- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 24 July 2014 21:49
- Hits: 2197
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ณ ดัชนีตลาด ที่ Current P/E 16 เท่า มีความเสี่ยงต่อการปรับฐานได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังรายงานงบภาคการผลิต และเงินบาทที่แข็งค่ากดดันหุ้นส่งออก (KCE, DELTA, HANA) แนะให้ switch มาหุ้น Growth stock P/E ต่ำ + เงินปันผลสูง ราคาหุ้นมี upside สูงคือ SINGER(FV@B25)
ระยะที่ 2 ในโรดแมพของ คสช. ถือเป็นจุดที่ยากสุด ... ราคาหุ้นน่าจะสะท้อนผลบวกไปแล้ว
การก้าวเข้าสู่ระยะที่ 2 ในโรดแมพของ คสช. ซึ่งเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่รัฐธรรมนูญฯ (ฉบับชั่วคราว) มีผลบังคับใช้ ถือเป็นช่วงเวลาที่มีภารกิจที่ต้องดำเนินการมากที่สุด (ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอไว้ใน Market Talk ฉบับวานนี้) เนื่องจากเป็นเรื่องของการปฎิรูปประเทศ ซึ่งในหลายกรณีจำเป็นต้องดำเนินการโดยวิธีการพิเศษ และยิ่งไปกว่านั้นโดยธรรมชาติในช่วงของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละเรื่อง ก็ย่อมมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ดังนั้นจากนี้ไปจะเห็นการดำเนินการ ควบคู่ไปกับการถูกวิพากษ์วิจารณ์จากฝ่ายต่างๆ เริ่มจากการวิจารณ์รัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ในบางมาตราเช่นมาตรา 44 ซึ่งเสียงวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นมาตราที่ให้อำนาจ คสช. มากเกินไป เป็นต้น หลังจากนี้จะเป็นการเดินหน้ากระบวนการตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ ส่วนแรกเป็นการแต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งก็คาดหมายได้ว่าน่าจะเกิดเสียงวิจารณ์ในเชิงโครงสร้างว่า มาจากบุคลากรในฝ่ายใดมากน้อยเท่าใด โดยคงหนีไม่พ้นข้อกล่าวหาว่ายังเป็นการรักษาไว้ซึ่งอำนาจของ คสช. ถัดมาก็จะเป็นการแต่งตั้งรัฐบาล โดยที่ สนช. เป็นผู้เสนอชื่อ ซึ่งก็คาดหมายว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ออกมาเช่นกัน
โดยภาพรวมของสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น และทิศทางการเคลื่อนไหวของ SET Index เชื่อว่าการดีดกลับขึ้นมาอย่างแรงของดัชนีวานนี้ น่าจะเป็นการสะท้อนความคาดหวังเชิงบวกจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งถือเป็นการแสดงความคืบหน้าในการดำเนินงานของ คสช. ก้าวสู่ระยะที่ 2 แต่จากนี้ไป กระแสความเห็นที่มีความแตกต่างกันมากในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงาน อาจจะสร้างแรงกดดันทำให้ SET Index ผันผวนไปตามกระแสข่าว ซึ่งจัดว่าเป็นระดับความเสี่ยงที่สูงขึ้น
IMF ปรับลด GDP สหรัฐ vs จีนยังจำเป็นกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ
สหรัฐ : ล่าสุดกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐ เหลือ 1.7% (จากเดิม 2% ซึ่งเป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ของปี 2557 และต่ำกว่า world bank ที่คาดไว้ 2.1%) ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามคาดการณ์ของ IMF แสดงว่าในงวดที่เหลือของปีนี้จะต้องเติบโตเฉลี่ยไตรมาสละ 1.77% (จากเดิมเฉลี่ยไตรมาสละ 2.17%) ซึ่งถือว่าเป็นการขยายตัวมากกว่าในงวด 1Q57 ที่ระดับ 1.5% แต่ยังคงประมาณการปี 2558 ไว้ที่ 3% อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ในงวด 2H57 ทำให้ IMF ยังกังวลต่อตลาดแรงงาน แม้อัตราการว่างงานที่ระดับ 6.1% ก็ตาม จึงมีข้อเสนอแนะให้ FED ยืดการใช้ดอกเบี้ยต่ำไปถึงกลางปี และน่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ในช่วง 2H58 ซึ่งอาจจะเป็นข้อเสนอการขึ้นดอกเบี้ยที่ล่าช้ากว่าตลาดที่คาดว่า FED ควรขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ในช่วง 1Q58-3Q58 หลังจากตัดลด QE สิ้นสุดราวเดือน ต.ค. ขณะที่ทาง FED เองยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนต่อการขึ้นดอกเบี้ย อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐอย่างต่อเนื่อง และความชัดเจนของการประชุมคณะนโยบายการเงิน FOMC ระหว่างวันที่ 29 - 30 ก.ค.
