WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน

           เชื่อว่าตลาดยังขาดแรงหนุน ทำให้ดัชนีผันผวนในกรอบ 1,450-1,480 จุด คาดมีแรงขายรับงบงวด 3Q59 กลุ่ม ธ.พ. โดยรวมยังชอบหุ้นส่งออกที่กำไรเด่น และ/หรือมีเงินปันผลสูง (HANA, ASK) ยังเลือก HANA(FV@B42) เป็น Top pick

(0) ตลาดน่าจะตอบรับสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่ประธานาธิบดีคนใหม่เป็นใคร??

             คาดตลาดยังมุ่งไปที่การขึ้นดอกเบี้ยฯ ของ Fed  และตลาดน่าจะตอบรับการขึ้นดอกเบี้ยฯ 1 ครั้งในช่วงที่เหลือ (มี 2 ครั้ง คือ 1-2 พ.ย. และ  13-14 ธ.ค. สะท้อนผลสำรวจของ Bloomberg  โอกาสขึ้นดอกเบี้ยราว 62.6%) และเงินเฟ้อเดือน ก.ย. พุ่งขึ้นเป็น 1.5% จาก 1.1% เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ 

  นอกจากประเด็นนี้ ตลาดน่าจะให้น้ำหนักอีกเรื่องคือ ใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งจะมีการเลือกตั้ง  8 พ.ย.  นี้ เพราะเชื่อว่าน่ากดดัน  เอเชีย ได้พิจารณานโยบายการหาเสียงของ 2 ผู้ท้าชิงที่แตกต่างคือ  นางฮิลลารีฯ ให้ความสำคัญผู้มีรายได้น้อย  จึงมุ่งเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มนโยบาย สุขภาพ  เพิ่มเพดานภาษีคนรวย  และเสนอแผนลงทุนภาครัฐ 2.5 แสนล้านดอลลาร์ 

               ตรงกันข้ามกับนายโดนัลด์ ทรัมป์ มีฐานเสียงนายทุนและนักธุรกิจ จึงต้องการยกเลิก Obamacare  และลดภาษีเงินได้บุคคลลและนิติบุคคล พร้อมชูนโยบายกีดกันการค้าต่างประเทศ และยกเลิกสนธิสัญญา ที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐ อาทิ KORUS FTA  และ TPP 

              ทั้งนี้หาก นายทรัมป์ฯ ได้รับเลือกฯ เชื่อจะกระทบกับเอเชียมากที่สุด  โดยเฉพาะ  เกาหลีใต้ เพราะนายทรัมป์ ไม่เห็นด้วยกับสนธิสัญญาการค้าสหรัฐ - เกาหลีใต้ (KORUS FTA) ซึ่งทำให้สหรัฐขาดดุลการค้า และทำให้ภาคการผลิตต้องสูญเสียการจ้างงาน และฟิลิปปินส์ เพราะแรงงานฟิลิปปินส์ เดินทางไปทำงานที่สหรัฐราว  35% ของแรงงานนอกประเทศทั้งหมด  ขณะที่ ไทย ผลกระทบจำกัด เพราะไม่มี FTA และไม่ได้เป็นสมาชิก  TPP  แม้จะมีสัดส่วนการค้ากับสหรัฐ 11.4% ของมูลค่าส่งออกของไทยก็ตาม (จีน 10.2% และ ญี่ปุ่น 9.5%) แต่หากพิจารณาสินค้าส่งออกหลักคือ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์  30.6%  รองลงมาคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า 17.1%  และชิ้นส่วนอัญมณี 7.9% ยางรถยนต์ 6% และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  5%  อย่างไรก็ตาม ล่าสุดคะแนนนิยมของนาง ฮิลลารี ยังมีคะแนนนำ นาย ทรัมป์ ราว 48.9% : 41.9%  ผลกระทบจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น

(0) ตลาดน่าจะตอบรับสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่ประธานาธิบดีคนใหม่เป็นใคร??

