- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 12 September 2016 16:35
- Hits: 3255
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET มีโอกาสแกว่งตัวต่อ แต่เชื่อน่าจะยืนเหนือ 1,400 จุด เนื่องจากผลกำไรหุ้นรายตัวยังสนับสนุน เป็นโอกาสสะสมหุ้นปันผลเด่น (ASK, RATCH, TTW, EASTW, ADVANC, INTUCH, MCS) Top picksคือ ASK([email protected])และ BLA([email protected]) ในสถานการณ์ที่ Yield ขยับขึ้น น่าจะดีต่อผลการดำเนินงานใน 2H59
เงินเอเชียอ่อนค่า..ต่างชาติซื้อสลับขายหุ้นและพันธบัตรรายประเทศ
ค่าเงินในภูมิภาคเอเซีย มีแนวโน้มอ่อนค่าชัดเจนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากแข็งค่าจากต้นปีถึงสิ้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา (รูเปียะห์ และริงกิต แข็งค่ามากสุดถึง 7% ใกล้เคียงกัน ตามมาด้วยเงินบาทแข็งค่าราว 4%ytd และ เงินเปโซอ่อนค่า 3%ytd) กล่าวคือ เงินเปโซฟิลิปปินส์ อ่อนค่ามากสุด 3% นับจากปลายเดือน ส.ค. 2559 จนถึงวันศุกร์ที่ผ่านมา ตามมาด้วยเงินบาทอ่อนค่าเกือบ 1% ในช่วงเดียวกัน ยกเว้นรูปเปียะห์ที่กลับมาแข็งค่าตลอดสัปดาห์แรกของเดือน ก.ย. โดยแข็งค่า 1.8% (แม้เริ่มแกว่งตัวในช่วงต้นสัปดาห์นี้) น่าจะเป็นผลจากที่รัฐเตรียมยกเลิกภาษีที่จัดเก็บจากดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล (มีผลบังคับ 2560) ขณะที่เงินริงกิตยังอยู่ทิศทางอ่อนค่านับจากกลางเดือน ส.ค. ราว 2.2% แม้สัปดาห์นี้เริ่มเห็นการแกว่งตัวบ้างแต่ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า
เงินเอเชียที่กลับมาอ่อนค่าคาดว่าน่าจะเกิดจากแรงซื้อต่างชาติชะลอตัว (ซื้อสลับขาย) ทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น สะท้อนได้จากตลาดหุ้นไทยต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อหุ้นไทยในเดือน ก.พ. จนมาแตะระดับสูงสุดที่ 1.3 แสนล้านบาท ล่าสุดยอดสะสมคงเหลือ 1.25 แสนล้านบาท และ เช่นเดียวกับตลาดตราสารหนี้ ยอดซื้อสะสมสูงสุดสูงสุด 3.67 แสนล้านบาท (30 ส.ค. 2559) และยังทรงตัวในระดับนี้ เพราะการซื้อสลับขาย โดยตั้งแต่ต้นเดือน (MTD) (หรือราว 2.5 พันล้านบาท) และคาดว่าตลาดตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเชีย น่าจะมีลักษณะคล้ายกับไทย ยกเว้นเพียงอินโดนีเซีย ที่มีการซื้อตราสารหนี้ ราว 265.7 เหรียญสหรัฐ (MTD) น่าจะได้ผลบวกจากที่รัฐยกเลิกภาษีดังกล่าว
โดยหากพิจารณาอัตราผลตอบแทนของพันธบัตร 10 ปี (Yield) ของทุกประเทศพบว่ามีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจากต้นปี 2559 และทำสถิติต่ำสุดกลางเดือน ส.ค. 2559 ก่อนจะฟื้นตัวเล็กน้อยหลังจากนั้น กล่าวคือ หากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า อินโดนีเซียให้ผลตอบแทน 6.894% ฟื้นจากจุดต่ำสุด 6.812% เดือน ส.ค. ฟิลิปปินส์ให้ผลตอบแทนราว 3.197% จากจุดต่ำสุด 3.12% เดือน ส.ค. มาเลเซียราว 3.535% จากจุดต่ำสุดที่ 3.482% เดือนส.ค. และ ไทย 2.13% จากจุดต่ำสุดที่ 1.54% ซึ่งนับว่าดีต่อ BLA([email protected])
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง หลังจากซื้อติดต่อกัน 5 วัน
แม้ต่างชาติจะซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันมา 5 วัน แต่ด้วยเม็ดเงินที่ลดลงตามลำดับ และวันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติได้มีการสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาค ด้วยมูลค่า 314 ล้านเหรียญ โดยเป็นการขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 238 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 69 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และฟิลิปปินส์ 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องนานถึง 13 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศ แม้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ แต่ด้วยปริมาณที่น้อยมาก คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิเพียง 3 ล้านเหรียญเท่านั้น (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทย 12 ล้านเหรียญ หรือ 424 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิราว 419 ล้านบาท
