- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 31 August 2016 16:36
- Hits: 919
บล.ฟินันเซีย ไซรัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
คาด SET ยังมีสิทธิแกว่งลงให้เป็นโอกาสค่อยๆ ทยอยซื้อสะสมต่อได้
ตลาดหุ้นวานนี้ : แม้ว่า SET จะขยับกลับมาแกว่งตัวด้านบวกได้ แต่ก็ยังมีกรอบบวกที่ค่อนข้างแคบ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุน ขณะที่นักลงทุนยังรอติดตามดูตัวเลขการจ้างงานฯ ของสหรัฐในช่วงท้ายสัปดาห์นี้อีกครั้ง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้หรือไม่ นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกก็เริ่มอ่อนแรงลงต่อ หลังมีข่าวว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันยังมีการเพิ่มการผลิตอยู่
แนวโน้มตลาดวันนี้ : ตลาดหุ้นเอเชียยังแกว่งตัวไร้ทิศทางต่อ หลังเมื่อคืนนี้ตลาดหุ้นสหรัฐเริ่มปรับลงอีกครั้ง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการร่วงลงของหุ้นบริษัทแอปเปิล อิงค์ และข้อมูลราคาบ้านในสหรัฐที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้นักลงทุนยังรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ส.ค. ของสหรัฐในวันศุกร์ที่ 2 ก.ย.นี้ด้วย ขณะที่รายงานของคณะกรรมาธิการยุโรป(EC) ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ(ESI) ร่วงลงเกินคาดในเดือน ส.ค. อีก ส่วนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอ่อนตัวลงอีกกว่า 1% โดยนักลงทุนยังรอติดตามการเปิดเผยรายงานสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐในค่ำวันนี้จากทาง EIA อยู่ ทำให้ FSS ยังคาดว่า SET มีโอกาสแกว่งตัวลงได้อีกมากกว่า
กลยุทธ์ : เราจึงยังแนะนำให้เลือกหุ้นค่อยๆ ทยอยซื้อช่วง SET ลบเช่นเดิม โดยคาดว่าหลัง SET ปรับพักตัวสักระยะแล้ว มีสิทธิกลับไปขยับขึ้นรอบใหม่ได้
แนวรับ 1544-1540 , 1538-1532 จุด
แนวต้าน 1550-1553 , 1556-1558 จุด
หุ้นเด่นทางเทคนิค : LPH, TPBI, WHA(buy back)
Fund Flow วานนี้กระแสเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค US$64ล้าน เม็ดเงินไหลเข้าเกาหลีใต้ US$92ล้าน ไต้หวัน US$57ล้าน และไทย US$21ล้าน ขณะที่ไหลออกจากอินโดนีเซีย US$58ล้าน และฟิลิปปินส์ US$46ล้าน แนวโน้มกระแสเงินทุนมีทิศทางไหลเข้าภูมิภาคแต่อาจยังเห็นการชะลอตัวของเงินทุนเนื่องจากความกังวลต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed
ข่าว/หุ้นเด่นมีประเด็น
(+) แบงก์ของไทยแข็งแกร่งเมื่อเทียบภูมิภาค ในขณะที่สถาบันการเงินหลายประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ โดยเฉพาะแบงก์ในญี่ปุ่นที่ NIM ต่ำกว่า 1% เพราะ BOJ ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ ส่วนจีน NPL ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่แบงก์ของไทยไม่มีปัญหาดังกล่าว แม้ดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลงใน 2Q16 แต่ NIM กลับเพิ่มเป็นเฉลี่ย 3.42% จาก 3.36% ใน 1Q16 และแม้ NPL จะเพิ่มแต่ Coverage ratio สูงมาก 127% ส่วนสินเชื่อ 7M16 ที่ -0.5% YTD ไม่น่ากังวล และหลายแบงก์จ่ายปันผลงวดครึ่งปี (ยกเว้น KTB, TMB, TISCO จ่ายปีละ 1 ครั้ง) ส่วนใหญ่ขึ้น XD ต้นเดือนหน้า ช่วยจำกัด downside ของราคากลุ่มแบงก์ Top picks ยังเป็น SCB (ราคาพื้นฐานปีนี้ 182 บาท) และ KKP (ราคาพื้นฐานปีนี้ 61 บาท)
(+) กลุ่มโรงพยาบาลยังน่าสนใจ ราคาหุ้นพักฐานพอสมควรแล้ว ขณะที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งไม่เปลี่ยนแปลง และเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล ล่าสุด BOI เห็นชอบนโยบายส่งเสริมการแพทย์ครบวงจร ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ 5-8 ปีแก่กิจการผลิตยา สำหรับผลการดำเนินงาน 3Q16 เราคาดโตดีต่อเนื่องเพราะ High season เราชอบ BCH (ราคาพื้นฐานปี 2017 ที่ 14 บาท) และ BDMS (ราคาพื้นฐานปี 2017 ที่ 26 บาท) รองลงมา LPH (ราคาพื้นฐานปี 2017 ที่ 10.50 บาท)
(0) TOP เราปรับลดคำแนะนำเป็นถือ จากเดิมซื้อ เพราะแม้จะปรับราคาพื้นฐานไปเป็นปีหน้าที่ 73 บาทแต่ Upside ยังจำกัด เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2016 ขึ้น 38% เป็น +56% Y-Y แต่กำไรส่วนใหญ่ 65% อยู่ใน 1H16 แล้ว แนวโน้ม 2H16 ชะลอเพราะกำไรจากสต็อกน้ำมันที่ลดลงและมีหยุดซ่อมโรงงานใน 3Q16 และคาดกำไรปี 2017 ชะลอต่อ -10% Y-Y เพราะกำไรจากสต็อกน้ำมันที่ต่ำกว่าปีนี้และ Margin ของปิโตรเคมีที่จะถูกกดดันจาก Supply ใหม่ที่เพิ่มขึ้น แนะนำถือเพื่อรับปันผล 1.50 บาท/หุ้น XD 8 ก.ย.
