- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 11 August 2016 17:30
- Hits: 1253
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดหลังปรับฐาน SET ยังเดินหน้าต่อ ด้วยแรงหนุนของ Fund Flow จากการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง ล่าสุดธนาคารนิวซีแลนด์ลดดอกเบี้ยฯ อีกแห่ง ขณะที่การขายทำกำไรหุ้นรายตัว หลังประกาศงบ 2Q59 ของหุ้น real sector จึงให้สลับขายหุ้นที่เต็มมูลค่า และสะสมหุ้นขนาดใหญ่-กลางที่ยัง laggard (TMB, TASCO, PTTEP, RATCH, BH, BDMS) Top picks TASCO([email protected])และ RATCH(FV@B60)
ดัชนีปรับฐานช่วงสั้น ตราบที่ยังมี fund flow ไหลเข้า
เชื่อว่า Fund Flow ยังคงหนุนตลาดหุ้นโลก จากมาตรการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก ล่าสุดธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) ปรับลดดอกเบี้ยลง 25bp อยู่ที่ระดับ 2% (ต่ำสุดในประวัติการณ์) สอดคล้องกับธนาคารกลางออสเตรเลีย(RBA) ลดดอกเบี้ยลง 25 bps อยู่ที่ 1.5% (ต่ำสุดในประวัติการณ์) ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากนิวซีแลนด์ เผชิญปัญหาเงินเฟ้อชะลอตัว ล่าสุด อยู่ที่ 1% ลดลงต่อเนื่องจาก 1.7% ม.ค. 2559 รวมถึงธนาคารกลางของฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ดังเช่น ธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) ลดดอกเบี้ย 25 bps เหลือ 0.25% พร้อม และเพิ่ม QE อีกครั้ง วงเงินราว 5.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีส่วนสำคัญที่หนุน M2 ทั่วโลก และ บวกต่อตลาดหุ้น
ดังนี้ แม้ดัชนีจะมีการปรับฐานในวันนี้แต่น่าจะเป็นเหตุการณ์ระยะสั้นๆ เพราะเชื่อว่ายังมีเงินทุนไหลเข้าภูมิภาคเอเซียต่อเนื่อง ตราบที่ยังมีการใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่อง เม็ดเงินจะไหลจากประเทศที่ให้ผลตอบแทนต่ำมาในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูง ทั้งนี้ไม่ว่าจะพิจารณาในรูปใด กล่าวคือ
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของประเทศในภูมิภาคเอเซียให้ผลตอบแทนที่สูง Bond yied 10ปี ล่าสุด ของอินโดนีเซีย 6.75% มาเลเซีย 3.614% ฟิลลิปปินส์ 2.21% ไทย 2.04% เทียบกับ ผลตอบแทนของฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว ต่ำกว่า อาทิ สหรัฐ 1.507% อังกฤษ 0.527% เยอรมัน -0.109%) หรือ
อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียดีกว่าประเทศพัฒนาแล้ว ล่าสุด อินโดนีเซียประกาศ GDP Growth งวด2Q59 อยู่ที่ 5.2% ดีกว่าตลาดคาด และ เพิ่มขึ้นจาก 4.9% ในงวด 1Q59 เทียบกับรายงานสหรัฐ GDP Growth งวด2Q59 ขยายตัวเพียง 1.2%QoQ(หรือ 1.2%yoy) น้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ 2.6%QoQ
สต๊อกน้ำมันเพิ่มตามคาด ดอลลาร์อ่อนค่า หนุนน้ำมันแกว่ง 40-45 เหรียญฯ
วานนี้การรายงานสต็อกน้ำมันของสำนักสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) รายสัปดาห์สิ้นสุด 5 ส.ค. พบว่า น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล แต่สอดคล้องกับตลาดคาด ขณะที่น้ำมันสำเร็จรูปที่ลดลงสูงสุด ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 และเหนือกว่าตลาดคาด เกิดจากทั้งน้ำมันเบนซิน และดีเซล ลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล และ 1.96 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ เพราะเข้าสู่กลางฤดูกาลขับขี่
แต่อย่างไรก็ตามพบว่าราคาน้ำมันโลกยังคงทรงตัวหรืออ่อนตัวเล็กน้อย อาทิ น้ำมันดูไบ ปิดที่ 41.27 เหรียญฯต่อบาร์เรล และตลาดล่วงหน้า WTI และ Brent ปิดตลาด 41.45 และ 44.05 เหรียญฯต่อบาร์เรล เชื่อว่าได้แรงหนุนจาก ความคาดหวังว่า โอกาสขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ภายในสิ้นปีนี้ลดลง กดดัน Dollar Index มีแนวโน้มทรงตัวถึงอ่อนค่า (ล่าสุด 95.65 จุด) ทั้งนี้แม้ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ใน 2H59 (EIA ได้มีการประมาณการณ์กำลังผลิตน้ำมันดิบสหรัฐระยะสั้นจะลดลงช้ากว่าคาด ปี 2559 8.73 