- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 07 September 2016 18:04
- Hits: 1016
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ผันผวนคล้ายกับประเทศ TIP เพราะต่างชาติมีสลับขายรายประเทศ ทำให้ดัชนีมีโอกาสแกว่งลง 1,480-1,485 จุด กลยุทธ์ถือหุ้น 30% เน้นหุ้น Low Beta + High Div (HANA, TTW) และมีกำไรเด่น 2H59 (CPF, BA, BLA, BCH, BDMS) Top picks BLA([email protected]) และ BDMS(FV@B27) และลงทุนระยะสั้น PTT(FV@B400)
ดัชนีชี้นำภาคบริการสหรัฐแย่.. Fed อาจชะลอขึ้นดอกเบี้ย หนุนน้ำมันฟื้น : PTT
ความหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐในการประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้งในปีนี้ มีโอกาสลดลง หลังจากวานนี้ สหรัฐรายงานดัชนีภาคบริการ (ISM Non- Manufacturing PMI) เดือน ส.ค. ปรับลดลง 7.4%mom อยู่ที่ระดับ 51.4 จุด ต่ำกว่าที่ตลาคคาด 55 จุด (ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และระดับต่ำสุดตั้งแต่ ก.พ.2553) สอดคล้องกับตลาดแรงงานที่ล่าสุดชะลอตัวกว่าคาด (Nonfarm payrolls เดือน ส.ค. อยู่ 1.5 แสนราย ลดลงจาก 2.55 แสนรายใน ก.ค. ชะลอตัวติดต่อกัน 3 เดือน)
และเนื่องจากภาคบริการและตลาดแรงงาน มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (ภาคบริการ คิดเป็น 77.6% ของ GDP สหรัฐ) ทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ลง สะท้อนจาก Fed Fund Future ล่าสุด คาดโอกาสในการประชุม 20-21 ก.ย. เหลือ 24% จาก 32% ก่อนหน้านี้ ขณะที่ประชุม 1-2 พ.ย. ลดลง เหลือ 27.3% จาก 35% และ 13-14 ธ.ค. เหลือ 51.8% จาก 59% กดดัน Dollar index อ่อนค่า 1% น่าจะเป็นปัจจัยหนุนสินทรัพย์เสี่ยงอย่าง น้ำมัน และ ทองคำ เป็นต้น
และความร่วมมือระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของผู้ผลิตน้ำมันอันดับ 1 และ 2 ของโลกอย่างรัสเซียและซาอุดิอาระเบีย เพื่อหาข้อสรุปในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันโลก ภายหลังการประชุม G20 ที่จีน 5 ก.ย. ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีต่อทิศทางน้ำมันโลก อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามการประชุมในกลุ่ม OPEC อย่างไม่เป็นทางการ 26-28 ก.ย. นี้ จะสามารถบรรลุข้อตกลงในการคงกำลังผลิตอย่างที่หวังได้หรือไม่
ล่าสุด ราคาน้ำมันดูไบมีแนวโน้มฟื้นตัวช่วงสั้น ๆ หลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นมาเกือบ 3% มาที่ 43.49 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล หลังจากทำระดับต่ำสุดของสัปดาห์ที่ 42.3 เหรียญฯ ซึ่งถือว่าดีต่อหุ้นน้ำมันอย่าง PTT(FV@B400) ราคาหุ้นมี Upside กว่า 20.12%
แม้แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคหนาแน่นขึ้น แต่ต่างชาติสลับมาขายหุ้นไทย
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่าสุทธิ 502 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิสูงสุดในภูมิภาคราว 310 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 226 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3), และอินโดนีเซีย 12 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิ 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องนานถึง 10 วัน) และตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิราว 24 ล้านเหรียญ หรือ 821 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิราว 476 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 6 วัน)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 2.0 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิราว 2.8 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 4 วัน)
บาทแข็งค่ากว่าคาด แต่ชดเชยด้วยฤดูกาลส่งออก ชอบ HANA, SVI, CPF
แม้ว่าเงินบาท เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เริ่มชะลอการแข็งค่าลงบ้างและอาจจะมีทิศทางกลับมาอ่อนค่านับจากนี้ จากแรงขายต่างชาติในตลาดหุ้น ทั้งตราสารหนี้และทุน ดังกล่าวข้างต้น แต่ตลอดช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ (ytd) พบว่า เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปแล้วกว่า 3.9% (จาก 36.02 บาท สู่ 34.62 บาทต่อเหรียญ หรือเฉลี่ย ytd อยู่ที่ 35.3 บาทต่อดอลลาร์) ซึ่งถือกดดันต่อกลุ่มส่งออก เพราะรายได้หลักๆ อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศ โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ จึงกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำกำไร แต่ขึ้นกับโครงสร้างรายได้ และ ต้นทุน ที่อยู่ในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ ตามสมมติฐานของ ASPS ได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 36 บาทต่อเหรียญ ทำให้ดูว่าทำไว้อ่อนเกินไว้ เพราะหากอิง ค่าเฉลี่ย ytd และในช่วงที่เหลือ ให้เงินบาทเคลื่อนไวไม่เกิน 35 บาท ค่าเฉลี่ยตลอดปีน่าจะอยู่ที่ราว 35.23 บาท ซึ่งต่ำกว่าประมาณการของฝ่ายวิจัย
