- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 11 October 2016 17:36
- Hits: 1555
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ตลาดหุ้นไทยวานนี้
SET INDEX วานนี้เปิดปรับฐาลงแรงทดสอบแนวรับ 1,450 จุด โดยเป็นการปรับตัวลงทั้งตลาด แม้ว่าจะไม่มีปัจจัยลบใหม่เข้ามากระทบการลงทุนก็ตาม แต่แนวรับดังกล่าวทำงานได้ดี เกิด Technical rebound ขึ้นมาปิดที่ 1,457.02 จุด ลบ 47.32 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่น 74,142 ล้านบาท
ทั้งนี้เงินทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 999 ล้านบาท แต่ Short สุทธิ SET50 Index Futures เป็นวันที่ 2 เร่งขึ้นเป็น 6,751 สัญญา และขายสุทธิตลาดตราสารหนี้มากถึง 11,617 ล้านบาท
ปัจจัยสำคัญวันนี้
การ Debate รอบ 2 ระหว่าง Clinton และ Trump วานนี้ Clinton ได้คะแนนสนับสนุนเหนือ Trump อย่างเห็นได้ชัด
ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ปิดบวก 3% หลัง รัสเซียประกาศร่วมมือกับซาอุฯ ในการลดกำลังการผลิตน้ำมัน
ดุลบัญชีเดินสะพัด และดุลการค้า เดือนส.ค.ของญี่ปุ่น ออกมาดีกว่าคาด ทำให้ NIKKEI ตอบรับเชิงบวกเช้านี้
ค่าเงินบาทเช้านี้อ่อนค่าเล็กน้อย 3.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐฯ (7.16 น.)
กลุ่มท่องเที่ยว / สายการบิน ได้รับแรงกดดันจาก การเตือนคาร์บอมในกทม.และปริมณฑล วันที่ 25-30 ต.ค.นี้
มุมมองต่อตลาดวันนี้: กลาง (วันที่ 12)
SET INDEX ปรับฐานลงแรงกว่าที่เราประเมินไว้ ภายใต้บรรยากาศการลงทุนรอบเอเชียและยุโรปเป็น "กลาง" เท่านั้น SET INDEX ที่ลดลงแรงวานนี้เป็นผลจากการปรับพอร์ตของสถาบันภายในประเทศเป็นสำคัญ ขณะเม็ดเงินทุนต่างชาติกลับเลือกลงทุนหนาแน่นอีกครั้ง เมื่อ SET INDEX ต่ำกว่า 1,500 จุด
ทั้งนี้บรรยากาศการลงทุนจะกลับมาดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับทิศทางค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ หากกลับมาแข็งค่าต่ำกว่า 35 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ เชื่อว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนในประเทศจะฟื้นตัวขึ้น
เราประเมินว่า SET INDEX วันนี้จะเริ่มทรงตัวได้ดีขึ้น แกว่งแคบระหว่าง 1,450-1,470 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางลงเหลือ 3.0-4.0 หมื่นล้านบาท/วัน เพราะเชื่อว่าสถาบันภายในประเทศที่ปรับพอร์ตไปก่อนหน้า และวานนี้ จะถือเงินสดเพื่อ Wait&See หรือรอจนกว่าทิศทางการลงทุนมีความชัดเจน
กลยุทธ์การลงทุน "คงใช้ Swing Trade ขึ้นแรงขาย - ลงแรงซื้อ" เมื่อ SET INDEX ปรับฐานลงแรงวานนี้ กลายเป็นโอกาสของการเข้าเก็งกำรอีกระลอก โดยเน้นหุ้นหลักที่ผลการดำเนินงานใน 3Q59 เติบโตเด่น หรือจะหันไปสะสมหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อย่างน้ำมัน / ถ่านหิน เป็นต้น
Strategy of the Day
1. เก็งกำไร PTT : ราคาปิด 335.00 บาท ราคาเหมาะสม 358.00 บาท
a) MBKET คาดว่าหุ้นกลุ่มพลังงานจะฟื้นตัวในวันนี้ จากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบ NYMEX +3.1% dod เป็น US$51.35/barrel ทำระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือน หลังรัสเซียให้ความเห็นว่าจะร่วมมือกับ OPEC เพื่อลดกำลังการผลิตน้ำมัน
b) หุ้นกลุ่ม Commodities มีความเสี่ยงที่จำกัดจากความผันผวนของปัจจัยภายในประเทศ เทียบกับหุ้นกลุ่ม Domestic Play ที่คาดว่าจะมีความผันผวนมากในช่วงนี้