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปีก่อน 7.1%) แต่น่าจะเริ่ม กลับมาสมดุลใน 1H60 จึงประเมินว่าราคาน้ำมันดิบดูไบในช่วงที่เหลือของปีนี้น่าจะแกว่งตัวในกรอบ 40-45 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล สอดคล้องกับคาดการณ์ของ ASPS (คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยปี 2559 ที่ 45 เหรียญฯต่อบาร์เรล) และน่าจะปรับตัวขึ้นไปยืนที่ 50 เหรียญฯ ซึ่งถือว่าราคาน้ำมันระดับนี้ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว จึงน่าจะดีต่อ หุ้นกลุ่มพลังงาน อย่าง PTTEP(FV@B89) ที่ราคาหุ้นยัง Laggard แม้ราคาตลาดจะมี upside เหลือ 9.5% แต่หากไปใช้ fair value ปี 2560 ที่ 108 บาทจะมี upside 33% ขณะที่ PTT(FV@B342) มี upside จำกัด
นอกจากนี้ราคาในช่วงน้ำมันยังแกว่งตัวขาลง นั้นยังให้ประโยชน์แก่หุ้นที่มีต้นทุนเป็นน้ำมันเป็นหลักอย่าง TASCO([email protected]) และ BA([email protected]) แต่เนื่องจาก BA ปรับตัวขึ้นไปแล้ว จึงชอบ TASCO([email protected]) มากกว่า
Fund Flow ยังคงไหลเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาค ด้วยแรงไม่มีตก
Fund Flow ยังคงขับเคลื่อนเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยปริมาณที่หนาแน่นถึง 888 ล้านเหรียญ แม้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เล็กน้อยราว 3 ล้านเหรียญ แต่ที่เหลืออีก 4 ประเทศยังคงซื้อสุทธิ นำโดย เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ ราว 366 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยไต้หวัน 225 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5), อินโดนีเซีย 200 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 13) , และไทยที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ 100 ล้านเหรียญ หรือ 3.5 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 โดยมียอดซื้อสุทธิสะสมรวมสูงถึง 1.8 หมื่นล้านบาท) สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิราว 1.6 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิเล็กน้อยราว 259 ล้านบาท เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิราว 5.5 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 5 วัน)
แรงขายหุ้นรับงบ 2Q59 กดดันดัชนีระยะสั้นเท่านั้น
หลังจากที่ทยอยรายงานผลประกอบการ 2Q59 จนถึงเย็นวานนี้ มีบริษัทจดทะเบียนรายงานแล้ว 132 บริษัท คิดเป็น 50% ของ Market Cap ทั้งตลาด มีกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.50 แสนล้านบาท (หากเทียบกันเป็นรายบริษัท จะพบว่ามากกว่า 2Q58 ที่ทำกำไรได้ 1.42 แสนล้านบาท และมากกว่า 1Q59 ที่ทำกำไรได้ 1.37 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.8%yoy และ 9.7%qoq ตามลำดับ) รายละเอียดดังนี้
เช่าซื้อ-ลิสซิ่ง : เฉพาะที่ประกาศแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 2.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%yoy (แต่ลดลง 6%qoq) ปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจาก การทยอยเปิดสาขาเชิงรุก และผลบวกจากต้นทุนดอกเบี้ยที่ลดลง โดยหุ้นที่เติบโตได้ทั้ง qoq และ yoy คือ MTLS เติบโต 7.2% qoq และ 63.7% yoy, SAWAD เติบโต 3.3% qoq และ 49.1% yoy (ทั้ง 2 บริษัทเติบโตตามความต้องการสินเชื่อโดยใช้ทะเบียนรถค้ำประกัน)และ THANI เติบโต 3.4% qoq และ 13.5% yoy
ประกัน : บริษัทที่ประกาศงบแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 9.5 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัวyoy และพลิกจากขาดทุน qoq หลักๆ มาจากกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นมากของ BLA จากการกลับรายการการตั้งเงินสำรองฯ กว่า 9.5 พันล้านบาท
เกษตร-อาหาร : บริษัทที่ประกาศงบแล้วทำกำไรรวมราว 3.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 49%qoq และ 138%yoy โดยหุ้นที่เติบโตได้ทั้ง qoq และ yoy คือ GFPT เพิ่มขึ้นถึง 38.5% qoq และ 90.5% yoy จากปริมาณส่งออกมากขึ้นตามปัจจับฤดูกาล และ TU เพิ่มขึ้น 24.1% qoq และ 16.9% yoy จากการเข้าช่วงฤดูกาลของธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปกระป๋อง ขณะที่ TFG พลิกจากขาดทุนในงวด 2Q58 และเติบโตถึง 234%qoq
