- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 25 July 2014 17:15
- Hits: 2760
บล.เคที ซีมิโก้ : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
ผันผวนในกรอบ-เลือกเก็งกำไรรายตัว
Highlight
ตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ เปิดคละ หลังตลาดสหรัฐฯ ปิดทรงตัว ตามรายงานเศรษฐกิจที่ออกมามีทั้งดีและแย่กว่าคาด
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้ USA สินค้าคงทน มิ.ย. คาด +0.0%m-m (Vs -0.9%) Germany: IFO Business Climate ก.ค. คาด 109.5 (Vs 109.7) UK: 2Q57F GDP คาดเติบโต 0.8%q-q
+ วานนี้ ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิ +1.16 พันลบ. (จากวานนี้ขาย -763 ลบ.) และนักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิต่อ +614 ลบ. (ซื้อสะสม 2 วันรวม +2.36 พันลบ.) โดยเรายังคงมุมมองบวกต่อทิศทางกระแสเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง จากแนวโน้มเงินทุนที่ไหลกลับเข้าตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะเอเชีย
+/- การเมือง/เศรษฐกิจ กสทช. เคาะราคาคูปองทีวีดิจิตอลที่ 690 บาท ส่วนโครงการคมนาคม 3 ล้านล้านบาท รอผลประชุม คสช. วันอังคารหน้า
คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวนในกรอบ หลังทำ New High รอบ 13 เดือน แนวต้าน 1550/1555จุด แนวรับ 1536/1530 จุด จับตา ทิศทางค่าเงินบาทและกระแสเงินทุนต่างชาติ ผลกำไรบจ.
กลยุทธ์: แนะ Trading Buy โดยมีจุดขายตัดขาดทุน/กำไร 3% หุ้น 2Q57F High earnings Play แนะนำ CSS IVL GOLD เก็งกำไรหุ้นได้ผลบวกบาทแข็ง AAV PTT IVL BANPU หุ้นมีประเด็นบวก GUNKUL IFEC AIE ส่วนนักลงทุนระยะยาว แนะนำ ซื้อสะสม หุ้น Top Pick KBANK SCB SIRI LPN PS PTTEP ADVANC INTUCH SCC แนะรอขายทำกำไร TTW หลังราคาปรับขึ้นมาแรง
หุ้นในกระแส:
หุ้นโมเมนตัมบวก (ขึ้นเกิน 7.0%) ได้แก่ SPVI SUTHA EA CKP TAE SEAFCO SVOA THAI AKR TH OCEAN UTP AGE หุ้นที่ลงกว่า 2.5% ได้แก่ AQ SAWAD SPALI THCOM RASA
NVDR (หน่วย: ลบ.) สูงสุดด้านซื้อ ได้แก่ KBANK+175 PTTGC+160 PTT+151 SCC+126 สูงสุดด้านขาย ได้แก่ SPALI-67 THCOM-62
หลักทรัพย์ที่มี Short Sell สูงสุด (หน่วย:ล้านบาท) ได้แก่ ITD 82 SCB 64
Market Outlook
คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวนในกรอบ แนวต้าน 1550/1555 จุด แนวรับ 1536/1530 จุด แรงซื้อต่างชาติยังหนุน ขณะนักลงทุนรอปัจจัยใหม่ๆ รวมถึงการพิจารณาโครงการคมนาคมในสัปดาห์หน้า และเราแนะนำ Trading Buy แบบมีจุดขายตัดขาดทุน 3-5% หุ้น Earning Play หุ้นมีประเด็นบวกต่อเนื่อง
คาดดัชนีฯ วันนี้ ผันผวนในกรอบ แนวต้าน 1550/1555 จุด แนวรับ 1536/1530 จุด โดยวานนี้นักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามที่เราประเมินว่า โอกาสของเงินทุนไหลเข้ายังมีต่อเนื่อง จากพัฒนาการด้านบวกของการเมืองไทย ประกอบกับกระแสเงินทุนที่ไหลกลับเข้าตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชีย ด้านปัจจัยต่างประเทศ PMI ฝั่งยุโรปออกมาดี แต่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาค่อนข้างคละส่งผลตลาดหุ้นปิดทรงตัว แต่ผลประกอบการที่ออกมา ส่วนใหญ่ดีกว่าคาด ส่วนไทย วานนี้ PTTEP ประกาศผลประกอบการดีกว่าคาดเช่นกัน เราแนะนำ Trading Buy แบบมีจุดขายตัดขาดทุน 3-5% เน้นหุ้น Earning Play และหุ้นมีประเด็นบวก (PTTEP CSS IVL GOLD AAV PTT IVL BANPU GUNKUL IFEC AIE)