เป็นที่สังเกตว่า ในส่วนของกลุ่มชิ้นส่วนฯ พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ได้รับผลลบใกล้เคียงกัน กล่าวคือทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่ากว่าสมมติฐาน จะทำให้ Fair Value ปีนี้ลดลงเฉลี่ย 7% แต่หากพิจารณาราคาหุ้นกับ Fair Value ใหม่พบว่ายังมี upside สูง โดยเฉพาะ HANA ยังมี upside สูงสุดกว่า 31% รองลงมาคือ SVI มี upside 19%, KCE มี upside 11.5% ยกเว้น DELTA upside เหลือน้อยสุดเพียง 4.5% ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูกาลส่งออก คาดว่ากำไรงวด 3Q59 สดใส จึงชอบ HANA มากสุด
กลุ่มส่งออกอาหาร ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับสมมติฐานไม่มากนัก ยกเว้น TU ได้รับผลกระทบมากสุด เพราะโครงสร้างรายได้เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 69% ขณะที่มีโครงสร้างต้นทุนเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 60% (จากการนำเข้าวัตถุดิบปลาทูน่าจากต่างประเทศ) และมีหนี้สินเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ราว 17% ของหนี้สินทั้งหมด หรือราว 168 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม TU ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงของสกุลเงินต่างประเทศในปี 2559 ไว้เกือบทั้งหมดแล้ว ดังนั้นความเสี่ยงดังกล่าวจึงผลกระทบต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป
ตรงข้ามกับ TFG ที่กลับได้รับประโยชน์ เพราะมีโครงสร้างรายได้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯราว 14% ของรายได้รวม แต่กลับมีต้นทุนเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯในสัดส่วนมากกว่า ที่ราว 24% ของรายได้รวม (จากการนำเข้าวัตถุดิบกากถั่วเหลืองจากต่างประเทศ) จึงทำให้ TFG ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าสมมติฐาน
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแง่ของ upside หลังปรับสมมติฐานเงินบาท จะพบว่า CPF มี upside สูงสุดกว่า 26% ตามด้วย TFG มี upside ราว 14% ขณะที่ GFPT มี upside เหลือ 12.6% ส่วน BR ไม่เหลือ upside แล้ว จึงยังชื่นชอบ CPF
กลยุทธ์ถือหุ้น 30% เน้นหุ้นกำไรเด่น 2H59: BA, BDMS, CPF, BCH
ภายใต้ดัชนีตลาดหุ้นที่ต่ำกว่า 1,500 จุด และคาดว่ามีโอกาสลงไปทดสอบแนวรับ 1480-1485 จุด และ แนวรับถัดไปคือ 1,450-1,460 จุด (Ex.P/E 16.3เ ท่า เป็นดัชนีเป้าหมายปี 2559) จึงยังแนะนำให้ถือหุ้น 30% และเลือกลงทุนหุ้นที่ผลกำไรเด่นใน 2H59 คือ
หุ้นโรงพยาบาล : เลือก BCH (FV@B14) เนื่องจากผลประกอบการพลิกกลับมาเติบโตก้าวกระโดด ขณะที่ราคาหุ้นยังไม่ตอบรับ BDMS (FV@B27) ซึ่งคาดว่าจะเป็น โรงพยาบาลแห่งเดียว ที่น่าจะได้ประโยชน์จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์ (BOI) โดยได้รับลดหย่อนภาษีเป็นเวลา 8 ปี เและ RJH (FV@B24) โรงพยาบาลน้องใหม่ที่คาดการเติบโตได้แบบก้าวกระโดด แต่ราคาหุ้นยังมี upside สูง ระยะสั้นน่าจะขึ้นไปปิดยอดสูงที่ทำไว้ในวันที่เข้าซื้อขายวันแรกที่ 22 บาท
หุ้นส่งออกอาหาร : นอกจากฤดูกาลส่งออกแล้ว พบว่าราคาผลิตภัณฑ์ทุกชนิด ทั้ง ราคาไก่ หมู และเป็ดมีแนวโน้ม ที่ดีขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ขณะที่ต้นทุนยังคงเปลี่ยนแปลงในอัตราที่น้อยกว่า หนุนให้กำไรในปี 2559 มีทิศทางที่ดีขึ้นจากปี 2558 อย่างมาก และจะยิ่งชัดเจนในไตรมาสถัดจากนี้ คือ CPF (FV@B40), GFPT (FV@B17) และ TFG ([email protected]) แต่เนื่องจากราคาหุ้นกลุ่มนี้ได้ปรับตัวขึ้นมามาก จึงแนะนำซื้อ เมื่อราคาอ่อนตัว โดย ณ ราคาปัจจุบันให้ทยอยสะสม CPF เป็นลำดับแรก
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นน้อยในช่วงที่ผ่านมาคือ HANA (FV@B42), DELTA (FV@B80), SVI (FV@B6)
หุ้นสายการบิน : จากการเข้าสู่ฤดูกาล High Season ที่เกาะสมุย ในช่วง 3Q59 หนุน BA ([email protected]) นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมันที่อยู่ในระดับต่ำ และการเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพ-ดานัง ซึ่งล้วนมีฐานลูกค้าที่ชัดเจน
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่น่าจะผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว ส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Yield) มีแนวโน้มปรับขึ้นต่อจากนี้ เลือก BLA ([email protected]) ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ภาระหนี้สินจากการซื้อกรมธรรม์ลดลง จะทำให้สามารถกลับรายการตั้งสำรองฯ มาเป็นรายได้ ทำให้งบกำไรขาดทุนดีขึ้นใน 3Q59
ส่วนที่เหลือถือเงินสด 70% หรือลงทุนใน property fund ที่มีความผันผวนต่ำ แต่ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลที่สม่ำเสมอ ได้แก่ CPNRF และ TFUND หรือเลือกหุ้นปลอดภัย หุ้นที่มี Beta ต่ำ Div. Yield สูง ดังตารางด้านล่าง
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์