(+) TM เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องผ่าตัด ห้องผู้ป่วยทั่วไป ห้องปฎิบัติการ ห้องฉุกเฉิน และธนาคารเลือด ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ และมีสินค้าของตัวเองแบรนด์ TM Medipak (ซองบรรจุเวชภัณฑ์ทำให้ปลอดเชื้อ) TM Tubing Pack (ชุดสายยางสำหรับผ่าตัดหัวใจ) และ TM Stericap (จุกปิดปลายวัสดุการแพทย์) โดยว่าจ้างผู้ผลิตจากไต้หวันและมาเลเซียผลิต รายได้ของ TM เติบโตจากการซื้อซ้ำเพราะสินค้าประมาณ 60% เป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และการขยายสินค้าใหม่ รายได้และกำไรปี 2013-15 โตเฉลี่ย 19% เท่ากัน เราคาดกำไรปี 2016-18 โตเฉลี่ย 37% ประเมินมูลค่าเหมาะสม 3.55 บาท (PE 19 เท่า) (FSS เป็นผู้ร่วมจัดจำหน่ายหุ้น IPO ของ TM)
ปัจจัยที่ต้องติดตาม
31 ส.ค. - 2 ก.ย. - ไทย: Thailand Focus 2016 - A New Growth Strategy
31 ส.ค. - ไทย: TM (ราคา IPO 3 บาท) เริ่มเทรด,ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจเดือน ก.ค.
- ยูโรโซน: อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.)
- สหรัฐ: การจ้างงานภาคเอกชน (ส.ค.)
1 ก.ย. - ไทย:ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (ส.ค.), อัตราเงินเฟ้อ (ส.ค.)
- จีน:Manufacturing & Non-manufacturing PMI (ส.ค.)
2 ก.ย. - เกาหลีใต้: 2Q16 GDP
- สหรัฐ:การจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราว่างงาน (ส.ค.)
5 ก.ย. - ตลาดหุ้นสหรัฐปิดทำการเนื่องในวัน Labor Day
- จีน:Caixin China PMI Composite (ส.ค.)
- ยูโรโซน: Markit Eurozone Composite PMI (ส.ค.)
6 ก.ย. - ยูโรโซน: 2Q16 GDP
(0) ตลาดหุ้นสหรัฐฯเมื่อคืนที่ผ่านมาพลิกมาปิดในแดนลบอีกครั้ง โดยตัวเลขความเชื่อมั่นผู้ริโภคที่แข็งแกร่งทำให้นักลงทุนจับตาเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของ FED นอกจากนี้ยังรอดูตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์
(+) ด้านตลาดหุ้นยุโรปเมื่อคืนส่วนใหญ่ปิดในแดนบวกได้แม้ดีชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ (ESI) จะลดลงมากกว่าคาดในเดือน ส.ค. ส่วนปัจจัยที่ต้องจับตาคือตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯปลายสัปดาห์
(0) ขณะที่ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้เปิดผสม โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังปรับตัวขึ้นจากค่าเงินเยนที่อ่อน ขณะที่นักลงทุนรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯวันศุกร์นี้
(0) ค่าเงินบาทแกว่งตัวออกข้าง ล่าสุดยังเคลื่อนไหวแถว 34.50-34.65 บาท/ดอลลาร์
(0) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือน ต.ค. ลดลง 0.63 ดอลลาร์/บาร์เรล มาอยู่ที่ 46.35 ดอลลาร์/บาร์เรล จากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งสุดในรอบ 3 สัปดาห์ ขณะที่มีคาดการณ์ว่าสต๊อกน้ำมันดิบจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
ราคาทองคำ COMEX ส่งมอบเดือน ธ.ค. ร่วงลง 10.60 ดอลลาร์/ออนซ์ มาอยู่ที่ 1,316.50 ดอลลาร์/ออนซ์ หลัง FED เริ่มส่งสัญญาณเรื่องความเป็นไปได้ในการขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้น ขณะที่นักลงทุนจับตาดูตัวเลขการจ้างงานในสัปดาห์นี้ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อความเร็วในการขึ้นดอกเบี้ย
Contact person : Somchai Anektaweepon
Register : 002265
Tel: 02-646-9967, 02-646-9852
www.fnsyrus.com
FB: Finansia Syrus Research, IG: finansiasyrusresearch