WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
      การฟื้นตัวดัชนียังมีความผันผวนสูง และยังต่ำกว่า 1,500 จุด โดยมีแรงขายต่างชาติและแรงขายรับงบงวด 3Q59 จากกลุ่ม ธ.พ. โดยรวม ยังแนะนำเป็นรายหุ้น โดยเฉพาะที่มีปันผลสูง (HANA, MCS, ASK) และยังเลือก HANA(FV@B42) และ MCS([email protected]) เป็น Top picks

(0) Dollar Index หยุดแข็ง หลังดัชนีอุตสาหกรรม ต่ำกว่าคาด
วานนี้สหรัฐรายงานดัชนีชี้ภาคการผลิต พบว่ายังขัดแย้งกันคือ ดัชนีภาคการผลิต (Empire Manufacturing) เดือน ต.ค.ตกต่ำกว่าคาดมาก (-6.8 จุด vs – 2 จุด ใน ก.ย.) ทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ มิ.ย. 2559 ซึ่งสวนทางกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต ที่ฟื้นตัวติดต่อกัน 3 เดือนก่อนหน้า (ISM Manufactuing PMI) และดัชนีภาคการผลิตยังขัดแย้งกับดัชนีภาคการบริโภคที่มีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง เห็นได้จากยอดค้าปลีก เดือน ก.ย. กลับมาขยายตัว 0.6%mom พลิกจากติดลบเดือนก่อนหน้า และเช่นเดียวกับยอดการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls โดยกรมแรงงาน) ยังเพิ่มขึ้น แม้จะในอัตราที่ชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือน ก็ตาม
     ด้วยเหตุนี้ทำให้ความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ยังขึ้นลงตามการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ประกาศในช่วงก่อนการประชุม โดยตลาดยังให้น้ำหนักต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในการประชุมรอบ 13-14 ธ.ค. (ด้วยความน่าจะเป็น 67%) ซึ่งหนุนให้ Dollar index แข็งค่ากว่า 3% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา แต่เช้านี้เริ่มอ่อนค่าอีกครั้ง หลังจากดัชนีชี้นำภาคการผลิตชะลอตัวข้างต้น ซึ่งน่าจะหนุนสินทรัพย์เสี่ยง อาทิ น้ำมัน ทองคำ

(-) งวด 3Q59 ธ.พ. เล็ก ดีขึ้นเพราะรายได้อื่นจาก KKP, LHBANK
หลังจากที่มีการรายงานงบฯ 3Q59 ของกลุ่ม ธ.พ. บางแห่ง ดังที่ได้นำเสนอวานนี้ คือ KBANK และ ธ.พ. กลาง-เล็ก คือ TISCO และ LHBANK พบว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก แม้สินเชื่อจะเติบโตไม่มากนัก เนื่องจากมีการชำระคืนหนี้สูง แต่หากพิจารณา NIM พบว่าทรงตัวหรือดีขึ้น โดยเฉพาะ TISCO นั้น และการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้แนวโน้มกำไรในปี 2559-60 จะกลับมาเติบโตอย่างมีนัยฯ ราว 18.9% และ 10.5% ตามลำดับ
แต่มีธนาคารขนาดเล็กบางแห่งที่ผลกำไรดีขึ้นเพราะธุรกิจที่มิใช่สินเชื่อ เช่น LHBANK เกิดจากกำไรจากการขายเงินลงทุนในพันธบัตร ขณะที่สินเชื่อยังอ่อนตัว และ NIM หดตัว แต่ได้รับชดเชยจาก ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง (NPL ที่ลดลง) แต่อย่างไรก็ตาม LHBANK มีความเสี่ยงในเรื่องการเพิ่มทุน ทำให้ EPS Growth ปี 2560 ติดลบ


