- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 31 July 2014 16:13
- Hits: 2763
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
รีบาวด์จำกัด
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดบวก หลังสหรัฐฯ รายงานจีดีพีไตรมาส 2/57 ดีกว่าคาดที่ +4.0% และส่งสัญญาณยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA Chicago PMI ก.ค. คาด 63.1 (Vs 62.6) EU:เงินเฟ้อ ก.ค. คาด 0.5%m-m (Vs 0.5%) Taiwan: 2Q57F GDP คาด +3.1%y-y (Vs 3.1%) Philippines:ผลประชุมธ.กลาง คาดขึ้นดอกเบี้ยเป็น 3.75% (Vs 3.5%)
- วันทำการก่อนหน้า ต่างชาติฃขายสุทธิ -1.67 พันลบ. (ขายสะสม 2 วัน รวม -3.46 พันลบ.) และนักลงทุนสถาบันในประเทศขายต่อ -2.38 พันลบ. (ขายสะสม 4 วันรวม -6.92 พันลบ.)
+/- การเมือง คสช. เตรียมเสนอรายชื่อสนช. 220 คน วันนี้ เพื่อเปิดประชุมสภากลางเดือนหน้า ส่วนสศค. คาด 2Q57F +0.2%q-q -0.3%y-y ปรับเป้าทั้งปีเติบโตแค่ 2%
คาดดัชนีฯ วันนี้ รีบาวด์จำกัด แนวต้าน 1528/1535 จุด แนวรับ 1500/1495 จุด โมเมนตั้มบวกจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่เติบโตดีกว่าคาด 4%q-q อาจหนุนตลาดหุ้นรีบาวด์ชั่วคราว ขณะที่ต่างชาติอาจมีแรงขายต่อเนื่อง อิง FX Risk แรงซื้อคืน US Dollar และมีมุมมองเชิงลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
กลยุทธ์: ขึ้นขาย เพื่อรอซื้อคืนบริเวณ 1480-1500 จุด คาดดัชนีฯ อยู่ในช่วงของกรอบการปรับฐาน
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 2.5%) ได้แก่ WIN CK SVOA KCE BAY PACE DCON TTW BMCL หุ้นที่ลงกว่า 5.0% ได้แก่ RPC PDI MJD PF ESTAR AQ
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ BBL+362 ADVANC+170 SCC+117 DTAC+109 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ INTUCH-262 EA-97
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ KBANK 170 SCB 104 CK 79
Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ รีบาวด์จำกัด แนวต้าน 1528/1535 จุด แนวรับ 1500/1495 จุด โดยมีโมเมนตั้มบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และสัญญาณรีบาวด์ทางเทคนิคชั่วคราว เป็นปัจจัยหนุน ขณะที่ปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศ เป็นลบ จากมุมมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีจำกัด แนะนำ ขึ้นขาย รอซื้อคืน 1480-1500 จุด คาดดัชนีฯ วันนี้ รีบาวด์จำกัด แนวต้าน 1528/1535 จุด แนวรับ 1500/1495 จุด โมเมนตัมบวกจาก 2Q57 USA GDP ที่สูงกว่าคาด +4%q-q (Vs คาด +3%) และปรับลด 1Q57 GDP เป็น -2.1%q-q (Vs เดิม -2.9%) เป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก แต่เราคาดว่า การปรับขึ้นของดัชนีตลาดฯอาจมีจำกัด เนื่องจากแนวโน้ม 2Q57F GDP ของไทยที่อ่อนแอกว่าคาด ความเสี่ยงของการแข็งค่ารอบใหม่ของเงินดอลล์สหรัฐฯ (เกิดความเสี่ยง FX Loss) และผิดหวังผลกำไรบจ. (SCC รายงานกำไรต่ำกว่าตลาดคาด 6% ธุรกิจซีเมนต์ Flat Growth ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง -6%) อาจถ่วงตลาดลดลงในที่สุด ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องจับตาคือ อัตราว่างงานสหรัฐฯเดือน ก.ค. (ประกาศพรุ่งนี้) หากออกมาต่ำกว่า 6%(จาก 6.1%) จะทำให้ความเสี่ยงที่เฟดจะต้องเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น มีโอกาสมากขึ้น
