- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 04 August 2016 18:26
- Hits: 1868
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
“Sentiment ดีขึ้นเมื่อ SET ยืนเหนือ 1500”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SVI (จากถือเป็นซื้อ), TRC (จากถือเป็น Fully Valued)
ปัจจัย&กลยุทธ์ทางปัจจัยพื้นฐาน : นักลงทุนต่างชาติพลิกเป็นขายสุทธิ 1.2 พันล้านบาท ส่วนสถาบันในประเทศและพอร์ตบล.ขายสุทธิเล็กน้อยอย่างไรก็ตาม ดัชนีตลาดหุ้นไทยสามารถปิด +9.96 จุด ที่ 1507.47 นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคารและหุ้นขนาดกลาง-เล็ก สำหรับปัจจัยจับตาเป็น ผลประชุม BOE วันที่ 4 ส.ค., รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค.ของสหรัฐวันที่ 5 ส.ค. และผลการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 7 ส.ค.59วันนี้ติดตามผลการประชุม BOE ซึ่งตลาดคาดหวังจะมีมาตรการเพิ่มเติม คือ ลดดอกเบี้ยลง 0.25% (จากปัจจุบัน 0.50%) และกลับมาใช้ QEหลังจากเคยใช้และสิ้นสุดมาตรการไปเมื่อปี 55 ส่วนการประชุมกนง.ของไทยเมื่อวานนี้เป็นไปตามคาด คือ คงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% โดยการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายจากปัจจัยภายนอกมาก ปัจจัยกระตุ้นตลาดยังเป็นเรื่อง Fund flow และการเก็งกำไรผลประกอบการ 2Q59 &แนวโน้ม กลยุทธ์การลงทุน : เรายังคงให้พิจารณาเรื่องของ Fair value ของหุ้นเป็นสำคัญ โดยเลือกซื้อ/ถือหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีรองรับและยังเหลือUpside พอสมควร ถ้ามีหุ้นอยู่แล้วก็ควรพิจารณาแบ่งขายทำกำไรเมื่อราคาหุ้นปรับขึ้นสูงกว่าเป้าหมายที่ประเมินอย่าง Aggressive ไปแล้วสำหรับหุ้นเชิงกลยุทธ์แนะนำวันนี้เป็น TKN
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ภาพตลาดเป็นบวกเล็กๆ แต่ยังปิดต่ำกว่า SMA10 และอยู่ในภาวะ Overbought + Divergence ทำให้หลังรีบาวด์แล้วยังมีความเสี่ยงเรื่องการลงต่ำ ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก แนวต้านระยะสั้นอยู่ที่ 1510-1520, 1530 จุด
สำหรับการ SCAN หุ้นเทคนิคดีพบว่า หุ้นที่เข้ามาใหม่ คือ AP, SWC, TIPCO, CENTEL ส่วนหุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ STEC, AAV, ASK, MCS,GFPT, BJC, MCOT, ASIMAR หุ้นที่หลุด List –ไม่มี- และหุ้นที่อยู่ในพื้นที่หาจังหวะ Take profit ได้แก่ UV, LOXLEY, SPF, CWT, LIT
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]
Need to know TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
• อังกฤษ : ประชุมกรรมการนโยบายการเงินวันนี้ (4 ก.ค.)สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของอังกฤษ (NIESR) คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมกำหนดนโยบายการเงินในวันนี้ และปรับลดลงอีก 0.15% เป็น 0.10% ในการประชุมเดือนพ.ย.59 จากปัจจุบันที่ 0.50% และ NIESR ยังคาดการณ์ว่า BoE จะกลับมาดำเนินโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อีกครั้ง หลังจากที่ BoE อนุมัติโครงการดังกล่าวในวงเงิน 3.75 แสนล้านปอนด์ในปี2552 ท่ามกลางวิกฤตการเงินทั่วโลกในขณะนั้นและได้ปิดโครงการลงในปี 2555
• ยูโรโซน : ดัชนี PMI รวมภาคผลิตและบริการก.ค.ขยับขึ้นเล็กน้อยมาร์กิตฯเปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนเดือนก.ค.อยู่ที่ 53.2 ดีขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ 52.9 และใกล้เคียงกับเดือนมิ.ย.ที่ 53.1 สำหรับดัชนี PMI ภาคบริการเพียงอย่างเดียวอยู่ที่ 52.9 ในเดือนก.ค.เทียบกับตัวเลขเบื้องต้นที่ 52.7 และเดือนมิ.ย.ที่ 52.8มาร์กิตฯระบุว่าแม้ว่าในภาพรวมดัชนี PMI ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เมื่อแยกเป็นรายประเทศแล้วดัชนีกลับไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยเยอรมนีมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อิตาลีและสเปนมีการขยายตัวปานกลาง ขณะที่ฝรั่งเศสค่อนข้างซบเซา
+ สหรัฐ : การจ้างงานภาคเอกชนก.ค.เพิ่มขึ้นแกร่งออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่าภาคเอกชนของสหรัฐมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนก.ค. โดยการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐประจำเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 179,000 ตำแหน่ง สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ170,000 ตำแหน่ง และทบทวนปรับเพิ่มตัวเลขเดือนมิ.ย.สู่ระดับ 176,000 ตำแหน่ง จากเดิมที่ระดับ 172,000 ตำแหน่ง
• สหรัฐ : นักวิเคราะห์คาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรก.ค.59 จะเพิ่ม 1.75 แสนตำแหน่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐเดือนก.ค.59 ในวันศุกร์นี้ ซึ่งจะบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของธนาคารกลางสหรัฐในปีนี้ ผลการสำรวจนักวิเคราะห์คาดว่าการจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่ง หลังจากพุ่งขึ้น 2.87 แสนตำแหน่งในเดือนมิ.ย.
