- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 29 August 2016 17:03
- Hits: 1113
บล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook
คำกล่าวของ Janet ในการขึ้นดอกเบี้ย
คาดหุ้นไทยอ่อนตัวลงวันนี้หลังจากที่ Janet Yellen ประธาน Fed กล่าวถึงโอกาสที่สูงขึ้นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในที่ประชุม Jackson Hole ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเดือนก.ย. แม้ว่าจะยังไม่ได้ระบุกรอบเวลาที่ชัดเจนก็ตาม ขณะที่มีแรงกดดันส่วนหนึ่งจากปัจจัยในประเทศจากตัวเลขการส่งออกล่าสุดที่ยังคงหดตัวลงในเดือนก.ค. อย่างไรก็ตามยังมีแรงขับเคลื่อนส่วนหนึ่งจากการลงทุนภาครัฐที่ยังคงเดินหน้าตามแผน ในโครงการส่วนต่อขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสนามบินหลักอื่นๆ
หุ้นเด่นวันนี้ : GUNKUL (ราคาปิด 5.45 บาท; ซื้อ; ราคาเป้าหมาย AWS 6.41 บาท)
เราเลือก บมจ.กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง เป็นหุ้นเด่นในวันนี้ สนับสนุนจากความคืบหน้าล่าสุดของโครงการลงทุนใหม่ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับการเติบโตของบริษัทในระยะยาว ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันยังคงน่าสนใจ โดยล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการของ GUNKUL มีมติอนุมัติเข้าลงทุนในสัดส่วน 100% ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Kentos ในจังหวัดโทชิงิ ประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิตของโครงการตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ที่ 66.78 เมกะวัตต์ซึ่งมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าแบบ Feed-in Tariff (FIT) หน่วยละ 36.00 เยนเป็นระยะเวลา 20 ปี คาดจะก่อสร้างเสร็จและดำเนินการผลิตเชิงพาณิย์ (COD) ในปี 2565 การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมของบริษัทสู่ระดับแข็งแกร่งที่ 500 เมกะวัตต์ (420 เมกะวัตต์ตามสัดส่วนการถือหุ้น) และจะสร้างกำไรสุทธิได้ราว 250-300 ล้านบาทต่อปี ให้แก่ GUNKUL แนวโน้มกำไรของ GUNKUL ยังคงสดใสมาก ผสานกับแรงหนุนจากโครงการลงทุนใหม่ดังกล่าว ด้วยกำไรสุทธิที่คาดว่าจะแตะระดับสูงสุดใหม่ต่อเนื่องและมีอัตราการเติบโตของ EPS CAGR ระหว่างปี 2559-61 แข็งแกร่งในระดับที่ 48%
โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการทยอยผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์จากโครงการหลักที่มีอยู่ในมือที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและพัฒนาขนาด 235 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ด้วยค่า PEG ปัจจุบันที่ 0.8 เท่า เราเชื่อว่าราคาหุ้นปัจจุบันยังคงน่าสนใจ นอกจากนี้ ค่า PER ปีนี้ที่ 38.7 เท่าจะทยอยลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือเพียง 15.2 เท่าในปี 2562 ขณะที่ยังมีโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตในธุรกิจพลังงานทดแทนสำหรับบริษัทรออยู่ข้างหน้าหลังจากช่วงเวลาดังกล่าว ในส่วนของ Price Pattern ของ GUNKUL ยังมีแนวโน้มหลักอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Weekly & Monthly Buy Signal ซึ่งรอเพียงการกลับมาเกิด Daily Buy Signal หากสามารถปิดตลาดเหนือ 5.50 บาท และจะทำให้ GUNKUL มีความแข็งแกร่งอย่างมากเพื่อปรับตัวขึ้นไปทดสอบเป้าหมายระยะสั้นที่ 5.90 บาท (แนวต้าน: 5.50, 5.55, 5.60; แนวรับ: 5.40, 5.35, 5.30)
ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
ส่งออก ก.ค. หดตัว ก.พาณิชย์รายงานส่งออก ก.ค. หดตัว 4.4% เทียบปีก่อนเท่ากับ 1.74 หมื่น ลบ. หดตัวเป็นเดือนที่สี่ติดต่อกัน ขณะที่นำเข้าลดลง 7.2% เทียบปีก่อนเหลือ 1.62 หมื่น ลบ. ทำให้เกินดุลการค้า 1.2 พัน ลบ. ใน ก.ค. การลดลงของยอดส่งออกนำโดยผลิตภัณฑ์การเกษตรหดตัว 18.6% ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมก็ลดลง 0.4% เทียบปีก่อนเป็นเพราะการส่งออกรถและชิ้นส่วนรถยนต์ที่หดตัว ในช่วงเจ็ดเดือนแรกการส่งออกเท่ากับ 1.226 แสน ลบ. ลดลง 2% เทียบปีก่อนขณะที่นำเข้าลดลง 9.8% เทียบปีก่อน 1.089 แสน ลบ. (Bangkok Post) ความเห็น: ยังคงมีความกังวลเรื่องสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกที่ไม่สู้ดีนัก ควรจับตาช่วงที่เหลือของปี ขณะเดียวกันสภาผู้ส่งออกยังคงการคาดการณ์ส่งออกไทยไว้ที่หดตัว 2%