ปัจจัยต่างประเทศ ตลาดยุโรปได้แรงหนุนจากตัวเลข PMI เบี้องต้น ที่พุ่งสู่ระดับ 54.0 ในเดือน ก.ค. จาก 52.8 ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. ส่วนตลาดสหรัฐฯ ปิดทรงตัวแม้ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานลดต่ำสุดในรอบ 8 ปี แต่ตัวเลขยอดขายบ้านใหม่แย่กว่าคาด แต่เรายังคงมุมมองบวก เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวเริ่มส่งผลต่อกำไรของบจ. โดยบริษัทในดัชนีฯ S&P 500 ที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 2 แล้ว 220 บริษัท เกือบ 77% ประกาศผลประกอบการดีกว่าคาด (วานนี้ เช่น Starbucks และ Ford)
ปัจจัยในประเทศ คาดแรงซื้อต่างชาติจะยังช่วยหนุนดัชนีฯ แต่ตลาดยังรอปัจจัยเสริมใหม่ๆ จึงคาดทิศทางวันนี้น่าจะเป็นการแกว่งตัวในกรอบแคบต่ออีกวัน ส่วนประเด็นข่าวหลักๆ วานนี้ กสทช. เคาะราคาคูปองทีวีดิจิตอลแล้วที่ 690 บาทต่อครัวเรือนโดยจะเริ่มแจกได้ภายในเดือนก.ย. นี้ แต่หุ้นที่ได้รับผลได้มีการเก็งกำไรขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว (AJD SAMART) ขณะที่ด้านพลังงาน คาดจะใช้เวลาภายใน 3 เดือน ได้ข้อสรุปแผน PDP ฉบับใหม่ โดยจะคงสัดส่วนพลังงานทดแทนไว้ที่ 25% (แนะเก็งกำไร GUNKUL IFEC AIE) ส่วนการประกาศผลประกอบการไตรมาส 2/57 บจ. ไทย หุ้นใหญ่หลายตัวออกมาดีกว่าคาดเช่นกัน (ดูตารางในเล่ม) แนะเก็งกำไร PTTEP CSS IVL GOLD ส่วน TTW ที่เคยแนะซื้อก่อนหน้านี้ แนะรอขายทำกำไร หลังราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมาแรง
Event Plays:
1) Earnings Play: เก็งกำไรหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะรายงานกำไร 2Q57F เติบโตสูง อาทิ CSS IVL GOLD ANAN JUBILE MINT SVI (ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่โบรกเกอร์มีความเห็นเชิงบวกต่อ Upward Revision ล่าสุด ได้แก่ TMB BCP
2) High Dividend Play: หลักทรัพย์ที่มีประวัติการจ่ายปันผลสูงรายปีเฉลี่ยสูงกว่า 3.5% และจ่ายปันผลระหว่างกาลสม่ำเสมอ รวมถึงมี % Upside ต่อราคาเป้าหมาย ได้แก่ INTUCH, SNC, ADVANC, LALIN, LH ,BOL, UEC, JMART, BTS, TNITY, CSL, DTAC, TTW, TRT, PTTGC, SAMTEL
3) หุ้น Turnaround โตก้าวกระโดด ปี57/58 CFRESH, GOLD, MJD, THRE, TPOLY, TTA, VNG (turnaround) APCO, CSS, DCON, IFEC, IVL (โตก้าวกระโดด)
4) หุ้นที่มีประเด็นบวกต่างๆ : MFEC RASA TRUE (ปป.โครงสร้างผู้ถือหุ้นใหม่) JAS (ซื้อหุ้นคืน) BLAND (คาดบันทึกกำไรพิเศษ+เตรียมออกกอง Impact growth reit) IFEC (ย้ายไปหมวดพลังงาน) LH QH (Hidden Asset สูง)
ปัจจัยทางเทคนิค ลุ้นขยับขึ้นต่อไปทดสอบแนวต้าน 1550/1555 จุดดัชนีฯ ยังเดินหน้าปิดทำสถิติใหม่ของปีนี้ มองมีโอกาสที่จะขยับขึ้นต่อเนื่องไปทดสอบ แนวต้านถัดไปที่ 1550/1555 จุด อย่างไรก็ดี หากไม่ผ่านแนวต้านนี้ จะยังมีโอกาสที่ดัชนีฯ จะถอยกลับมาสร้างฐานใหม่บริเวณ 1520/1500 จุดอีกครั้งได้ ก่อนกลับเป็นขาขึ้นรอบใหม่ ทั้งนี้ แนวต้านใหญ่ของขาขึ้นรอบนี้อยู่บริเวณ 1600 จุด
ประเด็นจับตา
