WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  SET แกว่งตัวในกรอบ 1,480-1,500 จุด จากแรงขายต่างชาติกดดัน จึงควรใช้เวลานี้ปรับพอร์ตถือเงินสด 70% อีก 30% เลือกหุ้นกำไรเด่น 3Q59 (BCH, HANA) หรือปันผลสูง (TTW, ASK, MCS) หรือหุ้นที่มีประเด็นบวกช่วงสั้น KSL(FV@B6) ราคาน้ำตาลทำ New High

ส่งออกดีขึ้น หนุนเกินดุลการค้า และเงินบาทแข็งค่า หนุน sentiment ระยะสั้น
  ดัชนีชี้นำภาคครัวเรือนสหรัฐล่าสุดตอกย้ำการฟื้นตัวของสหรัฐยังไม่มั่นคง กล่าวคือ ยอดขายบ้านใหม่ (New Home sale) เดือน ส.ค. ลดลง 7.6%mom มาอยู่ที่ระดับ 6.09 แสนหลัง จาก 6.59 แสนหลังในเดือน ก.ค. สอดคล้องกับ ยอดค้าปลีก (Retail sales) และดัชนี PMI ภาคบริการ (ISM Non-Manufacturing) ในเดือนเดียวกัน ที่พลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 5 เดือน และทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ ก.พ.2553 ตามลำดับ เช่นเดียวกับภาคการผลิตที่ยังชะลอตัว คือ PMI (ภาคการผลิต มาร์กิต) เดือน ก.ย. ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม พลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ซึ่งสวนทางกับอัตราเงินเฟ้อที่ล่าสุดกระเตื้องขึ้นมาที่ 1.1% ซึ่งส่งผลให้ผลการสำรวจ Fed Fund Future ล่าสุดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยรอบเดือน 13-14 ธ.ค. ที่มีน้ำหนักสูงสุดลดลงเหลือ 51% จาก 58 % ในปลายสัปดาห์ก่อนหน้า (ขณะที่ รอบ 1-2 พ.ย. ราว 17%)
  ขณะไทยยอดการค้าระหว่างประเทศเดือน ส.ค. มีแนวโน้มที่ดีขึ้น คือ ยอดส่งออก(X) ในรูปดอลลาร์ฯ พลิกเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 5 เดือน อยู่ที่ระดับ +6.5%yoy (เฉลี่ย 8M59 -1.2% และ ดีกว่าตลาดคาด -1.%) ได้แรงหนุนจากสินค้าประเภทชิ้นส่วนและยานยนต์ ไก่แปรรูป มันสำปะหลัง ผลไม้ เป็นต้น ขณะที่ยอดนำเข้า (M) ออกมาติดลบ 1.5%yoy (เฉลี่ย 8M59 -8.8% เทียบกับตลาดคาด -4%) หนุนดุลการค้าเกิน 16 เดือนต่อเนื่อง และหนุนให้เงินบาท แกว่งตัวในกรอบ 34.5-35 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งทำให้ Fund Flow ยังไม่รีบออกจากตลาดหุ้นไทยในเวลาสั้น

