- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 27 October 2016 16:26
- Hits: 1232
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สภาพแวดล้อมโดยรวม ยังกดดันตลาดหุ้นไทยต่ำกว่า 1,500 จุด กลยุทธ์ให้น้ำหนักหุ้นที่ 40% เลือกหุ้นปันผลเด่น และ/หรือ กำไรเด่นใน 4Q59 (ASK, WHA) โดยเลือก SAWAD([email protected]) และ HMPRO([email protected]) เป็น Top picks
(+) เศรษฐกิจในประเทศมีโอกาสฟื้นตัว ตามภาคส่งออกและการกระตุ้นภาครัฐ
วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดส่งออก (X ในรูปดอลลาร์ฯ) เพิ่มขึ้น 3.4%yoy เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือน ทำให้เฉลี่ย 9M59 ติดลบเพียง 0.65% ทำให้ทั้งปีมีโอกาสกลับมาเป็นบวก โดยได้แรงหนุนจากตลาดส่งออกที่ดีขึ้น คือ สหรัฐ จีน โดยสินค้าส่งออกที่ขยายตัว อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ เคมีภัณฑ์ ผัก ผลไม้สด เช่นเดียวกับยอดนำเข้า (M) พลิกกลับมาบวก 5.6%yoy ทำให้เฉลี่ย 9M59 -7.27%) หนุนดุลการค้าเกิน 17 เดือนต่อเนื่อง หากภาพยังเป็นแบบนี้ต่อ น่าจะช่วย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือปีนี้และปีหน้า นอกเหนือจากการกระตุ้นภาครัฐที่ดำเนินการต่อเนื่อง ผ่านการกระตุ้นตั้งแต่รากหญ้าดังที่ ครม. เพิ่งอนุมัติกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ จัดสรรเงินสู่หมู่บ้านทั่วประเทศๆ ละ 2.5 แสนบาท วงเงินรวม 1.87 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ก่อนหน้าได้อนุมัติโครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งกระตุ้นการลงทุนใน 3 พื้นที่ภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น มอเตอร์เวย์ รถไฟรางคู่ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้หากพิจารณาแผนลงทุนสาธารณูปโภคภาครัฐตามแผนเร่งด่วน 20 โครงการมูลค่า 1.8 ล้านล้านบาท ปีนี้ มีโครงการที่ผ่าน ครม. อนุมัติ แล้ว 13 โครงการ แบ่งเป็น 1) ที่ผ่านการคัดเลือกผู้รับเหมาแล้ว 3 โครงการคือ ท่าเทียบเรือชายฝั่ง ศูนย์ขนส่งสินค้าแหลมฉบัง และรถไฟทางคู่ (จิระ-ขอนแก่น) 2) อยู่ระหว่างประมูล 4 โครงการ อาทิ มอเตอร์เวย์ (พัทยา-มาบตพุด), (บางปะอิน-โคราช), (บางใหญ่-กาญจนบุรี), สุวรรณภูมิเฟส 2 และ 3) เปิดซองประมูล และประกาศรายชื่อผู้ที่ชนะในเดือน พ.ย. 6 โครงการ คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี) และ สีชมพู(แคราย-มีนบุรี) และ สีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งน่าถือว่าเป็น sentiment เชิงบวกต่อตลาด ท่ามกลางปัจจัยกดดันรอบด้าน
(0) สต๊อกน้ำมันลดต่อ แต่ถูกหักล้าง Dollar แข็งค่า&supply น้ำมันอาจไม่ลดตามคาด
สำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) รายงานสต๊อกน้ำมันสิ้นสุดสัปดาห์ (21 ต.ค.) พบว่า น้ำมันดิบยังลดลงต่อเนื่อง ราว 0.6 ล้านบาร์เรลเป็นสัปดาห์ที่ 7 และลดลงมากกว่าตลาด เช่นเดียวกับน้ำมันสำเร็จรูปทั้งเบนซินและดีเซล ที่ลดลง 2 และ 3.4 ล้านบาร์เรลตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามจากความน่าจะเป็นที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ หนุนดอลลาร์ปรับตัวในทิศทางแข็งค่ากว่า 3.3% นับตั้งแต่ต้นเดือน (ล่าสุด 98.61 จุด) กลับมาเป็นปัจจัยฉุดราคาน้ำมันให้ย่อตัว