              คาดตลาดยังมุ่งไปที่การขึ้นดอกเบี้ยฯ ของ Fed  และตลาดน่าจะตอบรับการขึ้นดอกเบี้ยฯ 1 ครั้งในช่วงที่เหลือ (มี 2 ครั้ง คือ 1-2 พ.ย. และ  13-14 ธ.ค. สะท้อนผลสำรวจของ Bloomberg โอกาสขึ้นดอกเบี้ยราว 62.6%) และเงินเฟ้อเดือน ก.ย. พุ่งขึ้นเป็น 1.5% จาก 1.1% เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญ 

  นอกจากประเด็นนี้ ตลาดน่าจะให้น้ำหนักอีกเรื่องคือ ใครจะมาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งจะมีการเลือกตั้ง  8 พ.ย.  นี้ เพราะเชื่อว่าน่ากดดัน  เอเชีย ได้พิจารณานโยบายการหาเสียงของ 2 ผู้ท้าชิงที่แตกต่างคือ  นางฮิลลารีฯ ให้ความสำคัญผู้มีรายได้น้อย  จึงมุ่งเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มนโยบาย สุขภาพ  เพิ่มเพดานภาษีคนรวย  และเสนอแผนลงทุนภาครัฐ 2.5 แสนล้านดอลลาร์ 

                ตรงกันข้ามกับนายโดนัลด์ ทรัมป์ มีฐานเสียงนายทุนและนักธุรกิจ จึงต้องการยกเลิก Obamacare  และลดภาษีเงินได้บุคคลลและนิติบุคคล พร้อมชูนโยบายกีดกันการค้าต่างประเทศ และยกเลิกสนธิสัญญา ที่ไม่เป็นธรรมกับสหรัฐ อาทิ KORUS FTA  และ TPP 

                ทั้งนี้หาก นายทรัมป์ฯ ได้รับเลือกฯ เชื่อจะกระทบกับเอเชียมากที่สุด  โดยเฉพาะ  เกาหลีใต้ เพราะนายทรัมป์ ไม่เห็นด้วยกับสนธิสัญญาการค้าสหรัฐ - เกาหลีใต้ (KORUS FTA) ซึ่งทำให้สหรัฐขาดดุลการค้า และทำให้ภาคการผลิตต้องสูญเสียการจ้างงาน และฟิลิปปินส์ เพราะแรงงานฟิลิปปินส์ เดินทางไปทำงานที่สหรัฐราว  35% ของแรงงานนอกประเทศทั้งหมด  ขณะที่ ไทย ผลกระทบจำกัด เพราะไม่มี FTA และไม่ได้เป็นสมาชิก  TPP  แม้จะมีสัดส่วนการค้ากับสหรัฐ 11.4% ของมูลค่าส่งออกของไทยก็ตาม (จีน 10.2% และ ญี่ปุ่น 9.5%) แต่หากพิจารณาสินค้าส่งออกหลักคือ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์  30.6%  รองลงมาคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า 17.1%  และชิ้นส่วนอัญมณี 7.9% ยางรถยนต์ 6% และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  5%  อย่างไรก็ตาม ล่าสุดคะแนนนิยมของนาง ฮิลลารี ยังมีคะแนนนำ นาย ทรัมป์ ราว 48.9% : 41.9%  ผลกระทบจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น

(-) คาดแรงขายรับงบ 3Q59 ของ ธ.พ. ยังมีอยู่ ตราบไม่มีประเด็นบวกใหม่ 

               ภาพรวมของผลประกอบการ 3Q59 ในส่วนของธุรกิจหลักยังไม่ดีนัก (โดยเฉพาะ ธ.พ. ใหญ่) ทั้งในส่วนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและ NIM ที่ชะลอลงตามภาวะสินเชื่อที่ลดลง ส่วน NPL ขยับขึ้น ขณะที่มีการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นจากมุมมองธุรกิจที่ระมัดระวังมากขึ้น ยกเว้นแต่เพียงรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย เช่น ค่าธรรมเนียมฯ ที่ยังมีแนวโน้มเติบโต (โดยเฉพาะใน ธ.พ. ขนาดกลาง-เล็ก) สรุปได้ดังนี้

