- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 14 September 2016 19:17
- Hits: 1812
บล.ไอร่า : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ทิศทางตลาด
ยังมีความผันผวน? มีโอกาสเคลื่อนไหวทั้ง +/- แม้ภาพรวมยังไม่มีประเด็นชี้นำใหม่ๆ แต่คาดตลาดฯ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างรอการประชุมเฟด ขณะที่คาดมีความกังวลต่อประเด็นความไม่แน่นอน และคาดมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ภายใต้ความเห็นของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดที่ยังคงมีความแตกต่างกันในการพิจารณา ขึ้น/ไม่ขึ้น อัตราดอกเบี้ย ซึ่งคาดเป็นปัจจัยกดดันต่อเนื่องและทำให้ตลาดฯ มีความผันผวนไปถึงวันประชุมเฟด (20 – 21/9/59)
ส่วนประเด็นในประเทศ Fund Flow ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่อง แม้มูลค่าจะมีความผันผวนบ้าง แต่ YTD ยอดซื้อสุทธิสะสมเพิ่มขึ้นกว่า 126,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามคาดยังถูกกดดันจากแรงขายของสถาบันในประเทศ ขณะที่มีการประชุม กนง. ในวันพรุ่งนี้ คาดคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ซึ่งคาดไม่มีผลต่อภาพรวมตลาดมากนัก
และยังแนะจับตา
(1) กลุ่มปิโตรเคมี ได้รับประโยชน์จากปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เช่น IVL
(2) กลุ่มวัสดุก่อสร้าง ที่คาดได้รับประโยชน์ต่อเนื่องจากส่วนต่างผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เช่น SCC และ VNG
(3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยบวกจากยอดโอนในช่วงที่เหลือของปี 59 ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี เช่น ANAN, AP และ SPALI
(4) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ที่ได้รับประโยชน์จากงานภาครัฐ เช่น CK, STEC
(5) กลุ่มพลังงาน ในขณะที่หุ้นหลักอย่างเช่น PTT ได้รับประโยชน์จากธุรกิจก๊าซที่แนวโน้มกำไรเติบโตดี ในขณะที่ TOP และ SPRC แนวโน้มผลการดำเนินงานดี
(6) กลุ่มค้าปลีก เช่น CPALL, HMPRO, KAMART และ ROBINS ที่คาดได้รับประโยชน์หลังรัฐบาลอัดฉีดกำลังซื้อรากหญ้าอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งจากโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเกษตรกร 3 โครงการวงเงิน 93,000 ล้านบาท
(7) กลุ่มท่องเที่ยว เช่น โรงแรม (CENTEL, MINT, ERW) ที่คาดได้รับประโยชน์จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี’59 ที่คาด อยู่ที่ 33 ล้านคน เพิ่มจากประมาณการเดิมที่ 32.5 ล้านคน และคาดรายได้จากการท่องเที่ยว 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.6%
(8) กลุ่มขนส่ง ในส่วนของธุรกิจการบินและสนามบิน เช่น AAV, AOT
SET SET50 SET100
1,446.84 +34.99 925.46 +26.08 2,065.04 +58.72
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดวันนี้
(-) ตลาดต่างประเทศ DJIA -258.32, NASDAQ -56.63, S&P -32.02 FTSE -35.27, CAC -52.62 และ DAX -45.17
ภายใต้ปัจจัยกดดัน (1) ความกังวลต่อทิศทางที่ไม่แน่นอนของเฟดในการพิจารณา ขึ้น/ไม่ขึ้น อัตราดอกเบี้ย หลังเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟดได้ออกมาแสดงความเห็นที่แตกต่างกัน และ (2) ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ลดลง หลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุว่า การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันในตลาดโลกอยู่ในอัตราต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้
ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ได้รับปัจจยลบเพิ่มจากดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนี – ก.ย. อยู่ที่ +0.5 จุดในเดือนก.ย. ต่ำกว่าที่คาดว่าจะอยู่ที่ +2.5 จุด และต่ำกว่าระดับ +24.1 ซึ่งเป็นระดับเฉลี่ยในระยะยาว
ราคาน้ำมันดิบ (NYMEX) ส่งมอบเดือน ต.ค. -US$1.39 อยู่ที่ US$44.90 ต่อบาร์เรล หลัง IEA คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี’59 เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล/วัน ลดลง 0.1 ล้านบาร์เรล/วัน จากความคาดหมายก่อนหน้า และคาดอยู่ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี’60 ภายใต้ความไม่แน่นอนต่อภาวะเศรษฐกิจมหภาค ขณะที่คาดตลาดจะใช้เวลามากขึ้นในการปรับตัวสู่ระดับสมดุล พร้อมระบุความต้องการใช้น้ำมันของจีนและอินเดียยังคงอ่อนแอ ส่งผลให้การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมัน ลดลงจาก 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อ 2Q/59 อยู่ที่ 0.8 ล้านบาร์เรล/วัน ใน 3Q/59
อย่างไรก็ตาม อยู่ระหว่างรอการประชุม (นอกรอบ) ของกลุ่มโอเปก (26-28/9/59) ที่แอลจีเรีย ขณะที่การเจรจาหลายครั้งก่อนหน้านี้ของกลุ่มฯ ไม่ประสบความสำเร็จ
P/E (เท่า) P/BV (เท่า) Dividend Yield (%)
21.25 1.84 3.27
ที่มา: www.set.or.th
มูลค่าการซื้อขาย หน่วย(ลบ.)
มูลค่าการซื้อขาย 58,278.28
สถาบัน 518.87
บัญชีหลักทรัพย์ -2,804.98
ต่างประเทศ 4,164.30
ในประเทศ -1,878.19
ราคาทองคำ (COMEX) ส่งมอบเดือน ธ.ค. -US$1.9 อยู่ที่ US$ 1,323.7ต่อออนซ์ ภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับทิศทางที่ไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยของเฟด โดยเฟด จะมีการประชุม 20-21 ก.ย.นี้
(+) เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศสุทธิ +4,164 ล้านบาท สะสม YTD +126,463 ล้านบาท (ปี’57 และ 58 ยอดขายสุทธิสะสม 36,584 ล้านบาท และ 154,346 ล้านบาท ตามลำดับ)
ประเด็นที่ต้องติดตาม 14 - 16 ก.ย. 2559
14/9/59 : การประชุมของ กนง. (อัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุด 1.50%ต่อปี)สหรัฐฯ เปิดเผย
ราคานำเข้าและส่งออกเดือนส.ค.
สต็อกน้ำมัน
15/9/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน
ดุลบัญชีเดินสะพัดไตรมาส 2/2016
ดัชนีการผลิตของรัฐนิวยอร์คเดือนก.ย.
ดัชนีกิจกรรมการผลิตเขตมิด-แอตแลนติกเดือนก.ย.
ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค.
ยอดค้าปลีกเดือนส.ค.
การผลิตภาคอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังผลิต -ส.ค.
สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนก.ค.
การประชุมของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)
16/9/59 : สหรัฐฯ เปิดเผย
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค.
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคช่วงต้นเดือนก.ย.
เงินทุนไหลเข้าสุทธิและปริมาณการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐของต่างชาติเดือนก.ค.
ผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปี +0.06 อยู่ที่ 1.73% (ระดับสูงสุด 3.77% เมื่อ กพ.’54) ดัชนีความเสี่ยง (VIX) +2.69 อยู่ที่ 17.85
หุ้นแนะนำ : CPN
นักวิเคราะห์ : จิตรลดา เลขาพันธ์ โทร.02-684-8788