WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
    ดัชนียังแกว่งตัว 1,480-1,500 จุด ต่างชาติยังซื้อสลับขาย ตราบที่สหรัฐยังชะลอการขึ้นดอกเบี้ย ขณะที่ในประเทศมีประเด็นผลประกอบการ 3Q59 หนุน แต่ส่วนใหญ่มาจากหุ้นกลาง-เล็ก จึงยังให้ถือเงินสด 70% และเลือกหุ้นกำไรเด่นใน 2H59 หรือปันผลสูง (ASK, MCS, HANA) Top picks ยังชอบ HANA(FV@B42) และ KSL(FV@B6) ที่ได้รับเงินคืนจาก กอน. โรงงานน้ำตาล 2 แห่ง

น้ำมันทรงตัว/ดัชนีชี้นำสหรัฐยังแย่ นโยบายการเงินผ่อนคลายยังจำเป็น
     ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้ น่าจะให้น้ำหนักกับเรื่องราคาน้ำมันดิบที่ยังแกว่งตัวในระดับสูง เหนือ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ตลาดล่วงหน้าทุกแห่ง) หลังการประชุมของผู้นำ OPEC สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้คงเพดานกำลังผลิตที่ 32.5 -33 ล้านบาร์เรลต่อวันก็ตาม ซึ่งอาจจะถือว่าลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับ กำลังผลิตเดือน ก.ย. ที่ประกาศล่าสุดอยู่ที่ 33.60 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทำจุดสูงสุดใหม่ โดยเพิ่มขึ้น 7 หมื่นบาร์เรลจากเดือนก่อนหน้า (เพราะการส่งออกน้ำมันดิบของอิรักทางตอนเหนือเพิ่มขึ้น และท่อส่งน้ำมันหลักของ ลิเบียกลับมาใช้งานได้ ยกเว้นซาอุดิอาระเบียที่ลดกำลังผลิตลง) จึงต้องติดตามผลการประชุมในกลุ่ม OPEC อย่างเป็นทางการเดือน พ.ย.นี้ อีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นพัฒนาการเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมน้ำมันโลก เนื่องจากกำลังการผลิตกลุ่ม OPEC คิดเป็น 42% ของกำลังการผลิตโลก ขณะที่นอกกลุ่ม OPEC (สหรัฐ และรัสเซีย etc) คิดราว 58% ยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากสหรัฐ (ผู้ผลิต Shale oil and Shale gas) จึงทำให้ยังคงมุมมองว่าน้ำมันดิบโลกน่าจะกลับมาสมดุลได้ในช่วง 2H60 (Q2 มีกำลังผลิต 95.9 ล้านบาร์เรล เกินดุลราว 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน)
      และตลาดน่าจะมุ่งไปที่ ยอดจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Payrolls) เดือน ก.ย. ที่จะประกาศวันศุกร์นี้ ตลาดคาดจะเพิ่ม 1.7 แสนราย เร่งขึ้นจากที่ชะลอตัว 2 เดือนติดต่อกัน (หนุนอัตราการว่างงานทรงตัวที่ 4.9% ติดต่อกันนาน 3 เดือน) และ PMI ภาคการผลิต (ISM) เดือนเดียวกันน่าจะเพิ่มเป็น 50.3 จาก 49.4 (ระดับต่ำสุดใน 7 เดือน) หลังดัชนีชี้นำฝั่งครัวเรือนและการผลิตชะลอตัว (ยอดค้าปลีก เดือน ส.ค. กลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และผลผลิตอุตสาหกรรม ใน ส.ค. กลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 5 เดือน) ด้วยเหตุนี้ทำให้เชื่อว่า Fed น่าจะเลื่อนการขึ้นดอกเบี้ยไปเป็น 1H60 และสอดคล้องกับธนาคารกลางทั่วโลก

