- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 22 August 2016 16:58
- Hits: 869
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สัปดาห์นี้คาดดัชนียังติด 1550-1560 จุด แม้ต่างชาติยังคงซื้อ แต่ดูเหมือนจะแผ่วลง ขณะที่ตลาดน่าจะรับรู้ผลกำไรของตลาดงวด 2Q59 แล้ว ส่วนราคาน้ำมันเริ่มทรงตัวเช่นเดียว Dollar Index ทำให้ราคาน้ำมันจะติดแนวต้าน 48-48 เหรียญฯ กลยุทธ์ระยะสั้นให้ปรับพอร์ตขายรายหุ้นที่มี upside จำกัด วันนี้เลือก GFPT(FV@B17) และ TFG([email protected]) เป็น Top picks ยังได้ประโยชน์จากตลาดส่งออกอาหารที่สดใส
ขาดแรงกระตุ้นช่วงสั้น..ราคาน้ำมันเริ่มทรงเหมือน dollar Index
ปัจจัยต่างประเทศในสัปดาห์นี้ยังให้น้ำหนักไปที่การประชุม Jackson Hole วันที่ 26 ส.ค. นี้ ที่รัฐไวโอมิงของสหรัฐ ซึ่งในการประชุมนี้ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารกลางสำคัญๆ ของโลก และ รัฐมนตรีคลัง ที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน
นอกจากนี้ตลาดยังให้น้ำหนักไปที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ อีก 3 ครั้ง ซึ่งในรอบถัดไป 20-21 ก.ย. คาดว่ายังไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย พิจารณาหลังดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่ยังส่งสัญญาณทรงตัว และ เงินเฟ้อ เดือน ก.ค. ยังเพิ่มในอัตราชะลอลงคือเพิ่มเพียง 0.8% yoy เทียบกับ 1% ในเดือน มิ.ย. (หลังจากทรงตัวติดต่อมา 3 เดือน) และความเสี่ยงจากผลกระทบ Brexit และเศรษฐกิจในยุโรปเป็นประเด็นที่น่าจะกดดันต่อเศรษฐกิจสหรัฐ โดยล่าสุดสหรัฐรายงาน GDP Growth (ทบทวนครั้งที่ 2) อยู่ที่ 1.2% ลดลงจาก 1.6% ใน 1Q59 ตอกย้ำว่า Fed น่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้
ทำให้คาดว่าค่าเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มทรงถึงอ่อนตัวจนถึงสิ้นปีนี้
แต่อย่างไรก็ตาม ระยะสั้นอาจจะแข็งค่าหรือมีความผันผวนบ้าง ซึ่งอาจกลับมากดดันราคาน้ำมัน และระยะสั้นคาดว่าราคาน้ำมันดูไบน่าจะ ติดแนวต้านระยะสั้น 48 เหรียญฯต่อบาร์เรล หลังจากเพิ่มขึ้นกว่า 23.29% จากจุดต่ำของรอบนี้ที่ 38.82 เหรียญฯต่อบาร์เรล โดยแม้ปัญหา Over supply ของน้ำมันยังมีอยู่ แต่มีสัญญาณที่ดีขึ้น สะท้อนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน ทำให้มีหวังว่าน้ำมันดิบโลกจะสามารถกลับมาสมดุลได้ภายใน 1H2560 (คาดการณ์โดย EIA) อย่างไรก็ตามต้องติดตามการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่ม OPEC ที่จะมีในวันที่ 26-28 ก.ย. นี้ ณ ประเทศแอลจีเรีย คาดจะสามารถสร้าง Sentiment เชิงบวกให้กับราคาน้ำมันได้สักระยะหนึ่ง จึงยังคงแนะนำสะสมหุ้นกลุ่มพลังงานอย่าง PTTEP(FV@B89) ที่ราคาหุ้นยังคงมี upside อยู่ 8.53%
อาหารส่งออกปี 2559 สดใส : GFPT, TFG, BR ยังมี upside
แหล่งข่าวจาก สถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ภาพรวมส่งออกอาหารในงวด 6M59 สดใส กล่าวคือ มีมูลค่าสูงถึง 4.74 แสนล้นบาท เพิ่มขึ้น 9.9% จากช่วงเดียวกันของปี 2558 (yoy) และทำให้ทั้งปี 2559 คาดว่าจะอยู่ที่ 9.72 แสนล้านบาท หรือเติบโต 7% และนับว่าสูงกว่าเป้าหมายที่คาดไว้ตอนต้นปีที่ 9.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่มีการเติบที่ดีมากคือ กุ้ง ไก่ และ สับปะรด