1. ประเด็นการเมือง: จับตาแนวทางการตั้งสภาปฏิรูป และกำหนดเวลานำไปสู่การเลือกตั้ง
ประเด็นการเมือง (Update):
"ไพบูลย์"เผย กำลังพิจารณาเลือกบุคคลเป็น สนช., เน้นคนเข้าใจการทำงานของ คสช. พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะหัวหน้าฝ่าย กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เผยว่า ขณะนี้คสช.อยู่ ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกบุคคล ที่จะเข้ามา ดำรงตำแหน่งสมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) โดยเห็นว่าควร เป็นบุคคล ที่เข้าใจ การทำงานของคสช. เขากล่าวอีกว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ไม่ได้ระบุว่าสนช.ต้องมีครบ 220 คน แต่ระบุไว้ว่าไม่เกิน 220 คน ดังนั้นจะแต่งตั้งแค่ 150 คนก็ได้
+2.ค่าเงินบาท (+ตลาดหุ้น กลุ่มมีต่างประเทศสูงปิโตรฯ พลังงาน) : แนะซื้อเก็งกำไร (AAV PTT IVL BANPU)
ส.อ.ท. เผยผู้ส่งออกอยากเห็นบาทแข็งค่าไม่เกิน 31.50-32.00/ดอลล์, หวังธปท. ดูแล
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) ระบุว่า ผู้ส่งออกต้องการให้เงินบาทไม่แข็งค่าไปกว่าระดับ 31.50-32.00 ต่อดอลลาร์ และคาดหวังว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะเข้ามาดูแลเงินบาท เพื่อไม่ให้กระทบ ต่อการส่งออก ขณะที่ผู้ประกอบการก็ควรทำประกันความเสี่ยง อัตราแลกเปลี่ยนไว้ด้วย อย่างไรก็ตาม เขา มองว่า การส่งออกของไทยในรูปสกุลเงินดอลลาร์ ในปีนี้จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 5% จากปีก่อน การไหลเข้าอย่างต่อเนื่องของเงินทุนต่างชาติ ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ผ่านระดับ 32.00 มาได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา โดยในภาคเช้าวันนี้ เงินบาทแข็งค่าไปมากสุดที่ 31.75 ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน
ความเคลื่อนไหวค่าเงินล่าสุด ค่าเงินบาทแข็งค่าในทิศทางเดียวกับภูมิภาค โดยหากดูในช่วง 1 เดือนล่าสุดค่าเงินบาทแข็งค่าเป็นอันดับสองในภูมิภาคที่ 1.98% รองจากรูเปียของอินโดนีเซียที่แข็งค่า 4.21% เนื่องจากมีเงินไหลเข้าเก็งกระแสเลือกตั้งประธานาธิบดี
+MSCI Emerging Market (MSCIEF) ปรับขึ้นแรง 2 วันที่ผ่านมา จนดัชนีฯแตะระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนมค.56 เป็นผลจาก การเคลื่อนย้ายเงินทุน มาหา Yield ตอบแทนที่สูง อิง Low Volatility, ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว, และนโยบายสนับสนุนจากธนาคารกลาง (โดยเฉพาะในแถบเอเชียแปซิฟิค แทนที่รัสเซียที่มีความเสี่ยงถูกแซงก็ชั่นเพิ่มเติมจากสหรัฐฯ ยุโรป)
3. +/- 2Q57F Earnings Results:
ประมาณการของ Bloomberg คาด 2Q57F ที่จะทยอยประกาศบงบการเงินสัปดาห์หน้า เช่น GLOW SCC MBKET BCP VGI
USA: ผลการดำเนินงาน 2Q57F ของบจ.สหรัฐฯ ที่น่าสนใจ : ได้แก่ TI, Halliburton,State Street (21/7) MC Donald, United Technology, Verizon, Microsoft, Apple (22/7) FACEBOOK, Dow Chemical (23/7) Amazon.com, Ford, Caterpillar, 3M (24/7) Xerod(25//7)
+/-4.รายงานเศรษฐกิจสำคัญสัปดาห์นี้ : มีอิทธิพลต่อตลาดสัปดาห์นี้จำกัด แต่จะมีน้ำหนักต่อตลาดมากขึ้นในสัปดาห์หน้า (ผลประชุมเฟด+2Q57F US GDP)
