๆ ขณะที่ยังมี fund flow ไหลออกต่อเนื่อง และราคาน้ำมันลดลงต่ำกว่า 50 เหรียญฯ กดดัน SET ต่ำกว่า 1,500 จุด ยังให้สะสมหุ้นกำไรเด่น 4Q59 (ASK, WHA, SAWAD, HMPRO, BJC) Top picks คือ BJC(FV@B64) และ CK([email protected])มีความคืบหน้าประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม ชมพูแลเหลือง
(0) ผลการประชุมธนาคารกลางโลกสัปดาห์นี้..ไม่มีประเด็นใหม่หนุนตลาดฯ
ผลประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะทราบผลในช่วงสายวันนี้ (11.00 น. เวลาไทย) แต่คาดทุกอย่างยังเหมือนเดิม คือ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายฯที่ ติดลบ 0.1% ตามเดิม พร้อมคงฐานเงิน (Money Base ผ่านการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาล (ปีละ 80 ล้านล้านเยน) ควบคู่กับการรักษาเส้นผลตอบแทน หรือ Yield curve ทุกช่วงอายุ ทำให้ BOJ มีความคล่องตัว ในการแทรกแซงปริมาณเงินในระบบ ผ่านการซื้อ/ขายพันธบัตร ทุกช่วงอายุ แม้ล้าสุดเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง 6 เดือน ที่ราว -0.5%
ขณะที่ วันนี้-2 พ.ย. ประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(Fed) คาดยังคงดอกเบี้ย ที่ 0.25-0.5% ตามเดิม แต่ ให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยไปที่การประชุม 13-14ธ.ค. (ความน่าจะเป็น ราว 71.4%) แต่ ตลาดน่าจะรับรู้ไปแล้ว และการขึ้นดอกเบี้ยน่าจะค่อยเป็นค่อยไป เพราะดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐ ภาคครัวเรือนและภาคผลิตยังขัดแยังกัน แม้มีพัฒนาการเชิงบวกต่อเนื่อง กล่าวคือ ภาคครัวเรือน พบว่ารายได้ส่วนบุคคล (Personal Income) เดือน ก.ย. เพิ่มขึ้น 0.3%yoy จาก 0.2% ในเดือน ส.ค. (หนุนให้การใช้จ่ายครัวเรือน +0.5%yoy vs -0.1% ใน ส.ค.) ขัดแย้งกับยอดสั่งสร้างบ้าน ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ภาคการผลิต พบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) (โดยมาร์กิต) เดือน ต.ค. เพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี สวนทางดัชนีภาคการผลิตทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ มิ.ย. 2559 แต่อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อที่พุ่งสูงถึง 1.5% จาก 1.1%ใน ส.ค. การขึ้นดอกเบี้ยจึงมีน้ำหนักมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงหนุน Dollar ยังมีทิศทางกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า และกดดันให้ต่างชาติสลับขายสุทธิทั้งตราสารหนี้ และตราสารทุนของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับตลาดหุ้นในภูมิภาคมีค่า Expect P/E ปี 2559 ที่สูง (ฟิลิปปินส์ PE 18.75 เท่า , อินโดนีเซีย 17.74 เท่า มาเลเซีย 16.74 เท่า และ ไทย 16.64 เท่า) เป็นแรงหนุน Fund flow ไหลออกเช่นกัน
(+) เปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม/เหลือง/ชมพู หนุน CK, ITD, STEC
ดังที่รายงานถึงความคืบหน้าของการประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม–มีนบุรี) โดยวานนี้ รฟม. ได้เปิดให้มีการยื่นซองประมูลงานโยธา ระยะทางประมาณ 23 กม. มูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาท จำนวน 6 สัญญา โดยมีผู้รับเหมารายใหญ่ได้ยื่นซองฯ กันครบถ้วน ดังนี้
CKST Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่าง CK และ STEC ยื่นซองฯ ทั้งหมด 6 สัญญา
ITD ยื่นซองฯ ทั้งหมด 6 สัญญา