BOE มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยเหลือ 0% จากปัญหา Brexit
      ตลาดคาดหมายว่า ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) น่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องในช่วงที่เหลือของปี 0% แม้ล่าสุดได้ลดดอกเบี้ยลง 25bps เหลือ 0.25% (ครั้งแรกในรอบ 7 ปี) พร้อมกับเพิ่มการใช้ QE วงเงินราว 5.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (คิดเป็น 14.5% ของการใช้ QE ในสหรัฐช่วงวิกฤตซับไพรม์) โดยการประชุมรอบถัดไป 4 พ.ย. ตลาดคาด จะลดดอกเบี้ยลง 25 bps เหลือ 0% (ระดับต่ำสุดในประวัติศาสตร์) เพื่อลดผลกระทบจาก Brexit
       ทั้งนี้ล่าสุด นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศเดินหน้าที่จะออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ โดยได้กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนขึ้น กล่าวคือ ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า (1Q60) รัฐสภาอังกฤษจะต้องลงมติ ที่เพื่อมอบอำนาจให้นางเทเรซ่า เมย์ ในฐานะนายกฯ ทำการยื่นมาตรการ 50 ภายใต้สนธิสัญญาลิสบอน 2550 ต่อคณะกรรมการสหภาพยุโรป (European Council) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน ออกจากสหภาพยุโรป และจะต้องดำเนินการขั้นตอนที่เกี่ยวข้องนับจากนี้คือ เจรจาการค้า และ การลงทุนกับสมาชิกสภายุโรป (Bilateral Trade negotiation) ที่เหลือ 27 ประเทศ เมื่อได้สรุปข้อสรุปที่เห็นชอบร่วมกัน จะต้องนำผล มาขอการสนับสนุน จาก 2 ฝั่งทั้งรัฐบาลอังกฤษ และสภายุโรป เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วจะต้องช่วยกันร่วมจัดทำสนธิสัญญาฉบับใหม่ เพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งเท่ากับอังกฤษได้ออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้คาดว่าน่าจะใช้เวลาทั้งหมดราว 2 ปี หรือน่าจะสิ้นสุดราวต้นปี 2562

ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อหุ้นในกลุ่ม TIP ยกเว้นไทย
      วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 325 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันดียว) โดยเป็นการสลับมาขายสุทธิในกลุ่มประเทศแทบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 243 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และเกาหลีใต้ 175 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง โดยเฉพาะตลาดหุ้นฟิลิปปินส์กลับมาซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าสูงถึง 80 ล้านเหรียญ (จากก่อนหน้านี้ที่ถูกขายสุทธิติดต่อกันมานามถึง 25 วันทำการ โดยมียอดรวมสูงถึง 537 ล้านเหรียญ) และอินโดนีเซียซื้อสุทธิราว 30 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตรงกันข้ามกับตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติเริ่มสลับมาขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ หรือ 558 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯ ที่ซื้อสุทธิราว 496 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  อย่างไรก็ตามแนวโน้ม Fund Flow เดือน ต.ค. คาดว่ายังคงอยู่ในตลาดหุ้นในภูมิภาค แต่เป็นการซื้อสลับขายเป็นรายประเทศ เนื่องจากดว่า Fed ไม่น่าจะรีบร้อนขึ้นดอกเบี้ยภายในปีนี้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับสถิติในอดีตย้อนหลัง 5 ปี ที่ต่างชาติมักซื้อสุทธิหุ้นไทยในเดือน ต.ค. ราว 3 ใน 5 ปี และ SET Index มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 80% โดยให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 2.80%