     KBANK กำไร 3Q59 ตามคาด แต่นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2560 ลงจากการปรับเพิ่มเป้าหมาย Credit Cost ขึ้นจาก 1.7% เป็น 2.1% ตามค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นจาก 3.07 เป็น 3.80 หมื่นล้านบาท ภายหลังลดประมาณการ ส่งผลให้คาดการณ์กำไรสุทธิปี 2560 เติบโตเหลือ 6.8% yoy จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตถึง 11.2% yoy

     TISCO กำไร 3Q59 ตามคาด โดยการขยายตลาดเข้าสู่สินเชื่อทะเบียนรถยนต์กลุ่ม high yield จะช่วยหนุน NIM ให้แข็งแกร่งขึ้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2559-60 เติบโตถึง 18.9% yoy และ 10.5% yoy

     LHBANK งบ 3Q59 ดีกว่าคาดเกิดจากกำไรจากการขายเงินลงทุนในพันธบัตร  ขณะสินเชื่อยังอ่อนตัว   และ NIM หดตัว แต่ได้รับชดเชยจาก ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง  (NPL ที่ลดลง)  แต่อย่างไรก็ตาม LHBANK มีความเสี่ยงในเรื่องการเพิ่มทุน ทำให้  EPS Growth  ปี 2560 คาดว่าจะลดลง 1.5% yoy

     KKP มีกำไรจากการขาย KKTrade และกำไรจากการขาย NPA ที่ค้างจากของเดิม ทำให้มีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2559-60 ขึ้น จากการปรับเพิ่มสมมติฐาน NIM และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ โดยคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2559 เติบโตสูงถึง 54.6%  yoy และจะกลับไปหดตัว 5.8% yoy ในปี 2560 จากการลดลงของรายได้พิเศษ ขณะที่ยังคาด credit cost ทรงตัวสูงใกล้เคียงกับปี 2559

     TCAP รายได้ที่มิใช่สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมฯ เติบโตสูงขึ้นจากทุกกลุ่มธุรกิจ NIM ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ NPL ลดลง แต่ TCAP ได้กันสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น โดยยังคงตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษที่ระดับที่ใกล้เคียงกับงวด 2Q59 คาดกำไรสุทธิปี 2559-60 จะเติบโตถึง 20.5% yoy และ 13.6% yoy

ส่วนวานนี้มีการรายงานงบฯ ออกมาเพิ่มเติม 2 แห่ง คือ SCB และ TMB

     SCB กำไรสุทธิ 3Q59 ลดลง 10%qoq จากการลดลงของรายได้พิเศษ แต่ธุรกิจหลักยังเติบโตได้ ทั้งรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ และ NIM จากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง รวมทั้งรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ด้าน NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ทำให้กันสำรองหนี้ฯ ลดลง ภาพรวมปี 2559 คาดกำไรหดตัวลง 10.6% yoy จากสินเชื่อสุทธิที่ยังชะลอตัว ส่วนปี 2560 คาดกำไรสุทธิจะเติบโตถึง 15.4% yoy

     TMB กำไรสุทธิ 3Q59 ลดลง 34%yoy จากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงและรายได้ค่าธรรมเนียมค่อนข้างทรงตัว ขณะที่ NPL ลดลง แต่มีการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มขึ้น โดยรวมคาดการณ์กำไรสุทธิปีนี้ลดลง 8.4% yoy ส่วนปี 2560 คาดว่าจะกลับมาเติบโต 8.5% yoy

โดยภาพรวมกลุ่ม ธ.พ. ยังคงไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ ในช่วงนี้ และต้องระมัดระวังกับแรงขาย sell on fact ที่อาจเกิดขึ้นหลังประกาศงบฯ เสร็จสิ้น

(-)   ภาพรวมต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ยังขายหุ้นไทยอยู่

            วานนี้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต่างชาติได้สลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งราว 155 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ยังคงถูกซื้อสุทธิราว 134 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยไต้หวัน 83 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน), และอินโดนีเซีย 8 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิเล็กน้อยราว 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 10 วัน) และไทยที่ยังคงถูกขายสุทธิสูงถึง 67 ล้านเหรียญ หรือ 2.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 6 วัน โดยมีมูลค่ารวม 1.2 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 395 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วัน กว่า 2.5 หมื่นล้านบาท)

  ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.7 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 2.0 พันล้านบาท  (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 6 วัน)

(0) SET ผันผวน เน้นหุ้นที่มี P/E ต่ำ ปันผลสูง Upside สูง : HANA, ASK

            เชื่อว่าดัชนีจะยังไม่สามารถผ่าน 1,500 จุด และยังเคลื่อนไหวผันผวน เพราะนอกจากตลาดยังขาดปัจจัยหนุนระยะสั้นแล้ว ยังต้องระวัง Sell on Fact การรายงานผลประกอบการงวด 3Q59 ของบริษัทจดทะเบียนฯ ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่กดดันหลักจากต่างชาติที่ยังคงขายหุ้นไทยต่อเนื่อง หลังจากที่ซื้อสุทธิสะสมจนทำยอดสูงสุดในปีนี้ที่ 1.4 แสนล้านบาท (22 ก.ย. 2559) ในลักษณะเดียวกับเพื่อนบ้านในกลุ่ม TIP ได้แก่ อินโดนีเซีย พบว่าต่างชาติมียอดซื้อสุทธิสูงสุด 1.05 แสนล้านบาท (18 ส.ค. 2559) ฟิลิปปินส์มียอดซื้อสุทธิสูงสุด 4.5 หมื่นล้านบาท (11 ส.ค. 2559) ก่อนที่จะทยอยขายสุทธิต่อเนื่องก่อนหน้าไทย   ประกอบกับในช่วง 3 เดือน สุดท้ายของทุกปี ต่างชาติมักจะขายสุทธิมากขึ้น

             และหากพิจารณา Expected P/E ตลาดหุ้นไทยปี 2559 อยู่ที่ระดับ 16.4 เท่า กลับขึ้นมาใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง อินโดนีเซีย (17 เท่า) และ มาเลเซีย (16 เท่า) ยกเว้น ฟิลิปปินส์ (18.6 เท่า)ที่สูงกว่าไทย และหากพิจารณาในปี 2560  พบว่าทุกตลาดจะกลับลงมาซื้อขายที่ Expected P/E  15  เท่า ยกเว้นฟิลิปปินส์ แห่งเดียวที่จะยังสูงถึง 17 เท่า     ทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ได้มีความแตกต่างจากเพื่อนบ้านมากนัก

             จึงยังคงกลยุทธ์การลงทุนเดิมคือ ให้น้ำหนักการลงทุน 40% ของเงินลงทุน  และกลยุทธ์การลงทุนยังเน้น Selective Buy  อย่างน้อยหุ้น 2 กลุ่มดังนี้

              กลุ่มแรก ความผันผวนต่ำ และ P/E ต่ำ Upside สูง คือ  HANA (FV@B42) ปัจจุบัน Div. Yield สูงกว่า 6.3% P/E ต่ำเพียง 11.2 เท่า ขณะที่ผลประกอบการงวด 3Q59 เป็นช่วง High Season ของฤดูกาลส่งออก, ASK ([email protected]) Div. Yield สูงกว่า 7.8% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 9.1 เท่า)  และ TCAP (FV)  (Div. Yield สูงกว่า 5.3% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 7.6 เท่า) 

             กลุ่มสอง   คาดผลตอบแทนในงวด 4Q59 จะสามารถ outperform ได้มากกว่าตลาดด้วยความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างสูง  3 หุ้นเด่นคือ  BJC([email protected])   ขณะที่คาดปี 2560 ผลกำไรจะเติบโตโดดเด่นสุดกว่า 1 เท่าตัว จากการจัดทำงบการเงินกับ  BIGC   ตามด้วย BDMS([email protected]) ยังเป็นหุ้นปลอดภัยและมั่นคงในระยะยาว แม้ช่วงสั้นจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น และ HANA([email protected])   

ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647

ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

พาสุ ชัยหลีเจริญ  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!