- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 09 September 2016 17:14
- Hits: 3031
บล.บัวหลวง : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
ถือเงินสดหยุดรอสัญญาณไฟ (Fear > Greed)
เมื่อวานดัชนีฯตลาดลงหลุดทุกแนวรับ นำลงโดยหุ้นกลาง-เล็ก (คาดว่ามาจากคำสั่งขาย กองทุน Private fund ที่มีนโยบายสามารถลงทุนหุ้นกลาง-เล็กได้) ขณะที่หุ้นใหญ่ Outperform
กลยุทธ์ เราแนะนำให้หยุดซื้อ-กระชับพอร์ตอีกครั้งในรายงานเมื่อวานนี้ โดยความเสี่ยงปรับฐานรอบนี้เป็นไปตามรายงานฉบับเมื่อวันศุกร์ที่ 2 กย. และ ตามรายงานกลยุทธ์ประจำสัปดาห์ “Cautious optimism” เมื่อวันที่ 5 กย.
เราแนะนำให้รอ / ถือเงินสดรอสัญญาณไฟเขียวในการเข้าซื้อรอบใหม่อีกครั้ง / แนะนำใช้เครื่องมืออนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงขาลง
รายเดือน กย. คาดแรงซื้อต่างชาติ จะเริ่มชะลอลง จากการรอดูผลการประชุมเฟด และ BOJ 21 กย.นี้ บวกกับ Sell on fact หลังงบออก และขึ้น XD รับปันผล คาดว่าจะมีผลทำให้ดัชนีพักตัว ประเมินแนวรับใหม่ 1,430/1,380 จุด (จากเดิม 1,480/1,460 จุด) แนวต้าน 1,480 จุด (จากเดิม 1,520 จุด) กลยุทธ์แนะนำ “รอ” อ่อนตัวซื้อ สะสมหุ้นที่กำไรผ่านจุดต่ำสุดใน 2Q16 และ กำไรจะเร่งตัวขึ้นใน 2H16 (เริ่มจากทยอยรับ PTT EGCO กองโครงสร้างพื้นฐาน ก่อน) ส่วนปัจจัยหนุน หุ้นไทยหลังจากกลางเดือนเป็นต้นไป คาดว่าจะมาจาก แรงซื้อนักลงทุนต่างชาติจาก FTSE Rebalance ที่จะมีผล 19 กย. เป็นต้นไป
รายงาน Morgan Stanley วันนี้: MS ปรับเพิ่มกำไร บจ.ไทยใน MSCI Thailand ปีหน้า ขึ้น 2% และกรณี Bull case กำไรโต 18% PE ปีหน้าลงเหลือ 12.5 เท่า (คาด Downside Vs. ค่าเฉลี่ย 10 เท่าต้นๆ หุ้นไทยมีความเสี่ยงขาลงได้ประมาณ 10%)
รายงานพื้นฐาน BLS วันนี้
(+) PTT สรุปประเด็นจากการพา CFO ของ PTT ไป Roadshow ในยุโรป นักลงทุนส่วนใหญ่มีมุมมองต่อเชิงบวกต่อภาพเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย รวมถึงตัว PTT แผน PDP ซึ่งจะมีการเพิ่มสัดส่วนแก๊สในอนาคต ซึ่งประเด็น 1) นักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่าราคาแก๊สจะปรับขึ้น และยอดขายจะเพิ่มขึ้น บวกกับ LNG Receiving Terminal ที่จะเปิดใช้งานเพิ่มอีก 1 unit 5 ล้านตัน ต้นปี 2017 2) จากภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นักลงทุนเชื่อว่าจะมีการสร้างท่อแก๊ส และ Receiving Terminal เพิ่ม 3) การเปลี่ยนแปลงด้านกฎเกณฑ์ (ตั้ง Super holding) คาดเป็นบวกต่อบริษัท เพราะจะช่วยให้ภาระการชดเชยค่าแก๊ส 4-5 พันล้าน/ปี หมดลง คงคำแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 355 บาท
(-) ICHI เราคาดโมเมนตัมของกำไรจะยังไม่ฟื้นตัว และผลประกอบการมีโอกาสสร้างความผิดหวังให้กับนักลงทุนจากเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเรายังคงมีความกังวลว่ามีโอกาสต่ำกว่าเป้า แม้บริษัทจะมีการออกสินค้าใหม่หลายรายการ แต่เราคาดโอกาสที่จะหนุนกำไร 2H16 ให้เติบโตจาก 1H16 จำกัด เพราะบางส่วนเป็นสินค้าที่จ้าง OEM ผลิต ซึ่งมาร์จิ้นไม่สูง และ utilization rate ของโรงงานลดลงจาก 1H16 เพราะเป็นช่วง low season เราจึงมองว่าอัตรากำไรขั้นต้นโดยรวมจะคงอยู่ในระดับไม่สูงพอที่จะหนุนกำไรได้ เราแนะนำให้เปลี่ยนตัวเล่นมาซื้อ TACC ซึ่งเราคาดบริษัทพึ่งเข้าสู่จุดเริ่มต้นของการเติบโต และคาดกำไรเติบโต 40%/ปี ในช่วง 2015-19