วันศุกร์ 25 ก.ค. : USA สินค้าคงทน มิ.ย. คาด +0.0%m-m (Vs -0.9%) Germany: IFO Business Climate ก.ค. คาด 109.5 (Vs 109.7) UK: 2Q57F GDP คาดเติบโต 0.8%q-q
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจวันทำการผ่านมา:
สหรัฐ เผยยอดขายบ้านใหม่เดือน มิ.ย. ร่วงต่ำสุดในรอบเกือบ 1 ปี กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ร่วงลง 8.1% สู่ 406,000 ยูนิต ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 2013 นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ยอดขาย บ้านใหม่จะอยู่ที่ 479,000 ยูนิต ในเดือน มิ.ย. ลดลงจาก 504,000 ยูนิต ในเดือน พ.ค
สหรัฐ เผยจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 8 ปีครึ่ง กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ค.ลดลง 19,000 ราย สู่ 284,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 8 ปีครึ่ง ซึ่งบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงฟื้นตัว นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า จำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ที่ผ่านมาจะอยู่ที่ 308,000 ราย เพิ่มขึ้นจาก 302,000 รายในสัปดาห์ก่อนหน้า
ผลสำรวจชี้ดัชนี PMI ยูโรโซนขยายตัวสูงสุดรอบ 3 เดือนใน ก.ค. ผลสำรวจพบว่า ภาคเอกชนของยูโรโซนขยายตัวในอัตราสูงสุดในรอบ 3 เดือน ในเดือน ก.ค. แต่ธุรกิจใหม่ขยายตัวมากขึ้นจากการที่บริษัทต่างๆ ลดราคาลงอีกครั้ง ดัชนีคอมโพสิตผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของมาร์กิต ซึ่งได้จากการ สำรวจความเห็นบริษัทหลายพันแห่งในยูโรโซน และเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัว โดยรวม พุ่งสู่ระดับ 54.0 ในเดือน ก.ค. จาก 52.8 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. โดยดัชนีที่ระดับ 50 แบ่งแยก ระหว่างการขยายตัวและการหดตัว
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
Global Momentum
+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดทรงตัว หลังจาก ตัวเลขเศรษฐกิจคละ
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงปิดคละ โดยดัชนี DJIA ปิดย่อลง 2.83 จุด หรือ -0.02% สู่ระดับ 17,083.80 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 0.97 จุด หรือ 0.05% สู่ระดับ 1,987.98 จุด Nasdaq ปิดลดลงเล็กน้อย 1.59 จุด หรือ -0.04% สู่ระดับ 4,472.11 จุด ตลาดหุ้นสหรัฐปิดเกือบทรงตัวในการซื้อขายที่เงียบเหงาในวันพฤหัสบดี ขณะที่การเปิดเผยผลประกอบการของบริษัทต่างๆให้ภาพเศรษฐกิจที่ไร้ทิศทาง แม้ดัชนี S&P 500 ปิดที่ระดับสูงเป็นประวัติการณ์อีกครั้งก็ตาม บริษัท 41% ในดัชนี S&P 500 รายงานผลประกอบการออกมาแล้ว โดยบริษัท 68% รายงานผลประกอบการสูงเกินคาด
การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดไม่ได้ช่วยหนุนตลาด โดยจำนวนผู้ขอรับ สวัสดิการว่างงานของสหรัฐลดลงสู่ 284,000 รายซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่กลางเดือน ก.พ. 2006 ส่วนยอดขายบ้านใหม่ร่วงลง 8.1% ในเดือน มิ.ย. ซึ่งเป็นการร่วงลงมากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี ดัชนีหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยดิ่งลง 2.7% ซึ่งเป็นการร่วงลงใน 1 วันมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.
