- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 16 September 2016 16:40
- Hits: 2843
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังคงฟื้นตัว และมีโอกาสแตะ 1,470 จุด ด้วยแรงหนุนต่างชาติ กลยุทธ์การลงทุน ยังเน้นรายหุ้นที่มีกำไรเด่นใน 3Q59 (GFPT, TFG, BDMS, BCH, RJH, LPH, HANA, BA) หรือสะสมหุ้นปันผลสูง 3-6 เดือน (ASK, RATCH, TTW, EASTW, ADVANC, MCS) Top picks ยังเลือก TFG([email protected]) และ BA([email protected])
ผลการประชุมธนาคารกลางโลกระยะสั้นยังไม่มีประเด็นใหม่
ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) วานนี้เป็นไปตามตลาดคาด คือคงดอกเบี้ยฯ ที่ 0.25% เนื่องจากการประชุมรอบที่ผ่านมา เพิ่งปรับลดดอกเบี้ย 0.25% (ครั้งแรกในรอบ 7 ปี) และเพิ่มวงเงิน QE 4.35 แสนล้านปอนด์ (คิดเป็น 14.5% ของ QE ของสหรัฐในช่วงวิกฤตซับไพรม์) ประเด็นที่ตลาดให้น้ำหนัก น่าจะเป็นการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) 20-21 ก.ย.
ขณะที่การรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจของสหรัฐล่าสุด ตอกย้ำว่าการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐยังมีความเสี่ยง สะท้อนได้จากรายงาน ยอดค้าปลีก(Retail sale) เดือน ส.ค. หดตัวมากกว่าที่ตลาดคาด คือ ติดลบ 0.3% จาก 0% ในเดือน ก.ค. (พลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 5 เดือน) หลังจากที่ ดัชนีภาคบริการ(ISM Non Manufacturing) ในเดือนเดียวกัน ปรับลดลง 7.4%mom (ลดลงติดต่อกัน 2 เดือน และทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ ก.พ. 2553) ซึ่งยังขัดแย้งกับตลาดบ้าน ในเดือนเดียวกันที่ยังแข็งแกร่ง ทั้งยอดขายบ้านใหม่ ที่เพิ่มขึ้น สูงสุดตั้งแต่ ธ.ค. 2550 และนับว่าสอดคล้องกับดัชนีภาคการผลิตที่ชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนจาก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ส.ค. พลิกกลับมาติดลบครั้งแรกในรอบ 3 เดือน กล่าวคือ ติดลบ 0.4% จาก 0.6% ในเดือนก.ค.
ดัชนีชี้ชี้นำเศรษฐกิจกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง ลดความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐที่เหลืออีก 3 รอบในปีนี้มีเริ่มมีโอกาสลดลง สะท้อนจากผลการสำรวจ Fed fund future ของ Bloomberg ล่าสุดพบว่า Fed มีโอกาสจะขึ้นดอกเบี้ย 49% ลดลงจาก 52% ในการประชุมรอบ ธ.ค. (แต่มีโอกาสเพียง 18 % และ 26.8% ในการประชุมรอบ ก.ย. และ พ.ย. ตามลำดับ) โดย ASPS ยังเชื่อว่าปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีอยู่รอบด้าน Fed น่าจะเริ่มขึ้นดอกเบี้ยฯ ใน 1H60
1 เดือนที่ผ่านมาต่างชาติซื้อสุทธิภูมิภาคเพียง 1.5% ของ 9 เดือน
วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้และไต้หวันหยุดทำการ ส่วนตลาดหุ้นกลุ่ม TIP ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติขายสุทธิหุ้นกลุ่ม TIP เล็กน้อยราว 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) โดยขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ อินโดนีเซียขายสุทธิ 40 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องนานถึง 16 วัน) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ยังคงซื้อสุทธิราว 40 ล้านเหรียญ (1.4 พันล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันฯในประเทศซื้อสุทธิ 268 ล้านบาท
และหากพิจารณาในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา (16 ส.ค. – 15 ก.ย. 59) พบว่า แรงซื้อหุ้นเกาหลีใต้และไทยเริ่มชะลอตัวลง โดยมียอดซื้อสุทธิ 803 ล้านเหรียญ และ 688 ล้านเหรียญ ตามลำดับ และยังกลับมาขายในบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน และอินโดนีเซีย ที่ถูกขายสุทธิไปแล้วกว่า 512 ล้านเหรียญ, 304 ล้านเหรียญ และ 229 ล้านเหรียญ ตามลำดับ โดยทั้งหมดคิดเป็นยอดซื้อสุทธิสะสมรวมเพียง 445 ล้านเหรียญ ซึ่งมีสัดส่วนเพียง 1.5% ของยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปี (ytd) ที่ 2.9 หมื่นล้านเหรียญ และยังส่งผลให้ตลาดหุ้นในภูมิภาคปรับตัวลดลงทุกแห่ง เริ่มจากตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวลงถึง 5.53% ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 3.16% ,ไต้หวัน 2.69%, เกาหลีใต้ 2.49% และอินโดนีเซีย 1.03% จึงทำให้เชื่อว่าในช่วงที่เหลือของปีหาก Fund Flow ยังแผ่วเบา และไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน ตลาดหุ้นในภูมิภาคไม่น่าจะปรับเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงเหมือนที่ผ่านมา
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.4 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 4.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 6 วัน โดยมียอดรวม 1.6 หมื่นล้านบาท)
SET ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แนะหุ้นกำไรเด่นใน 3Q59 : BCH, TFG, BA, ASK
หลังจาก SET Index ปรับฐานลงตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. จนถึงวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมากว่า 137 จุด หรือ 8.8% หลังจากนั้นก็ดีดตัวกลับขึ้นมาเกือบ 60 จุด ในช่วงระยะเวลาเพียง 3 วันทำการเท่านั้น ด้วยแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติเป็นหลัก โดยหุ้นที่มีการฟื้นตัวขึ้นมาส่วนใหญ่เป็นหุ้นพื้นฐานดีที่ถูกขายหนักในช่วงก่อนหน้า ทำให้ในระยะสั้นดัชนีมีโอกาสขึ้นไปทดสอบ 1470-1480 จุดได้ อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของดัชนีอาจจะไม่มั่นคง เพราะมีสัญญานที่ขัดแย้งกันในบางประการ กล่าวคือ แม้นักลงทุนต่างชาติจะซื้อสุทธิในตลาดหุ้น 26 จาก 29 วันทำการหลังสุด (นับจาก 5 ส.ค. ถึงวานนี้) แต่กลับเปิดสถานะ Short ใน Futures เริ่มตั้งแต่ 5 ส.ค. สะสมสูงถึง 38,718 สัญญา และเงินบาทเริ่มกลับมามีทิศทางที่อ่อนค่า ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ต่างชาติทยอยขายทำกำไรพันธบัตรรัฐบาล แต่ภาพตรงนี้นับว่าสอดคล้องกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP ประกอบกับภาพทางเทคนิค SET ยังคงเป็น downtrend ทำให้ยังมีความเสี่ยงให้ SET Index ปรับฐานลงมาได้อีกครั้ง แต่หากสามารถยืนเหนือบริเวณ 1,438 จุด ได้ ดัชนีตลาดน่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,470-1,440 จุด
