- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 13 October 2016 16:34
- Hits: 1527
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ปัจจัยกดดันยังมีรอบด้าน ทั้งเงินบาทอ่อนค่าหนัก หนุน fund flow ออก แต่เงินบาทอ่อนค่าดีต่อหุ้นส่งออก ทั้งชิ้นส่วนฯ (HANA, KCE) อาหาร (CPF, TU) และเหล็กส่งออก (MCS) แต่ไม่สามารถหนุนให้ดัชนีฟื้นตัวได้เร็ว จึงคาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,380-1,420 จุด ยังเลือก CPF(FV@B42) และ MCS([email protected]) เป็น Top picks
(0) ดัชนีหุ้นไทยมี Expected P/E 15.6 เท่า ทำให้น่าสนใจอีกครั้ง
สัปดาห์นี้ SET Index ปรับฐานลงรุนแรงเกือบ 100 จุด หรือ กว่า 6.5% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในภูมิภาค (รายละเอียดตามภาพด้านล่าง) ขณะที่ Market Cap. หายไปเกือบ 1 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยนับตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ลดลงเหลือเพียง 9.2% (จากที่เคยขึ้นไปสูงสุดถึง 21% ช่วงกลางเดือน ส.ค.) ทั้งนี้น่าจะได้รับแรงกดดันทั้งปัจจัยในประเทศ โดยเฉพาะความกังวลการแจ้งเตือนเหตุวินาศกรรมที่อาจเกิดขึ้นในช่วงปลายเดือน ต.ค. และปัจจัยภายนอกจากความกังวลที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปลายปีนี้ และปัญหา Brexit ซึ่งกดดัน Fund Flow ไหลออกทั้งภูมิภาค
แต่หากมองกันในเชิงปัจจัยพื้นฐานของตลาดหุ้นไทยที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ โดย ประมาณการกำไรต่อหุ้น (EPS) ของตลาดหุ้นไทย ปี 2559 อยู่ที่ 90.14 บาท และปี 2560 อยู่ที่ 98.45 บาท ทำให้ ณ ระดับดัชนีปัจจุบัน ตลาดหุ้นไทยมี Expected P/E ปีนี้ที่ 15.6 เท่า และปีหน้าลดลงเหลือ 14.3 เท่า ซึ่งถือว่าถูกกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน จึงทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความน่าสนใจในแง่ของ Valuation อย่างไรก็ตาม ประเด็นความเสี่ยงที่ยังมีอยู่ รวมทั้งกระแส Fund Flow ที่ยังไหลออก จึงแนะนำนักลงทุนรอจังหวะทยอยสะสมหุ้นเมื่อราคาอ่อนตัว ไม่ควรรีบร้อนไล่ซื้อหุ้นเมื่อราคาปรับขึ้นแรงมากเกินไป จนกว่าปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เริ่มผ่อนคลาย ซึ่งฝ่ายวิจัยมีโอกาสปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนจากปัจจุบันที่ 30%
กลยุทธ์การลงทุนยังเน้น Selective Buy เลือกหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ คาดหวังเงินปันผลได้สูง อาทิ MCS ([email protected]), HANA (FV@B42)หรือหุ้น Property Fund อย่าง TFUND ([email protected]) รวมทั้งหุ้นที่คาดว่าผลตอบแทนในงวด 4Q59 จะสามารถ outperform ได้มากกว่าตลาดด้วยความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างสูง คือ HANA([email protected]), BJC([email protected]) และ BDMS([email protected])
(-) ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทั้งภูมิภาค กดดันเงินเอเซียอ่อนค่าต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 541 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการขายสุทธิที่สูงที่สุดในรอบ 30 วันที่ผ่านมา โดยขายเกือบทุกตลาด ยกเว้นไต้หวันที่ยังคงซื้อสุทธิราว 52 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ประเทศที่ขายสุทธิ นำโดยตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขายสุทธิราว 496 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 74 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยขายสุทธิ 12 ล้านเหรียญ หรือ 411 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯและพอร์ตโบรกเกอร์ที่ขายสุทธิราว 1.2 พันล้านบาท และ 3.0พันล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิราว 928 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 8.8 พันล้านบาท
เชื่อว่าแรงขายต่างชาตินับจากนี้น่าจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งนี้หากพิจารณายอดซื้อสุทธิสะสมในนี้ ได้ทำจุดสูงสุดในวันที่ 22 ก.ย. 59 ที่ 1.36 แสนล้านบาท และเริ่มชะลอตัวลง จนวานนี้มียอดซื้อสุทธิสะสมอยู่ที่ 1.34 แสนล้านบาท แต่คาดว่าแรงขายจะเพิ่มมากขึ้นนับจากนี้ ในลักษณะเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากเป็นการลดความเสี่ยงจากโอกาสที่สหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แนวโน้มเงิน เงินบาทที่อ่อนค่าอย่างหนัก ยังเป็นปัจจัยกดดัน fund flow ที่สำคัญ