ศาลสั่งให้ กอน. คืนเงินให้บริษัทย่อย KSL อีกแห่ง รวม 2 แห่ง
เพิ่มเติมจากที่นำเสนอในวันศุกรที่ผ่านมาคือ เมื่อเย็นวันศุกร์ ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายและกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายคืนเงินที่เรียกเก็บเป็นเงินรักษาเสถียรภาพกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายของฤดูกาลผลิตปี 2542/43-2545/46 ให้บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSL (โรงงานที่จ. ขอนแก่น) เป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากการเรียกเก็บเงินดังกล่าวเป็นการเรียกเก็บโดยมิชอบ เป็นเงินจำนวน 68.9 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องคดี (23 ม.ค. 49) เป็นต้นไป และให้คืนเงินภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่คดีถึงที่สุด (29 ก.ย. 59) หรือภายในวันที่ 28 ธ.ค. 59 นับเป็นคดีที่ 2 ทั้งนี้ หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาให้กอน. คืนเงินให้บริษัทน้ำตาลนิวกว้างสุ้งหลี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ KSL (ถือหุ้น 98.61%) ไปแล้ว 16.96 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี หรือคิดเป็นเงินคืนสุทธิหลังหักภาษี 30 ล้านบาท
      ฝ่ายวิจัยประเมินว่า KSL จะได้เงินคืนสุทธิหลังหักภาษีอีก 122 ล้านบาท (0.03 บาท/หุ้น) คิดเป็นสัดส่วน 19.3% ของคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2558/59 คาดจะบันทึกรายได้พิเศษเข้ามาในงวด 4Q58/59 หรือ 1Q59/60 ถือเป็น sentiment บวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2558/59-60 นอกเหนือจากปัจจัยหนุนด้านราคาน้ำตาลโลกที่ยังทรงตัวสูง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ 23.00 เซ็นต์/ปอนด์ โดยฝ่ายวิจัยเตรียมปรับเพิ่มประมาณการผลการดำเนินงานเมื่อมีความชัดเจนที่แน่นอนเกี่ยวกับการรับรู้รายได้พิเศษดังกล่าว
     นอกจากนี้ KSL ยังได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่าเตรียมนำบริษัท ขอนแก่นแอลกอฮอล์ จำกัด (KKA) ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตเอทานอล มีโรงงาน 2 แห่ง ที่จ. ขอนแก่น และ จ. กาญจนบุรี กำลังการผลิตรวม 3.5 แสนลิตร/วัน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในงวด 3Q60 โดย KSL จะยังคงเป็นผู้ถือ KKA ในสัดส่วนไม่น้อยกว่า 70% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วของ KKA ภายหลังเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชน โดย KKA รายงานกำไรสุทธิ 1H58/59 เท่ากับ 124 ล้านบาท ถือเป็น sentiment เชิงบวกต่อเนื่องของ (FV@B6)

