WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AIRA copyบล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



ทิศทางตลาด
  ผันผวน? ภายใต้น้ำหนักจาก Fund Flow หลังมีแรงขายสุทธิต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา และล่าสุดสูงกว่า 5,500 ล้านบาท แต่อย่างไรก็ตาม YTD  ยอดซื้อสุทธิสะสมยังอยู่ในระดับสูงกว่า 125,000 ล้านบาท ขณะที่ยังแนะติดตามค่าเงินบาทซึ่งมีความผันผวนเช่นกัน ล่าสุดเช้านี้ กลับมาแข็งค่าขึ้น โดยเคลื่อนไหวบริเวณ 35.17– 35.18 บาท จากวันก่อนหน้าที่ 35.24 บาท
  ส่วนทางด้านปัจจัยต่างประเทศ ภาพรวมยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่ภายใต้ปัจจัยเดิมคาดยังมีความไม่แน่นอน และคาดสร้างความผันผวนให้ภาพรวมตลาดฯ 
  (1) การพิจารณาขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งจากรายงานการประชุมของเฟด สะท้อนว่ามีโอกาสสูงที่จะขึ้นดอกเบี้ยใน ธ.ค. และ (2) ราคาน้ำมัน ที่คาดมีความผันผวน ภายใต้ความไม่มั่นใจว่ากลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ จะสามารถลดปริมาณผลิตลง เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมัน ซึ่งตัวเลขการผลิตของกลุ่ม OPEC ล่าสุดเมื่อเดือน ก.ย. ยังอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 8 ปี  
  อย่างไรก็ตามคาดอาจได้รับปัจจัยหนุนเข้ามาบ้างจาก (1) อยู่ในช่วงของการประกาศผลการดำเนินงาน – 3Q/59 ที่คาดมีแรงเก็งกำไรต่อเนื่องถึงกลาง พ.ย. และ (2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากภาครัฐ คาดเน้นภาคบริการ เช่น กลุ่มโรงแรม รวมถึงกระตุ้นการลงทุนจากภาคเอกชน
  นอกจากนี้แนะติดตามหุ้นในกลุ่มค้าปลีก รวมถึงหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เน้นลูกค้าระดับล่าง – กลาง เช่น DCC และ DRT เป็นต้น ที่คาดได้รับประโยชน์จากการที่มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีรายได้น้อย โดยลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ที่คาดช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ 

และยังแนะจับตา
  (1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
  (2) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น EPG และ SCC
  (3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากยอดโอนในช่วงที่เหลือของปี 59 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี เช่น ANAN, AP และ SPALI
  (4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐ เช่น CK, SYNTEC
  (5) กลุ่มพลังงาน ในขณะที่หุ้นหลักอย่างเช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ในขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น

SET SET50 SET100
1,477.34 -0.27 939.76 -4.09 2,104.44 -5.21

ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
  (-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -51.98, NASDAQ -14.34, S&P -6.48,FTSE -66.00, CAC -20.69 และ DAX -76.81
ภายใต้ปัจจัยกดดัน (1) คาดการณ์ว่า เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นปีนี้ จากการส่งสัญญาณล่าสุดของนายสแตนลีย์ ฟิสเชอร์ รองประธานเฟด ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยต่ำอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรง และยาวนาน รวมถึงส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน ขณะที่การจ้างงาน และอัตราเงินเฟ้อ เข้าสู่เป้าหมายของเฟด อย่างไรก็ตามสวนทางกับถ้อยแถลงของประธานเฟด เมื่อวันศุกร์ ที่กล่าวว่า เฟดอาจจะต้องการผลักดันเศรษฐกิจที่มีแรงกดดันสูงด้วยการใช้อัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำ? และ (2) ราคาน้ำมันปรับลดลงต่ำกว่า 50USD/บาร์เรล
  ขณะที่ แบงก์ ออฟ อเมริกา เปิดเผยผลการดำเนินงาน มีรายได้ 2.164 หมื่นล้านUSD และกำไร 4.45 พันล้านUSD หรือ 41 เซนต์/หุ้น ดีกว่าที่คาด และสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรม – ก.ย. เพิ่มขึ้น 0.1% สอดคล้องกับคาดการณ์ 
  ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ย. -US$0.41 อยู่ที่ US$49.94 ต่อบาร์เรล ภายใต้ความกังวลภาวะอุปทานส่วนเกิน จาก (1) การผลิตน้ำมันของลิเบีย ล่าสุด เพิ่มขึ้น 560,000 บาร์เรล/วัน จาก 540,000 บาร์เรล/วัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่อิหร่าน ยังคงแผนการเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบขึ้นสู่ 4 ล้านบาร์เรล/วัน และไนจีเรีย เพิ่มเป้าหมายการผลิตน้ำมันอีก 400,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับ 2.2 ล้านบาร์เรล/วัน และ (2) จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่เปิดใช้งานในสหรัฐฯ ล่าสุดเพิ่มขึ้น 4 แท่น สู่ระดับ 432 แท่น

P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
21.69 1.89 3.2

ที่มา: www.set.or.th

มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 59,965.59
สถาบัน 1,360.98
บัญชีหลักทรัพย์ 395.83
ต่างประเทศ -5,571.54
ในประเทศ 3,814.73

  ขณะที่จะมีการการประชุมทางเทคนิคของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 28 – 29/10/59 โดยจะมีรัสเซียและประเทศผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มเข้าร่วมด้วย
  
  ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. +US$1.1 อยู่ที่ US$1,256.6 ต่อออนซ์ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากเงินสหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง รวมถึงตลาดหุ้นนิวยอร์ก ปรับลดลง และตัวเลขการผลิตที่ซบเซาของสหรัฐฯ กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
  (-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -5,572 ล้านบาท สะสม YTD  +125,108 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,173 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ)
  

ประเด็นที่ต้องติดตาม 18 - 21 ต.ค.  2559       
18/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
   ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย.
   ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนต.ค.
   เงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนส.ค.

19/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
   ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.ย.
   สต็อกน้ำมัน

20/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
   ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
   ผลสำรวจดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติกเดือนต.ค.
   ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย.
   ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเดือนก.ย.
  ประชุม ECB

21/10/59 : ไม่มีเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ
  (6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO, KAMART และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
  (7) กลุ่มท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (MINT) ที่คาดได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี’59 ที่คาด อยู่ที่ 33 ล้านคน เพิ่มจากประมาณการเดิมที่ 32.5 ล้านคน และคาดรายได้จากการท่องเที่ยว 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% ในขณะที่ประเด็นทัวร์ศูนย์เหรียญคาดว่าจะเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น  
  (8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจการบินและสนามบิน เช่น AAV, AOT และ BA

  ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี -0.03 อยู่ที่ 1.76% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) 
  ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +0.09 อยู่ที่ 16.21
  หุ้นแนะนำ : TMT

นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร .02-684-8788

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!