แม้ตลาดหุ้นยังมีความผันผวนสูง แต่กลยุทธ์การลงทุนยังเน้นให้คัดเลือกหุ้นลงทุนระยะ 3-6 เดือน ก็เน้นพื้นฐานดี 2 กลุ่ม คือ
I.กลุ่มที่มีกำไรเติบโตโดดเด่นในงวด 2H59 อาทิ กลุ่มโรงพยาบาล ท่องเที่ยวและโรงแรม ประกันฯ ส่งออกอาหาร และชิ้นส่วนฯ เป็นต้น รายละเอียดคือ
กลุ่มโรงพยาบาล : คาดงวด 3Q59 กำไรกลุ่ม ร.พ. จะสูงสุด จากผลของฤดูกาล (โรคต่างๆที่มากับฤดูฝน) และคนไข้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นช่วงวันหยุดฤดูร้อน และ ปีนี้วันถือศีลอด(รอมฎอน) ตกงวด 3Q59 เพียง 7 วัน เทียบกับปีก่อนที่ 21 วัน โดย BDMS (FV@B27) เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีการกระจายตัวของคนไข้ที่ดี มีการเติบโตต่อเนื่อง และยังได้รับประโยชน์ทางภาษี หลัง BOI มีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์เป็นครั้งแรกในประเทศ ส่วน BH(FV@B220) แม้กำหนดเป้ารายได้ทรงตัว แต่แผนการลดต้นทุนเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย รวมทั้งการเร่งเปิดคลินิคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นศูนย์ส่งต่อผู้ป่วย น่าจะช่วยหนุนกำไรปีนี้จะยังเติบโต 7% และเพิ่มขึ้นอีก 10.7% ในปีหน้า ส่วนหุ้นขนาดกลาง BCH (FV@B14) จะพลิกกลับมาเติบโตก้าวกระโดดทั้งจากช่วงฤดูกาลและการเพิ่มศักยภาพ รพ.เก่า และการเตรียมขยายสาขาใหม่ และจากการประชุมนักวิเคราะห์วานนี้ ทำให้มั่นใจว่ากำไรสุทธิปีนี้จะเติบโตถึง 34%yoy จากรายได้ผู้ป่วยประกันสังคมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้จาก WMC ดีขึ้นเป็นลำดับจากรายได้ผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าจะเริ่มเห็นกำไรในปีหน้า ส่วน RJH (FV@B24) คาดปีนี้จะเติบโตแบบก้าวกระโดดกว่าเท่าตัว จากทำเลที่ดี และการบกระดับการให้บริการศูนย์โรคหัวใจและไตเทียม บวกกับราคาหุ้นยังมี upside สูง 17.6% ส่วน LPH(FV@B12) คาดปีนี้เติบโตถึง 70% และโตแรงต่อเนื่องในปี 2560 จากเปิดเพิ่ม 9 ศูนย์ Excellent Center ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside จากราคาปัจจุบัน 42% โดยยังไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากดีล รพ.เดชาที่คาดจะทราบผลสิ้นเดือนนี้
กลุ่มประกันฯ : เชื่อว่า bond yield curve น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว รวมทั้งการที่ คปภ. ได้พิจารณาปรับอัตราคิดลด (discount rate) ที่เหมาะสมใหม่รองรับกรณีอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำ ส่งผลบวกต่อ BLA ([email protected]) มีการตั้งเงินสำรองฯ กรมธรรม์ลดลง หนุนกำไรปกติยังอยู่ในทิศทางที่ดี และ น่าจะเข้าสู่ช่วง Peak ในช่วง 4Q59 เช่นเดียวกับ BKI (FV@B409) คาด 3Q59 ขึ้นทำ peak ของปี เนื่องจากเป็นช่วงต่อสัญญาประกันภัยโดยเฉพาะในกลุ่มงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะช่วยหักล้างผลกระทบจากรายได้จากธุรกิจลงทุนที่จะเห็นการลดลงของรายได้จากเงินปันผลเนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล
กลุ่มสายการบิน : ช่วง 3Q59 เป็นช่วง high season เกาะสมุย ส่งผลบวกโดยตรงต่อ BA ([email protected]) โดยคาดว่า Cabin Factor ช่วง 2H59 จะสูงกว่า 1H59 ที่ 69.6% หนุนยอดทั้งปีจะสูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 68.3% ขณะที่ต้นทุนน้ำมันช่วงที่เหลือของปี คาดว่าจะลดลงจาก 2H58 ที่ 90 เหรียญฯ เนื่องจากได้ทำสัญญาล่วงหน้าในช่วง 2H59 ไป 50% ของปริมาณใช้ที่ราคาราว 60 เหรียญฯฯ และส่วนที่เหลืออีก 50% ยังคาดมีต้นทุนราคาใกล้เคียงราคาปัจจุบันที่ 60-65 เหรียญฯ
กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม น่าจะดีเป็นรายหุ้นแม้ยังไม่เข้าสู่ high season ในช่วง 4Q59 คือ ERW ([email protected]) นั้นคาดงวด 3Q59 จะมีกำไรสูงกว่า 2Q59 จากอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจาก 2Q59 อีก 8% สู่ 79% และน่าจะมีกำไรเพิ่มต่อเนื่องจนถึง 4Q59 และยาวไปจนถึง 1Q60 ซึ่งเป็นช่วง Peak Season ท่องเที่ยว ส่วน CENTEL (FV@B46) ธุรกิจโรงแรม 2H59 คาดเติบโตตามทิศทางการท่องเที่ยวไทย โดยดีสุด 4Q59 จากช่วง High Season ส่วนธุรกิจอาหารยังเติบโตจากยอดขายเดิม และขยายสาขาใหม่จากการจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย และช่วงเทศกาลวันหยุดต่าง ๆ ในช่วงปลายปี MINT (FV@B44) ธุรกิจโรงแรมในงวด 3Q59 มีแรงหนุนจาก High Season ในโปรตุเกส ส่วนธุรกิจอาหาร ยังมีสัญญาณเป็นบวกต่อเนื่องจากยอดขายร้านอาหารเดิม (SSS) ที่ยังเติบโตได้ดี รวมทั้งการขยายสาขาร้านอาหารใหม่ ช่วยหนุนให้ธุรกิจอาหารรวมเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% yoy
กลุ่มชิ้นส่วนฯ : แม้ทิศทางเงินบาทเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่แข็งขึ้นจนนำไปสู่การปรับสมมติฐานเฉลี่ยทั้งปี 2559-60 เป็น 35 บาท แต่การแข็งค่าที่ค่อยเป็นค่อยไป ผนวกกับเป็นช่วง high season ของการส่งออก ซึ่งจะช่วยหนุนกำไรกลุ่มฯ เติบโตสูงกว่า 1H59 โดยเฉพาะ KCE (FV@B110) และ SVI ([email protected]) จากแนวโน้มผลการดำเนินงานงวด 2H59 เติบโตโดดเด่นจากกำลังการผลิตใหม่ๆ ที่เข้ามาต่อเนื่อง พร้อมกับแนะนำซื้อ HANA (FV@B39) ที่จะเห็นการ turnaround ของผลการดำเนินงานในงวด 2H59 และสามารถคาดหวัง div yield ได้ถึง 6% p.a. (จ่ายปีละ 2 ครั้ง)
กลุ่มเกษตร-อาหาร : แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 3Q59 ของกลุ่มเกษตร-อาหาร จะเติบโตจากงวด 2Q59 จากการเข้าฤดูกาลส่งออกอาหารสู่ต่างประเทศ ทำให้ราคาไก่ และ สุกร ยังทรงตัวสูงต่อเนื่องจากงวด 2Q59 อีกทั้งราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองอ่อนตัว เนื่องจากจีนเร่งระบายสต็อกข้าวโพด และผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองในสหรัฐฯ ออกสู่ตลาด โดยเลือก TFG ([email protected]) จากปัจจัยบวกราคาไก่และสุกรอยู่ในระดับสูง และซื้อ GFPT (FV’[email protected]) BR ([email protected]) ที่ได้ผลประโยชน์จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง และ CPF ([email protected])
II.หุ้นพื้นฐานแกร่ง และมีเงินปันผลสูง
ชุดแรก คัดเลือกเฉพาะหุ้นที่มีคุณสมบัติ คือ เงินปันผลเกินกว่า 4% ต่อปี, Ex.P/E ไม่เกิน 15 เท่า, มีความผันผวนต่ำ (Beta ไม่เกิน 1) และมี upside สูงเกินกว่า 15% คือ