SY-UN Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่าง บริษัท ซันยอง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ UNIQ ยื่นซองฯ ทั้งหมด 6 สัญญา
CRCC-CNT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่าง บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และ CNT ยื่นสัญญาที่ 5
หลังจากนี้ รฟม. จะเปิดซองข้อเสนอด้านคุณสมบัติ (ซองที่ 1) วันที่ 4 พ.ย. และหลังจากนั้นจะเปิดซอง ทางเทคนิค (ซองที่ 2) ของผู้ที่ผ่านเกณฑ์ด้านคุณสมบัติ วันที่ 1 ธ.ค. และเปิดซองข้อเสนอด้านราคา (ซองที่ 3) ของผู้ผ่านเกณฑ์ด้านเทคนิควันที่ 6 ม.ค. 2560 และคาดจะลงนามสัญญาว่าจ้างผู้รับจ้างงานโยธาได้ในราว พ.ค. 2560 คาดว่าผู้รับเหมา ที่ Joint Venture น่าจะมีโอกาสชนะการประมูลสูง
และ ในวันจันทร์หน้า คือ 7 พ.ย. รฟม. ได้กำหนดให้ยื่นเอกสารประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. มูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30 กม. มูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท โดย 2 เส้นทางหลังนี่ จะเป็น การเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบ PPP (รัฐ-เอกชนร่วมลงทุน) ซึ่งพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ทุกรายทั้ง ITD CK STEC และ UNIQ ต่างเข้ามาประมูล พร้อมเปิดตัวพันธมิตรที่มีความชำนาญในการเดินรถไฟฟ้าเพื่อเข้าร่วมประมูล กล่าวคือ ITD จะจับมือกับ SK Engineering & Construction จากเกาหลีใต้ และ Trandev จากฝรั่งเศส , CK จับมือกับ BEM STEC จับมือกับ BTS และ UNIQ จับมือกับ SMRTจากสิงคโปร์ และ ซิโดรไฮโดร และไชน่าสเตท จากจีน ซึ่งคาดว่าผู้รับเหมาทุกรายน่าจะได้งานตามความสามารถที่แตกต่างกัน และน่าจะทราบผลกันในช่วงต้นปีหน้าเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นๆ ที่คาดจะหนุน backlog หุ้นรับเหมาก่อสร้าง คือ โครงการรถไฟทางคู่เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร วงเงินลงทุน 1.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการจ้างที่ปรึกษาสำรวจและคิดค่าทดแทน และเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงินลงทุน 2.9 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ โดยทั้ง 2 เส้นทางคาดว่าจะสามารถประกาศประกวดราคาในเดือน พ.ย. และทั้ง 2 เส้นทางนี้คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ในเดือน ก.พ. 2560 ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม กำลังอยู่ระหว่างเตรียมประมูลและจัดทำ TOR
รวมถึงโครงการที่อยู่ในระหว่างการประมูลไปแล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้น มี 4 โครงการ ได้แก่ มอเตอร์เวย์เส้นพัทยา-มาบตาพุด (ประมูลไปแล้ว 13 สัญญา จาก 14 สัญญา) ,เส้นบางปะอิน-โคราช(ประมูลไปแล้ว 25 สัญญา จาก 40 สัญญา), เส้นบางใหญ่-กาญจนบุรี(ประมูล 9 สัญญาจาก 25 สัญญา) สุวรรณภูมิเฟส 2 (ประมูล 3 สัญญาจาก 7 สัญญา) และที่ผ่านการคัดเลือกผู้รับเหมาแล้ว มี 3 โครงการคือ ท่าเทียบเรือชายฝั่ง (NWR ชนะการประมูล) ศูนย์ขนส่งสินค้าแหลมฉบัง (ITD – WH Consortuimได้งานประมูล) และรถไฟทางคู่ ช่วงจิระ-ขอนแก่น (กิจการร่วมค้า CKCH ชนะการประมูล)
ถือเป็นปัจจัยหนุนต่อบริษัทก่อสร้างที่มีประวัติการทำงานต่อเนื่อง คือ ITD, CK, STEC และ UNIQ ยังเลือก CK([email protected]) เป็น Top Pick เพราะโอกาสได้งานดังกล่าวเพิ่มเติม ทั้งความพร้อมด้านการเงิน กระแสเงินสด และ พันธมิตร
(-) คาดหุ้นไทยอาจถูกแรงเทขายต่อเนื่องในเดือน พ.ย.