ปัจจัยในประเทศ แรงซื้อคืน หุ้นขนาดใหญ่วานนี้ โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร และสื่อสาร ช่วยหนุนดัชนีฯ ให้รีบาวด์ จากจุดตํ่าสุดของวันที่บริเวณ 1500 จุด ส่วนหนึ่งมาจาก.ค.าดว่าอาจมีเม็ดเงินจากกองทุนทริกเกอร์ที่อยู่ระหว่างเปิดกองใหม่ ทุนจดทะเบียน 3 พันลบ. มาช่วยสนับสนุน ขณะที่การรีบาวด์จากแนวรับหลัก 1500 จุดตามที่เราประเมิน ทำให้วันนี้มีลุ้นที่จะมีโมเมนตัมต่อเนื่องในช่วงเช้า อย่างไรก็ดี ระหว่างวัน คาดจะยังเห็นการผันผวนของดัชนีฯ แต่หากสามารถยืนปิดเหนือ 1500 จุดได้ในสัปดาห์นี้ คาดสัปดาห์หน้าน่าจะเห็นการรีบาวด์ต่อเนื่อง โดยเราแนะนำซื้อสะสมหุ้นบลูชิพขนาดใหญ่ จากการประเมิน downside ของการลงที่ค่อนข้างจำกัด หุ้นที่น่าสนใจ KBANK SCB SIRI AP QH PTTEP INTUCH CPALL
ปัจจัยต่างประเทศ ปัจจัยบวกมาจาก สหรัฐฯ ประกาศจีดีพีไตรมาส 2/57 ออกมาดีกว่าคาดที่ 4.0% qoq saar จากที่ตลาดคาด 3.0% และวานนี้ ผลการประชุมเป็นไปตามทึ่ตลาดคาด โดยเฟดลด QE ลงอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน สู่ระดับ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์/เดือน เฟดส่งสัญญานยังไม่รีบขึ้นดอกเบี้ย แต่นักลงทุนยังจับตาดูตัวเลขอัตราการว่างงานที่จะประกาศวันศุกร์นี้ โดยตลาดคาดว่าจะทรงตัวที่ 6.1% ซึ่งหากออกมาดีกว่าคาด อาจทำให้นักลงทุนกลับมากังวลเรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟด และกดดันตลาดหุ้นในระยะสั้นได้
อย่างไรก็ดี ระยะกลาง เราไม่ได้กังวลมากนักต่อการขึ้นดอกเบี้ย อิงตามสถิติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของในครั้งก่อนๆ บ่งชี้ว่า ตลาดหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นก่อนและหลังการขึ้นของเฟด โดยดัชนี S&P500 ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย +8.9% และ 11.4% ในช่วง 8 เดือนก่อนการขึ้นดอกเบี้ย และ 21 เดือนหลังการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตามลำดับ
หุ้นเก็งกำไร Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ CSS IVL GOLD ANAN JUBILE MINT SVI (TMB BCP เป็นหลักทรัพย์ที่มี Upward Revision ล่าสุด) หุ้นสำหรับ port เดือน ส.ค. แนะนำ ซื้อที่แนวรับ INTUCH DTAC (Dividend Play) PSL IVL (Global play) KBANK SIRI AAV (Cyclical Play) CSS GOLD (Earning Play) GUNKUL (พลังงานทดแทน)
พอร์ตลงทุนหุ้นระยะยาว : เน้นลงทุนกลุ่ม Domestic Play หุ้นเด่นแนะนำ KBANK SCB INTUCH SIRI QH AP CPALL SCC AAV CENTEL และกลุ่ม Cyclical Play หุ้นเด่นแนะนำ PTT IVL IRPC PSL
