WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASP copyบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน



กลยุทธ์การลงทุน
  ต่างชาติกลับมาซื้ออีกครั้ง และราคาน้ำมันยังคงฟื้นตัว (ดีต่อ PTT, PTTEP) สวนทาง Dollar ที่อ่อนค่า น่าจะหนุน SET ฟื้นตัวระยะสั้น กลยุทธ์ยังแนะนำสะสมหุ้น laggard (TMB, PTTEP, RATCH) Top picks เลือก PTT(FV@B400) และ TFG(FV@B40) ปรับกำไรและมูลค่าหุ้นขึ้น กำไรงวด 2Q59 ดีกว่าคาดมาก จากราคาหมูและไก่ที่ดีเช่นเดียวกับ CPF และ GFPT

Fed minute ไม่มีประเด็นใหม่ ยังคงกดดัน Dollar Index อ่อนค่า
  ผลการเปิดเผย Fed minutes รอบ ก.ค.วานนี้ ไม่มีประเด็นใหม่ โดยยังมีมุมมองต่อเศรษฐกิจสหรัฐยังมีการฟื้นตัวเนื่องตามตลาดแรงงาน (การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ล่าสุด ขยายตัว 3 เดือนติด หนุนอัตราการว่างงานอยู่ที่ 4.9%) และเงินเฟ้อน่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ล่าสุด วานนี้รายงานเงินเฟ้อ เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง ที่ 0.8% yoy ลดลงจาก 1% ในเดือน มิ.ย. หลังจากทรงตัวติดต่อมา 3 เดือน ถือว่าสวนทางกับมุมมองของ Fed
  เป็นที่สังเกตว่า Fed minutes รอบนี้แตกต่างจากรอบก่อนหน้า กล่าวคือ รอบนี้มุ่งประเด็น ความเสี่ยงจากสถาบันการเงินในอิตาลี ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันต่อเศรษฐกิจสหรัฐและโลกในอนาคต
  ตอกย้ำความเชื่อของ ASPS ที่คาดว่า Fed จะชะลอการขึ้นดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปี (การประชุมที่เหลืออีก 3 ครั้ง) เนื่องด้วยปัจจัยภายนอก และเงินเฟ้อที่กลับมาชะลอตัว แม้ผลสำรวจ Fed Fund future ใน Bloomberg คาดโอกาสขึ้นดอกเบี้ยลดลงเล็กน้อย รอบ ก.ย. ราว 22% รอบ พ.ย. 22% (เดิม 24%) ขณะที่รอบ ธ.ค. ลดลงเป็น 48% (เดิม 51%) ซึ่งยังกดดันให้ dollar index อ่อนค่าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามให้น้ำหนักต่อถ้อยแถลงมุมมองเศรษฐกิจที่ Jackson Hole ของประธาน Fed นางเจเน็ต เยลเลน วันที่ 26 ส.ค. ต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยในระยะถัดไป