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวันหยุด ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติยังคงขายสุทธิในตลาดภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 169 ล้านเหรียญ และเป็นการขายเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีที่สลับมาซื้อสุทธิราว 19 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศยังคงขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิราว 106 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) อินโดนีเซีย 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยขายสุทธิราว 70 ล้านเหรียญ หรือ 2.5 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิราว 929 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
สรุปตลอดเดือน ต.ค. พบว่า ต่างชาติกลับขายสุทธิตลาดหุ้นไทยสูงสุด 588 ล้านเหรียญฯ (เป็นเดือนที่ต่างชาติ ขายสุทธิมากที่สุดในปีนี้) รองลงมาเป็นตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ ไต้หวัน แม้ SET Index ปรับตัวเพิ่มขึ้นมา 12 จุด หรือราว 0.8% จนทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีลดลงมาอยู่ที่ 1.17 แสนล้านบาท จากจุดสูงสุดที่ 1.36 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 22 ก.ย. 59)
ส่วนแนวโน้มเดือน พ.ย. คาดว่าตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากประเด็น Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ รวมทั้งต่างชาติยังมีโอกาสเทขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง ตราบที่ยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน และยังสอดคล้องกับสถิติย้อนหลัง 10 ปี ที่ต่างชาติมีโอกาสขายหุ้นไทยถึง 70% โดยขายสุทธิเฉลี่ยถึง 1.2 หมื่นล้านบาท
(0) ยังมีแรงขายรับงบรายหุ้น เป็นโอกาสสะสม BJC เห็นบวกจากการ M&A กับ BIGC
เนื่องจากตลาดยังขาดแรงหนุนใหม่ ๆ โดยเฉพาะผลการประชุมของธนาคารกลางโลกยังว่ายังไม่มีอะไรใหม่ แต่ปัจจัยในประเทศน่าจะมีน้ำหนักมากกว่า คือ การเปิดซองประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสีเหลืองและชมพู ที่คาดว่าน่าจะทราบผลในอีก 1-3 เดือน และประเด็นที่มีน้ำหนักในสัปดาห์นี้คือ เรื่องผลประกอบการงวด 3Q59 ของหุ้นในกลุ่ม non-bank ซึ่งคาดว่ายังเกิด sale on fact ในหุ้นรายตัวที่ผลกำไรใกล้เคียง/ต่ำกว่าคาด ที่รายงานมาแล้วเป็นหุ้นขนาดใหญ่คือ SCC, SCCC, PTTEP เป็นต้น
และวานนี้ที่รายงานเพิ่มเติมคือ GLOW (FV@B89) กำไรสุทธิ 3Q59 ลดลง 19.4% qoq จากรายได้ขายไฟฟ้าที่ลดลง ตามผลของฤดูกาล กดดัน Gross Margin และงวด 4Q59 คาดว่ายังคงได้รับแรงกดดันจากฤดูกาลต่อเนื่อง แต่ระยะสั้นมีประเด็นหนุน โดยล่าสุด GLOW เพิ่งได้ผ่านการคัดเลือกเป็น ผู้ผลิตโรงไฟฟ้าขยะ กำลังการผลิต 6.9 เมกะวัตต์ (ร่วมทุนระหว่าง GLOW,WHA,SUEZ) ) และ กำไรงวด 9M59 นั้นจะคิดเป็น 97% ของประมาณการณ์ทั้งปี จึงทำให้ปรับประมาณการณ์ขึ้น 14.6% มูลค่าพื้นฐาน 89 บาท ปันผลเฉลี่ยกว่า 7% ต่อปี จึงเป็นหุ้นที่เหมาะลงทุนระยะยาว
และตามมาด้วย STANLY (FV@B180) งวด 2Q59/60 (สิ้นงวด ก.ย. 59) กำไรสุทธิโต 50.8% จากการควบคุมการผลิตดี และ รับรู้เงินปันผลรับ (จากเงินลงทุนระยะยาวรวม 20.2 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 155% แต่คาด 3Q59/60 กำไรสุทธิน่าจะลดลงเนื่องจากตลาดรถยนต์ในประเทศน่าจะได้รับผลกระทบจากบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอย และ ไม่มีเงินปันผลเหมือนในงวดก่อน ขณะที่มูลค่าพื้นฐานมี Upside เพียง 5.8% จึงแนะนำ Switch SAT ([email protected]) และ AH ([email protected]) ที่มี upside สูงกว่าแทน
อย่างไรก็ตาม ยกเว้นธุรกิจค้าปลีก ซึ่งผลประกอบการสดใสในงวด 4Q59 ซึ่งเป็นช่วงใช้จ่ายในเทศกาลปีใหม่ ดังที่ HMPRO ได้รายงานงบงวด 3Q59 พร้อมปรับเพิ่มประมาณการปี 2559 และ 2560 ไปแล้ว ซึ่งสอดคล้อง BJC(FV@B64) หลังรายงานกำไรงวด 3Q59 ออกมาดีกว่าคาด และ คาดหมายว่ายังดีต่อเนื่องในงวด 4Q59 ซึ่งเป็นผลจากการบริหารและจัดการที่ดีจนทำให้ อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ดีขึ้นตามลำดับ และทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มประมาณการกำไรปีนี้ขึ้น 44.6% และ 18.5% ในปี 2560 (กำไรปี 2559 เติบโต 111% จากปี 2558 และเติบโต 82% จากปี 2559) พร้อมปรับ Fair Value ปี 2560 ขึ้นจากเดิม 18.5% เป็น 64 บาท ราคาปัจจุบันเปิด upside กว่าราว 21% จึงเหลือเป็น Top pick หุ้นค้าปลีก
และ วันนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ทำ Earnins preview หุ้น TNP([email protected]) คาดกำไรงวด 3Q59 ทรงตัวจากงวด 2Q59 แม้เป็นช่วงฤดูฝน (low season) แต่จะกลับมาสดใสในงวด 4Q59 อ่านรายละเอียด(Equity Talk วันนี้)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์