(-) ดอลลาร์ยังแข็งค่าต่อ จากความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้
Dollar index ยังมีแนวโน้มทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องล่าสุดใกล้แตะ 98 จุด หรือแข็งค่าราว 2.7% นับจากปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะได้รับแรงหนุนจาก ตลาดคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed จะขึ้นในปลายปีนี้ สะท้อนจากผลสำรวจ Fed Fund Future ล่าสุดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยรอบ 13-14 ธ.ค. มีน้ำหนักสูงสุดราว 68% และเป็นการตอกย้ำมากขึ้น เมื่อตลาดได้รับการรายงานผลการประชุม FED รอบ ก.ย. (Fed minutes) อย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ โดยกรรมการ 3 ใน 10 คนที่โหวตขึ้นดอกเบี้ยในรอบ ก.ย. นี้ ให้น้ำหนักต่อตลาดแรงงานและเงินเฟ้อ ขณะที่กรรมการส่วนใหญ่ให้คงดอกเบี้ย เพราะยังไม่มั่นใจต่อเศรษฐกิจจากดัชนีชี้นำที่ยังขัดแย้งกัน ทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ยังมีความไม่แน่นอน
ตรงข้ามกับเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 35.7 บาทต่อดอลลาร์ หรือ่ออนค่าราว 2.9% นับจากปลายเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าอ่อนค่ามากสุดในภูมิภาค ดังภาพ (แต่หากพิจารณาจากปลายส.ค. พบว่าเงินเปโซอ่อนค่ามากสุดเกือบ 5%) ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น เพราะเป็นการสนับสนุนให้ fund flow ยังคงไหลออก
(+) เงินบาทอ่อนค่า ดีต่อหุ้นส่งออก HANA, MCS, CPF, TU
มองในด้านดีเงินบาททีอ่อนค่า ส่งผลบวกต่อหุ้นส่งออก โดยเฉพาะอาหาร (CPF, TU) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (HANA, KCE, SVI) และผู้ส่งออกโครงสร้างเหล็ก ประเภทเสาและคาน เช่น MCS โดยรวมเงินบาทที่อ่อนค่าน่าจะช่วยหนุนกำไรงวด 4Q59 ของผู้ส่งออก ให้ทรงตัวในระดับสูงเช่นเดียวกับ 3Q59 แม้ว่าจะผ่านจุดสูงสุดของฤดูกาลส่งออกในงวด 3Q59 แล้วก็ตาม ทั้งนี้ตามสมมติฐานของ ASPS ได้กำหนดให้เงินบาทที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ในปี 2559-2560 ซึ่งพบว่าเงินบาทที่อ่อนค่าทุก 1 บาท จะหนุนกำไรต่อผู้ประกอบการเหล่านี้ เฉลี่ย 5-6% ทั้งนี้ขึ้นกับโครงสร้างรายได้-ต้นทุนในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ ดังนี้
ผู้ส่งออกโครงสร้างเหล็ก ประเภทเสาและคาน เช่น MCS([email protected]) ซึ่งส่งออกไปยังประเทศญ่ปุ่น ทั้งหมด ขณะที่มีต้นทุนเหล็กเงินเยน 50% ที่เหลือ 30% เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายขายและบริหาร เงินบาทที่อ่อนค่า ทุก 1 บาทเมื่อเทียบเยน จะทำให้กำไรเพิ่มขึ้น 3.3% จากประมาณการเดิม
หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนฯ มีรายได้เกือบทั้งหมดมาจากสกุลเงินต่างประเทศ หลักๆเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และมีต้นทุนวัตถุดิบเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯราว 60% จึงได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่ากว่าสมมติฐานฯ ดังตาราง โดยเลือก HANA (FV@B42) เป็น top pick จากแนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 2H59 เติบโตโดดเด่น และ Div yield สูงถึง 6% p.a. ตามมาด้วยKCE (FV@B110) และ SVI (FV@B6)
หุ้นกลุ่มเกษตร-อาหาร: ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาทอ่อนค่าเช่นกัน เพราะนอกจากมีรายได้จากการส่งออกแล้ว ยังมีบางบริษัท เข้าไปลงทุนในต่างประเทศผ่านบริษัทย่อย เลือก CPF (FV@B42) เป็น top pick จากแนวโน้มกำไรสุทธิงวด 3Q59 เติบโตต่อเนื่อง ตามฤดูกาล และแนะนำซื้อ TU (FV@B27) จากแนวโน้มธุรกิจเติบโตได้ดีใน 2-3 ปีข้างหน้า ตรงข้ามกับ TFG (FV@B6) ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทอ่อนค่า เพราะนำเข้าวัตถุดิบกากถั่วเหลืองมากกว่าการส่งออกเนื้อไก่ แต่ราคาปรับฐานลงแรง จึงถือเป็นโอกาสสะสม เพราะกำไรงวด 3Q59 เติบโตโดดเด่น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์