c) ภาวะ Oversupply ตลาดน้ำมันในปี 2560 คาดว่าจะมีความสมดุลมากขึ้น ช่วยจำกัด Downside Risk ของราคาน้ำมันดิบ และเป็นปัจจัยบวกต่อกำไรปี 2560 ให้เติบโต +23% yoy เป็น 9.14 หมื่นล้านบาท และการ Spin off ธุรกิจค้าสถานีบริการน้ำมันและค้าปลีกเข้า IPO ในปี 2560 เป็น Upside ที่ยังไม่รวมไว้ในประมาณการ
2. เก็งกำไร BANPU : ราคาปิด 16.50 บาท ราคาเหมาะสม 17.80 บาท
a) MBKET มีมุมมองเชิงบวกต่อราคาถ่านหิน และคาดว่าจะมีทิศทางไต่ระดับขึ้นได้ต่อ เนื่องจากเข้าสู่ High Season ในฤดูหนาว ส่งผลให้ราคาถ่านหิน BJI ล่าสุดปิดยืนเหนือ US$80.00/ตัน เป็นครั้งแรกในรอบ 32 เดือน
b) ราคาหุ้น BANPU วานนี้ปรับตัวลงแรงถึง -6% เทียบกับ SET INDEX -3% และ SET ENERGY -3% จึงเชื่อว่ามีโอกาสดีดกลับได้ดีกว่าตลาดเมื่อตลาดเข้าสู่การฟื้นตัว
c) มี Catalyst รออยู่ คือ Banpu Power หรือ BPP จะเข้าซื้อขาย IPO ช่วงปลายเดือน ต.ค. หากอิงราคาที่ 21.00 บาท จะมี Market Cap ราว 6.4 หมื่นล้านบาท และ BANPU จะถือหุ้นในสัดส่วนราว 80% หลัง IPO
Fund Flow Analysis
Fund Flow in Emerging Markets
กลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง US$86 ล้าน จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ US$131 ล้าน
ขายแทบทุกตลาดยกเว้น JSE - SET
Foreign Investors Action วานนี้
ต่างชาติกลับสะสมหุ้นไทยหนาแน่น เมื่อ SET INDEX หลุดแนว 1,500 จุด
นักลงทุนต่างชาติ กลับมาซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยเป็นวันแรกในรอบ 3 วันทำการ 999 ล้านบาท เทียบกับ 2 วันทำการก่อนหน้าขายสุทธิ 1,051 ล้านบาท ทำให้ YTD ต่างชาติซื้อสุทธิขยับขึ้นเล็กน้อยเป็น 134,732 ล้านบาท
ด้าน SET50 Index Futures นักลงทุนกลุ่มนี้คงการ Short สุทธิเป็นวันที่ 2 มากถึง 6,751 สัญญา รวม 2 วันทำการ Short สุทธิ 7,117 สัญญา เราเชื่อว่านักลงทุนกลุ่มนี้ทยอยเปิดสถานะ Short เพราะ S50Z16 ปิดต่ำกว่า SET50 Index เพียง 0.77 จุด วันก่อนปิดเป็น Premium เท่ากับ 0.47 จุด Valuation ที่แพง ทำให้นักลงทุนกลุ่มนี้เลือกที่จะเปิด Short ในอัตราเร่ง ทำให้ยอด QTD ใน 4Q59 นักลงทุนกลุ่มนี้ Short สุทธิ 6,845 สัญญา
และนักลงทุนกลุ่มนี้ กลับมาขายสุทธิในตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง มากถึง 11,617 ล้านบาท ส่งผลให้ราคาพันธบัตรไทยปรับฐานลงเป็นวันที่ 6 เร่งตัวขึ้นอีกครั้ง ผ่านผลตอบแทนพันธบัตรไทย อายุ 10 ปี ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเป็นวันที่ 6 อีก 3.62bps จากวันก่อนหน้าเพิ่มขึ้นเพียง 0.47bps ปิดที่ 2.242%
Short-Selling วานนี้
เร่งขึ้นเป็น 1,703 ล้านบาท จากวันก่อนหน้า 762 ล้านบาท และ SBL กระจายตัว 70 ตัว วันก่อนหน้า 54 ตัว
NVDR Movement
NVDR กลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง โดยเป็นรายการ Big Lot หุ้น CPF เป็นหลัก
การซื้อขายผ่าน NVDR กลับมาซื้อสุทธิหนาแน่น 1,139 ล้านบาท จากวันก่อนหน้าขายสุทธิ 975 ล้าน โดยเน้นเพิ่มน้ำหนักในกลุ่มอาหาร 1,337 ล้านบาท กลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์ 295 ล้านบาท ส่วนกลุ่มธนาคารถูกขายสุทธิ 344 ล้านบาท และกลุ่มขนส่ง ขายสุทธิ 296 ล้านบาท
ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ - การเงินรายภูมิภาค
สหรัฐอเมริกา
ไม่มี
ยุโรป
IMF อาจไม่ร่วมให้เงินช่วยเหลือกรีซในรอบใหม่: IMF อาจไม่เข้าร่วมแผนช่วยเหลือกรีซ แต่จะปรับ IMF เป็นที่ปรึกษาพิเศษแทน ซึ่งจะมีอำนาจที่จำกัดมากขึ้นบนโต๊ะเจรจา เนื่องจากประเมินว่าเป้าหมายทางการเงินที่ EU กำหนดลงในแผนให้เงินช่วยเหลือต่อกรีซนั้น IMF มองว่าเป็นไปได้ยากที่กรีซจะทำได้ ทำให้กรีซจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือในรอบถัดไป
การประเมินกรีซออกมาเป็นบวกแต่อียูยังไม่อนุมัติเงินกู้รอบใหม่: การประเมินฐานะการเงินการคลัง และเศรษฐกิจของกรีซ โดยรมว.คลังของอียู ออกมาเป็นบวก ทั้งนี้กรีซจะต้องปฎิรูปกองทุนบำเหน็จบำนาญและตลาดแรงงานในวงกว้าง พร้อมกับการปฎิรูปรัฐวิสาหกิจและประเด็นอื่นๆ ให้ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ตามเงื่อนไขเงินช่วยเหลือรอบที่ 3 ปี 2553 วงเงิน 8.6 หมื่นล้านยูโร ซึ่งอียูได้ให้เงินช่วยเหลือไปแล้วทั้งสิ้น 3.35 หมื่นล้านยูโร และคาดว่าจะให้เงินเพิ่มเติม 2.8 พันล้านยูโร หลังจากประเมินภาพรวมของกรีซเสร็จสิ้น แต่ในการประชุมล่าสุด อียูเหมือนจะแบ่งเงินช่วยเหลือรอบนี้เป็น 2 ครั้ง ครั้งแรก 1.1 พันล้านยูโร ส่วน 1.7 พันล้านยูโร ขึ้นอยู่กับข้อมูลเดือนก.ย.ที่รัฐบาลกรีซจะทำให้อียูอีกครั้งหนึ่ง
การส่งออกของเยอรมันเพิ่มขึ้นเด่นสุดในรอบกว่า 6 ปี: การส่งออกเดือนส.ค. เพิ่มขึ้นถึง 5.4% mom เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553 และดีกว่า Reuters poll คาด 2.2% mom ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 3.0% mom สูงกว่า Reuters poll คาด 0.7% mom ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.22 หมื่นล้านยูโร เพิ่มขึ้นจากเดือนก.ค.ที่เกินดุล 1.94 หมื่นล้านยูโร
จีน
จีนเตรียมแผนลดระดับหนี้ภาคเอกชน: The National Development and Reform Commission เตรียมวางแผนที่จะลดระดับหนี้ภาคเอกชน หลังระดับหนี้ภาคเอกชนอยู่ในระดับสูง ทำให้เป็นการยากต่อการดำเนินธุรกิจของเอกชน กลายเป็นความเสี่ยงต่อตลาดเงิน โดยจีนอาจอนุญาตให้มีเงินสนับสนุนการเพิ่มทุน และการควบคุมระดับหนี้ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น รวมถึงการเข้าไปตรวจสอบรัฐวิสาหกิจเพื่อลดระดับหนี้เช่นกัน หากบริษัทใดไม่ไหวก็สามารถเข้าสู่ขบวนการล้มละลายได้
เอเชียแปซิฟิก
ผู้ว่าการ BoJ คาดเป้าหมายเงินเฟ้ออาจต้องเป็นปี 2561: ผู้ว่าการ BoJ นาย Kuroda ให้สัญญาณที่ชัดเจนว่า BoJ อาจต้องเลื่อนเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2.0% เป็นปี 2561 จากปัจจุบันคาดว่าจะเห็นภายในปีงบประมาณหน้า แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราเร่งในปีหน้าก็ตาม
รัสเซียประกาศร่วมมือกับซาอุฯ เพื่อลดกำลังการผลิตน้ำมัน: ประธานาธิบดี Putin มีความเห็นต่อการคงเพดานการผลิตหรือลดกำลังการผลิตน้ำมัน ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ซึ่งรัสเซียพร้อมร่วมกับผู้ส่งออกน้ำมันรายอื่นๆ ในการกำหนดเพดานการผลิต
ไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3: ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีทิศทางที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2559 ดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ที่ 74.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคมของปีเดียวกัน ซึ่งอยู่ที่ 73.2 นับเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 63.4 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางานปรับขึ้นมาที่ 68.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 90.7 ดัชนีทุกตัวปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้นต่อสถานการณ์การเมือง ที่จะส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อ รวมถึงคาดหวังต่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น
Strategist Team
Mayuree Chowvikran, CISA Strategist / Analyst 662-6586300 x 1440
Padon Vannarat Equity Analyst 662-6586300 x 1450
Krittapol Itthithumsakul Assistant Analyst