จีน : ความกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนอาจไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ 7.5% (ช่วง 1H57 ขยายตัวได้ 7.45%) โดยเฉพาะกังวลต่อภาวะตกต่ำในอุตสาหกรรมอสังหาฯ ที่หดตัวย่างรวดเร็วในช่วง 1H57 โดยหดตัวราว 16.4%yoy สะท้อนได้จากผลการสำรวจนักวิเคราะห์ บลูมเบิร์ก พบว่าส่วนใหญ่ราว 64% ของผู้ตอบ ต้องการให้จีนกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ที่ใช้วงเงินในระดับปานกลาง ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน, การปรับลดภาษี และเพิ่มปริมาณเงินกู้ยืมแก่ภาคธนาคาร รวมถึงผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยปรับลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (จากปัจจุบัน 20%) หากมีการกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนอีกครั้ง น่าจะหนุนความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็น sentiment เชิงบวกต่อเนื่อง ต่อตลาดหุ้นจีน
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นไทย แต่ยังคงซื้อหนักตราสารหนี้
วานนี้ แม้ว่านักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 10 แต่ยอดซื้อกลับลดลงถึง 79% เหลือเพียงราว 84 ล้านเหรียญฯ ซื้อสุทธิสูงสุดคือเกาหลีใต้ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 ราว 73 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 46%) ตามมาด้วย อินโดนีเซียที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ราว 4 ล้านเหรียญฯ (วันก่อนหน้าซื้อสุทธิเพียง 1 ล้านเหรียญฯ สวนทางกับ ไทย ที่สลับมาขายสุทธิราว 24 ล้านเหรียญฯ (763 ล้านบาท) และ ฟิลิปปินส์ที่ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ราว 9 ล้านเหรียญฯ (ลดลง 35% จากวันก่อนหน้า) ขณะที่ตลาดในไต้หวันปิดทำการเนื่องจากพายุไต้ฝุ่น
ทั้งนี้แม้ว่าต่างชาติจะสลับมาขายสุทธิหุ้นไทยอีกครั้ง แต่ก็เป็นเพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นหากเทียบกับการขายในช่วงก่อนหน้า (ขายสุทธิเฉลี่ยกว่า 2.0 พันล้านบาทต่อวัน ในช่วงเดือน พ.ค. – มิ.ย. 57) ทำให้เชื่อว่าเป็นเพียงการชะลอการซื้อตามภูมิภาคเท่านั้นหลังจากที่นักลงทุนกลุ่มนี้ซื้อสุทธิหุ้นไทย 11 วันติดต่อกัน รวม 1.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในตลาดตราสารหนี้ของไทยยังถูกเข้าซื้ออย่างหนักจากนักลงทุนต่างชาติ ที่วานนี้ซื้อสุทธิอีกราว 1.7 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 19 รวม 1.6 แสนล้านบาท) ซึ่งยังคงหนุนให้เงินบาทอยู่ในระดับแข็งค่าต่อไป
กำไรภาคการผลิตยังไม่สดใส/ชะลอตัวจากงวด 1Q57
หลังจากนักวิเคราะห์ ASP ทยอยทำประมาณการกำไรงวด 2Q57 ของหุ้นที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ เริ่มเห็นภาพที่ไม่ค่อยสดใสนัก เริ่มจากหุ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง พบว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะ SCC (FV@B500) รายงานงวด 2Q57 กำไรต่ำกว่าคาด และน่าจะย่ำแย่ต่อเนื่องในงวด 3Q57 เนื่องจากผลของฤดูกาล ก่อนจะกลับฟื้นตัวในงวด 4Q57 จึงทำให้นักวิเคราะห์ ASP ได้ปรับลดประมาณการลงราว 14% และ 7.5% ในปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ ยกเว้น SCCC (FV@B450) แม้กำไรงวด 2Q57 หดตัวลง แต่ดีกว่าคาด