- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 31 August 2016 16:50
- Hits: 1009
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
จุดสนใจอยู่ที่ตัวเลขว่าจ้างงานสหรัฐวันศุกร์
คาดหุ้นไทยวันนี้ปรับตัวลงท่ามกลางการคาดการณ์ที่เพิ่มมากขึ้นว่า Fed จะปรับดอกเบี้ยขึ้นในเดือนกันยายน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจแข็งแกร่งหลายตัวของสหรัฐและราคาน้ำมันที่ร่วงลงอีก แต่ตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวที่อ่อนแอของญี่ปุ่นอาจทำให้ BOJ ต้องออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินในเดือน ก.ย. เช่นกัน ภายในประเทศการส่งออกที่อ่อนแอยังคงส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมของไทย เห็นได้จากดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค. ที่ยังหดตัวต่อ รัฐบาลยังคงดำเนินความพยายามช่วยเหลือเกษตรกร ล่าสุดออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 8.6 พันล้านบาทสำหรับชาวไร่มันสำปะหลังและเกษตรกรที่มีโครงการขนาดใหญ่
หุ้นเด่นวันนี้ : BCP (33.25 บ.; ซื้อ, ราคาเป้าหมาย AWS 40.50 บาท)
บมจ.บางจากปิโตรเลียม เป็นหุ้นเด่นของเราในวันนี้ด้วยแนวโน้มธุรกิจของบริษัทที่สดใส โดยเฉพาะธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากความคืบหน้าล่าสุดของการจดทะเบียน BCPG เข้าตลาดหลักทรัพย์ภายในปีนี้ โดย BCPG ตั้งเป้าจะใช้การระดมทุนผ่านการทำ IPO เพื่อขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าที่จะมาจากพลังงานหมุนเวียนขึ้นเป็น 1,000 เมกะวัตต์ภายในปี 2563 จากระดับปัจจุบันที่ 138 เมกะวัตต์ซึ่งมาจากพลังงานแสงอาทิตย์เพียงอย่างเดียว เบื้องต้นเรามีมุมมองเชิงบวกผ่านการระดมทุนดังกล่าวแม้ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากนักเกี่ยวกับโครงการลงทุนในอนาคต โดยเราประเมินว่าการเติบโตที่ท้าทายข้างต้นจะมากเพียงพอที่จะชดเชยกับผลของ Dilution effect จากการเพิ่มทุน ขณะที่ผลการดำเนินงานของธุรกิจหลักในปัจจุบันยังคงแข็งแกร่งหลังจาก BCP ดำเนินการซ่อมบำรุงใหญ่โรงกลั่นเป็นเวลา 45 วัน เสร็จสิ้นไปเมื่อไตรมาส 1/59 ที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่ายังเห็นการเติบโตของกำไรสุทธิปีนี้ได้ราว 9% จากการเดินเครื่องโรงกลั่นในระดับที่มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่นับตั้งแต่ช่วง 2Q59 รวมไปถึงการเติบโตปกติของธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน ก่อนที่กำไรจะปรับตัวสูงขึ้นเต็มที่ 33% ในปีหน้าด้วยแรงหนุนจากการเดินเครื่องโรงกลั่นเต็มที่ทั้งปีรวมไปถึงการดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ซึ่งจะเริ่มในปีหน้าของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหม่ในญี่ปุ่นกำลังการผลิตรวม 20 เมกะวัตต์ ราคาหุ้นปัจจุบันยังน่าสนใจด้วยอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่ราว 4-5% ต่อปี ในส่วนของ Price Pattern ของ BCP ยังคงมีความแข็งแกร่งในแนวโน้มขาขึ้นจากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Buy Signal โดยเมื่อพิจารณาการกลับมาเกิด Daily Buy Signal ครั้งใหม่ของ BCP คาดว่าน่าจะปรับตัวขึ้นไปทดสอบเป้าหมายสำคัญระยะสั้นที่ 34.25 บาท โดย BCP มีจุด Stop Loss ระยะสั้นอยู่ที่ 31.25 บาท (แนวต้าน: 33.50, 33.75, 34.25; แนวรับ: 33.00, 32.50, 32.25)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
ดัชนีผลผลิตอุตสากรรม ก.ค. ร่วง สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานตัวเลขดัชนีผลผลิตอุตสากรรม ก.ค. ร่วง 5.1% เทียบปีก่อนเหลือ 103.36 ส่วนใหญ่มาจากการชะลอตัวของภาคยานยนต์ สิ่งทอ พลาสติกและยาง อัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมโดยรวมร่วงสู่ 62.34% จาก 66.43% ใน ก.ค. ปีที่แล้ว สศอ. คงการคาดการณ์ดัชนี MPI ปีนี้ไว้ที่ 1-2% (OIE/Bangkok Post) ความเห็น: เราเชื่อว่าตัวเลขที่ลดลงน่าจะมาจากวันหยุดยาวและตัวเลขส่งออกที่อ่อนแอ แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าเทียบดอลลาร์ซึ่งมาจากการที่ Fed เตรียมขึ้นดอกเบี้ยน่าจะหนุนผู้ส่งออกรวมถึงผู้ผลิตด้วย