บริษัทมาร์กิต เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐลดลงสู่ 56.3 ในเดือน ก.ค. จาก 57.3 ในเดือน มิ.ย.นักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 57.5 ในเดือน ก.ค.
+ ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกตามตลาดหุ้นโปรตุเกส ข่าวซื้อหุ้น BES ของนักลงทุนสหรัฐฯ
วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 FTSE ปิดบวก 23.31 จุด หรือ 0.34% สู่ 6,821.46 จุด ดัชนี CAC40 ปิดเพิ่มขึ้น 34.33 จุด หรือ 0.78% สู่ 4,410.65 จุด และ DAX ปิดสูงขึ้น 40.50 จุด หรือ 0.42% สู่ 9,794.06 จุด
-ราคาน้ำมันดิบ กลับมาปิดลดลง วิตกอุปทานล้น
วันทำการที่ผ่านมา Brent ส่งมอบ กย. ปิดเพิ่มขึ้น 0.70 ดอลลาร์ สู่ 108.03 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วน Nymex ส่งมอบ กย. ขยับขึ้น 0.73 ดอลล์ต่อบาร์เรล เป็น 103.12 ดอลล์ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบในตลาดล่วงหน้า NYMEX ร่วงลงในวันพฤหัสบดี โดยได้รับแรงกดดันจากอุปสงค์ที่อยู่ในระดับต่ำและอุปทานน้ำมันดิบ กับผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ระดับสูง โดยปัจจัยลบดังกล่าวบดบังตัวเลขภาคโรงงานที่แข็งแกร่งของจีน
นายสตีเฟน ชอร์ค บรรณาธิการของเดอะ ชอร์ค รีพอร์ทกล่าวว่า "ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ร่วงลง เพราะว่าไม่มีความต้องการซื้อน้ำมันดิบเบรนท์ มากนักในสหรัฐ ถึงแม้ว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่โรงกลั่นน้ำมันมักจะใช้อัตราการกลั่นสูง"
-ราคาทองคำ ดิ่งลงเป็นวันที่ 3 ร่วงแตะสุดรอบ 1 เดือน
วันทำการที่ผานมา ราคาสัญญาทองเดือน สิงหาคม ปิดตลาด ดิ่งลง 13.90 ดอลล์ สู่ 1,290.80 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ราคาทองสปอตที่ตลาดสหรัฐร่วงลง 10.84 ดอลลาร์ สู่ 1,293 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ในช่วงท้ายตลาดวันพฤหัสบดี หลังจากร่วงลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 1 เดือนที่ 1,287.46 ดอลลาร์ในระหว่างวัน ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสของ สหรัฐ, จีน และยูโรโซนทำให้นักลงทุนไม่ต้องการซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย ถึงแม้ว่าความขัดแย้งทางการเมืองยังคงดำเนินต่อไปในภูมิภาคตะวันออกกลางและในประเทศยูเครน
+ ดัชนีค่าระวางเรือ Baltic Dry Index ปิดบวกวันที่สอง หลังร่วง12วัน
วันทำการที่ผานมา ดัชนี Baltic Dry Index ปิดเพิ่มขึ้น 5 จุดมาปิดที่ 732 จุด หลังจาก ปี 56 พิ่มขึ้น +28.14%y-y เป็น 2227 จุด (จาก 1738 จุด ณ สิ้นปี 55) โดยระดับสูงสุดอยู่ที่ 2337 จุด เมื่อ 12/12/56 และระดับต่ำสุดอยู่ที่ 698 จุดเมื่อ 2/1/56 ขณะที่ระดับสูงสุดตลอดกาลอยู่ที่ 11793 และระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 554 กลุ่มเรือ (Shipping) คาดผ่านจุดต่ำสุด Bottom Out และฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก
ถนอมศักดิ์ สหรัตน์ชัย, no. 14501 [email protected] 02-624-6244
ธิดารัตน์ ผโลดม, no. 16564 [email protected] 02-624-6270
บล.โกลเบล็ก : รายงานภาวะตลาดหุ้นราย
Market View : แนวต้านจุดสูงเดิม 1,546.04
Technical : แนวรับ 1,532 / 1,525 แนวต้าน 1,546 / 1,551
หุ้นแนะนำพิเศษ : PTTEP แนวรับ 167/165 แนวต้าน 170/175
หุ้นเด่นรายวัน : CPF NNCL EARTH
