- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 01 September 2016 17:17
- Hits: 1412
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
โอกาส Fed ปรับดอกเบี้ยมีสูงขึ้น
คาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลงตามตลาดหุ้นสหรัฐที่โดนราคาน้ำมันฉุดร่วงลง ตัวเลขว่าจ้างงานภาคเอกชนและยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐที่ออกมาดียิ่งเพิ่มความน่าจะเป็นของการขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปีนี้ ตัวเลขว่าจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่จะประกาศวันศุกร์ยังเป็นจุดสนใจหลักของนักลงทุน นักลงทุนโล่งอกที่ตัวเลข PMI ภาคอุตสาหกรรมจีนที่ออกมาเช้านี้ขยายตัวผิดคาด ปัจจัยภายในประเทศวันนี้เป็นลบ ธปท. แถลงเศรษฐกิจชะลอในเดือน ก.ค. จากเดือน มิ.ย. แต่เรายังเชื่อมั่นว่าไตรมาส 3 ยังจะขยายตัวแรงกว่า 3.4% ในครึ่งปีแรกด้วยรัฐบาลกำลังเดินหน้าลงทุนและใช้จ่ายอย่างเต็มที่ก่อนสิ้นปีงบประมาณในเดือน ก.ย. กระทรวงพาณิชย์ปรับตัวเลขการส่งออกเดือน ก.ค. หดตัวมากกว่าเก่า
หุ้นเด่นวันนี้ : BBL (169.50 บาท; ซื้อ, ราคาเป้าหมายปี 59 ของ AWS 188.00 บาท)
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในสองหุ้นในกลุ่มธนาคารที่เราแนะนำ (หุ้นอีกตัวหนึ่งคือ TCAP (40.00 บาท; ซื้อ, ราคาเป้าหมายปี 59 ของ AWS 46.00 บาท)) จากการที่ธนาคารน่าจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์อย่างมากจากการขยายตัวของสินเชื่อองค์กรขนาดใหญ่เนื่องจากเราคาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รวมถึงช่วงเวลาหลังจากนั้น จะมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเพิ่มมากขึ้น อีกทั้ง การขยายตัวของ GDP ซึ่งดีกว่าที่คาดในช่วงครึ่งปีแรกจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ตลาดมีมุมมองบวกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ทำให้นำไปสู่การลงทุนจากภาคดังกล่าวมากขึ้นในอนาคต นั่นหมายความว่าความต้องการของสินเชื่อก็จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย
นอกจากนั้น เรายังชอบ BBL ตรงที่ธนาคารมีคุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแกร่ง โดยในไตรมาส 2/59 อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ของธนาคารอยู่ที่ 164.5% สูงกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 129.8% ซึ่งการตั้งสำรองหนี้สูญจำนวนมากนี้จะทำให้ธนาคารได้เปรียบคู่แข่งที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการพยายามที่จะเพิ่มปริมาณเงินตั้งสำรองให้เพียงพอ ในแง่ของการประเมินมูลค่า หุ้น BBL มีความน่าสนใจมากอิงจากอัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าทางบัญชีที่ถูกที่ 0.9 เท่า และมีอัตราเงินปันผลตอบแทนน่าสนใจที่ 4.1% เราคาดการณ์กำไรจะเติบโตที่ 5.5% ในปี 59 และ 7.4% ในปี 60 Price Pattern ของ BBL ยังคงอยู่ในช่วงการปรับฐานระยะสั้นจากการเกิด Daily Sell Signal และหาก BBL ปิดตลาดรายสัปดาห์ต่ำกว่า 168 บาท ก็จะกลับมาเกิด Weekly Sell Signal ครั้งใหม่ ซึ่งบ่งบอกว่า Price Pattern ของ BBL ยังจะอยู่ในช่วงการปรับฐานไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งในช่วงการปรับฐานของ BBL นี้เอง ถือเป็นโอกาสในการหาจังหวะเพื่อเข้าเก็บหุ้น โดยเฉพาะที่บริเวณแนวรับแข็งแกร่งที่ 164.50 บาท เนื่องจาก Price Pattern ของ BBL ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิด Monthly Buy Signal อยู่นั่นเอง ทั้งนี้เมื่อพิจารณา Price Pattern ของ BBL คาดว่ายังคงแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 164.50-177.00 บาท โดยมีแนวรับแข็งแกร่งอยู่ที่ 164.50 บาท และมีแนวต้านแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นเป้าหมายเบื้องต้นที่ได้ทดสอบไปแล้วแต่ไม่ผ่านอยู่ที่ 177.00 บาท (Resistance: 170.50, 171.50, 172.50; Support: 169.00, 168.00, 167.00)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
แบงค์ชาติชี้เงินบาทยังแข่งขันได้ ผู้ว่าการ ธปท. ยืนยันว่าค่าเงินบาทไทยยังแข่งขันได้ ท่ามกลางเงินทุนไหลเข้าจำนวนมากสู่ตลาดการเงินไทย โดยบาทยังวิ่งสอดคล้องกับค่าเงินในภูมิภาค ธปท. กล่าวว่ามีการบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้าผ่านเครื่องมือทางนโยบายการเงินเพื่อป้องกันเงินทุนทะลักเข้าเกินไปซึ่งจะบั่นทอนการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยพร้อมจะใช้เครื่องมือเหล่านี้เมื่อพิจารณาว่าการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนไม่สอดคล้องกับเสถียรภาพทางการเงินหรือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ (Bangkok Post)