ครม. อนุมัติวงเงินสนับสนุนแก่เกษตรกร โดยเตรียมปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำวงเงินราว 5.36 พันลบ. สำหรับเกษตรมันสำปะหลัง ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเตรียมปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ให้เกษตรกรกู้ได้รายละ 5 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 (Bangkok Post)
ต่างประเทศ
จับตาตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่จะประกาศในวันศุกร์นี้หลังข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งหลั่งไหลเข้ามา มีรายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลังจากมีข้อมูลที่แข็งแกร่งเกี่ยวกับการใช้จ่ายผู้บริโภค การก่อสร้างที่อยู่อาศัย คำสั่งซื้อสินค้าคงทนและผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งบ่งบอกถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราเร่งหลังจากที่ผลผลิตขยายตัวในอัตรา 1.0% ในครึ่งแรกของปีนี้ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐที่จะประกาศในวันศุกร์นี้จะเป็นตัวบ่งชี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดจากคำพูดที่เป็นนัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของประธานเฟดสาขาหลายราย (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์เทียบกับเงินสกุลหลัก ๆ และเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 1 เดือนเมื่อเทียบกับเงินเยนเนื่องจากนักลงทุนให้ความสนใจตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะประกาศในวันศุกร์นี้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นอยู่ที่ระดับ 96.143 สูงสุดนับแต่วันที่ 9 ส.ค. ก่อนปรับตัวลงมาอยู่ที่ 96.062 ปิดเพิ่มขึ้น 0.50% เมื่อวันอังคาร (Reuters)
ราคาพันธบัตรสหรัฐมีการเคลื่อนไหวเล็กน้อยเมื่อวันอังคาร เนื่องจากนักลงทุนคงสถานะไว้หลังจากที่ความเห็นของนายฟิสเชอร์ รองประธานเฟด ซึ่งระบุว่าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะประกาศในวันศุกร์นี้มีผลต่อการพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาพันธบัตรอายุ 10 ปีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 1.571% ส่วนราคาพันธบัตรอายุ 2 ปีใกล้แตะระดับเดียวกับเมื่อวันจันทร์ อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 0.805% (Reuters)
สหรัฐ :
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบเมื่อวันอังคาร โดยได้รับแรงกดดันจากหุ้นบริษัทแอปเปิล หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) มีคำสั่งให้แอปเปิลจ่ายเงิน 1.3 หมื่นล้านยูโร (1.45 หมื่นล้านดอลลาร์) เป็นค่าภาษีย้อนหลังให้แก่รัฐบาลไอร์แลนด์ หลังพบว่าทางบริษัทได้รับประโยชน์ด้านภาษีจากรัฐบาลไอร์แลนด์ที่ผิดกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (EU) อย่างไรก็ตาม มีแรงซื้อเข้ามาในกลุ่มที่ผลประกอบการเป็นไปตามวงจรธุรกิจรวมทั้งหุ้นกลุ่มธนาคารยังคงปรับตัวขึ้นซึ่งชดเชยแรงขายไปได้บางส่วน (Reuters)
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 11 เดือนในเดือนส.ค. โดยมีความเชื่อมั่นมากขึ้นเกี่ยวกับตลาดแรงงาน เป็นสัญญาณต่อไปว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวหลังจากที่สั่นคลอนในครึ่งแรกของปี 59 Conference Board เผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเพิ่มขึ้น 4.4 จุดอยู่ที่ 101.1 ในเดือนนี้ ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับแต่เดือนก.ย. 58 ทั้งนี้ ผู้บริโภคได้ประเมินทั้งสถานการณ์ทางธุรกิจในปัจจุบันและภาวะตลาดแรงงานว่ามีการปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในเดือนส.ค. (Reuters)