สต๊อกน้ำมันดิบลดลงมากกว่าคาด หนุนหุ้นน้ำมัน PTTEP/PTT
  วานนี้มีรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) สิ้นสุดสัปดาห์ (13 ส.ค.) พบว่า สต็อกน้ำมันดิบลดลง 2.5 ล้านบาร์เรล สวนทางตลาดคาดเพิ่มขึ้น 0.52 ล้านบาร์เรล และเป็นการปรับลดลงครั้งแรกหลังจากเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 สัปดาห์ ปัจจัยหลักน่าจะมาจากการลดปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมา ประกอบกับการผลิตในประเทศที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง (ลดลง7.51 แสนบาร์เรล) และเช่นเดียวกับ สต็อกน้ำมันสำเร็จรูปเบนซินที่ลดลง 2.7 ล้านบาร์เรล (VS ตลาดคาดลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล) ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 เนื่องจากยังคงอยู่ในฤดูกาลขับขี่หนุนปริมาณการใช้น้ำมันให้เพิ่มขึ้น
  นอกจากนี้ Dollar Index ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่า ล่าสุด 94.60 จุด ผลจากตลาดลดความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ภายในปีนี้ หลังจากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจยังคงต่ำกว่าเป้าหมาย ผลักดันให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้น ประกอบกับการประชุมในกลุ่ม OPEC ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26-28 ก.ย. ซึ่งทำให้ตลาดคาดหวังว่าจะมีการคงกำลังการผลิตภายในกลุ่ม OPEC มากขึ้น (มีความเป็นไปได้มากขึ้นหลัง อิหร่านกลับมาผลิตระดับก่อนการถูกคว่ำบาตรแล้ว)
  โดยรวมช่วยสร้าง Sentiment เชิงบวกให้กับราคาน้ำมันดิบโลก ล่าสุด น้ำมันดูไบ อยู่ที่ 45.98 เหรียญฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 18.9% จากระดับต่ำสุด (3 ส.ค. 2559) เช่นเดียวกับน้ำมันตลาดล่วงหน้า Brent ที่วานนี้ปิดตลาด 49.82 เหรียญฯต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.26% จากวันก่อนหน้า ซึ่งดีต่อหุ้นในกลุ่มพลังงานอย่าง PTTEP(FV@B89) ที่ราคาหุ้นยัง Laggard แม้ราคาตลาดจะมี upside เหลือ 8.53% แต่หากไปใช้ fair value ปี 2560 ที่ 108 บาทจะมี upside 31.8% ขณะที่ PTT(FV@B342) แม้เต็มมูลค่าปีนี้แต่หากไปใช้ Fair Value ปี 2560 จะอยู่ 400 บาท มี upside 17%

ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคอีกครั้ง แต่ด้วยแรงซื้อที่เบาบางลง
 แม้วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซียหยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แรงซื้อต่างชาติหุ้นในภูมิภาคเริ่มชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัด โดยมียอดซื้อสุทธิเพียง 126 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิไปในวันก่อนหน้า) โดยเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกตลาดยกเว้นเพียงตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เท่านั้นที่ยังคงถูกขายสุทธิราว 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิอีกครั้ง แต่ด้วยแรงซื้อที่ยังเบาบาง คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิราว 99 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 10 ล้านเหรียญ และไทย 38 ล้านเหรียญ หรือ 1.3 พันล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯที่ขายสุทธิสูงถึง 4.6 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6)
  ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศขายสุทธิราว 697 ล้านบาท ต่างกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 9.3 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ขณะที่ Dollar Index ยังมีแนวโน้มทรงตัวถึงอ่อนค่า ตามความคาดหวังว่า Fed จะไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ดังกล่าวข้างต้น กดดันให้เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ในทิศทางเดียวกับประเทศเพื่อนบ้าน และคาดหวังว่าการใช้นโยบายผ่อนคลายของธนาคารกลางสำคัญ ๆ ของโลก ยังคงมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางด้านญี่ปุ่น เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้จึงยังคงหนุนให้ Fund Flow ไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาครวมถึงตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง

ปรับเพิ่มดัชนีเป้าหมายขึ้นจากเดิม 4% สะท้อน กำไรตลาดงวด 2Q59 ดีกว่าคาด
  ตามที่ ASPS ได้สรุปผลประกอบการ 2Q59 อยู่ที่ 2.44 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5%qoq และ 11.5%yoy ไปแล้วนั้น เมื่อรวมกับกำไรในงวด 1Q59 ที่ทำได้ 2.34 แสนล้านบาท ทำให้กำไรตลาดในงวด 1H59 รวมกันอยู่ที่ 4.79 แสนล้านบาท คิดเป็นกว่า 56% ของประมาณการกำไรทั้งปีของตลาดในปีนี้ ซึ่งดีกว่าที่คาดไว้ก่อนหน้า ขณะที่ครึ่งปีหลังของปีนี้คาดว่าผลประกอบการโดยรวมยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง หลังการลงประชามติ คาดการลงทุนเอกชนน่าจะเริ่มกระเตื้องขึ้นตามการลงทุนภาครัฐ ด้วยเหตุนี้จึงปรับเพิ่มประมาณการกำไรตลาดปีนี้และปีหน้าขึ้น ตามการปรับเพิ่มประมาณการรายกลุ่มดังนี้
ขนส่ง : ปี 2559 ปรับขึ้น 8.9 พันล้านบาท ปี 2560 ปรับขึ้น 9.3 พันล้านบาท (หลักๆ เป็นการปรับ THAI จากขาดทุน พลิกมาเป็นกำไร)
สื่อสาร : ปี 2559 ปรับขึ้น 6.1 พันล้านบาท ปี 2560 ปรับขึ้น 2.3 พันล้านบาท (หลักๆ เป็นการปรับกำไร INTUCH ปีนี้ขึ้น และปรับ TRUE เป็นขาดทุนน้อยลง)
ประกันฯ : ปี 2559 ปรับขึ้น 9.3 พันล้านบาท ปี 2560 ปรับขึ้น 480 ล้านบาท (มาจาก BLA จากขาดทุน พลิกเป็นมีกำไร)
เกษตร-อาหาร : ปี 2559 ปรับขึ้น 2.9 พันล้านบาท ปี 2560 ปรับขึ้น 4.6 พันล้านบาท (มาจาก CPF กำไรดีกว่าคาดมาก)
ปิโตรเคมี : ปี 2559 ปรับขึ้น 3.5 พันล้านบาท (มาจาก IVL)

  และตรงข้ามกลุ่มที่มีการปรับประมาณการลง คือ วัสดุก่อสร้าง : ปี 2559 ปรับลง 1.7 พันล้านบาท ปี 2560 ปรับขึ้น 1.2 พันล้านบาท (จาก SCCC, TASCO และ TPIPL)
  โดยรวมทำให้ปรับเพิ่มกำไรตลาดปี 2559 ขึ้นสู่ 8.60 แสนล้านบาท จาก 8.44 แสนล้านบาท คิดเป็น EPS ที่ 90.14 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1.7% จากประมาณการเดิมที่ 88.66 บาท
  ส่วนปี 2560 ปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้นสู่ 9.4 แสนล้านบาท จาก 9.30 แสนล้านบาท คิดเป็น EPS ที่ 98.5 บาท หรือเพิ่มขึ้น 1% จากประมาณการเดิมที่ 97.65 บาท
  ด้วยเหตุนี้ทำให้ปรับเพิ่มดัชนีเป้าหมายปี 2559 ขึ้นจากเดิมที่กำหนดโดยใช้ Expected P/E 16.3 เท่า (earning yield gap) เช่นเดิมจะทำให้ ดัชนีเป้าหมายปี 2559 เพิ่มจากเดิม 1,450 จุด เป็น 1,470 จุด ซึ่งถือว่าได้เกินดัชนีเป้าหมายปีนี้ไปแล้วกว่า 4% ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้ตลาดหุ้นปรับฐาน แต่อย่างไรก็ตามหากไปใช้ดัชนีเป้าหมายปี 2560 ภายใต้ประมาณการใหม่ จะอยู่ที่บริเวณ 1,580 จุด อิง P/E 16 เท่า ซึ่งหากยังมี fund flow ก็เชื่อว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสเดินหน้าต่อ
  กลยุทธ์การลงทุน จึงเน้นไปยังหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกอาหาร จากปัจจัยช่วง high season ฤดูกาลส่งออก ฝ่ายวิจัยแนะนำ CPF (FV@B40) และ GFPT (FV’60@B17) รวมทั้งหุ้นที่ยังมี upside สูง หรือ laggard กว่าตลาด ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัว หรือเติบโตได้ต่อเนื่อง คาดหวังเงินปันผลสูง แนะนำ BH (FV@B202), BDMS (FV@B25) รวมถึง PTTEP (FV@B 89) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ขยับขึ้น

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
พาสุ ชัยหลีเจริญ ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!