วันพฤหัสบดีตลาดหุ้นไทยปิดบวก 2.36 จุด ตลาดแกว่งแคบลงหลังขึ้นไปมาก,เก็งกำไรจากความคาดหวัง โดยดัชนี SET INDEX ปิดที่ 1,543.92 จุด เพิ่มขึ้น 2.36 จุด(+0.15%)มูลค่าการซื้อขาย 49,763.59 ล้านบาท นักลงทุน ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,162.88 ล้านบาท
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย ทางฝ่ายวิจัย บล.โกลเบล็กฯ คาดมีแนวโน้มผันผวนในกรอบ 1,500-1,551 ตลาดยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระตุ้นแรงซื้อเพิ่ม อยู่ในช่วงของการรอผลประกอบการไตรมาส2 และยังคงคาดหวังเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองที่ดีขึ้นตามลำดับและการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว ในขณะที่ SET50 ระดับดัชนีสร้างจุดสูงใหม่เป็นสัญญาณบวก และปิดยืน 1,030 ได้มั่นคงเป็นสัญญาณบวกต่อการทดสอบผ่านแนวต้านจุดสูงเดิม 1,036.95 แนวต้านต่อไป 1,040 แนวรับ 1,028-1,025 GFQ14 เก็งกำไรในกรอบ 19,520-19,820 GFV14 เก็งกำไรในกรอบ 19,560-19,860
กลยุทธ์ แรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ และการคาดการณ์ผลประกอบการฟื้นตัวครึ่งปีหลัง เป็นปัจจัยบวกต่อการถือครองหุ้นระยะกลางและปรับลงแรงซื้อเพิ่ม แรงซื้อมีแนวโน้มเข้าเพิ่มในกลุ่มพลังงาน BANPU PTTEP PTT EARTH EGCO กลุ่มสื่อสาร การปรับตัวลงเป็นจังหวะในการเข้าซื้อ ระดับราคาปัจจุบันเมื่อเทียบกับSETและกลุ่มอื่น ยังต่ำกว่า ADVANC DTAC INTUCH กลุ่มรับเหมา ปรับตัวลงแรงซื้อเพื่อเล่นรอบ CK STEC หุ้นรายหลักทรัพย์ TOG THRE SUTHA TAE ระยะกลาง ถือ และซื้อเพิ่มเมื่อปรับตัวลงแรง
หุ้นแนะนำพิเศษ
PTTEP (ปิด 168.5 ซื้อเป้าปี 57: 185บาท) แจ้งกำไรสุทธิ 2Q57 ที่ 18,187 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 46%qoq และ 70%yoy และมากกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 29% กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นเป็นเพราะบริษัทมีปริมาณและราคาขายผลิตภัณฑ์สูงขึ้นประกอบกับบริษัทมีรายการพิเศษจากการบันทึกกลับภาษีที่จ่ายไว้มากเกินไปในไตรมาสก่อนจำนวน 60 ล้านเหรียญและมีกำไรจากการทำ KKD Assets swap อีก 40 ล้านเหรียญซึ่งเราไม่ได้รวมไว้ในประมาณการณ์ ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดกำไรสุทธิจะออกมาดีกว่าครึ่งปีแรกเพราะจะรับรู้ปริมาณการผลิตจาก Hess Thailand เต็มไตรมาสใน 3Q57 และ4Q57 จะรับรู้ปริมาณขายจากแหล่ง Zawtika ในพม่า ส่วนทั้งปีเรายังคงคาดการณ์กำไรสุทธิในปีนี้ตามเดิมที่ 66,484 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 18%yoy
หุ้นเด่นรายวัน
CPF (ราคาปิด 28.75 ซื้อ เป้า consensus 35 ) แบ่งขายเงินลงทุนในหุ้นสามัญของ CPP ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง 25% ของหุ้นสามัญทั้งหมดให้แก่ ITOCHU Corporation(ITOCHU) ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวราคาหุ้นละ 1.10 เหรียญฮ่องกง รวมเป็นเงิน 6,619.75 ล้านเหรียญหรือคิดเป็นเงินไทย 27,397 ล้านบาท(อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง 4.1387 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ฮ่องกง)มีการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้น CPP ประมาณ 1,300 ล้านบาท ในช่วง 3Q57 และผลจากการนำเงินไปชำระคืนหนี้จะทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลง (ที่มา : ข่าวหุ้น)