วันนี้มีการรายงานธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กเพิ่มเติม TCAP และ KKP ซึ่งภาพจะไปในลักษณะเดียวกันคือ สินเชื่อ NIM ยังทรงกับลง และการตั้งสำรองฯ เป็นตามปกติ แต่มีรายได้ที่มิใช่สินเชื่อเพิ่มขึ้น เช่น KKP มีกำไรจากการขาย KKTrade ให้กับ หยวนต้า เอเชีย ไฟแนนซ์เชียล เซอร์วิสเซส และ ยังรับรู้กำไรจากการขาย NPA ที่ค้างจากของเดิม ทำให้มีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2559-60 ขึ้น จากการปรับเพิ่มสมมติฐาน NIM และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ โดยคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2559 เติบโตสูงถึง 54.6% yoy และจะกลับไปหดตัว 5.8% yoy ในปี 2560 จากการลดลงของรายได้พิเศษ ขณะที่ยังคาด credit cost ทรงตัวสูงใกล้เคียงกับปี 2559


ส่วน TCAP รายได้ที่มิใช่สินเชื่อเพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียมฯ เติบโตสูงขึ้นจากทุกกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะรายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่วน NIM ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แม้ NPL ลดลง แต่ TCAP ได้กันสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น โดยยังคงตั้งสำรองหนี้ฯ พิเศษที่ระดับที่ใกล้เคียงกับงวด 2Q59 ส่งผลให้ NPL Coverage ratio เพิ่มขึ้นมาที่ 136.3% สูงเกินค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ทั้งนี้ คาดกำไรสุทธิปี 2559-60 จะเติบโตถึง 20.5% yoy และ 13.6% yoy โดยเชื่อสัญญาณบวกของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่เริ่มเห็นในช่วงปลายปี
ส่วน ธ.พ. ใหญ่มีเพียง KBANK กำไร 3Q59 ตามคาด แต่ได้ส่งสัญญาณแนวโน้มธุรกิจในปีหน้าที่ระมัดระวังมากขึ้น และทำให้นักวิเคราะห์ ASPS จึงได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2560 ดังกล่าวไปเมื่อวานนี้
แม้ KBANK จะมีมุมมองที่ค่อนข้างระมัดระวัง แต่ก็คาดว่า ธ.พ. ขนาดใหญ่แห่งอื่นๆ น่าจะมีมุมมองในปีหน้าเป็นไปในทิศทางเดียวกันกัน และอาจเห็นการตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้แรงขับเคลื่อนจากกลุ่ม ธ.พ. ที่คาดหมายถึงผลประกอบการปีหน้าที่น่าจะออกมาเติบโตมากกว่า 10% อ่อนแรงลงไป ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดัน SET Index แกว่งในกรอบจำกัด 1,480-1,450 จุด

(-) ต่างชาติขายหุ้นไทยสูงสุดในรอบ 10 เดือน ถึง 5.6 พันล้านบาท
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่าราว 10 ล้านเหรียญ โดยมี เกาหลีใต้แห่งเดียวที่ยังซื้อสุทธิราว 207 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนตลาดที่เหลือขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 37 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยไต้หวัน 13 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) และ ตลาดหุ้นไทยที่เริ่มมีแรงขายชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ โดยวานนี้ขายสุทธิสูงถึง 158 ล้านเหรียญ หรือ 5.6 พันล้านบาท และเป็นการขายสุทธิที่สูงสุดในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา (ขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน โดยมีมูลค่ารวม 9.6 พันล้านบาท) ตรงกันข้ามกับนักลงทุนสถาบันฯที่ยังคงซื้อสุทธิ 1.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.5 หมื่นล้านบาท)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศสลับมาซื้อสุทธิราว 4.6 พันล้านบาท สวนทางกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 2.1 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 โดยมียอดขายรวมอยู่ที่ 3.8 หมื่นล้านบาท)