คาดว่าดัชนี 1,500 จุดขึ้นยาก แต่ยังแนะนำรายหุ้น : HANA, ASK, KSL
      คาดว่าวันนี้ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสฟื้นตัวได้ ตาม moment เชิงบวกที่มาจากตลาดหุ้นสหรัฐ และตลาดหุ้นภูมิภาคยุโรป จากความกังวลในเรื่อง Deutsche Bank เริ่มคลี่คลายลงไป เช่นเดียวกับประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่เชื่อว่าจะยังไม่เร่งรีบขึ้นเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะภาคการผลิต ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งยังคงจำเป็นต้องใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมันยังยืนเหนือ 45 เหรียญ/บาร์เรล นอกจากนี้ ระดับดัชนีปัจจุบัน มี Expected P/E ณ สิ้นปีอยู่ที่ราว 16.5 เท่า แม้จะอยู่ในระดับที่ไม่ถูกนัก แต่ก็ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่ 16.6 เท่า ทั้งยังต่ำกว่าตลาดหุ้นอินเดีย 17.4 เท่า อินโดนีเซีย 17.7 เท่า และฟิลิปปินส์สูงถึง 19.5 เท่า ทำให้ตลาดหุ้นไทยยังคงมีความน่าสนใจในเชิง Valuation
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า SET Index บริเวณ 1500 จุด ยังคงเป็นแนวต้านที่มีนัยสำคัญทางจิตวิทยา และมักจะมีแรงขายออกมา ณ บริเวณนี้เสมอ ประกอบกับมูลค่าการซื้อขายที่ลดลงเป็นลำดับ จากการที่นักลงทุนต่างชาติมีการซื้อสลับขายในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การเปิดสถานะ Long สุทธิสะสมใน SET50 Index Futures ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันกว่า 1.84 แสนสัญญา ล่าสุดเปิด Long ติดต่อกัน 8 ใน 9 วันทำการกว่า 4.65 หมื่นสัญญา น่าจะชี้นำว่าแรงขายหุ้นไม่น่าจะมีมากนัก จึงประเมินว่า SET Index ยังแกว่งในกรอบ 1480-1500 จุด
ในส่วนของการทำ Earnings Preview 3Q59 ของกลุ่ม ธ.พ. นั้น นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินว่า มีแนวโน้มผลประกอบการออกมาค่อนข้างดี แม้ทิศทางสินเชื่อจะค่อนข้างทรงตัว แต่รายได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมฯ เติบโต (จากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของและสินเชื่อของ SCB รวมทั้งค่าธรรมเนียมของการขายกองทุน) ขณะที่แนวโน้ม NIM ดีขึ้นจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ลดลง ฝ่ายวิจัยยังคงชอบ KBANK(FV@B225) BBL(FV@B200) และ TCAP(FV@B50)
ขณะที่กลุ่มลิสซิ่ง คาดผลกำไรงวด 3Q59 ดีกว่างวด 2Q59 ประกอบกับล่าสุดรัฐมี มาตรการ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้ น่าจะหนุนกำลังซื้อ และ ผ่อนคลาย การตั้งสำรองฯ ของ กลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง ได้แก่ เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ (TK, GL, S11) และ สินเชื่อจักรกลการเกษตร (GCAP) ASPS ยังชอบ TK ([email protected]) และ S11 ([email protected]) มากที่สุด รวมทั้ง ASK ([email protected]) และ KCAR ([email protected])

ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่คาดว่าผลประกอบการ 3Q59 จะเติบโตโดดเด่น คือ
กลุ่ม ร.พ. : คาดผลประกอบการเด่นจากการเข้าสู่ช่วง High Season ในงวด 3Q59 แต่หุ้นหลายแห่งราคาปรับขึ้นมาแล้ว (RJH, LPH) แนะนำรอสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว หรือสลับมาลงทุนใน BH(FV@B213) และ BCH (FV@B14)
กลุ่มส่งออกอาหาร : ราคาขยับขึ้นไปมากแล้วเช่นกัน (TFG, GFPT, CPF) อีกทั้งการเข้าสู่เทศกาลกินเจ อาจทำให้ราคาสุกร-ไก่ ปรับลงบ้าง แนะนำซื้อเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวลง
กลุ่มเกษตร : ราคาน้ำตาลปรับลดลงเล็กน้อย แต่ยังทรงตัวในระดับสูง โดย KSL (FV@B6) ยังเป็นตัวเลือกที่ดี ทั้งยังได้ประเด็นบวกจากรายได้พิเศษจากบริษัทลูก แนะนำหาจังหวะซื้อสะสมเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวลง
กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ : ปัจจัยฤดูกาลยังส่งผลดีต่อกลุ่มชิ้นส่วนฯ โดย HANA (FV@B42) ฝ่าวิจัยยังแนะนำต่อเนื่อง เพราะราคาหุ้นยัง laggard อีกทั้งยังคาดหวัง Div. Yield ได้สูงกว่า 6% แต่ P/E ต่ำเพียง 11.3 เท่าเท่านั้น
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม : คาดว่ายังมีผลดำเนินงานที่ดี ERW ([email protected]), MINT (FV@B48), CENTEL (FV@B48) และสายการบินที่เน้นปลายทางที่เกาะสมุย อย่าง BA แต่ราคาหุ้นก็ขึ้นมาระดับหนึ่งแล้ว จึงแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวเท่านั้น

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!