WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซีย พลัส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน

 

กลยุทธ์การลงทุน
      การฟื้นตัวแรงของ SET วานนี้ อาจเผชิญกับแรงขายระยะสั้น ๆ แต่ถือว่าเป็นโอกาสสะสมรายหุ้นที่มีพื้นฐานเกร่ง & เงินปันผลสูง (ASK, RATCH, TTW, EASTW, ADVANC, INTUCH, MCS) Top picks คือ ASK([email protected]) และ BA([email protected]) อยู่ในช่วงฤดูท่องเที่ยวสมุย ยังได้ประโยชน์จากน้ำมันที่ต่ำ หนุนกำไรงวด 2H59

เงินเฟ้อที่เป็นบวกและเงินบาทอ่อนค่า หนุน กนง. คงดอกเบี้ยฯ ต่อไป
     ความคาดหวังของนักลงทุนทั่วโลกต่อการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้มีลักษณะผันผวนตามความเห็นที่แตกต่างกันของประธานแต่ละสาขา (มีทั้งฝั่งที่เชื่อว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ย เช่นเดียวกับ ASPS และฝั่งที่หนุนให้ Fed ควรขึ้นดอกเบี้ยให้เร็วที่สุด) ส่งผลให้ผลสำรวจ Fed fund future ขึ้นลงตามความคาดหวัง แต่ส่วนใหญ่ยังเทน้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยไปที่การประชุมรอบ ธ.ค. ซึ่งคาดว่ามีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 56.8%
นนี้จะมีการประชุม กนง. ASPS เชื่อว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ตั้งแต่เม.ย.2558) เพราะภาครัฐยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ล่าสุด ครม. เลื่อนการขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็น10% ออกไปอีก 1 ปี (ปัจจุบันเก็บที่ 7% สิ้นสุด 30 ก.ย. นี้) และอนุมัติเงินลงทุนช่วยเหลือร่วมระหว่างรัฐบาลและ อปท. (Matching Fund) วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ประกอบกับเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า และเงินเฟ้ออยู่ในแดนบวกติดต่อกัน 5 เดือน อยู่ที่ระดับ 0.3% เป็นเหตุผลที่ไม่ควรลด/เพิ่มดอกเบี้ยอีกเลย


น้ำมันยังแกว่งตัว กดดันหุ้นน้ำมันและตลาดระยะสั้น
      ราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัว แต่ยังยืนเหนือ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล จากความกังวลต่อปัญหา Oversupply ที่อาจกินเวลานาน หลังจากล่าสุด สำนักสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) ได้ทำการปรับลดการเติบโตของปริมาณการใช้น้ำมัน (Demand Growth)ในปี 2559 และ 2560 ลง 1 แสนบาร์เรลต่อวัน และ 2 แสนบาร์เรล สู่ระดับ 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากความต้องการที่ชะลอตัวทั้งภาคเอเชีย และยุโรป ขณะที่ด้าน Supply จะเพิ่มขึ้นจากผู้ผลิตนอกกลุ่ม OPEC แต่อย่างไรก็ตามในรายงานยังคงมีบทสรุปเหมือนเดิมคือ EIA ยังเชื่อว่าสถานการณ์น้ำมันจะเข้าสมดุล ช่วง 3Q60 และ 4Q60 ซึ่งจะไม่ทำให้สมมติฐานราคาน้ำมันในปีหน้าเปลี่ยนไป แต่แน่นอนถือว่าเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้นพลังงาน ทั้ง PTT(FV@B342) และ PTTEP(FV@B89) จึงแนะสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
ค่าเงินเอเชียอ่อนค่า จากแรงขาย Bond หนุน yield เพิ่ม ยังดีต่อ BLA
      แรงขายพันธบัตรรัฐบาลยังเกิดขึ้นทั่วโลก (ขายทำกำไร เชื่อว่าดอกเบี้ยโลกมาถึงจุดต่ำสุด) หนุนให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี (yield) มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง ทั้งฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว คือญี่ปุ่นกระเตื้องจากติดลบสูงสุด 0.54% มาอยู่ที่ติดลบ 0.22% และ สหรัฐล่าสุด 1.728% จาก 1.67% วานนี้ เช่นเดียวกับประเทศกำลังพัฒนา พบว่า อินโดนีเซียอยู่ที่ 6.958% จาก 6.894%วันก่อนหน้า ฟิลิปปินส์ 3.245% จาก 3.197% มาเลเซีย 3.55% จาก 3.535% (จากจุดต่ำสุดใน ส.ค. ที่ 6.812%, 3.12% และ 3.482% ตามลำดับ) ส่วนไทยลดลงเล็กน้อยที่ 2.17 จาก 2.18% (จากจุดต่ำสุดที่ 1.54% เดือน ส.ค.) ยังดีต่อ BLA([email protected]) เพราะการตั้งสำรองฯ หนี้สินที่เกิดจากการออกกรมธรรม์ลดลง ตรงข้ามกับช่วงที่ Yield ลดลง ภาระตั้งสำรองฯ เพิ่มขึ้น
       สถานการณ์ดังกล่าวได้กดดันค่าเงินเอเชียอ่อนค่าทั้งภูมิภาค ซึ่งวานนี้พบว่าเงินริงกิต อ่อนค่ามากสุด และอ่อนค่าเกือบ 2% จากปลาย ส.ค. แต่ยังเป็นรองเงินเปโซอ่อนค่ามากสุดราว 3% นับจากปลายเดือน ส.ค. ส่วนเงินบาทอ่อนค่ากว่า 1.3% ช่วงเดียวกัน ยกเว้น เงินรูปี (อินเดีย) รูเปียะห์ (อินโดนีเซีย) เพิ่งมาอ่อนค่าในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนว่าต่างชาติเริ่มลดพอร์ตหุ้นกู้บางส่วน ซึ่งถือเป็นแหล่งที่ Fund Flow เข้ามามากสุด (มากกว่าตลาดหุ้นหลายเท่าตัว เช่นของไทย เงินไหลเข้าตราสารหนี้ 3.6 แสนล้านบาท ytd เข้าหุ้น 1.3 แสนล้านบาท ytd แต่หากสหรัฐยังไม่รีบร้อนขึ้นดอกเบี้ย เชื่อว่าเม็ดเงินเหล่านี้น่าจะวนเวียนในตลาดหุ้น และตราสารหนี้
ต่างชาติซื้อหุ้นไทยสูงถึง 4.2 พันล้านบาท แต่กลับขายตราสารหนี้ต่อเนื่อง
       วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 140 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 3 วัน) แต่ยังคงขายสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 223 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 29 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องนานถึง 14 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 285 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) และไทยที่ซื้อสุทธิสูงถึง 119 ล้านเหรียญ หรือราว 4.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 519 ล้านบาท
     ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.8 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ทยอยขายตราสารหนี้ไทยออกมา โดยล่าสุดขายสุทธิราว 3.6 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4 วัน โดยมียอดรวม 5.9 พันล้านบาท) ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 34.95 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค

หุ้นทีวีดิจิตัล ยังเผชิญกับต้นทุนที่สูง โอกาสรอดน้อยยกเว้น : WORK, RS, MONO, ONE
       วานนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ กสท. ได้เห็นชอบการปรับลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบการทีวีดิจิทัลรายปีลงเป็นขั้นบันไดย่อย และจะเสนอคณะกรรมการ กสทช. ลงมติฯ วันนี้ หากเห็นชอบ ก็น่าจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป เป็นที่สังเกตว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล จ่ายค่าธรรมเนียมอัตรา 2% ของรายได้ เป็นขั้นบันได 2 ระดับอยู่แล้ว แต่การเสนอครั้งนี้ให้ซอยย่อยมากขึ้น พร้อมกับเสนอให้มีการเก็บสนับสนุนกองทุนวิจัยและพัฒนา (Universal Service Obligation: USO 2% ของรายได้) เป็นขั้นบันไดย่อยเช่นกัน จากปัจจุบันที่ยังมิได้มีการจัดเก็บ USO รายละเอียดตามตารางด้านล่าง

     เป้าหมายของการปรับลดการจ่ายค่าธรรมเนียมฯ ดังกล่าว แม้จะเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการฯ รายเล็กที่ยังประสบปัญหาขาดทุน (เนื่องจากต้นทุนใบอนุญาตแพง และการแข่งขันที่รุนแรงของอุตสาหกรรม) แต่ผลที่ตามมาคือ จะต้องจ่ายบ USO จากที่ไม่เคยจ่ายนับจากให้บริการฯ โดยรวมจึงทำให้ต้นทุนสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการ บางรายที่ไม่ได้ตั้งสำรองค่าใช้จ่ายฯ ส่วนนี้มาก่อนคือ WORK (อาจต้องตั้งสำรองปีละ 40 ล้านบาท) ขณะที่ RS กับ MONO และรายอื่นๆ ได้มีการตั้งสำรองฯ ตามเกณฑ์แล้ว แม้ยังมิได้จ่ายจริง แต่ทำให้มีโอกาสกลับรายการจ่ายดังกล่าวเป็นรายได้ เนื่องจากการจัดเก็บ USO เป็นขั้นบันได จะทำให้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลดลง
       ฝ่ายวิจัยยังคงให้น้ำหนักกลุ่มบันเทิง “น้อยกว่าตลาด” เนื่องจากเม็ดเงินโฆษณาในปีนี้โดยรวมยังคงลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา และการแข่งขันที่รุนแรง โดยช่องอนาล็อกแม้จะมีสัดส่วนเม็ดเงินโฆษณามากสุด แต่ยังลดลงถึง 11.2%yoy ส่วนทีวีดิจิทัลเติบโตราว 5.8%yoyโดยช่องที่มีเรตติ้งดีมีเพียง 4 ช่อง คือ WORK, ONE, MONO และ RS ขณะที่ช่องที่เหลือมีเรตติ้งน้อย และหลายช่องมีเรตติ้งลดลง ทั้งนี้ ช่องที่มีเรตติ้งดีจะมีแนวโน้มรายได้ค่าโฆษณาที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะ WORK ที่สามารถปรับขึ้นค่าโฆษณาได้ทุกไตรมาส การที่ราคาหุ้นปรับลดลงแรง จึงอาจหาจังหวะในการเข้าซื้อสะสม ขณะที่ RS อาจต้องปรับประมาณการลงจากผลประกอบการใน 2H59 ที่มีแนวโน้มไม่สดใส


ภรณี ทองเย็น
-เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์
เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ
fผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!