(1) SET ผันผวน เน้นหุ้นที่มี P/E ต่ำปันผลสูง : MCS, HANA, ASK
สัปดาห์นี้เชื่อว่าดัชนียังมีความผันผวนและไม่ผ่าน 1,500 จุด เพราะนอกจากตลาดยังขาดปัจจัยหนุนระยะสั้นแล้ว การรายงานผลประกอบการงวด 3Q59 ของบริษัทจดทะเบียนฯ โดย กลุ่ม ธนาคารพาณิชย์ คาดว่าน่าจะมีแรงขายรับงบ เนื่องจาก ผลประกอบการโดยรวมไม่โดดเด่น ตามเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวล่าช้า ดังที่ KBANK ซึ่งเป็นธ.พ. แห่งแรกที่รายงาน พร้อมกับ มีแผนงานในปี 2560 ที่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นแล้ว ยังมีปัจจัยที่กดดันหลักจากต่างชาติ ที่คาดว่ายังคงขายหุ้นไทย หลังจากที่ซื้อสุทธิสะสมจนทำยอดสูงสุดในปีนี้ที่ 1.4 แสนล้านบาท ( 22 ก.ย. 2559) ในลักษณะเดียวกับเพื่อนบ้านในกลุ่ม TIP ได้แก่ อินโดนีเซีย พบว่าต่างชาติมียอดซื้อสุทธิสูงสุด 1.05 แสนล้านบาท ( 18 ส.ค. 2559) ฟิลิปปินส์มียอดซื้อสุทธิสูงสุด 4.5 หมื่นล้านบาท (11 ส.ค. 2559) และหลังจากนี้ทยอยขายสุทธิต่อเนื่อง โดยการขายในประเทศเพื่อนบ้านก่อนหน้าไทย ประกอบกับในช่วง 3 เดือน สุดท้ายของทุกปี ต่างชาติมักจะขายสุทธิมากขึ้น
และหากพิจารณา Expected P/E ตลาดหุ้นไทยปี 2559 อยู่ที่ระดับ 16.4 เท่า กลับขึ้นมาใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง อินโดนีเซีย (17 เท่า) และ มาเลเซีย (16 เท่า) ยกเว้น ฟิลิปปินส์ (18.6 เท่า)ที่สูงกว่าไทย และหากพิจารณาในปี 2560 พบว่าทุกตลาดจะกลับลงมาซื้อขายที่ Expected P/E 15 เท่า ยกเว้นฟิลิปปินส์ แห่งเดียวที่จะยังสูงถึง 17 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยไม่ได้มีความแตกต่างจากเพื่อนบ้านมากนัก
จึงยังคงกลยุทธ์การลงทุนเดิมคือ ให้น้ำหนักการลงทุน 40% ของเงินลงทุน และกลยุทธ์การลงทุนยังเน้น Selective Buy อย่างน้อยหุ้น 2 กลุ่มดังนี้
กลุ่มแรก ความผันผวนต่ำ และ P/E ต่ำ คือ MCS ([email protected]) ( Div. Yield สูงกว่า 6% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 9 เท่า ทั้งยังได้ประโยชน์จากเงินเยนแข็งค่า) , HANA (FV@B42) ปัจจุบัน Div. Yield สูงกว่า 6.3% P/E ต่ำเพียง 11.2 เท่า ขณะที่ผลประกอบการงวด 3Q59 เป็นช่วง High Season ของฤดูกาลส่งออก, ASK ([email protected]) Div. Yield สูงกว่า 7.8% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 9.1 เท่า) และ TCAP (FV) (Div. Yield สูงกว่า 5.3% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 7.6 เท่า)
กลุ่มสอง คาดผลตอบแทนในงวด 4Q59 จะสามารถ outperform ได้มากกว่าตลาดด้วยความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างสูง 3 หุ้นเด่นคือ BJC([email protected]) ขณะที่คาดปี 2560 ผลกำไรจะเติบโตโดดเด่นสุดกว่า 1 เท่าตัว จากการจัดทำงบการเงินกับ BIGC ตามด้วย BDMS([email protected]) ยังเป็นหุ้นปลอดภัยและมั่นคงในระยะยาว แม้ช่วงสั้นจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น และ HANA([email protected])

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์ 

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!