เตรียมเพิ่มการค้าและเชื่อมระบบรางกับกัมพูชา ในการประชุมคณะกรรมการร่วมทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชา รมว.ต่างประเทศและทางฝ่ายกัมพูชาได้เจรจามุ่งเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศอีกสามเท่าเป็น 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 63 รัฐมนตรีทั้งสองยังคุยเรื่องความคืบหน้าการเชื่อมระบบรางระหว่างไทยกับกัมพูชาซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ใน ธ.ค. ปีที่แล้ว (Bangkok Post)
การขยายสนามบินในประเทศยังคงเดินหน้าตามแผน เพื่อรองรับให้ประเทศไทยเป็น Gateway เส้นทางการบินในภูมิภาค อ้างอิงจากคำกล่าวของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี โดยล่าสุดบมจ. ท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (AOT) ได้ลงนามในสัญญาการก่อสร้างส่วนต่อขยายสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวม 1.49 หมื่นลบ. ซึ่งนับเป็นหนึ่งในแผนของ AOT ในการขยายสนามบิน 6 แห่งในประเทศในช่วง 5 ปีข้างหน้า มูลค่าการลงทุนรวม 1.4-1.5 แสนลบ. เพื่อขยายความสามารถในการรองรับผู้โดยสารของประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 90 ล้านคนต่อปีภายในปี 2564 (Bangkok Post)
ต่างประเทศ
นางเยลเลนยังไม่ได้ระบุกรอบเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้แถลงในการประชุมประจำปีของเฟดที่เมืองแจ็คสัน โฮล รัฐไวโอมิงว่าการจ้างงาน และเงินเฟ้อของสหรัฐใกล้แตะระดับเป้าหมายของเฟด ขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มอย่าง ”อย่างค่อยเป็นค่อยไป” อย่างไรก็ตาม นายฟิสเชอร์ รองประธานเฟดกระตุ้นให้เกิดการคาดการณ์ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า มีผลการสำรวจของ CME Group’s FedWatch ระบุว่ามีโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 36% จากเดิมที่ 21% ของผลสำรวจเมื่อวันพฤหัสที่แล้ว ส่วนบรรดาเทรดเดอร์ในขณะนี้มองว่ามีความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน ธ.ค. 63.7% เพิ่มขึ้นจาก 51.8% (Reuters)
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 1 เดือนเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนพิจารณาว่าเฟดมีแนวโน้มจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. หรือไม่หลังจากที่นางเยลเลน ประธาน Fed ได้ให้ความเห็นในเชิงหนุนการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่ไม่กำหนดระยะเวลาชัดเจน ราคาพันธบัตรอายุ 10 ปี ลดลง 16/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ระดับ 1.63% เพิ่มขึ้นมากสุดนับแต่วันที่ 24 มิ.ย. และเพิ่มขึ้นจากที่ระดับ 1.56% ก่อนการแถลงการณ์ (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์เทียบกับเงินเยนเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนมุ่งไปที่ความเห็นของนางเยลเลนเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐที่ดีขึ้นซึ่งหนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปิดเพิ่มขึ้น 0.8% อยู่ที่ระดับ 95.563 โดยในช่วงก่อนหน้าดัชนีได้แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 วัน (Reuters)
สหรัฐ :
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดลบเมื่อวันศุกร์ การซื้อขายเป็นอย่างผันผวนเนื่องจากนักลงทุนพยายามคาดเดากรอบเวลาการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดหลังจากมีความเห็นจากนายสแตนลีย์ ฟิสเชอร์ รองประธานเฟดว่ามีโอกาสมากขึ้นที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแม้ว่านางเยลเลนจะไม่ได้ระบุกำหนดเวลาก็ตาม หุ้นในกลุ่มธนาคารซึ่งได้รับประโยชน์จากสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นได้ปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอันได้แก่หุ้นในกลุ่มสาธารณูปโภคและโทรคมนาคมปรับตัวลง (Reuters)