วัสดุก่อสร้าง : บริษัทที่ประกาศงบแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 1.8 หมื่นล้านบาท เติบโต 7%yoy และ 10%qoq หลักๆ มาจาก SCC กำไรเพิ่มขึ้น 15%yoy และ 18%qoq จากการเติบโต ขณะที่ SCCC และ DCC ชะลอตามเศรษฐกิจในประเทศ
พัฒนาที่อยู่อาศัย : เฉพาะบริษัทที่ประกาศแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 4.3 พันล้านบาท เติบโต 39%yoy และ 12%qoq ที่โดดเด่นคือ SPALI เพิ่มขึ้น 49% qoq (แต่ทรงตัว yoy) ส่วน QH กำไรเติบโต 32%yoy และ 20%qoq และ ANAN เติบโต 191%yoy และ 41%qoq
พลังงาน : บริษัทที่ประกาศงบแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 2.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%yoy และ 10%qoq หลักๆ มาจาก TOP กำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นถึง 64.1%qoq และ 24.5%yoy จากการบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมัน ส่วน PTTEP แม้จะเติบโตถึงกว่าเท่าตัว yoy แต่มาจากค่าตัดจำหน่ายที่ลดลง แต่เมื่อเทียบกับ 1Q59 หดตัวถึง 53%qoq จากการบันทึกขาดทุนจาก FX ส่วน IRPC กำไรเพิ่มขึ้น 22.9%qoq แต่ลดลง 12.5%yoy จากค่าการกลั่นาที่ลดลง
ปิโตรเคมี : เฉพาะที่ประกาศแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 1.2 หมื่นล้านบาทเติบโต 18%qoq (ลดลง 17%yoy) โดย IVL เติบโต 45%qoq และ 10%yoy ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรับรู้กำไรจาก negative goodwill ขณะที่กำไรปกติเพิ่มมากกว่าคาดที่ 2.9 พันล้านบาท ตามด้วย PTTGC กำไรทรงตัว qoq แต่หดตัว 45%yoy จากการปิดซ่อมโรงกลั่น และ unplanned shutdown โรงงานโอเลฟินส์หน่วยที่ 3
ค้าปลีก : เฉพาะบริษัทที่ประกาศแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 2.8 พันล้านบาท เติบโต 20%yoy แต่ลดลง 5.6%qoq โดย HMPRO เติบโตเด่น 21% yoy และ 14% qoq จากยอดขายสาขาเดิม และรายได้ค่าเช่าเพิ่มขึ้น
สื่อสาร : บริษัทที่ประกาศงบแล้ว ทำกำไรสุทธิรวม 1.4 หมื่นล้านบาท ลดลง 10%yoy และลดลงหนักถึง 46%qoq ส่วนใหญ่ผลประกอบการชะลอตัว ยกเว้น ADVANC เติบโต 19%qoq และหดตัวเล็กน้อย 2.6%yoy จากค่าใช้จ่ายขายบริหารที่ลดลง
ทั้งนี้ ประเมินว่า หากกำไรตลาด 2Q59 นี้ทำได้ใกล้เคียงกับ 1Q59 ซึ่งอยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท ก็อาจมีโอกาสที่จะปรับประมาณการกำไรปี 2559 ขึ้น โดยนักวิเคราะห์จะทำการพิจารณาผลประกอบการเป็นรายกลุ่มฯ อีกครั้งหลังประกาศงบฯ เสร็จสิ้น ส่วน SET Indes Target นั้น ฝ่ายวิจัยได้ปรับไปใช้เป้าหมายดัชนีปี 2560 (โดยที่ยังคงประมาณการเดิมไว้ก่อน) ประเมินไว้ที่ 1,590 จุด อิง Expected P/E 16.3 เท่า ภายใต้สมมติฐาน EPS ตลาดที่ 97.6 บาท และ Earning Yield Gap 4.75% อย่างไรก็ตาม ภายใต้ดัชนีเป้าหมายปีหน้าเทียบกับดัชนีปัจจุบัน มี upside เหลือเพียง 2.7% เท่านั้น
กลยุทธ์การลงทุน จึงเน้นไปยังหุ้นที่มีผลประกอบการเติบโตโดดเด่น โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกอาหาร จากปัจจัยช่วง high season ฤดูกาลส่งออก รวมทั้งการเข้าสู่เทศกาลสารทจีน ฝ่ายวิจัยแนะนำ GFPT (FV'60@B17) คาดกำไรสุทธิปี 2559-60 เติบโตถึง 20.3% yoy และ 10.8% yoy ตามลำดับ
รวมทั้งหุ้นที่ยังมี upside สูง หรือ laggard กว่าตลาด ผลการดำเนินงานมีแนวโน้มฟื้นตัว หรือเติบโตได้ต่อเนื่อง คาดหวังเงินปันผลสูง แนะนำ BH (FV@B202), BDMS (FV@B25), TASCO ([email protected]) รวมถึง PTTEP (FV@B 89) ซึ่งได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ขยับขึ้น
นักวิเคราะห์: ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์: พาสุ ชัยหลีเจริญ
ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์: ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์
0000000000000000000
? 2016 PricewaterhouseCoopers. All rights reserved.