NNCL (ราคาปิด 2.14 ซื้อเก็งกำไร) งบครึ่งปีหลังมีโอกาสฟื้นคืนชีพ หลังจากกลุ่มผู้ประกอบกาขอซื้อที่ดินตั้งโรงงานใหม่ มูลค่าหลายร้อยล้านบาท ด้านรายได้สาธารณูปโภคยังสดใส จากร่วมทุนสร้างโรงไฟฟ้ามูลค่า 5.8-6 พันล้านบาท พร้อมโชว์แผนขยายโรงไฟฟ้าเพิ่ม (ที่มา : ทันหุ้น)
EARTH (ปิด 6.25 ซื้อเก็งกำไร) คาดผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้วหลังจากยอดขายถ่านหินเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 2Q57 คาดว่าจะมียอดขายถ่านหินประมาณ 2.2 ล้านตันเพิ่มขึ้น37%จาก 1Q57 ที่มียอดขายเพียง 1.6 ล้านตัน ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องส่วนทั้งปีคาดว่าจะมียอดขายถ่านหินทั้งหมด 9 ล้านตันโดย 7 ล้านตันมีคำสั่งซื้อจากลูกค้ารองรับไว้หมดแล้ว
รายชื่อหลักทรัพย์ที่ติดเกณฑ์บัญชี Cash Balance
* AJD / TFI / TH / TRUE / UV มีผลบังคับใช้ 16 มิ.ย. - 25 ก.ค. 57
* IFEC / PF / SLC มีผลบังคับใช้ 23 มิ.ย. - 1 ส.ค.57
* EFORL / TSF มีผลบังคับใช้ 30 มิ.ย. - 8 ส.ค.57
* BTC/ KC/ MAX/ NUSA/ TFD/ VIH / VTE มีผลบังคับใช้ 7 ก.ค. - 15 ส.ค. 57
* ABC / ACAP/ AQ / BKD/ EMC/ WIIK มีผลบังคับใช้ 14 ก.ค. - 22 ส.ค. 57
* AIRA / MPG / PAE มีผลบังคับใช้ 21 ก.ค. - 29 ส.ค.57
***เนื่องจากการลงทุนในหลักทรัพย์ ดังกล่าวมีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาดดังนั้นผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
สรุปภาวะตลาดต่างประเทศ
ตลาดหุ้นดาวโจนส์ : ลดลง 2.83 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ลดลง 2.83 จุด หลังสหรัฐรายงานตัวเลขเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าที่คาด โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย.ร่วงลง 8.1% สู่ระดับ 406,000 ยูนิต ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 475,0000 ยูนิต ขณะเดียวกัน มาร์กิตก็เปิดเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐในเดือนก.ค.ลดลงสู่ระดับ 56.3 จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 57.3 ทำให้ปิดตลาดดัชนีดาวโจนส์ลดลง ลดลง 2.83 จุด หรือ -0.02% ปิดที่ 17,083.80 จุด ดัชนี NASDAQ ลดลง 1.59 จุด หรือ -0.04% ปิดที่ 4,472.11 จุด ดัชนี S&P500 เพิ่มขึ้น 0.97 จุด, +0.05%ปิดที่ 1,987.98 จุด
ตลาดน้ำมัน NYMEX : ลดลง 1.05 เหรียญ
ราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 1.05 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังกับรายงานตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานยอดขายบ้านใหม่เดือนมิ.ย.ร่วงลง 8.1% สู่ระดับ406,000 ยูนิต ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 475,0000 ยูนิต ขณะเดียวกัน มาร์กิตก็เปิดเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐในเดือนก.ค.ลดลงสู่ระดับ 56.3 จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 57.3 ทำให้ปิดตลาดราคาน้ำมันดิบที่ตลาดล่วงหน้า NYMEX ส่งมอบเดือนก.ย.ลดลง 1.05 ดอลลาร์ ปิดที่ 102.07 ดอลลาร์/บาร์เรลส่วนน้ำมันดิบ BRENT ลดลง 96 เซนต์ ปิดที่ 107.07 ดอลลาร์/บาร์เรล
Analyst – ธวัชชัย 02-6725993 [email protected]
วิลาสินี 02-6725937 [email protected]
อาทิตย์ [email protected]
Assistant - ณัฐวุฒิ วงศ์เยาวรักษ์