การขยายตัวของจีดีพีสหรัฐในไตรมาส 2/59 ปรับลดลงอยู่ที่ 1.1% แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 2/59 ขยายตัวในอัตราชะลอตัวกว่าที่ประมาณการไว้เดิม ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีขยายตัว 1.1% เป็นไปตามตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ธุรกิจต่าง ๆ ได้ลดปริมาณสินค้าคงคลังแต่ถูกชดเชยจากตัวเลขการใช้จ่ายผู้บริโภคที่เติบโต 4.4% ซึ่งคิดเป็น 2 ใน 3 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและขยายตัวมากที่สุดนับแต่ไตรมาส 4/57 ข้อมูลดังกล่าวเป็นการปรับตัวเลขลงเล็กน้อยจากเดิมที่มีรายงานตัวเลขอยู่ที่ 1.2% ในเดือนก่อน ทั้งนี้ เศรษฐกิจขยายตัว 0.8% ในไตรมาส 1/59 และ 1.0% ในครึ่งแรกของปี 59 (Reuters)
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ส.ค. อ่อนลง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นสุดท้ายสำหรับ ส.ค. ออกมาเท่ากับ 89.8 ลดลง 0.2 จุดจาก 90.0 ของตัวเลข ก.ค. นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ที่ 90.6 ความเชื่อมั่นอ่อนลงในช่วงปลายเดือน ส.ค. ถือเป็นการลดลงไม่ได้มากนักจาก ก.ค. มุมมองการเงินส่วนบุคคลที่ไม่ค่อยน่าพอใจถูกหักล้างโดยแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้น (APViewpoint)
ดัชนีราคาอิงรายจ่ายในการบริโภคของบุคคล (PCE) สหรัฐเพิ่มขึ้น 1.0% ในไตรมาส 2/59 จากการเพิ่มขึ้น 0.9% ในไตรมาส 1/59 PCE พื้นฐานเพิ่มขึ้น 1.6% เทียบปีก่อน เติบโตระดับเดียวกับไตรมาส 1/59 (Reuters)
ยุโรป :
ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันศุกร์ปรับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ Janet Yellen ประธาน Fed ยังไม่ระบุช่วงเวลาที่แน่ชัดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ (Reuters)
เอเชีย :
ราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(เงินเฟ้อ) เดือน ก.ค.ของญี่ปุ่นลดลง เป็นเดือนที่ห้าติดต่อกันและเป็นการลดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบกว่าสามปี ข้อมูลของรัฐบาลแสดงให้เห็นในวันศุกร์ว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคหลักทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำมันที่มีความผันผวน แต่ไม่รวมราคาอาหารสดลดลง 0.5% YoY ในเดือน ก.ค. มากกว่าค่าคาดการณ์เฉลี่ยที่มองว่าลดลง 0.4% และมากกว่า เดือน มิ.ย. ที่ลดลง 0.4% เล็กน้อย (Reuters)
ตลาดที่อยู่อาศัยของญี่ปุ่นหาทางออกที่สดใสยาก: ตลาดที่อยู่อาศัยของญี่ปุ่นมีแนวโน้มโตปานกลาง หลังจากการลงทุน ขยายตัวเร็วที่สุดในรอบห้าปี ในไตรมาส 2/59 แต่ผลประโยชน์ต่อการใช้จ่ายผู้บริโภคและการจ้างงานจะดำเนินการต่อไปในปีหน้า เนื่องจากการอัตราดอกเบี้ยติดลบของ BOJ ขณะที่การลงทุนที่อยู่อาศัยภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 5% ในไตรมาส 2/59 (Reuters)
สินค้าโภคภัณฑ์ :
ราคาน้ำมันไม่เปลี่ยนแปลงวันศุกร์ เพราะผู้ค้าตอบสนองต่อความเห็นของ Janet Yellen ประธาน Fed และรายงานประเด็นขีปนาวุธในซาอุฯ น้ำมันดิบอ้างอิงขึ้นไปถึง 2% ก่อนจะย่อลงมา Brent บวก 25 เซนต์ (+0.5%) ปิดที่ 49.92 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล น้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าบวก 31 เซนต์ ปิดที่ 47.64 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (Reuters)
ทองคำบวกแล้วย่อลงในวันศุกร์ ขณะที่ดอลลาร์แข็งขึ้นและหุ้นสหรัฐอ่อนลงเพราะนักลงทุนลำบากที่จะกะช่วงเวลาสหรัฐขึ้นดอกเบี้ยตามสุนทรพจน์โดยประธาน Fed และเจ้าหน้าที่คนอื่น ราคาทองคำตลาดจรลดลง 0.02% ปิดที่ 1,321.52 ดอลลาร์ต่อออนซ์ รายสัปดาห์ลดลง 1.5% หลังจากบวกติดกันมาสองสัปดาห์ (Reuters)
Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 02 680 5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun, CFA, FRM (No.49234) Tel: 02 680 5094