- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 23 August 2016 18:08
- Hits: 979
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้ต่างชาติยังซื้อหุ้นไทยแต่เริ่มขายบางประเทศในภูมิภาคเอเชีย และราคาน้ำมันดิบที่ปรับฐานช่วงสั้น กดดันดัชนีปรับฐานต่อ กลยุทธ์ให้เลือกลงทุนรายหุ้น โดยให้เน้นไปที่ผลประกอบการเด่นในงวด 3Q59 ยังชื่นชอบ GFPT(FV@B17) และ TFG([email protected]) วันนี้เลือก Top pick KCAR([email protected]) Effective tax rate ลดลง เพราะเงินลงทุนซื้อรถยนต์ให้เช่า ถือว่าเป็น Capex สามารถประหยัดภาษี
SET ขาดแรงกระตุ้นช่วงสั้น..ราคาน้ำมันอ่อนตัวสวนทาง dollar Index
ราคาน้ำมันเริ่มย่อตัวช่วงสั้นหลังแตะระดับ 48.34 เหรียญฯ (ราคาน้ำมันดูไบ) เพิ่มขึ้นกว่า20% จากจุดต่ำสุดที่ 38.8 เหรียญฯ เมื่อต้นเดือน ส.ค. หรือในช่วงเวลาเพียง 2 สัปดาห์ ซึ่งน่าจะจาก 3 ปัจจัยคือ
dollar index กลับมาแข็งค่าอีกครั้ง หลังจากที่อ่อนค่ามาระยะหนึ่ง โดย dollar ได้กลับมาทำจุดต่ำสุด (อ่อนค่า)ที่ 94.1 เมื่อ 17 ส.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งน่าจะเกิดจากตลาดให้น้ำหนัก Fedมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในช่วงสิ้นปีมากขึ้น สะท้อนจากความน่าจะเป็นที่จะเพิ่มดอกเบี้ยขึ้นมาเป็น 50% ที่ระดับที่ 40% ก่อนหน้านี้ แต่ ASPS ยังเชื่อว่า Fed ไม่น่าจะขึ้นดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้
ปริมาณส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปของจีนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ปริมาณส่งออกน้ำมันเบนซิน และดีเซล เพิ่มขึ้น 181.8%yoy และ 145.32% yoy ตามลำดับ เพราะปริมาณการใช้น้ำมันในประเทศชะลอตัว และรัฐบาลอนุญาตให้ส่งออกมากขึ้น
และ ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ระหว่างอิรัก แอฟริกา และไนจีเรีย เริ่มสงบในระยะสั้น ทำให้ทั้ง 2 แห่ง กลับมาผลิตได้ตามปกติ กล่าวคือ ทั้งอิรัก (ผู้ผลิตอันดับ 2 ของ OPEC) และ ไนจีเรียกลับมาผลิตต่อวัน 4.51 ล้านบาร์เรล และ 3 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นช่วงที่มีปัญหาอีกวันละ 1.5 แสนบาร์เรลต่อวัน และ 7 แสนบาร์เรล ตามลำดับ
ปัจจัยเหล่านี้น่าจะกดดันน้ำมันไปอีกระยะหนึ่ง (รวมถึงหุ้น PTTEP, PTT) จนกว่าจะมีประเด็นใหม่มาช่วยหักล้าง โดยเฉพาะผลการประชุมกลุ่ม OPEC 26-28 ก.ย. ที่จะถึงนี้ ที่ประเทศแอลจีเรีย ซึ่งเป็นที่คาดหมายว่าน่าจะมีผลสรุปเรื่องการคงกำลังการผลิต เนื่องจากประเทศอิหร่านซึ่งเคยถูกคว่ำบาตรทางการค้าจากสหรัฐ และ สหภาพยุโรป มานาน ได้กลับมาผลิตในระดับปกติ แล้ว โดยปัจจุบัน ผลิตเพิ่มวันละ 3.617 ล้านบาร์ เรลต่อวัน ทำให้อิหร่านมีท่าที่อ่อนลง แต่อย่างไรก็ตามประเมินว่าราคาน้ำมันน่าจะยืนเหนือ 40 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลได้ จากการศึกษาของของ EIA (สำนักสาระสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ) คาดว่ากำลังการผลิตน้ำมันส่วนเกินจะลดลงใน 1H60 และน่าจะขาดดุลใน 2H60
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค แต่ยังคงซื้อหุ้นในกลุ่ม TIP
วานนี้ Fund Flow เริ่มแผ่วลง และต่างชาติได้สลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อยราว 41 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) โดยเป็นการขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 85 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และเกาหลีใต้ 41 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศเป็นตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกซื้อสุทธิ 22 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว), ฟิลิปปินส์ 5 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง 6 วัน) และไทยที่ถูกซื้อสุทธิ 58 ล้านเหรียญ หรือ 2.0 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 860 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิราว 4.2 พันล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิราว 3.3 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 4 วัน)