ราคาน้ำตาล New High vs ราคาน้ำมันทรงตัว ขึ้นกับการเจรจาคงการผลิต OPEC??
 พรุ่งนี้ 28 ก.ย. จะทราบผลว่า ผู้นำกลุ่ม OPEC จะสามารถ หาข้อสรุปในการจัดการกำลังผลิตได้หรือไม่ ซึ่งล่าสุดมีข้อเสนอที่หลากหลายจากหลายฝ่าย เริ่มตั้งแต่ให้คงกำลังการผลิตไว้ที่ระดับเดือน ม.ค. หรือ การผลิตเฉลี่ยในงวด 1Q59 หรือ 1H59 หรือ ใช้กำลังผลิตเฉลี่ยเดือน ก.ค. กับ ส.ค.เป็นกำลังผลิตพื้นฐานแล้วลดลง 4% เหมือนกันทุกประเทศในกลุ่ม (ยกเว้น ไนจีเรีย และ ลิเบีย) ซึ่งกรณีหลังจะทำให้กำลังผลิตน้ำมันลดจากเดิมที่ผลิตระดับ 33.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ล่าสุดเดือน ก.ค.) ลงมาที่ราว 32.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งน่าจะช่วยผ่อนคลายปัญหากำลังผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ หลังจากจำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐ (Shale oil and Shale Gas) เริ่มขยับขึ้นตามราคาน้ำมันที่ยืนเหนือ 40 เหรียฐฯต่อบาร์เรล
  ขณะที่ Dollar Index ยังแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่า น่าจะหนุนสินค้าโภคภัณฑ์ทั้งน้ำมัน และ soft commodities อาทิ ราคาน้ำตาล ซึ่งล่าสุดขยับขึ้นทำจุดสูงสุดอีกครั้ง 23.12 เซนต์ต่อปอนด์ (ราคาเฉลี่ยจากต้นปีจนถึงปัจจุบัน (ytd) 17.26 เซนต์ต่อปอนด์) ซึ่งสูงกว่าสมมุติฐานของ ASPS หลังจากปรับขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ระดับ 21 เซนต์ต่อปอนด์ในปี 2560 ซึ่ง จะหนุนผลดำเนินงานปี 2559/60 (พ.ย. 2559-ต.ค. 2560) แม้ทางบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย หรือ อนท. ซึ่งเป็นบริษัทกลางในการกำหนดราคาส่งออก ได้กำหนดราคาขายล่วงหน้าไปแล้ว 60% ของยอดส่งออก ที่เฉลี่ย 20.50 เซนต์ต่อปอนด์ (ผลผลิต 2558/59 สิ้นสุด ต.ค. อนท. ได้ตกลงขายที่ตลาดล่วงหน้าราคาเฉลี่ย 15 เซนต์ต่อปอนด์แล้ว) แต่ในสถานการณ์ ถือว่าดีต่อผู้ส่งออกน้ำตาลทุกราย KSL, KBS, KTIS และ BRR แต่เลือก KSL (FV@B6) เป็น Top pick

ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค หลังซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน
  วานนี้ต่างชาติเริ่มสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ด้วยมูลค่าเพียง 10 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้ที่ถูกซื้อสุทธิราว 132 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) ส่วนที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิราว 100 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 5 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 26 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), ฟิลิปปินส์ 4 แสนเหรียญ (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 23 วันทำการ) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิราว 16 ล้านเหรียญ หรือ 544 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 446 ล้านบาท
  ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศสลับมาขายสุทธิราว 2.2 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงซื้อสุทธิราว 4.4 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)

TPIPL จะเติบโตอย่างก้าวกระโดด เมื่อรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าเต็มที่ในปี 2560-61
  ราคาหุ้น TPIPL ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องกว่า 17% นับตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย. เป็นต้นมา เนื่องจากแนวโน้มธุรกิจและผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนนับจาก ปี 2560-61 จากการเข้าสู่ธุรกิจโรงไฟฟ้าอย่างเต็มตัว ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ ASPS ปรับประมาณการกำไรขึ้น 36% และ 13% ตามลำดับ โดยคาดว่าปี 2560 กำไรจะเติบโตถึง 15 เท่าจากปี 2559 และปี 2561 เติบโตอีก 36% รายละเอียดคือ
  ธุรกิจปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ TPIPL ปัจจุบันมีกำลังการผลิตปูนฯ ที่ราว 13.5 ล้านตันต่อปี (ณ สิ้นปี 2558) มีส่วนแบ่งตลาดราว 18% เป็นลำดับ 3 ของกำลังการผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศ รองจาก SCC (กำลังการผลิต 21.4 ล้านตันต่อปี ส่วนแบ่งตลาด 38%) และ SCCC (กำลังการผลิต 14.7 ล้านตันต่อปี ส่วนแบ่งตลาด 25%) ทั้งนี้ TPIPL ได้เปิดโรงปูนที่ 4 กำลังการผลิต 4.5 ล้านตัน และเริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ 1Q59 แต่ถือว่าสร้างกำไรให้กับ TPIPL ไม่มากนัก เพราะสินค้าส่วนใหญ่ถูกส่งออกเป็นปูนเม็ดซึ่งให้ margin ต่ำ   

       อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศที่น่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามแผนการลงทุนโครงการภาครัฐ โดยคาดว่าปริมาณการใช้ปูนฯในประเทศ จะเติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 5% ในช่วงระหว่างปี 2560-63 ทำให้ TPIPL มีโอกาสมากที่สุดที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในประเทศขึ้นมาให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตใหม่ เป็น 22% ในระยะถัดไป
  แต่สิ่งที่น่าสนใจในระยะนี้ คือ TPIPL เข้าสู่ธุรกิจพลังงาน โดยการลงทุนในบริษัท TPIPP (TPIPL ถือหุ้น 100%) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ากำลังการผลิตรวม 150 MW และจะเพิ่มเป็น 440 MW ในปี 2561 พร้อมกับจะนำบริษัท TPIPP เข้าจดทะเบียนใน SET ประมาณกลางเดือน พ.ย. นี้ โดย TPIPP มีกำลังการผลิตไฟฟ้า แยกตามปีที่ COD ดังนี้
  ปี 2559 โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งที่จ่ายไฟฟ้าให้กับ TPIPL ทั้งหมด 70 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็นโรงไฟฟ้า WH-40MW และ WH-30MW ขายให้กับ TPIPL ทั้งหมด
  โรงไฟฟ้า RDF (ขยะ) กำลังการผลิตรวม 73 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็นโรงไฟฟ้า RDF-20MW กำลังการผลิตตามสัญญา PPA 18 เมกะวัตต์ และ RDF-60MW กำลังการผลิตตามสัญญา PPA 55 เมกะวัตต์ จ่ายไฟใหกับ EGAT (โรงไฟฟ้า RDF-20MW ใช้ความร้อนทิ้งเป็นเชื้อเพลิง 25% RDF75% ได้ Adder 3.5 บาท และ โรงไฟฟ้า RDF-60MW ใช้ RDF เป็นเชื้อเพลิง 100% ได้ Adder 3.5 บาท)
  ปี 2560 จะมีโรงไฟฟ้า COD ใหม่ 3 โรง คือโรงไฟฟ้า RDF-70MW โรงไฟฟ้าถ่านหิน 150 เมกะวัตต์ (ขายให้กับ TPIPL) และโรงไฟฟ้าถ่านหิน-RDF 70 เมกะวัตต์ (ขายให้ TPIPL 42 MW)
  ทั้งนี้ หลังจากนำ TPIPP เข้าจดทะเบียน จะทำให้ TPIPL มีสัดส่วนการถือหุ้นใน TPIPP ลดลงจาก 100% เหลือประมาณ 70% แม้จะทำให้วัดส่วนในการรับรู้กำไรจากบริษัทลูกลดลงในปีนี้ แต่ผลประกอบการปี 2560-62 จะเติบโตก้าวกระโดดกล่าวข้างต้น ขณะที่ นักลงทุนที่ถือหุ้น TPIPL ในระยะนี้ จะได้ สิทธิ์จองซื้อหุ้น TPIPP ในอัตรา 161.52 หุ้น TPIPL ต่อ 1 หุ้น TPIPP จึงถือว่าการลงทุนใน TPIPL เป็นการกระจายความเสี่ยง และสามารถถือลงทุนระยะยาว