ปัจจัยเทคนิค: ลุ้นรีบาวด์ต่อเนื่อง วานนี้ แม้ในช่วงเช้าดัชนีฯ ปรับลงแรง ไปทดสอบแนวรับ 1500 จุด แต่หลังจากนั้น มีแรงซื้อกลับเข้ามาทันที โดยเฉพาะในหุ้นขนาดใหญ่ โดยคาดโมเมนตัมของการรีบาวด์จะต่อเนื่องจากช่วงท้ายตลาด ซึ่งการปรับฐานรอบนี้ ประเมินแนวรับหลักไว้ที่บริเวณ 1500 จุด ทั้งนี้ ภาพกรอบการขึ้นรอบใหญ่ยังไม่เสียไป แม้จะเห็นการปรับฐานย่อยๆ ระหว่างทาง แต่ยังเป็นการแกว่งในกรอบขาขึ้น โดยแนวรับของกรอบ uptrend ใหญ่ที่ดำเนินมาตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่บริเวณ 1475 จุด
ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: เตรียมเสนอทูลเกล้าฯ รายชื่อสนช. ปลายสัปดาห์นี้
ประเด็นการเมือง (Update):
คสช.ตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ให้"ประยุทธ์"เป็นประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แต่งตั้ง คณะกรรมการที่ปรึกษา ด้านโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมรวม 23 คน มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะ หัวหน้าคสช. เป็นประธานเพื่อศึกษา และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมของประเทศ สำหรับ การขนส่งทุกรูปแบบอย่างเป็นระบบต่อคสช. รวมถึง เสนอแนะการลงทุนและจัดหา แหล่งเงินทุนที่เหมาะสมด้วยคณะกรรมการที่ปรึกษาของคสช.ประกอบด้วย หัวหน้าคสช.เป็นประธาน, รองหัวหน้าคสช.และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.เป็นรองประธาน
ครม. ‘ประยุทธ์’ ลงตัว ‘บิ๊กตู่’ นายกฯ-ปธ.คสช. ทหารพรึ่บ ‘ดาว์พงษ์’ มท.
โผ ครม. “ประยุทธ์ 1” คืบ “บิ๊กตู่” ชัวร์แล้วนั่งนายกรัฐมนตรี “บิ๊กจิน” ถ่างขาควบรองนายกฯ-คมนาคม “ดาว์พงษ์” เบอร์ 1 คลองหลอด “ฉัตรชัย” ซิวพลังงาน “คุณชายอุ๋ย” คุมคลัง “สมคิด” ไปพาณิชย์ตามคาด “บิ๊กอู๋”ตรวจดูความเรียบร้อยรัฐสภาเตรียมรับ สนช.ชุดใหญ่เข้าทำงานหลังได้รับโปรดเกล้าฯ เลขาฯ วุฒิฯ รอ “ประธาน สนช.คนใหม่” เคาะถอดถอนบุคคลการเมือง
2. คสช.เห็นชอบแผนลงทุนคมนาคม 8 ปี แนะซื้อเก็งกำไรกลุ่มวัสดุฯ (SCC TASCO DCON SCP)
ว า น นี้ ที่ป ร ะ ชุม ค ณ ะ รัก ษ า ค ว า ม ส ง บ แ ห่ง ช า ติ( ค ส ช . ) เ ห็น ช อ บ ร่า ง ยุท ธ ศ า ส ต ร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทย ในช่วงปีงบประมาณ ปี 58-65 และยังเห็นชอบแผนพัฒนาในระยะเร่งด่วนประจำปีงบประมาณปี 57-58 โดยปรับปรุง และสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ รวม 8 เส้นทาง สำ หรับโครงการเร่งด่วน ให้เสนอแผนระดมทุนต่อ คสช. พิจารณาภายใน 30 วัน สำ ห รับ แ ผ น ร ะ ย ะ เ ร่ง ด่ว น ป ร ะ จำ ปีง บ ป ร ะ ม า ณ 5 7 -5 8 ป ร ะ ก อ บ ด้ว ยการเชื่อมโยงโครงข่ายด้านคมนาคมไปยังเมืองหลัก, กรุงเทพฯและปริมณฑล อาทิ การทำทางหลวงชนบท,ถนนเชื่อมเมืองหลัก และ โครงการรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง เป็นต้น
คาดเป็นข่าวบวกต่อการลงทุนในประเทศในปีหน้าและปีต่อๆ ไป แต่ระยะสั้นอาจเห็นการขายทำกำไรทั้งในกลุ่มรับเหมาฯ และวัสดุก่อสร้าง หลังมีการเก็งกำไรมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เรายังมีมุมมองบวกต่อกลุ่มวัสดุก่อนสร้างและแนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว (SCC TASCO DCON SCP)