ให้น้ำหนักต่อหุ้นที่คาดว่ากำไรงวด 2H59 สดใส TK, S11, KCAR
หลังจาก SET Index ถูกขับเคลื่อนด้วยกระแส Fund Flow ท่ามกลางการรายงานผลประกอบการ 2Q59 ที่ออกมาค่อนข้างดีกว่าคาด แต่หลังจากนี้ ทั้ง 2 ประเด็นน่าจะลดน้ำหนักลง จึงน่าจะ เริ่มให้น้ำหนักไปที่ผลประกอบการ 3Q59 หรือ 2H59 มากขึ้น โดยเฉพาะหุ้นที่ ASPS ประเมินว่ากำลังเข้าสู่ช่วง High Season มีดังนี้
กลุ่มเช่าซื้อ : คาด 3Q59 ยังดีต่อเนื่องจาก 2Q59 ซึ่งแม้จะเป็นช่วง low season (มีวันหยุดทำการมาก อีกทั้งสถานการณ์เรียกเก็บหนี้ไม่ดีนักเนื่องจากเป็นช่วงเปิดเทอม) ได้แก่ผู้ประกอบการสินเชื่อเช่าซื้อรถบรรทุก ได้แก่ ASK และ THANI จากแรงหนุนของโครงการก่อสร้างจากภาครัฐที่เดินหน้าต่อเนื่องทำให้ demand ใช้รถบรรทุกเพื่อการก่อสร้างและขนส่งเพิ่มขึ้นจนไม่ทันต่อความต้องการ ส่งผลดีต่อสินเชื่อรถบรรทุกเติบโตโดดเด่น
รวมถึงผู้ประกอบการสินเชื่อรถจักรยานยนต์ คือ TK, S11, GL ที่ได้แรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ และภัยแล้งคลี่คลาย นอกจากนี้ ยังมีมุมมองบวกต่อกลุ่มให้เช่ารถยนต์ คือ KCAR ได้รถ fleet ใหญ่ของ TOT และผลบวกจากภาษีฯ ที่ประหยัดได้ (เงินลงทุนในรถยนต์เพื่อปล่อย leasing ถือเป็น capex นำมาลดหย่อนภาษีได้) รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการด้านประมูลรถยนต์ นั่นคือ AUCT ที่น่าจะ turnaround ชัดเจนจากจำนวนรถยนต์เข้าประมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยฯ โดยรวม ฝ่ายวิจัยจึงเลือก ASK([email protected]), S11([email protected]) , AUCT([email protected]), KCAR([email protected]) เป็นหุ้น top picks ของกลุ่มฯ มีการเติบโตที่โดดเด่นมากของผลการดำเนินงานใน 2H59
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ : คาดกำไร 3Q59 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นตามสินเชื่อสุทธิรวมถึงสินเชื่อรายย่อยที่ย่างเข้าสู่ช่วงฤดูกาล แต่จะยังเห็นแรงกดดันจาก NIM ที่ลดลงจากผลของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ MRR และ MOR ลงในช่วงปลายเดือน เม.ย.59 ส่งผลกระทบเต็มที่ในงวด 3Q59 อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ มีโอกาสลดลงหลังจากกันสำรองหนี้ฯ ไปมากตั้งแต่งวด 1Q59 แล้ว และน่าจะดีขึ้นต่อเนื่องใน 4Q59 ซึ่งเป็นช่วง High Season อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังให้น้ำหนักไปที่การฟื้นตัวของกลุ่มฯ ในปี 2560 มากกว่า นำโดยสินเชื่อโครงการลงทุนใหญ่ของภาครัฐ การตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลง และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น ยังชอบ BBL(FV@B200), TCAP(FV@B51) ในฐานะตัวเลือกที่ปลอดภัย