+ ตลาดหุ้นสหรัฐ : รีบาวด์ในรอบ 8 วันทำการดัชนี DJIA ปิดเพิ่มขึ้น 41.23 จุด หรือ +0.23% ดัชนี NASDAQ ปิดเพิ่มขึ้น 22.01 จุด หรือ +0.43% ดัชนี S&P500 ปิดเพิ่มขึ้น 6.76 จุด หรือ +0.31% หนุนโดยตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนที่แข็งแกร่งและการปรับขึ้นกว่า 3% ของราคาน้ำมันดิบที่หนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน
+ ราคาน้ำมันดิบ : ปรับขึ้นราว 3% สะท้อนสต็อกน้ำมันเบนซินสหรัฐร่วงลงสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 1.32 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 40.83 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENTเพิ่มขึ้น 1.30 ดอลลาร์ หรือ 3.1% ปิดที่ 43.10 ดอลลาร์/บาร์เรล หนุนโดยรายงาน EIA ที่ระบุว่าสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง3.3 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ (ด้านสต็อกน้ำมันดิบเพิ่ม 1.4 ล้านบาร์เรลเป็น 522.5 ล้านบาร์เรล)ขณะที่การผลิตน้ำมันของสหรัฐลดลงต่ำกว่า 8.5 ล้านบาร์เรล/วัน และสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมาซึ่งเป็นจุดส่งมอบน้ำมันลดลง 1.1 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว
- ราคาทองคำ : ลดลงหลังเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นสัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ลดลง 7.9 ดอลลาร์ หรือ 0.58% ปิดที่ระดับ1,364.7 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้นสะท้อนตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่แข็งแกร่งของสหรัฐ
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
• เศรษฐกิจไทย : มองไปข้างหน้า...มีความท้าทายรออยู่มากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (3 ส.ค.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปแต่ก็มีความเสี่ยงมากขึ้นว่าการขยายตัวอาจต่ำกว่าเป้าหมายที่ 3.1% ซึ่งโดยหลักมาจากปัจจัยเสี่ยงในตลาดโลก (เช่น Brexit, ปัญหาการเงินในยุโรป, ความผันผวนของค่าเงิน & การแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐและเยนที่อาจกระทบการฟื้นตัว/เติบโตของเศรษฐกิจ เป็นต้น) ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่เป็นแรงกดดันและขยับขึ้นช้ากว่าที่เคยประเมินไว้เล็กน้อยเพราะราคาพลังงานที่อาจต่ำกว่าคาด
ความเห็นเชิงกลยุทธ์ Retail Research : เราเห็นตัวเลขการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในหลายภาคส่วนช่วง 2Q59 แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะแผ่วลงในช่วง 3Q59 เพราะการผลิตเครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วนที่จะลดลงตามปัจจัยฤดูกาล การผลิตยานยนต์ที่น้อยลง เป็น Low season ของภาคก่อสร้างและธุรกิจท่องเที่ยว ฯลฯ นอกจากนั้นมีความไม่แน่นอนในประเด็นการเมือง ซึ่งหากมีแรงกระเพื่อมหรือความเสี่ยงมากก็จะทำให้ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการและผู้บริโภคลดลง ส่วนปัจจัยหนุน ยังคงเป็นเรื่องของการใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ ผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาทำให้การอุปโภคและบริโภคกระเตื้องขึ้น ส่วนในระยะยาว ไทยมีความท้าทายจากการไหลเข้าของเงินลงทุน (FDI) ที่อาจจะลดลงในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดจากการกระจายการลงทุนไปในประเทศอื่นๆ ที่มีต้นทุนต่ำกว่าและเป็นการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจด้วย เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วซึ่งภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้ทัน การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานโลกเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกีดกันทางการค้าที่รุนแรง