ราคาบ้าน มิ.ย. เติบโตปานกลาง: ดัชนีราคาบ้าน S&P CoreLogic Case-Shiller composite จาก 20 เขตเมืองหลวงในสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.1% เทียบปีก่อนสำหรับเดือน มิ.ย. หลังจากเพิ่มขึ้น 5.3% ใน พ.ค. ราคาในทั้ง 20 เมือง มิ.ย. ร่วงลง 0.1% เมื่อเทียบเดือนก่อนหลังจากปรับผลของฤดูกาล ตามผลการสำรวจ สอดคล้องกับคาดการณ์ที่ว่าจะลดลง 0.1% เช่นกัน (Reuters)
ยุโรป :
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันอังคารปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ นำโดยหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินที่ปรับตัวสูงขึ้น อาทิ Deutsche Bank, ABN Amro, Natixis และ Credit Suisse ท่ามกลางความคาดหวังว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ (Reuters)
เอเชีย :
การเจริญเติบโตของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นต้องหยุดชะงักในเดือน ก.ค. หลังจากที่กำไรของเดือน มิ.ย. ชี้ให้เห็นความเปราะบางของกิจกรรมโรงงานที่ทรงตัวเมื่อเทียบกับประมาณการค่าเฉลี่ยของนักเศรษฐศาสตร์ในการสำรวจความคิดเห็นของรอยเตอร์ที่เพิ่มขึ้น 0.8% หลังจากเพิ่มขึ้น 2.3% ในเดือน มิ.ย. ตามผลสำรวจผู้ผลิตของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (MITI) โดยกระทรวงคาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น 4.1% ในเดือน ส.ค.และลดลง 0.7% ในเดือน ก.ย.(Reuters)
BOJ อาจจะพิจารณาซื้อพันธบัตรต่างประเทศเป็นตัวเลือกที่จะทำให้เงินเยนอ่อนค่า ถ้ามีการแทรกแซงของรัฐบาลในตลาดเงินสหรัฐฯ จะถือว่าเป็นการจัดการปั่นอัตราแลกเปลี่ยน ที่ปรึกษาส่วนตัวของ ชินโซ อะเบะ กล่าวไว้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (Reuters)
มูดี้ส์คงอันดับเครดิตเรทติ้ง A1 ให้ญี่ปุ่น เรทติ้งของญี่ปุ่นแสดงถึงความก้าวหน้าในการพัฒนากรอบนโยบายที่ช้าแต่มีความต่อเนื่อง ซึ่งในที่สุดอาจจะเพิ่มเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ (Reuters)
การซื้อความสนุกสนานฟุ่มเฟือยของจีนในต่างประเทศติดระดับสูงสุดใหม่: ในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 บริษัทจีนใช้เงินกว่า 130 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (4.6 ล้านล้านบาท) ในต่างประเทศ นับเป็น 4 เท่าของช่วงครึ่งหลังของปี 2558 การซื้อที่ผ่านมา อาทิเช่น ไร่องุ่นฝรั่งเศส, โรงภาพยนตร์ในสหรัฐอเมริกาและทีมฟุตบอลยุโรป นอกจากนี้ ChemChina ที่รัฐเป็นเจ้าของกำลังจับตาที่จะซื้อกิจการ สารกำจัดศัตรูพืชของกลุ่มสวิส ซินเจนทา อาจสรุปได้ว่ามันจะเป็นการเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของจีนที่เคยมีการเสนอราคาสูงถึง 43 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.5 ล้านล้านบาท (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาน้ำมันปิดลงวันอังคาร เพราะดอลลาร์แข็งค่าและจากความกังวลที่กลับมาเกี่ยวกับคาดการณ์อุปทานน้ำมันยิ่งล้นเกินและอิหร่านระบุว่าอยู่ระหว่างเพิ่มการผลิตไปสู่จุดสูงสุด ข่าวว่าบริษัทพลังงานในอ่าวเม็กซิโกได้หยุดการผลิตเป็นสัดส่วน 22% เพื่อเตรียมรับมือพายุโซนร้อนจะทำให้ขาลงของน้ำมันยังถูกจำกัดไว้ Brent ลบ 89 เซนต์ (-1.85%) ปิดที่ 48.37 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าลบ 63 เซนต์ (-1.3%) ปิดที่ 46.35 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (Reuters)
ทองคำดีดร่วงสู่จุดต่ำสุดในรอบหกสัปดาห์ในวันอังคาร ผลจากเจ้าหน้าที่ Fed ออกมาทำนองว่าจะขึ้นดอกเบี้ย ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น ราคาทองคำตลาดจร ลดลง 0.8% ที่ 1,312.71 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ หลังแตะจุดต่ำสุดนับแต่ 21 ก.ค. ที่ 1,311.65 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทองคำล่วงหน้าสหรัฐส่งมอบ ธ.ค. ลบ 0.8% ปิดที่ 1,316.5 ดอลลาร์สหรัฐ (Reuters)
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 02 680 5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun, CFA, FRM (No.49234) Tel: 02 680 5094