กลุ่มประกันฯ : เชื่อว่า bond yield curve น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว รวมทั้งการที่ คปภ. ได้พิจารณาปรับอัตราคิดลด (discount rate) ที่เหมาะสมใหม่รองรับกรณีอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ระดับต่ำ ส่งผลบวกต่อ BLA ([email protected]) มีการโอนกลับการตั้งเงินสำรองพิเศษ (LAT Reserve) และกำไรจากการขายเงินลงทุนหนุนผลประกอบการพลิกกลับมามีกำไร อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้ม 3Q59 อาจกลับไปหดตัวอีกครั้งเนื่องจากไม่มีรายได้พิเศษ แต่กำไรปกติยังอยู่ในทิศทางที่ดี ตามเบี้ยประกันฯ ที่จะเข้าสู่ช่วง Peak 4Q59 เช่นเดียวกับ BKI (FV@B409) คาด 3Q59 ขึ้นทำ peak ของปี เนื่องจากเป็นช่วงต่อสัญญาประกันภัยโดยเฉพาะในกลุ่มงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะช่วยหักล้างผลกระทบจากรายได้จากธุรกิจลงทุนที่จะเห็นการลดลงของรายได้จากเงินปันผลเนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาล
กลุ่มสายการบิน : ปกติช่วง 3Q59 ยังคงเป็น low season ของฤดูท่องเที่ยว แต่ในบางพื้นที่เป็นช่วง high season เช่น เกาะสมุย ส่งผลบวกโดยตรงต่อ BA ([email protected]) สะท้อนจาก Cabin Factor เดือน ก.ค. สูงเกิน 70% และคาดว่าช่วง 2H59 จะสูงกว่า 1H59 ที่ 69.6% หนุนยอดทั้งปีจะสูงกว่าสมมติฐานฝ่ายวิจัยที่ 68.3% ขณะที่ต้นทุนน้ำมันช่วงที่เหลือของปี คาดว่าจะลดลงจาก 2H58 ที่ 90 เหรียญฯ เนื่องจากได้ทำสัญญาล่วงหน้าในช่วง 2H59 ไป 50% ของปริมาณใช้ที่ราคาราว 60 เหรียญฯฯ และส่วนที่เหลืออีก 50% ยังคาดมีต้นทุนราคาใกล้เคียงราคาปัจจุบันที่ 60-65 เหรียญฯ
และหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม น่าจะดีเป็นรายหุ้นแม้ยังไม่เข้าสู่ high season จนกว่าจะเป็น 4Q59 คือ ERW ([email protected]) นั้นคาดงวด 3Q59 จะมีกำไรสูงกว่า 2Q59 จากอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจาก 2Q59 อีก 8% สู่ 79% และน่าจะมีกำไรเพิ่มต่อเนื่องจนถึง 4Q59 และลากยาวไปจนถึง 1Q60 ซึ่งเป็นช่วง Peak Season ท่องเที่ยว
กลุ่มชิ้นส่วนฯ : แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 3Q59 กลุ่มชิ้นส่วนฯ อยู่ที่ 3.3 พันล้านบาท เติบโต 27.5% qoq และ 7.5% yoy และทำระดับสูงสุดของปี 2559 เพราะเข้าสู่ high season หนุนคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับเทศกาลวันหยุดยาวช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ โดยหุ้นที่มีการเติบโตของกำไรโดดเด่นจากงวด 2Q59 ได้แก่ SVI (ซื้อ FV@B6) หลังแก้ปัญหาอุปกรณ์ตรวจสอบสินค้าเสร็จแล้ว (ปัญหาเกิด 2Q59) HANA (ซื้อ FV@B42) และ DELTA (ซื้อ FV@B80) ที่จะได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วน KCE (ซื้อ FV@B100) คาดกำไรทำ new high อีกไตรมาส แต่ราคาหุ้นเกินมูลค่าหุ้นจึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
กลุ่มเกษตร-อาหาร : แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานงวด 3Q59 ของกลุ่มเกษตร-อาหาร จะเติบโตจากงวด 2Q59 จากการเข้าฤดูกาลส่งออกอาหารสู่ต่างประเทศ ทำให้ราคาไก่ และ สุกร ยังทรงตัวสูงต่อเนื่องจากงวด 2Q59 โดยหุ้นที่มีกำไรเติบโตโดดเด่นจากงวด 2Q59 ได้แก่ TFG (ซื้อ [email protected]) GFPT (ซื้อ FV’60@B17) ที่ราคาไก่และหมูอยู่ในระดับสูง และ CPF (ซื้อ FV@B40) ยังได้ประโยชน์จากฤดูกาลเลี้ยงกุ้ง หนุนกำไรเติบโตต่อเนื่องจากงวด 2Q59
ส่วน BR (ซื้อ FV’[email protected]) คาดกำไรทยอยฟื้นตัวจากงวด 2Q59 จากธุรกิจเป็ดในฮอลแลนด์ฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากที่คู่แข่งเป็ดรายใหญ่อันดับ 2 ในฮอลแลนด์เลิกกิจการไป ทำให้ BR ได้เข้าไปซื้อเครื่องจักรและได้ลูกค้าทั้งหมด หนุนแนวโน้มกำไรของ BR ทยอยฟื้นตัวในช่วงที่เหลือของปี 2559 ส่วน TU (ซื้อ FV@B25) คาดกำไรจากการดำเนินงาน 3Q59 เติบโตจากช่วง high season ของการบริโภคทูน่า และการส่งออกกุ้ง และคาดธุรกิจแซลมอนจะทยอยดีขึ้นจากงวด 2Q59
สำหรับกลุ่มฯ ที่เหลือติดตาม รายละเอียดในวันพรุ่งนี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์