- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 03 October 2016 17:08
- Hits: 2245
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ตามตลาดต่างประเทศ? คาดมีโอกาสปรับขึ้นภายใต้ปัจจัยต่างประเทศ (1) ประเด็นดอยซ์ แบงก์ จากค่าปรับที่มีโอกาสลดลงจากเดิม 14,000 ล้านUSD เป็น 5,400 ล้านUSD ซึ่งคาดเป็นสัญญาณที่ดี จากความกังวลก่อนหน้านี้ต่อสถานการณ์ทางการเงินของดอยซ์ แบงก์ และ (2) ราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น คาดส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตามนักลงทุนส่วนใหญ่ยังมีความไม่มั่นใจต่อข้อตกลงลดการผลิตของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เนื่องจากที่ผ่านมาไม่สามารถทำได้
อย่างไรก็ตามคาดหลังจากนี้ ประเด็นความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ภายใต้คาดการณ์ว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ โดยเฟดเหลือการประชุม 2 ครั้งในปีนี้ (1 – 2/11/59 และ 13 – 14/12/59)
ส่วนทางด้านประเด็นในประเทศ แม้ยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ คาดภาพรวมยังได้รับปัจจัยหนุนจาก Fund Flow แม้มูลค่าซื้อ/ขาย สุทธิ จะมีความผันผวนบ้าง
แต่ YTD ยอดซื้อสุทธิสะสม ยังอยู่ในระดับสูงกว่า 130,000 ล้านบาท และประเด็นผลประกอบการ – 3Q/59 ที่คาดเริ่มมีแรงเก็งกำไรเข้ามาในกลุ่มธนาคารเป็นกลุ่มแรก และต่อเนื่องในกลุ่ม Real Sector ถึงกลาง พ.ย.
นอกจากนี้แนะติดตามหุ้นในกลุ่มค้าปลีก รวมถึงหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้างที่เน้นลูกค้าระดับล่าง – กลาง เช่น DCC และ DRT เป็นต้น ที่คาดได้รับประโยชน์จากการที่มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่มีรายได้น้อย โดยลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ที่คาดช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
(2) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น EPG และ SCC
(3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากยอดโอนในช่วงที่เหลือของปี 59 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี เช่น ANAN, AP และ SPALI
(4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐ เช่น CK, SYNTEC
(5) กลุ่มพลังงาน ในขณะที่หุ้นหลักอย่างเช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ในขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี ค่าการกลั่นปรับตัวสูงขึ้น
SET SET50 SET100
1,483.21 -8.22 944.42 -5.49 2,112.87 -13.50
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(+/-) ตลาดต่างประเทศ DJIA +164.70, NASDAQ +42.85, S&P +17.14, FTSE -20.09, CAC +4.42 และ DAX +105.48
หลังมีประเด็นว่า ดอยซ์แบงก์ใกล้บรรลุข้อตกลงกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เกี่ยวกับการจ่ายค่าปรับเพียง 5,400 ล้านUSD (จากเดิม 14,000 ล้านUSD)เพื่อยุติการสอบสวนในคดีที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายหลักทรัพย์ที่มีสัญญาจำนองค้ำประกัน (MBS) ซึ่งเป็นต้นเหตุของวิกฤตการเงินโลกในปี’51
และยังได้รับปัจจัยหนุนจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น หลังที่ประชุมโอเปกมีมติปรับลดการผลิตน้ำมันลงสู่ 32.5 - 33 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันที่ 33.24 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ขณะที่สหรัฐฯ เปิดเผย (1) การใช้จ่ายส่วนบุคคล – ส.ค. ส่วนรายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.2% (2) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคท้ายเดือนก.ย. อยู่ที่ 91.2 ดีกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ 90.0 และเพิ่มขึ้นจาก 89.8 เมื่อช่วงต้นเดือนก.ย.
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน พ.ย. +US$0.41 อยู่ที่ US$48.24ต่อบาร์เรล โดยยังได้รับปัจจัยบวกจากมติของที่ประชุม (ไม่เป็นทางการ) ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) ลดการผลิตน้ำมัน อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันปรับขึ้นในกรอบจำกัด หลังยังมีความไม่มั่นใจต่อข้อตกลงดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมานั้น สมาชิกโอเปกมักไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้ในการลดการผลิต และติดตามประชุมโอเปกครั้งต่อไป ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (30/11/59)
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$8.9 อยู่ที่ US$1,317.1ต่อออนซ์ หลังคลายความกังวลต่อประเด็นธนาคารดอยซ์แบงก์ ข้างต้น ส่งผลให้นักลงทุนลดความต้องการถือครองทองคำ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
21.76 1.89 3.19
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 39,986.91
สถาบัน 792.26
บัญชีหลักทรัพย์ -310.46
ต่างประเทศ -557.52
ในประเทศ 75.73
(-) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ -558 ล้านบาท สะสม YTD +132,480 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ)
(+) สนง.เศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) - ส.ค. เพิ่มขึ้น 3.13%yoy เทียบกับที่ลดลง 4.99% เมื่อก.ค. โดยเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 40 เดือน และสวนทางกับที่คาดว่าจะลดลง 2.0%
ประเด็นที่ต้องติดตาม 3 – 7 ต.ค. 2559
3/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้าย - ก.ย.
ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างเดือนก.ย.
ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนก.ย.
4/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ดัชนีการผลิตรัฐนิวยอร์คเดือนก.ย.
5/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนก.ย.
ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศเดือนส.ค.
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้าย - ก.ย.
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนส.ค. (ที่มีการปรับแก้ไข)
ยอดสั่งซื้อของโรงงานเดือนก.ค.
ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนก.ย.
สต็อกน้ำมัน
6/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
7/10/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.
สต็อกสินค้าและยอดค้าส่งเดือนส.ค.
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO, KAMART และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
(7) กลุ่มท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (MINT) ที่คาดได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี’59 ที่คาด อยู่ที่ 33 ล้านคน เพิ่มจากประมาณการเดิมที่ 32.5 ล้านคน และคาดรายได้จากการท่องเที่ยว 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6% ในขณะที่ประเด็นทัวร์ศูนย์เหรียญคาดว่าจะเป็นเพียงผลกระทบระยะสั้น
(8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจการบินและสนามบิน เช่น AAV, AOT และ BA
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.05 อยู่ที่ 1.61% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54)
ดัชนีความเสี่ยง (VIX) -0.73 อยู่ที่ 13.29
หุ้นแนะนำ : EGCO
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร.02-684-8788