หากพิจารณาเฉพาะแรงซื้อขายหุ้นไทยของนักลงทุนสถาบันในประเทศ พบว่า มีการซื้อสุทธิสะสมหุ้นไทยมาตลอดเป็นระยะเวลาเกือบ 4 ปี นับตั้งแต่ เดือน ต.ค. 55 จนถึง มิ.ย. 59 โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.75 แสนล้านบาท และเริ่มมีแรงขายออกมาอย่างชัดเจนนับตั้งแต่ ก.ค. 59 จนถึงปัจจุบัน โดยขายสุทธิไปแล้วกว่า 3.9 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 1.9 หมื่นล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ขายสุทธิราว 145 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
กลยุทธ์เน้นหุ้นปันผลสูง : ASK, ADVANC, INTUCH, TTW, PTT
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา SET Index ปรับลดลงหนักกว่า 5% ลงมาพักฐานบริเวณ 1,445 จุด ทำให้ดัชนีลดความร้อนแรงลงมาซื้อขาย Expected P/E สิ้นปีนี้ที่ 16 เท่า อิง EPS ที่ 90.3 บาท (ประเมินโดย ASPS)ซึ่งเป็นระดับที่สะท้อนปัจจัยลบทั้งในประเทศ และต่างประเทศ (โดยเฉพาะเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed) ไประดับหนึ่ง แต่เนื่องจากความกลัวยังคงปกคลุมตลาด ทำให้ยังไม่มีแรงรับ แม้หุ้นพื้นฐานที่ดีส่วนใหญ่ลงมาในระดับต่ำ จากที่เคยแย่งกันซื้อในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตามหากมองโลกในแง่ร้าย SET ยังลงต่อ คาดว่าแนวรับที่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับที่บริเวณ Expected P/E 15.50 เท่า หรือเทียบเท่าดัชนี 1,400 จุด และถัดมาคือ Expected P/E 15 เท่า หรือเทียบเท่าดัชนี 1355 จุด ณ ระดับปัจจุบันถือว่าเป็นโอกาสสะสมหุ้นพื้นฐาน จากความสามารถในการทำกำไรรายกลุ่มยังอยู่ในเกณฑ์ดี อาทิ กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี ส่งออกอาหาร ส่งออกชิ้นส่วนฯ และ ค้าปลีก เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุนภายใต้ความผันผวน แนะนำเลือกรายหุ้น ที่มีผลตอบแทนเงินปันผลสูง ที่เข้าเงื่อนไขคือ เงินปันผลสูงเกินกว่า 4% ต่อปี, Ex.P/E ไม่เกิน 15 เท่า, มีความผันผวนต่ำ (Beta ไม่เกิน 1) และมี upside สูงเกินกว่า 15% คือ
MCS ([email protected]) คาด 3Q59 ผลประกอบการโดดเด่นจากปริมาณการส่งออกรวมทรงตัวระดับสูง รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยน และมีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการ
RATCH (FV@B60) หุ้น Defensive เติบโตต่อเนื่องในระยะยาว คาดหวัง upside จากโครงการต่างประเทศได้
และ ASK ([email protected]) ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่า 7% ทั้งยังมีปัจจัยหนุนจากโครงการก่อสร้างภาครัฐหนุนความต้องการใช้สินเชื่อรถบรรทุก
ส่วนอีกกลุ่ม สำหรับนักลงทุนที่คาดหวังการฟื้นตัวของราคาหุ้นหลังจากปรับลดลงมาค่อนข้างเยอะ ขณะเดียวกันก็ต้องการหุ้นที่มีความปลอดภัย คือ หุ้นที่มี Dividend Yield ค่อนข้างสูง (ตั้งแต่ 3.5% ขึ้นไป), ซื้อขายกันบนระดับ P/E ไม่สูงกว่าตลาดฯ และมี upside ตั้งแต่ 10% ขึ้นไป แนะนำ
ADVANC (FV@B189) ยังเป็นตัวเลือกที่แข็งแกร่งสุดของกลุ่มสื่อสาร, INTUCH (FV@B73) ปันผลยังอยู่ในระดับสูงน่าพอใจ, TTW ([email protected]) ปันผลสูง ราคาหุ้นไม่ผันผวน ขณะที่ปัญหาภัยแล้งผ่านพ้นไปแล้ว หนุนผลประกอบการดีขึ้น เช่นเดียวกับ EASTW ([email protected]), PTT (FV@B400) มีโอกาสปรับขึ้นตามราคาน้ำมันโลก, SCCC (FV@B342) แผนการลงทุนขนาดใหญ่ในต่างประเทศสร้างผลกำไรที่เติบโตในระยะยาว, HANA (FV@B39) งวด 3Q59 เข้าสู่ช่วงฤดูกาลส่งออก รวมทั้งหุ้นเด่นในชุดแรก คือ ASK , MCS และ RATCH
รวมทั้งเลือกลงทุนในหุ้น property fund ที่มีความผันผวนต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ได้แก่ CPNRF และ TFUND
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์