# สำหรับกำไรของตลาดหุ้นใน 3Q59 มีโอกาสลดลงเมื่อเทียบ QoQ เพราะราคาน้ำมันดิบที่ลดลงมาแล้ว 12%QTD ก็ทำให้กลุ่มพลังงาน (สัดส่วนกำไรของกลุ่มสูงถึง 1 ใน 4 ของตลาดหุ้นไทย) มีโอกาสขาดทุนจากสต็อกอีกรอบหลังจากมีกำไรจากสต็อกใน 2Q59 แต่เมื่อเทียบ YoY จะเติบโตได้สูงเพราะฐานกำไรในช่วง 3Q58 ต่ำมาก สำหรับกำไรตลาดหุ้นทั้งปี 59 เราประเมินว่าจะเติบโตกว่า 30%YoY เพราะฐานกำไรกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และขนส่งที่ต่ำมากในปีก่อน แต่ถ้าไม่รวมกำไรกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีพบว่าจะเติบโต 7%YoY และถ้าไม่รวมกำไรกลุ่มพลังงานปิโตรเคมี และขนส่ง จะขยายตัวเพียง 2%YoY
# ด้านความเสี่ยงจากภายนอก เรายังให้ความสำคัญและติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งเรื่องปัญหาภาคธนาคารในยุโรปโดยเฉพาะอิตาลี ซึ่งภาคธนาคารมี NPL สูง โดยทาง IMF ประเมินว่าภาคธนาคารยุโรปขณะนี้มี NPL ราว 1 ล้านล้านยูโร คิดเป็น 9.4% ของสินเชื่อภาคเอกชนที่ประมาณ 10.6 ล้านล้านยูโร และต้องการเงินทุนอีกไม่น้อยกว่า 0.9ล้านล้านยูโร, เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ฟื้นตัวช้าและการแข็งค่าของเงินเยนหลังมี Brexit เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว,ผลกระทบจาก Brexit ต่อสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป และเศรษฐกิจโลก ซึ่งคาดว่าจะเห็นชัดเจนมากขึ้นในอีก12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเราคาดว่า EU จะไม่ผ่อนปรนด้านต่างๆ ให้กับ UK นักเพื่อไม่ให้เป็นแรงกระตุ้นในการขอถอนตัวของประเทศอื่นๆ, การกลับเข้าสู่ Policy normalization ของสหรัฐที่ล่าช้าเพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเปราะบางลง, ดัชนีตลาดหุ้นของหลายประเทศปรับขึ้นแซงการเติบโตของกำไร ทำให้ P/E Expansion อย่างมาก ซึ่งบ่งชี้ถึงความสี่ยงภาวะฟองสบู่ตลาดหุ้น เป็นต้น ซึ่งเราอาจยังไม่เห็นแรงกดดันที่สูงมากในระยะสั้น แต่ก็เป็นความท้าทายอย่างมากในระยะกลาง-ยาว
# เราคาดว่าทางการไทยจะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายต่อเนื่องไปถึงอย่างน้อยกลางปี 60 เพราะความไม่แน่นอนและความเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกดังกล่าวไว้ข้างต้น รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อก็ยังไม่สูง ประมาณการว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 3% ในช่วงปี 59-60
# ประเมินเป้าหมาย SET Index ปีนี้ไว้ที่ 1,570 จุด (Median + 1SD) หรือเทียบเท่า Forward P/E ปี 2559 ที่ 16.4เท่า กลุ่มที่เรามีมุมมองบวก คือ กลุ่มที่เกี่ยวกับการลงทุนโครงสร้างขั้นพื้นฐาน & สนามบิน, กลุ่มอาหาร, กลุ่มที่เกี่ยวกับสุขภาพและความงาม, กลุ่มพลังงานทางเลือก, กลุ่ม Property fund/REITs กลุ่มที่มีมุมมองเป็นกลาง คือธนาคารพาณิชย์, อสังหาริมทรัพย์, อุปโภคบริโภค, พลังงาน & ปิโตรเคมี, ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์และยานยนต์ ส่วนกลุ่มที่ธุรกิจอยู่ในความท้าทาย คือ สื่อสาร, สื่อ (รวมถึงทีวีดิจิตอล) เป็นต้น สำหรับหุ้น Top picks ของเดือนส.ค.59เป็น CK, CPNRF, EPG, TKN และ Dark Horse คือ BJC, MCS
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]