WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
     เชื่อว่าตลาดยังขาดแรงหนุน ทำให้ดัชนีผันผวน และอยู่ต่ำกว่า 1,500 จุด โดยแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักหุ้น Global ผสมหุ้น Domestic ที่มีกำไรเด่นงวด 2H59 และ/หรือมีเงินปันผลสูง (HANA, ASK, THANI) ยังเลือก PTTEP(FV@B102) และ HANA(FV@B42) เป็น Top picks

(1) ผลการประชุม ECB ไม่มีอะไรใหม่
     คาดต่างประเทศยังไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ในการประชุมธนาคารกลางยุโรป(ECB) ในวันนี้ ตลาดคาด ยังคงนโยบายเดิม (ดอกเบี้ยฯ 0% และวงเงิน QE ที่ 8 หมื่นล้านยูโร/เดือน ระยะเวลาโครงการ 25 เดือน ตั้งแต่ มี.ค.2558 – มี.ค. 2560) แต่น่าจะให้น้ำหนักการประชุมรอบถัดไปคือ 8 ธ.ค. ซึ่ง ตลาดคาดจะขยายระยะเวลาโครงการ QE ออกไปหลังสิ้นสุด มี.ค. 2560 สะท้อนจากผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg 50 คน โดย 90% คาดขยายระเวลาโครงการ รอบ ธ.ค.
    ขณะที่การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังส่งสัญญาณขัดแย้งกัน ทั้งฝั่งภาคการผลิต และครัวเรือน โดยภาคครัวเรือน ล่าสุดพบว่ายอดสั่งสร้างบ้าน(Housing start) เดือน ก.ย. ลดลง 9%mom (ต่ำกว่าตลาดคาดเพิ่ม 2.5%) แต่กลับสวนทางกับยอดขออนุญาตก่อสร้าง(Building permit) ในเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 6.3% และ ยอดค้าปลีก ที่พลิกกลับมาเป็นบวก และดีขึ้นจาก -0.2% ใน ส.ค.
อย่างไรก็ตามดังที่รายงานวานนี้ถึง อัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.ย.พุ่งขึ้นเป็น 1.5% จาก 1.1%(เพิ่มขึ้นจาก สินค้าในหมวดพลังงานเพิ่มขึ้น 2.9% ราคาที่พัก อาศัยและ หมวดการขนส่งทางอากาศที่เพิ่ม) เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ ทำให้ Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น (ผลสำรวจของ Bloomberg คาดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยราว 64.3%) แต่เชื่อว่าประเด็นนี้ตลาดน่าจะได้รับรู้แล้ว

(+) ให้น้ำหนักหุ้น Real sector หลังรับรู้งบงวด 3Q59 ของ ธ.พ. แล้ว
      การประกาศงบฯ 3Q59 ของกลุ่ม ธ.พ. ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว จนถึงวานนี้เหลือเพียง BBL, KTB และ BAY ที่ยังรอประกาศงบฯ โดยภาพรวมของผลประกอบการ 3Q59 ในส่วนของธุรกิจหลักยังไม่ดีนัก (โดยเฉพาะ ธ.พ. ใหญ่) ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและ NIM ที่ชะลอลงตามภาวะสินเชื่อที่ลดลง ส่วน NPL ขยับขึ้น ขณะที่มีการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นจากมุมมองธุรกิจที่ระมัดระวังมากขึ้น ยกเว้นแต่เพียงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เช่น ค่าธรรมเนียมฯ ที่ยังมีแนวโน้มเติบโต (โดยเฉพาะใน ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก) ภาพรวมกลุ่ม ธ.พ. ยังคงไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ ในช่วงนี้ และต้องระมัดระวังกับแรงขาย sell on fact ที่อาจเกิดขึ้นหลังประกาศงบฯ เสร็จสิ้น
      หลังจากนี้ ก็จะเข้าสู่การรายงานงบฯ ของ Real Sector ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยทำ Earning Preview แล้ว เริ่มจากกลุ่มพลังงาน (โดยเฉพาะธุรกิจน้ำมัน และโรงกลั่น) และกลุ่มปิโตรเคมี แม้ โดยคาดผลการดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจน้ำมัน ใน 3Q59 จะลดลงจาก 2Q59 จากราคาน้ำมันดิบโลกที่อ่อนตัวลง (ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ 3Q59 อยู่ที่ 43.30 เทียบกับ 2Q59 ที่ 43.47 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล) จึงไม่มีการบันทึกกำไรจากสต็อกน้ำมันในระดับสูงเช่นที่เกิดขึ้นในงวด 2Q59 (กระทบ PTT และโรงกลั่น TOP, IRPC, BCP, PTTGC) รวมทั้งปริมาณขายที่ลดลงตามความต้องการใช้ที่ชะลอตัว ขณะที่ต้นทุนมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น (กระทบต่อ PTTEP) เช่นเดียวกับธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี 3Q59 คาดจะถูกกดดันจากค่าการกลั่นที่ลดลงตามการเข้าสู่ช่วง low season, spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่อ่อนตัวลง รวมทั้งการบันทึกกลับเป็นขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (TOP, IRPC, BCP, PTTGC)
     แต่อย่างไรก็ตามคาดว่า 4Q59 จะฟื้นตัวดีขึ้น จากปัจจัยฤดูกาลที่จะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว (ความต้องการใช้น้ำมันและค่าการกลั่นให้ปรับตัวดีขึ้น) ทำให้กำไรสุทธิธุรกิจปิโตรเลียมปีนี้จะเติบโตราว 20%yoy นำโดย IRPC เติบโต 10%yoy, TOP เติบโต 9.7%yoy สวนทางกับ PTT กำไรปกติหดตัว 8.9%yoy และ PTTEP กำไรปกติหดตัว 31.7%yoy และ คาดว่าในปี 2560 จะกลับมาเติบโตได้ต่อเนื่อง ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบของฝ่ายวิจัยที่ 55 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดย PTTEP จะกลับมามีกำไรและเติบโตมากสุด 42% รองลงมาคือ PTT กำไรเพิ่มขึ้น 15.3% และ BCP กำไรเติบโต 16.3%yoy
     ภายใต้แนวโน้มจึงคาดว่า กลุ่มพลังงาน และปิโตรเคมี น่าจะเป็นกลุ่มหลักที่ยังเห็นการเติบโตได้ดีกว่ากลุ่มอื่นที่อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ โดยฝ่ายวิจัยชอบ IRPC ([email protected]) มากที่สุด เนื่องจากยังมี upside สูงถึง 35% และ P/E ต่ำเพียง 10.6 เท่า และยังคาดหวังเงินปันผลได้สูงถึง 4.6% นอกจากนี้ ยังชอบ PTT และ PTTEP ตามทิศทางราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่แนะนำสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว

(-) ต่างชาติยังคงขายหุ้นไทย สวนทางกับตลาดหุ้นอื่นๆในภูมิภาค
      วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่าราว 155 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ยังคงถูกซื้อสุทธิราว 198 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยไต้หวัน 181 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), และฟิลิปปินส์ 22 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 10 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียขายสุทธิราว 5 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และไทยยังคงขายสุทธิหนักถึง 73 ล้านเหรียญ หรือ 2.6 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 7 วัน โดยมียอดขายรวมสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท) ตรงข้ามกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิราว 3.2 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเล็กน้อยในวันก่อนหน้า)
เป็นที่สังเกตว่า ต่างชาติได้ทยอยขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค. เป็นต้นมา ทำให้มียอดขายสุทธิสูงสุด 349 ล้านเหรียญ หรือ 1.2 หมื่นล้านบาท สูงสุดในภูมิภาค แม้ต่างชาติได้ขายต่อเนื่องประเทศกลุ่ม TIP ทั้งอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกันก็ตาม แต่ตรงข้ามต่างชาติยังคงซื้อสลับขายประเทศเอเซียอื่นๆ อย่าง เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน ซึ่งคาดว่าต่างชาติน่าจะมีการปรับลดพอร์ตการลงทุนในกลุ่ม TIP ขณะเดียวกันสลับมาลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น เห็นได้จากต่างชาติสลับมาซื้อตราสารหนี้ไทยเป็นวันที่ 2 โดยมีมูลค่ารวม 4.6 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันกว่า 6 วัน โดยมียอดขายรวมสูงถึง 3.8 หมื่นล้านบาท)

(0) SET ยังอยู่ต่ำกว่า 1,500 จุด เลือกรายหุ้น HANA, ASK, PTTEP, PTT
เชื่อว่าในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ ดัชนียังแกว่งตัว และ ต่ำกว่า 1,500 จุด (Expected P/E สิ้นปี 2559 เท่า) กลยุทธ์ยังเน้นลงทุนในหุ้น 40% ที่เหลือการลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น หุ้นต่างประเทศ ทองคำ หรือ ตราสารหนี้เป็นต้น
สำหรับการลงทุนในหุ้นไทยในช่วงนี้น่าจะผสมระหว่างหุ้น Domestic และ Global Play หลังจากที่ราคาน้ำมันสามารถฟื้นตัวเหนือ 50 เหรียญฯ และกำลังจะเข้าสู่ช่วง High Season ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งน่าจะทำให้ผลประกอบการงวด 4Q59 มีแนวโน้มกระเตื้องจากงวด 3Q59 ชัดเจน โดยหุ้นที่แนะนำให้มมีการผสมผสานดังนี้
1. หุ้นที่มีความผันวผนน้อยกว่าตลาดและมีเงินปันผลสูง : ASK, THANI, HANA, PS. KCAR, DRT, TTW, TCAP, SCCC, TK, TISCO RATCH
2. หุ้นที่มีผลประกอบการเด่นในงวด 4Q59 : WHA, ERW, CENTEL
3. หุ้นที่อิงตามทิศทางราคาน้ำมัน อิงการเติบโตจากภายนอก : PTT, PTTEP, IVL, IRPC

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!