นอกจากนี้ตลาดเริ่มขาดความเชื่อมั่นต่อการตัดลดกำลังการผลิต ในการประชุมกลุ่ม OPEC อย่างเป็นทางการ 30 พ.ย. ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เพราะขณะนี้ มีอย่างน้อย 3 ประเทศที่จะขอยกเว้นไม่รวม ที่จะต้องตัดลดการผลิต ซึ่ง 1 ในนั้นคือ อิรักผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 2 ของกลุ่ม OPEC ซึ่งมีกำลังผลิตราว 4.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (อีก 2 ประเทศคือ ลิเบีย และไนจีเรีย) ด้วยเหตุผลต้องการมีรายได้จากการขายน้ำมัน มาต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธ และคาดว่ายังมีอีกหลายประเทศที่จะขอยกเว้นเช่นเดียวกัน อาทิ เวเนซุเอล่า และ อินโดนีเซีย ซึ่ง 2 ปัจจัยหลังมีน้ำหนัก กดดันราคาน้ำมันอ่อนตัวช่วงสั้น แต่คาดว่าจะยังแกว่งตัว ระหว่าง 45–50 เหรียญฯต่อบาร์เรล และกดดันหุ้นปิโตรเลี่ยม ทั้ง PTT, PTTEP, IRPC, BANPU, LANNA เป็นต้น
(-) ต่างชาติยังคงขายสุทธิตลาดหุ้นไทย เช่นเดียวกับตลาดหุ้นในภูมิภาค
วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคปรับตัวลดลง ซึ่งสอดคล้องกับต่างชาติที่กลับมาขายสุทธิทั้ง 5 ประเทศ ด้วยยอดขายสุทธิ 274 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิมา 2 วัน) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า อินโดนีเซียที่ขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 88 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน), ตามมาด้วยไต้หวัน 82 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), เกาหลีใต้ 60 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทย 31 ล้านเหรียญ หรือ 1.1 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิราว 1.6 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯสลับมาขายสุทธิราว 3.2 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 3.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 6 โดยมียอดซื้อรวมอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านบาท)
(+) เน้นหุ้นกำไรเด่น 4Q59 ราคายัง laggard : SAWAD, MTLS, WHA
การรายงานประกอบการงวด 3Q59 เป็นสิ่งที่ตลาดหุ้นทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐพบว่า การรายงานผลประกอบการส่วนใหญ่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ราว 74% แม้ผลการดำเนินงานจะเติบโตราว 2.2%yoy (เพิ่มขึ้นจากที่คาดว่าจะเพิ่มเพียง 0.5%yoy) ส่วนหุ้นขนาดใหญ่เป็นไปตามตลาดคาด แม้การเติบโตไม่โดดเด่นนัก แต่ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่ในยุโรปตลาดน่าจะมีความกังวลต่อผู้ประกอบการที่มีธุรกิจเกี่ยวข้องกับน้ำมัน รวมถึงความกังวลต่อเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นหลังจากที่อังกฤษเตรียมเดินหน้าออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการในต้นปี 2560 โดยในวันนี้จะมีการรายงาน GDP Growth งวด 3Q59 คาดว่าจะชะลอลงเหลือเพียง 0.3%qoq จาก 0.7%qoq ในงวด 2Q59
ขณะที่ของไทย เข้าสู่การรายงานงบการเงินของ Real Sector ทยอยประกาศในสัปดาห์นี้ โดยวานนี้ SCC ซึ่งเป็นหุ้นที่มี Market Cap ใหญ่ลำดับที่ 2 ของตลาดฯ (6.072 แสนล้านบาท) รายงานกำไรงวด 3Q59 ดีกว่าคาด 12% เพราะธุรกิจปิโตรเคมีที่ดีขึ้นจาก spread ผลิตภัณฑ์หลักทั้ง HDPE และ PP เทียบกับ Naphtha ยังทรงตัวในระดับสูง และมีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้นมาก รวมถึงมีรายการพิเศษจากการตั้งสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ขณะที่ธุรกิจปูนซิเมนต์ยังคงชะลอตัวตามเศรษฐกิจในประเทศ และเพื่อนบ้าน แต่คาดว่างวด 4Q59 กำไรสุทธิจะหดตัวลงแรง เนื่องจากโรงงาน ROC ซึ่งเป็นโรงปิโตรเคมีต้นน้ำมีการหยุดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ 40 วัน แต่กำไรสุทธิ 9M59 ยังเพิ่มขึ้น 28%YoY และคิดเป็น 89% ของประมาณการกำไรทั้งปี โดยรวมปีนี้คาดกำไรเติบโต 8.3%yoy และทรงตัวในปี 2560