เศรษฐกิจ ก.ค. เติบโตช้า เจ้าหน้าที่อาวุโสของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าเศรษฐกิจไทยใน ก.ค. โตช้ากว่า มิ.ย.เล็กน้อยส่วนใหญ่เพราะการบริโภคภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐที่ต่ำลง ตัวเลขดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเพียง 2.4% YoY ชะลอจาก 3.4% ใน มิ.ย. ขณะเดียวกันการใช้จ่ายการคลังหดตัว 16.3% YoY เทียบกับเติบโต 25.9% ใน มิ.ย. (Bangkok Post) ความเห็น: เราประเมินว่าภาพเศรษฐกิจไตรมาส 3/59 โดยรวมยังดีอยู่เนื่องจากมีการผลักดันโครงการโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เราคาดว่าการใช้จ่ายภาครัฐจะเร่งขึ้นโดยเฉพาะใน ก.ย. ที่เป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ
ตัวเลขส่งออกถูกปรับลดลงในเดือนก.ค. กระทรวงแจ้งแก้ไขตัวเลขการส่งออกเดือนก.ค. 59 ติดลบเพิ่มขึ้นเป็น -6.4% จากเดิมที่แถลงไว้เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมาว่าติดลบ -4.4% โดยชี้แจงว่าการแถลงก่อนหน้านี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งขณะนี้ได้รับการยืนยันตัวเลขจากกรมศุลกากรแล้ว ขณะที่ตัวเลขการนำเข้าไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ตัวเลขการค้าเกินดุลลดลงเหลือ 843 ล้านดอลลาร์ฯ จากเดิมที่ 1.21 พันล้านดอลลาร์ฯ (Bangkok Post)
เพิ่มโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เข้าไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปี 2560-64 ในที่ประชุมทำเนียบรัฐบาลวานนี้ ซึ่งเป็นการหารือร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะทำงานโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาการบรรจุ EEC ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้ต่อเนื่อง (Bangkok Post)
ต่างประเทศ
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เทียบกับเงินสกุลหลัก ๆ เมื่อวันพุธ หลังจากข้อมูลภาคการผลิตมีผลกระทบต่อมุมมองเชิงบวกต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐก่อนรายงานการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นอยู่ที่ระดับ 96.255 สูงสุดนับแต่วันที่ 9 ส.ค. ก่อนปรับตัวลงมาอยู่ที่ 96.005 อย่างไรก็ตาม ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 103.39 เยน (Reuters)
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปี เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อวันพุธ แต่เพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อคิดเป็นรายเดือนในรอบกว่า 1 ปีเนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งและความผันผวนที่จำกัดได้ลดความต้องการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐซึ่งเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย เมื่อวันพุธ ราคาพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีเพิ่มขึ้น 3/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 1.56% (Reuters)
สหรัฐ :
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบเมื่อวันพุธ ถูกฉุดจากหุ้นกลุ่มพลังงานหลังจากราคาน้ำมันร่วงลงกว่า 3% การจ้างงานของภาคเอกชนที่แข็งแกร่งและยอดการซื้อบ้านที่รอการปิดการขายเป็นปัจจัยหนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ดัชนีอ้างอิงดังกล่าวเติบโตติดลบนับแต่เดือนก.พ. (Reuters)
การจ้างงานภาคเอกชนเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือนส.ค. มีรายงานจาก ADP ว่าการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่งในเดือนก่อนหลังจากที่เพิ่มขึ้น 194,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ (Reuters)
ยอดการซื้อบ้านที่รอการปิดการขายเพิ่มขึ้นในเดือนก.ค. สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ (NAR) รายงานดัชนีบ้านที่รอการปิดการขายเพิ่มขึ้น 1.3% สูงสุดเป็นครั้งที่สองในรอบกว่าทศวรรษ สัญญาการซื้อขายบ้านที่รอปิดการขายจะกลายเป็นยอดขายภายใน 1-2 เดือน และข้อมูลในเดือนก.ค. บ่งบอกถึงบ้านที่ปิดการขายแล้วเอามาขายใหม่ (home resales) มีจำนวนเพิ่มขึ้นหลังจากที่ลดลง 3.2% ในเดือนมิ.ย. นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดขายบ้านที่รอปิดการขายจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.6% ในเดือนก.ค. (Reuters)