SET ผันผวน เลือกหุ้นผลกำไรเด่น 3Q59 ราคาหุ้น Laggard : HANA
  SET ผันผวนระยะสั้นคาดจะอยู่ในกรอบ 1,500-1,480 จุด โดยแรงขายของต่างชาติ เริ่มชัดเจนชึ้น หลังจากที่ขายหุ้นฟิลิปปินส์หนักสุด ตามมาด้วย อินโดนนีเซีย แต่อินโดนีเซียยังคงซื้อสลับขาย ซึ่งภาพน่าจะคล้ายกับ ไทย อย่างไรก็ตามหากสังเกตค่าเงินเอเชียพบว่าส่วนใหญ่ยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า ซึ่งคาดว่าเกิดจากที่เม็ดเงินต่างชาติยังคงซื้อตราสารหนี้ (สะท้อนจาก Yield ) ที่ยังเพิ่มขึ้น ยกเว้นฟิลิปปินส์ที่เงินเปโซ อ่อนค่ามากที่สุดในกลุ่ม TIP (เช่นเดียวกับเงินริงกิต ที่อยู่ในทิศทางอ่อนค่า)
  ขณะที่ปัจจัยหนุนในประเทศยังไม่ชัดเจนนัก นอกเหนือจากภาคส่งออกที่กลับมากระเตื้องขึ้นในเดือนที่ผ่านมา เดียวกับหุ้นที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ ยังอยู่ในลักษณะทรงตัว หรือช่วยประคองตลาด กล่าวคือ ส่วน กลุ่ม ธ.พ. ขณะนี้นักวิเคราะห์ ASPS ได้ทำประมาณการกำไร (Earnings Preview) งวด 3Q59 คาดว่าจะทรงตัวได้ใกล้เคียงกับ 2Q59 และทั้งปีนี้ยังติดลบ 2% เมื่อเทียบกับปี 2558 แต่ในปีหน้า จะกลับเติบโตถึงเกือบ 11%
  ตามมาด้วยกลุ่มสื่อสาร คาดว่าแนวโน้มกำไรชะลอตัวในช่วง 2H59 จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น (ทั้งค่าสัมปทานและปกป้องฐานลูกค้า) แต่อาจจะมีประเด็น การควบรวมกิจการ เพื่อการอยู่รอดในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ที่มีจุดอ่อน เมื่อเทียบกับคู่แข่งขัน เช่นกรณี DTAC ที่ จะมีคลื่นให้บริการลดลง เมื่อคลื่น 1800 MHz 50 MHz จะสิ้นสุดสัมปทานในเดือน ก.ย. 2561 จึงต้องเตรียมเงินลงทุนเพื่อใช้ประมูลใบอนุญาตใหม่ หรือ JAS ซึ่งให้บริการอินเตอร์เนตความเร็วสูง/อินเตอร์เนตบรอนแบรนด์ ต้องเผชิญการแข่งขันจากผู้ประกอบการรายใหญ่อย่าง TRUE และ TOT ขณะที่ ADVANC กำลังมาเล่นในธุรกิจนี้เช่นกัน ซึ่งทำให้ JAS จะเป็นต้องปรับตัว จะโดยวิธีใด คงต้องติดตามต่อไป เพราะหลังจากที ประมูลคลื่น 4G ได้ไปแล้ว ก็ไม่สามารถทำธุรกิจได้ วันนี้เชื่อว่าจะต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ สะท้อนจากที่ผู้บริหาร ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้น JAS และ warrant จากผู้ถือหุ้นรายย่อยที่ราคา 7.25 บาทต่อหุ้น นับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง และเกินมูลค่าหุ้นพื้นฐาน JAS หากยังทำธุรกิจเดิมอยู่
  และ กลุ่มพลังงาน น่าจะยังคาดหวังได้ถึงการประชุมนอกรอบของ OPEC วันที่ 26-28 ก.ย. นี้ ว่าจะมีความคืบหน้า หนุนให้ราคาน้ำมันโลกยังยืนเหนือ 40 เหรียญต่อบาร์เรลได้
  ทั้งนี้เชื่อว่าหุ้นในกลุ่ม Market Cap ขนาดกลาง-เล็ก น่าจะได้กลุ่มที่ปัจจัยหนุนในเรื่องของผลการดำเนินงาน เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูกาล เช่น กลุ่ม ร.พ. ทั้งในส่วนของ BCH และ BDMS รวมทั้ง LPH ตามมาด้วยกลุ่ม ฯ ชิ้นส่วน เช่น HANA ราคายัง laggard ตลาดฯ ค่อนข้างมาก
  ตามมาด้วยกลุ่มเกษตร-อาหาร อาทิ KSL เนื่องจากราคาน้ำตาลโลกยังคงทำ New high ต่อเนื่อง ส่วน GFPT, TFG ยังได้ประโยชน์จากราคาเนื้อสัตว์ที่สูงต่อเนื่องนับจากงวด 2Q59 แต่ระยะสั้นอาจจะถูกกดดันจาก เทศกาลกินเจ
  ตามด้วย ท่องเที่ยว-โรงแรม ที่ยังมีผลดำเนินงานที่ดี แม้จะไม่ใช่ High Season อย่าง ERW, CENTEL และ MINT รวมทั้งสายการบินอย่าง BA

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!