โดยภาพรวม คาดว่าผลประกอบการของหุ้นขนาดใหญ่ที่เหลือ ทั้ง ICT ซึ่งมีผลจากต้นทุนประมูลที่สูงขึ้นจากต้นทุนใบอนุญาต 4G ของ ADVANC และ TRUE (DTAC รายงานกำไรลดลงถึง 46%yoy จากค่าเสื่อมราคา เงินลงทุนขยายโครงข่าย แต่รายได้ทรงตัว) และ กลุ่มพลังงาน ไม่สดใส ตามราคาปิโตรเลียมอ่อนตัวและยอดขายลด แต่คาดว่าจะเติบโตอีกครั้งเมื่อเข้าไตรมาสสุดท้ายของปี ได้แก่ โรงกลั่นและปิโตรเคมี (IRPC รวมทั้ง PTTEP และ PTT) ซึ่งในสถานการณ์นี้จึงอาจจะทำให้มีการขายรับงบหากทุกอย่างไม่ได้แตกต่างไปจากความคาดหมาย และหลังจากนี้ตลาดน่าจะให้น้ำหนักต่อผลกำไรงวดสุดท้ายของนี้
ธุรกิจค้าปลีกและท่องเที่ยว ทั้งนี้ ธุรกิจค้าปลีก ซึ่งโดยปกติ 4Q59 จะเป็นจุดสูงสุดของปีจากช่วงฤดูกาล แต่หากเทียบกับช่วง 4Q58 ที่มีฐานกำไรสูง จากอานิสงส์นโยบายช็อปช่วยชาติ จะทำให้การเติบโตของกำไรเติบโตจากงวด 4Q58 ชะลอตัวลง แต่โดยรวมประเมินกำไรกลุ่มปีนี้จะเพิ่มขึ้น 11% และจะเติบโตสูง 24% ในปี 2560 แต่อย่างไรก็ตาม หุ้นในกลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่เต็มมูลค่าแล้ว ยกเว้น HMPRO ([email protected]) ซึ่งคาดกำไร 4Q59 จะเป็นจุดสูงสุดของปี เติบโตราว 20%yoy จากการเปิดสาขาใหม่ 4-5 แห่ง (โฮมโปรในประเทศ 2 แห่ง มาเลเซีย 1 แห่ง และ Mega Home อีก 1-2 แห่ง) และธุรกิจใหม่ Mega Home และต่างประเทศ เริ่มมีกำไร โดยรวมทำให้กำไรสุทธิจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 19% ขณะที่ธุรกิจท่องเที่ยวอาจจะไม่สดใสเหมือนทุกปีเนื่องจาก บรรยายโดยรวมยังคงซึมเศร้า
และกลุ่มลิสซิ่ง คาดงวด 4Q59 จะทำกำไรสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะ สินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุกซึ่งเติบโตตามภาคการก่อสร้างและลงทุนของภาครัฐ ตามมาด้วยสินเชื่อรถจักรยานยนต์ ที่เพิ่มขึ้น ตามฤดูกาลขายปลายปี และยังได้ประโยชน์จากการกระตุ้นภาครัฐดังกล่าวข้างต้น และสินเชื่อรายย่อย ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ที่น่าจะเติบโตในลักษณะเดียวกัน ผู้ประกอบการที่น่าจะมีกำไรดีมากในงวด 4Q59 คือ ASK ([email protected]) , MTLS ([email protected]) และ SAWAD ([email protected]) รวมถึงหุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้น รากหญ้าเพิ่มเติม ระยะ 2 ล่าสุด LIT(FV@B20) ที่อิงการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจที่ทำงานให้ภาครัฐ
และสุดท้ายเป็นหุ้นหุ้นที่ผลกำไรเด่นงวด 4Q59 นำโดย WHA ซึ่งได้ประโยชน์จากแผนพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งกระตุ้นการลงทุน 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา และงวด 4Q59 จะรับรู้รายได้จากการนำสินทรัพย์เข้า REIT 2 กอง มูลค่ารวม 1.2 หมื่นล้านบาท (แบ่งเป็น 1) นำโรงงาน/คลังสินค้าสำเร็จรูป เข้ากองทรัสต์ที่จัดตั้งขึ้นใหม่คือ HREIT มูลค่าขาย 8 พันล้านบาท และ 2) คลังสินค้า 2 แห่ง ที่ ชลหารพิจิตร และลาดกระบัง เข้ากองทรัสต์ WHART มูลค่าขาย 4.19 พันล้านบาท ) นอกจากนี้ยังมีแผนนำบริษัทย่อยคือ WHAUP ซึ่งประกอบธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน เข้าจดทะเบียนตลาดฯในช่วง 1Q60 โดยผู้ถือหุ้นเดิมของ WHA จะได้สิทธิในการจองซื้อหุ้น WHAUP (Preemptive Right)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์