กิจกรรมด้านการผลิตในแถบมิดเวสต์ลดลง สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ที่ชิคาโกระบุว่าดัชนีภาคการผลิตลดลง 4.3 จุดอยู่ที่ 51.5 จุดในเดือนส.ค. ดัชนีที่สูงกว่า 50 จุดหมายถึงมีการขยายตัวด้านการผลิตในย่านที่มีการทำอุตสาหกรรมรถยนต์ (Reuters)
ยุโรป :
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันพุธปรับตัวลดลง นำโดยการอ่อนตัวลงของหุ้นกลุ่มสินแร่และหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตามหุ้นธนาคารปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องท่ามกลางข่าวการควบรวมกิจการในอุตสาหกรรมธนาคารด้วยกัน (Reuters)
John Cryan CEO ของ Deutsche Bank กล่าวถึงการควบควมกิจการที่อาจมีมากขึ้น หลังจากที่มีรายงานว่าทาง Deutsche Bank กำลังพิจารณาการควบควมกิจการกับ Commerzbank ซึ่งเป็นธนาคารคู่แข่ง (Reuters)
เอเชีย :
บริษัทญี่ปุ่นเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านอาคารและอุปกรณ์ ในไตรมาส 2/59 ถึง 3.1%YoY เป็นข้อมูลที่เปิดเผยโดยกระทรวงการคลัง ในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา แต่ชะลอตัวลงจากการเติบโต 4.2%YoY ในไตรมาส 1/59 เป็นสัญญาณว่าการใช้จ่ายทุนขาดโมเมนตัมความต่อเนื่อง ข้อมูลดังกล่าวถูกใช้ในการคำนวณตัวเลข GDP ที่ปรับปรุงแล้วในวันที่ 8 ก.ย. ประมาณการเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอลงในไตรมาส 2/59 ขยายตัวเพียง 0.2% ต่อปี เนื่องจากการส่งออกและการใช้จ่ายเงินทุนที่อ่อนแอ (Reuters)
ภาคการผลิตของจีนขยายตัวอย่างไม่คาดคิดในเดือน ส.ค. แต่การเจริญเติบโตยังไม่แข็งแกร่ง โดยผลสำรวจอย่างเป็นทางการบ่งชี้ว่า PMI เพิ่มขึ้นเป็น 50.4 ในเดือน ส.ค. เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่ 49.9 และสูงกว่า 50 จุด ซึ่งเป็นจุดชี้การเจริญเติบโตหรือหดตัว ขณะที่ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์ คาดการณ์ไว้ที่ 49.9 (Reuters)
จีนเผชิญความยากลำบากในการประชุมเป้าหมายทางเศรษฐกิจ: สะท้อนว่าหากต้องการบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ จะต้องใช้ความพยายามที่ยากลำบาก เพราะคาดว่าเศรษฐกิจจะอยู่ภายใต้ความกดดันอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2559 ตามที่ Xu Shaoshi หัวหน้าของหน่วยการพัฒนาและปฏิรูปคณะกรรมการแห่งชาติ (NDRC) แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของจีนมีสัญญาณของการรักษาเสถียรภาพ แต่ยังคงเป็นความกังวลต่อความยั่งยืนของการเจริญเติบโต รวมถึงแรงหนุนจากการลงทุนของภาครัฐ และตลาดอสังหาริมทรัพย์ (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาน้ำมันปิดลง 3% วันพุธ สวนเดือน ส.ค. ที่บวกไป เพราะรัฐบาลเผยข้อมูลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐและตัวเลขผลิตภัณฑ์ที่กลั่นจากน้ำมันดิบรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นผิดคาด และเบนซินถอนใช้น้อยกว่ากว่าคาด Brent ลบ 1.33 ดอลลาร์สหรัฐ (-2.8%) ปิดที่ 47.04 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยตอน ส.ค. เพิ่มขึ้นถึง 11% น้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าลบ 1.65 ดอลลาร์สหรัฐ (-3.6%) ปิดที่ 44.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดย ส.ค.บวกไป 7% (Reuters)
สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 2.3 ล้านบาร์เรลสู่ 1.221 พันล้านบาร์เรลสำหรับสัปดาห์สิ้นสุด 26 ส.ค. ตัวเลขจาก EIA กรมพลังงานระบุในวันพุธ เทียบกับคาดการณ์นักวิเคราะห์ว่าจะเพิ่ม 9.21 แสนบาร์เรล สต็อกผลิตภัณฑ์ที่กลั่นจากน้ำมันดิบ เช่น ดีเซลและน้ำมันเตาเพิ่ม 1.5 ล้านบาร์เรลผิดคาด ขณะที่สต็อกเบนซินก็ร่วงแค่ 6.91 แสนบาร์เรล เป็นเพียงครึ่งเดียวของที่คาดการณ์ไว้ (Reuters)
ทองคำร่วงสู่จุดต่ำสุดในรอบสองเดือนในวันพุธ หลังตัวเลขการจ้างงานสหรัฐดีกว่าที่คาดทำให้ยิ่งคาดการณ์ว่า Fed พร้อมขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ดัชนีค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแตะจุดสูงสุดรอบสามสัปดาห์ ราคาทองคำตลาดจรลดลง 0.2% ปิดที่ 1,308.01 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ทองคำล่วงหน้าสหรัฐส่งมอบ ธ.ค. ลบ 0.4% ปิดที่ 1,311.40 ดอลลาร์สหรัฐ (Reuters)
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 02 680 5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun, CFA, FRM (No.49234) Tel: 02 680 5094