(+) BANK เราปรับคำแนะนำจาก NEUTRAL เป็น OVERWEIGHT จาก 1) ราคาถูก จากก่อนหน้านี้ที่เรามีการปรับคำแนะนำลง PBV ของกลุ่มอยุ่ที่ 1.3 เท่า (ค่าเฉลี่ยระยะยาว) แต่ ณ ตอนนี้ราคาหุ้นปรับตัวลงมาโดย PBV อยู่ที่ 1.1 เท่าปี 2016 และ 1 เท่า ปี 2017, 2) ความเสี่ยงในแง่ NPL จำกัด ซึ่งคาดจะ Peak ใน 3Q16 ก่อนที่จะทรงๆหรือลดลง ในช่วง 4Q16, 3) กำไรปีหน้าของกลุ่มคาดดีขึ้นตามแผนของภาครัฐ ซึ่งคาดเม็ดเงินจะเข้าในช่วงปลาย 4Q16 ถึง 1Q17 และ 4) แนวโน้มดอกเบี้ยคาดถึงจุดต่ำสุดแล้วเห็นได้จาก กนง. คงดอกเบี้ย 1.5% มา 4 ครั้ง คาดคงไม่เห็นสัญญานการปรับลดลงอีก และปีหน้าคงเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น จะทำให้ NIM ของกลุ่มดูเหมือนว่าจะทำจุดต่ำสุดไปแล้วในปีนี้ เรามีการปรับราคาเป้าหมายไปเป็น ณ สิ้นปี 2017 ดังนี้ BBL 213 บาท (จาก 202 บาท คงคำแนะนำ ซื้อ), KTB 19.3 บาท (จาก 18.2 บาท ยังคงคำแนะนำ ถือ), KBANK 232 บาท (จาก 180 บาท ปรับคำแนะนำขึ้นเป็น ซื้อ), SCB 193 บาท (จาก 183 บาท ยังคงคำแนะนำ ซื้อ), BAY 42.5 บาท (จาก 42 บาท คงคำแนะนำ ขาย), TMB 2.56 บาท (จาก 2.91 บาท ปรับลดคำแนะนำเป็น ถือ), TCAP 44 บาท (จาก 46 บาท ยังคงคำแนะนำ ถือ), TISCO 63.5 บาท (จาก 59 บาท ยังคงคำแนะนำ ซื้อ) และ KKP 64 บาท (จาก 60 บาท ยังคงคำแนะนำ ซื้อ) เราชื่นชอบ SCB, KBANK และ KKP ที่สุด
(0) VGI คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติเพิ่มทุน PP ไม่เกิน 340 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายมีส่วนลดได้ไม่เกิน 10% ของราคาตลาดซึ่งคำนวณจากราคาถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นในกระดาน ย้อนหลังไม่น้อยกว่า 7 วันทำการติดต่อกัน แต่ไม่เกิน 15 วันทำการติดต่อกัน ก่อนวันที่กำหไนดเสนอขายหุ้น การเพิ่มทุนครั้งนี้จะถูกนำเข้าเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้นวันที่ 7 พ.ย. (XM วันที่ 27 ก.ย.) เราเชื่อว่าเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนครั้งนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อการลงทุนและสร้างการเติบโตในอนาคต และยังช่วยเรื่องความยืดหยุ่นในแง่ของสัดส่วน D/E (เพิ่มขึ้นมาก่อนหน้านี้จากการลงทุนเกี่ยวเนื่องกับ Rabbit) เราประเมินว่าหากไม่มีกำไรส่วนเพิ่มที่จะเกิดขึ้นจากการเพิ่มทุนครั้งนี้ในอนาคต (กรณีเลวร้ายที่สุด) จะเกิด EPS dilution ราว 4.95% แต่เราเชื่อว่าผลจากการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจะดีกว่าผลกระทบในแง่ของการ dilution แน่นอน เรายังคงแนะนำนักลงทุน wait-and-see พัฒนาการการเติบโตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และยังคงคำแนะนำ ถือ
หุ้นมีข่าว/ประเด็น
(+) Opportunity day วันนี้ GUNKUL GIFT TTCL SCN TNP / จันทร์ 12 กย. SITHAI NWR MBKET TKS / อังคาร 13 กย. DIMET UREKA TPCH TACC PPP DRT SR / พุธ 14 กย. DAII BRR UAC CBG K UPOIC LST ที่มา ตลท.