ทั้งนี้ จากการสอบถามนักวิเคราะห์กลุ่มอาหารของ ASPS คาดว่าผลิตภัณฑ์ส่งออกอาหารที่โดดเด่นปีนี้น่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ไก่ โดยรวมปีนี้น่าจะเติบโต 6% มาอยู่ที่ 7.2 แสนต้น ซึ่งตลาดส่งออกหลัก ๆ คือ ญี่ปุ่น และ ยุโรป ขณะที่ประเทศส่งออกไก่ที่เป็นคู่แข่งขันของไทย ซึ่งเน้นตลาดส่งออกกลุ่มเดียวกับไทย คือ จีน ยังคงมีปัญหาคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐาน ทำผู้นำเข้า หันมาซื้อจากไทยมากขึ้น ซึ่งหนุนให้ราคาไก่ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาที่ 45 บาทต่อกก. (เฉลี่ย ytd อยู่ที่ 36.9 บาทต่อกก.) เทียบกับสมมติฐาน 38 บาทต่อกก. และน่าจะยังทรงตัวในระดับสูงเนื่องจากงวด 3Q59 ยังเป็นฤดูกาลส่งออก
เช่นเดียวกับกุ้งปีนี้คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนตัน เพิ่มขึ้น 20% จากปี 2558 เนื่องจากฐานผลผลิตที่ต่ำในปีก่อนหน้า เนื่องจากการจัดการปัญหา EMS ของประเทศไทยที่ดีขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ราคากุ้งสามารถเคลื่อนไหวในกรอบ 170-175 บาทต่อ กก. ซึ่งใกล้เคียงกับสมมติฐานของ ASPS
ส่วนหมู ซึ่งส่วนใหญ่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ ล่าสุดราคาขยับขึ้นเป็น 70 บาทต่อกก. เทียบกับสมมติฐาน 65 บาทต่อกก. (ytd 69 บาทต่อกก.) คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มดีต่อเนื่องตลอด 3Q59 เช่นเดียวกับผลิตภัณฑไก่ ซึ่งถือว่าเป็นสินค้าทดแทนกันอย่างสมบูรณ์ ในสถานการณ์นี้ถือว่าดีต่อ CPF, GFPT, TFG รวมถึง BR(FV7.50) ซึ่งเป็นผู้ส่งออกเป็ดไปยังต่างประเทศ (ยุโรป) แม้ราคาเป็ดยังทรงตัว 61 บาทต่อ กก. มาเป็นเวลานาน แต่คาดว่านาจะมีแนวโน้มที่ดขึ้น หลังจากคู่แข่งขันหลัก (มีเพียง รายเดียวใน ยุโรป) ได้เลิกกิจการไป และ ขายเครื่องจักรให้กับ BR พร้อมกับ ยังสามารถเข้าไปยึดฐานตลาดทั้งหมดไว้เอง น่าจะดีต่อ BR นับจากไตรมาสถัดไป
แรงซื้อหุ้นไทยจากต่างชาติเริ่มแผ่วลง และมีการ short ฟิวเจอร์สะสมมากว่า 10 วัน
วันศุกร์ที่ผ่านมา Fund Flow ยังคงไหลเข้าตลาดหุ้นภูมิภาค แต่ด้วยมูลค่าที่ชะลอตัวลงเหลือเพียง 61 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) โดยเป็นการสลับมาขายสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันถูกขายสุทธิ 111 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 40 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 18 วัน) และ ฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 6) ส่วนีอก 2 ตลาดยังคงซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิราว 211 ล้านเหรียญ และไทยที่ซื้อสุทธิพียง 13 ล้านเหรียญ หรือ 442 ล้านบาท สวนทางนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 1.5 พันล้านบาท (หลังซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
และหากกลับมาดูเฉพาะตลาดหุ้นไทยในเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา พบว่า แม้ต่างชาติจะซื้อสุทธิหุ้นไทยกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท แต่เป็นที่สังเกตว่าในช่วง 10 วันที่ผ่านมา ต่างชาติกลับฐานะ shot (ขาย) SET50 Future ไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นสัญญา (ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันต่างชาติมีฐานะ Long (ซื้อ) สุทธิกว่า 1.35 แสนสัญญา) อีกทั้งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น SET Index ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้วกว่า 31 จุด หรือราว 2.04% จึงมีความเป็นไปได้ที่ตลาดหุ้นอาจจะปรับฐานลงในช่วงสั้นตามการช๊อต (short) สัญญาฟิวเจอร์ของนักลงทุนกลุ่มดังกล่าว