MCS ([email protected]) คาด 3Q59 ผลประกอบการโดดเด่นจากปริมาณการส่งออกรวมทรงตัวระดับสูง รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยน และมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการ
RATCH (FV@B60) หุ้น Defensive เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว คาดหวัง upside จากโครงการต่างประเทศได้
ASK ([email protected]) ได้ปัจจัยบวกจากโครงการก่อสร้างภาครัฐหนุนความต้องการใช้สินเชื่อรถบรรทุก รวมทั้งผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่า 7.4% จ่ายปีละครั้ง หากนักลงทุนซื้อหุ้นในช่วงนี้ และถือไปจนถึงขึ้น XD เปรียบเสมือนได้ปันผลกว่า 14% จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ
ชุด 2 มี เงื่อนไข คือ Dividend Yield ตั้งแต่ 3.5% ขึ้นไป P/E ต่ำกว่าตลาดฯ และ upside ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป คือ
TTW ([email protected]) หุ้นปันผลสูง ราคาหุ้นไม่ผันผวน ขณะที่ปัญหาภัยแล้งผ่านพ้นไปแล้ว หนุนผลประกอบการดีขึ้น ราคาหุ้นที่ปรับฐานลงมาช่วยเพิ่ม upside ให้น่าสนใจอีกครั้ง
EASTW ([email protected]) หุ้นปันผลสูงเช่นกัน คาดผลประกอบการน่าจะดีขึ้นในช่วง 2H59 หลังผ่านช่วงภัยแล้งไปแล้ว และกำไรจะกลับมาเติบโตอีกครั้งปี 2560
GLOW (FV@B95) จุดเด่นที่กระแสเงินสดในระดับสูง ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลมีความสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถคาดหวังปันผลพิเศษที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นที่เกิดขึ้นในปีที่แล้ว ขณะที่ผลการดำเนินงานในปี 2559 และ 60 อาจปรับตัวลดลงจากโรงไฟฟ้า IPP ที่รายได้ค่าความพร้อมจ่ายตามสัญญา (AP) อยู่ในช่วงขาลง อีกทั้งยังมีการ shutdown ทั้ง planned และ unplanned เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม GLOW ยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการลงทุนใหม่ ถือเป็น upside ในอนาคต
HANA (FV@B39) งวด 3Q59 เข้าสู่ช่วงฤดูกาลส่งออก ส่งผลให้ภาพรวมผลการดำเนินงานงวด 2H59 จะกลับมาเติบโตโดดเด่น จากสินค้าในกลุ่มยานยนต์ การแพทย์ และ RFID ขณะที่ราคาหุ้นยัง laggard SET และกลุ่มฯ ค่อนข้างมาก ราคาที่ปรับลงถือเป็นจุดเข้าสะสมที่ดี โดยมี PER เพียง 10.5 เท่า และยังคาดหวังปันผลได้มากกว่า 6%
SCCC (FV@B342) แผนการลงทุนขนาดใหญ่ในต่างประเทศสร้างผลกำไรที่เติบโตในระยะยาว โดยฐานะการเงินแข็งแรงพอสำหรับการลงทุน แต่อาจมีโอกาสเพิ่มทุนบางส่วนเพื่อลด Net Gearing ลง
PTT (FV@B400) ราคาหุ้นมีโอกาสปรับขึ้นตามราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวขึ้นในช่วงสั้น
ADVANC (FV@B189) ยังเป็นตัวเลือกที่แข็งแกร่งสุดของกลุ่มสื่อสาร ศักยภาพการแข่งขัน และรักษาตำแหน่งผู้นำอย่างยั่งยืนด้วยการมีคลื่นในมือกว่า 55 MHz อย่าวงไรก็ตาม ด้วยการแข่งขันที่รุนแรง ทำให้การเติบโตของกำไรในปีนี้ลดลง ก่อนจะกลับมาเติบโตในปีหน้า
รวมทั้งเลือกลงทุนในหุ้น property fund ที่มีความผันผวนต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ได้แก่ CPNRF, TFUND และ POPF เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์