3. +/- 2Q57F Earnings Results: Consensus คาดบจ. ไทยมีกำไรเพิ่มขึ้น 18% YoY -3.9%q-q ใน 2Q14
ประมาณการของ Bloomberg คาด 2Q57F ที่จะทยอยประกาศบงบการเงินสัปดาห์นี้ เช่น MBKET BCP VGI
Bloomberg Consensus : 2Q14E earning estimate by sector คาดว่า กลุ่มพลังงาน จะรายงานกำไรเติบโต y-y สูงสุด +105.3% รองลงมาคือ กลุ่มอาหาร +86.5%y-y ปิโตรเคมี +70%y-y แย่สุดคือ กลุ่มเหล็ก -168.9%y-y ขนส่ง -146.7%y-y
+/- USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ UPS AMEX (29/7) Goodyear KRAFT (30/7) Time Warner Cable, Exxon (31/7) P&G, Berkshire Harthaway (1/8)
+/- 4. รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : มีอิทธิพลสูงต่อทิศทางตลาดหุ้นโลกสัปดาห์นี้ จับตา ผลประชุมเฟด+2Q57F US GDP
วันพฤหัสบดี 31 ก.ค.: USA Chicago PMI ก.ค. คาด 63.1 (Vs 62.6) EU:เงินเฟ้อ ก.ค. คาด 0.5%m-m (Vs 0.5%) Taiwan: 2Q57F GDP คาด +3.1%y-y(Vs 3.1%) Philippines:ผลประชุมธ.กลาง คาดขึ้นดอกเบี้ยเป็น 3.75%(Vs 3.5%)
วันศุกร์ 1 ส.ค. : USA การจ้างงานนอกภาคเกษตร ก.ค. คาด +230k (Vs +288k) อัตราว่างงาน คงที่ที่ 6.1% ISM Mfg ก.ค. คาด 55.5(Vs 55.3) U of M survey ก.ค. คาด 82.2 (Vs 81.3) China:PMI Mfg ก.ค. คาด 51.3 (Vs 51)
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
ADP เผยตัวเลขจ้างงานเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดในเดือน ก.ค. ADP Employer Services เปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด 218,000 ตำแหน่ง ในเดือน ก.ค. ซึ่งต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้น 230,000 ตำแหน่ง ในเดือน ก.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 281,000 ตำแหน่งในเดือน มิ.ย.
สหรัฐ เผยจีดีพี Q2 โตเกินคาด 4.0% ขณะคาดปีนี้ขยายตัวมากกว่า 2% กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการขั้นต้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 2/2014 โดยระบุว่า มีการขยายตัว 4% สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ คาดการณ์ว่าจะขยายตัว 3.0% หลังติดลบ 2.1% ในไตรมาสแรก กระทรวงพาณิชย์ยังระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐมีการขยายตัว 0.9% ในช่วงครึ่งปีแรก และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ยมากกว่า 2% ในปีนี้
ไทย เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลง 6.59% ใน มิ.ย., คาดทั้งปีนี้อาจโตต่ำกว่า 1% สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(MPI) เดือน มิ.ย.57 ของไทย ลดลง 6.59% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับที่ลดลง 4.0% ในเดือน พ.ค. ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกันตัวเลข MPI ดังกล่าว ติดลบมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่า MPI ใน มิ.ย. จะลดลง 3.5% ขณะที่ เมื่อเทียบรายเดือน MPI ในเดือน มิ.ย. ลดลง 1.73% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือน มิ.ย.อยู่ที่ 60.61% ลดลงจาก 61.56% ในเดือน พ.ค.