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
ตลาดเริ่มติด 1550-1560 จุด เลือกหุ้นที่กำไรยังเด่นในงวด 3Q59
เชื่อว่าตลาดยังคงติดอยู่ภายใต้แนวต้าน 1550 จุด ด้วยปัจจัยอย่างน้อย 2 ประเด็น คือ ประเด็นแรก คือ แรงซื้อที่เริ่มแผ่วลงของนักลงทุนต่างชาติ โดยตั้งแต่ต้นปีนักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสะสมในตลาดหุ้นไทยสูงถึง 1.06 แสนล้านบาท แต่หากนับตั้งแต่ 15 ก.พ. ซึ่งเป็นวันที่กระแส Fund Flow เริ่มไหลเข้า จนถึงล่าสุด จะมีมูลค่ารวมสูงกว่า 1.2 แสนล้านบาท แต่มูลค่าซื้อสุทธิรายวันก็เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับการเปิดสถานะ Short ใน SET50 Futures ติดต่อกัน 9 จาก 10 วันทำการหลังสุด รวมกว่า 2.4 หมื่นสัญญา ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณแจ้งเตือนล่วงหน้าที่ต้องระวัง อีกประเด็น คือ ผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยที่สูงถึงเกือบ 20%ytd และสูงเป็นลำดับแรกของภูมิภาคเอเซีย ขณะที่ระดับ Expected P/E ภายใต้ EPS ใหม่ 90.14 บาท ยังอยู่ที่ 17 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่ไม่ถูกนักเมื่อเทียบกับภูมิภาค จึงทำให้ upside ถูกจำกัดลง
ในภาวะที่ปัจจัยบวกเริ่มซาลงหลังตลาดหุ้นไทยรับรู้ไปมากแล้ว กลยุทธ์การลงทุนจึงเน้น Selective Buy หาหุ้นที่ยัง laggard หรือยังมี upside, หรือเลือกหุ้นที่มี Beta ต่ำ ปันผลสูง รวมทั้งหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว อาทิ หุ้นที่เข้าสู่ช่วง High Season แนวโน้มผลประกอบการโดดเด่นในช่วงครึ่งปีหลัง หรือเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท
หุ้นที่เข้าสู่ช่วง High Season ได้แก่ 1) หุ้นกลุ่มอาหาร ดังกล่าวข้างต้น หุ้นเด่น TFG ([email protected]), GFPT (FV’60@B17) CPF (FV@B40) และ BR()[email protected] 2) และ 2) หุ้นกลุ่ม ร.พ. แม้ผลประกอบการช่วงครึ่งปีแรกจะไม่ค่อยดีนัก แต่คาดว่าในช่วง 3Q59 กลุ่ม รพ. น่าจะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะ BDMS (FV@B25) ได้ประโยชน์จากช่วงฤดูร้อนของชาวตะวันออก และโรคที่มากับฤดูฝนในไทย ส่วน BH (FV@B202) รายได้หลักจากกลุ่มตะวันออกกลาง เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดภาคฤดูร้อนของชาวตะวันออกกลาง จึงเชื่อว่าน่าจะเดินทางมารับการรักษาเพิ่มขึ้น แม้จะมีความเสี่ยงจากรายได้สาขาใหม่ในระยะแรก แต่จะถูกหักล้างด้วยการลดต้นทุน ฝ่ายวิจัยจึงแนะนำซื้อทั้ง 2 บริษัท
หุ้นน้ำมัน ที่ได้ปัจจัยหนุนจากการปรับขึ้นแรงของราคาน้ำมันโลก คือ PTTEP(FV@B89) ที่ราคาหุ้นยัง Laggard แม้ราคาตลาดจะมี upside เหลือ 7.8% แต่หากไปใช้ fair value ปี 2560 ที่ 108 บาทจะมี upside 30.9% ขณะที่ PTT(FV@B342) แม้เต็มมูลค่าปีนี้แต่หากไปใช้ Fair Value ปี 2560 จะอยู่ 400 บาท มี upside 15.2%
หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็นเงินดอลลาร์ แต่มีรายได้เป็นเงินบาท เช่น TVO ([email protected]) และ SMIT ([email protected]) แต่ทั้ง 2 หุ้นมี upside จำกัด จึงแนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว หรือสลับไปยังหุ้นอื่นที่น่าสนใจกว่า นอกจากนี้ หุ้นที่มีหนี้สินเป็นสกุลเงินต่างประเทศยังได้ประโยชน์เช่นกัน อาทิ BJC (FV@B47), TPIPL ([email protected])
หุ้น Beta ต่ำ ปันผลสูง เช่น MCS ([email protected]) และ PS (FV@B38)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์