(-) IFEC ซีอีโอ "อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น" แจงรายงานขายหุ้น แค่ปรับพอร์ต หลังสะสมหุ้นมาตั้งแต่ปลายปีอย่างมาก ยันไม่ทิ้งบริษัท ชี้ธุรกิจอนาคตสดใส ทุกอย่างเป็นไปตามแผน เตรียมสรุปดีลโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ต่างประเทศเร็วๆ นี้ (ที่มา ผู้จัดการ)
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
(+) นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เปิดเผยว่า เม็ดเงินต่างชาติเริ่มเข้าปีนี้ เมื่อช่วง 2 เดือนก่อนประชามติ โดย 3 ปีก่อนหน้านี้ไหลออกราว 3.8 เเสนล้านบาท โดยปีนี้เข้ามา1.2 เเสนล้านบาทตั้งเเต่ต้นปี โดยหากบรรยากาศสดใส เศรษฐกิจ และวิสัยทัศน์ภาครัฐ การเลือกตั้ง เเละการประเมินสถานการณ์ในไทยหากดีขึ้น จะสนับสนุนเม็ดเงินจากต่างชาติให้ไหลกลับเข้ามา แปลว่าโอกาสที่เงินต่างชาติจะกลับมาเข้ามาลงทุนเพิ่มในระยะยาวอาจจะกลับมาได้ (ที่มา หุ้นอินไซด์)
(+) Morgan Stanley มองปลายปี PBOC, BOJ, ECB จะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ: คาดจีนยังไม่มีแนวโน้มลดดอกเบี้ยในเดือนนี้ แต่จะลด 0.25% ใน 4Q16 และ 2Q17, ส่วนญี่ปุ่นคาดว่าการประชุม 21 กย. ยังไม่เพิ่มมาตรการ QQE และเพิ่ม NIRP (ดอกเบี้ยติดลบ) โดยจะรอดู Key message ในการประเมินผลจากโครงการที่ออกไปก่อนหน้านี้ MS ยังคงมองว่ามีโอกาสที่ BOJ จะเพิ่ม QQE อีกครั้งใน 4Q16, ECB การประชุมเดือนนี้มีโอกาสขยายระยะเวลาซื้อ PSPP ออกไปจากเดิมสิ้นสุด มีค.17
(+) หลัง US Fed Beige Book นักเศรษฐศาสตร์ 22% คงคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม 21 กย. และ 51% คิดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธค.นี้ (ที่มา Bloomberg)
(-) เมื่อวาน ECB คงดอกเบี้ย -0.4% และ ไม่ขยายเวลาซื้อสินทรัพย์ โครงการ PSPP (Public Sector Purchase Program) ออกไปจากเดิม ที่ สิ้นสุด มีค.2017
(0) ศุกร์ ธนาคารกลางเกาหลีใต้ คาดคงดอกเบี้ย 1.25% ฟิลิปปินส์ ส่งออกเดือน กค. คาด -11.2% จาก -11.4% y-y, จีน CPI สค. คาด +1.7% จาก 1.8% (ที่มา Bloomberg)
วิกิจ ถิรวรรณรัตน์ Tel. (662) 618-1336
นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน/ปัจจัยทางเทคนิค9-9-16