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ แม้เฟดยืนยันไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดคละ โดยดัชนี DJIA ปิดลดลง 31.75 จุด หรือ -0.19% สู่ระดับ 16,880.36 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.12 จุด หรือ 0.01% สู่ระดับ 1,970.07 จุด Nasdaq ปิดเพิ่มขึ้น 20.20 จุด หรือ 0.45% สู่ระดับ 4,462.90 จุด
เฟดปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรรายเดือนลงตามคาดสู่ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์จาก 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์ หุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวขึ้นมากที่สุด โดยดัชนี S&P หุ้นกลุ่มการเงิน บวก 0.4% ซึ่งช่วยหนุนดัชนี S&P 500 หุ้นกลุ่มไบโอเทคหนุนดัชนี Nasdaq เป็นวันที่สองติดต่อกัน โดย ดัชนีหุ้นกลุ่มไบโอเทคบวก 1% หลังหุ้นบริษัทแอมเจน อิงค์พุ่ง 5.4% จากการเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดและการปรับเพิ่มแนวโน้มธุรกิจ
ข้อมูลของรัฐบาลสหรัฐบ่งชี้ว่า จีดีพีขยายตัว 4% ต่อปีในไตรมาส 2 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 3% และฟื้นตัวขึ้นอย่างมากจากไตรมาสแรกที่หดตัวลง 2.1% โดยได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศ
ADP Employer Service รายงานการจ้างงานของภาคเอกชนในสหรัฐเพิ่มขึ้น 218,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 230,000 ตำแหน่ง และต่ำกว่าในเดือนมิ.ย.
- ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลดลง วิตกสถานะการณ์ยูเครน ผลกำไรบจ.
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลดลง FTSE ปิดลง 34.31 จุด หรือ -0.5% สู่ 6,773.44 จุด ดัชนี CAC40 ปิดร่วง -53.28 จุด หรือ -1.22% สู่ 4,312.30 จุด และ DAX ปิดลบ 59.95 จุด หรือ -0.62% สู่ 9,593.68 จุด ตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ไม่สามารถชดเชยรายงานผลประกอบการที่ อ่อนแอของบริษัทบางแห่ง และความกังวลที่ว่าความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนอาจทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
-ราคาน้ำมันดิบ ร่วงลง วิตกอุปทานล้น
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ กย. ปิดดิ่ง 1.21 ดอลลาร์ สู่ 106.51 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ กย. ลดลง 0.70 ดอลล์ต่อบาร์เรล เป็น 100.27 ดอลล์ต่อบาร์เรล
เช้านี้ Nymex ร่วงลงต่ำกว่า $100 /บาร์เรล หลังรายงานการผลิตเพื่อส่งออกน้ำมันที่สูงขึ้นของกลุ่มโอเปค สหรัฐฯ ลิเบีย
ราคาน้ำมันดิบสหรัฐร่วงลงตามราคาน้ำมันดิบเบรนท์ ซึ่งได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันที่ล้นตลาดในยุโรปและเอเชีย ถึงแม้ว่าสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐดิ่งลงอย่างรุนแรงเกินคาดก็ตาม ตลาดน้ำมันดิบทะเลเหนือและแอฟริกาตะวันตกยังคงเผชิญภาวะน้ำมันล้นตลาด โดยผู้ขายน้ำมันปรับลดราคาลงอย่างรุนแรงเพื่อพยายามดึงดูดโรงกลั่นน้ำมันให้เข้าซื้อน้ำมัน
นักวิเคราะห์ไม่แน่ใจว่า มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรอบใหม่ต่อรัฐบาลรัสเซีย จะส่งผลกระทบในทันทีต่อการส่งออกน้ำมันของรัสเซียหรือไม่
-ราคาทองคำ ลดลงจากรายงานเศรษฐกิจสหรัฐฯดีกว่าคาด
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด – 3.40 ดอลล์มาปิดที่ระดับ 1,294.90 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ราคาทองได้รับแรงกดดัน หลังจากสหรัฐรายงานว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เติบโตขึ้น 4.0 % ต่อปีในไตรมาสสอง หลังจากหดตัวลง 2.1 % ในไตรมาสแรก(Vs เดิมคาด -2.9%)ผู้กำหนดนโยบายของเฟดระบุในวันพุธว่า เฟดยังคงมีความกังวลต่อกำ ลังการผลิตส่วนเกินในตลาดแรงงาน และยืนยันว่าเฟดไม่มีความรีบร้อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมักจะส่งผลลบต่อราคาทอง
+ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกวันที่6 หลังร่วง12วัน
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 7 จุดมาปิดที่ 754 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270