แต่แนวโน้มผลกำไรจะชะลอตัวในงวด 2H57 ตามโครงการลงทุนภาคที่ล่าช้า แต่นักวิเคราะห์ ASP ปรับเพิ่มประมาณการปี 2557 ขึ้น 7% พร้อมกับปรับลดคำแนะนำเป็น ถือ เนื่องจากราคาเต็มมูลค่าแล้ว และ DCC ([email protected]) กำไรสุทธิ 320 ล้านบาท ลดลง 4%YoY ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับอุตสาหกรรม ขณะที่ยังสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า และคาดว่าผลกำไรน่าจะดีขึ้นในงวด 2H57 แต่ด้วยมีค่า PER 16.68 เท่า และราคาปัจจุบันมี upside จำกัด จึงแนะนำเพียงถือ เพื่อรับเงินปันผลที่สูงถึง 5.67%
และวานนี้ มีการรายงานงบเพิ่มเติม THREL ([email protected]) เป็นแห่งแรก พบว่ามีกำไรน้อยกว่าคาด 14% โดยลดลง 19.0% จากงวด 1Q57 แต่ยังคงประมาณการปี 2557-58 ที่คาดว่าจะเติบโต 11.2% yoy และ15.9% yoy ตามลำดับ โดยคาดว่าแนวโน้มธุรกิจยังมีแนวโน้มสดใสในระยะยาว อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปัจจุบันที่ปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วมากในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จนเข้าใกล้มูลค่าพื้นฐานแล้ว จึงแนะนำขายทำกำไรระยะสั้น
ขณะที่การทำประมาณการกำไรงวด 2Q57 ภาคการผลิตทยอยเพิ่มเติม ดังนี้คือ 1) กลุ่มปิโตรเคมี คาดว่าผลประกอบการยังชะลอตัวจากงวด 1Q57 นำโดย PTTGC (FV@B84) เพราะคาดค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกิดขึ้นสำหรับการด้อยค่าสินทรัพย์ฯของบริษัท Vencorex (PTTGC ถือหุ้น 51%) ราว 1.5 พันล้านบาท และภาวะตกต่ำของ ของผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ โดยลดลงถึง 50.0%qoq และ ต่ำกว่า
คาดการณ์ไว้เดิม ทำให้ต้องปรับลดประมาณการปี 2557 ลง 11.89% 2) กลุ่มพลังงาน นำโดย TOP (FV@B56) คาดกำไรสุทธิงวด 2Q57 ลดลง 15.5%qoq น้อยกว่าคาด เพราะได้รับผลบวกจากการบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันราว 1 เหรียญฯต่อบาร์เรล แต่แนวโน้มน่าจะอ่อนตัวมากที่สุดในงวด 3Q57 เนื่องจากการหยุดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ แต่หวังว่าจะฟื้นตัวในงวด 4Q57 จึงยังคงประมาณการเดิม และ IRPC([email protected]) เช้านี้นักวิเคราะห์ ASP ประเมินว่างวด 2Q57 กำไรสุทธิเพียง 260 ล้านบาท ลดลงจากงวด 1Q57 ลดลงกว่า 20% qoq โดยเกิดจากค่าการกลั่นที่ต่ำมากคือใกล้ศูนย์ ขณะที่ spread ปิโตรเคมียังต่ำต่อเนื่องจากงวด 1Q57 แต่อย่างไรก็ตาม คาดจะมีการบันทึกกำไรพิเศษ (stock gain) จึงยังคงประมาณการเดิมไปก่อน โดยจะรอฟัง Analyst meeting อีกครั้ง
ส่วนกลุ่มชิ้นส่วนอาจจะไม่ดีอย่างที่คาด คือ DELTA(FV70.4) คาดว่างวด 2Q57 กำไรสุทธิจะชะลอตัวลง 5% จากงวด 1Q57(qoq) เพราะได้รับผลกระทบจากการเลือกตั้งในประเทศอินเดีย และ ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าเล็กน้อยราว 0.6% qoq ส่วนแนวโน้มในงวด 2H57 น่าจะดีขึ้นตามผลของฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะถูกกดดันจากเงินบาทที่แข็งค่า ราว 1% ในช่วง ก.ค. ขณะที่ราคาตลาดมี upside จำกัด จึงแนะนำให้ขายทำกำไรระยะสั้น ๆ
และสุดท้ายคือ กลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่เน้นงานในต่างประเทศ คือ BJCHI ([email protected]) มีอนาคตสดใส หลังการเซ็นสัญญารับงานโครงการใหญ่คือ Petrobras ช่วง ก.พ. 57 และเพิ่มเติมโครงการ Petrobras และ Laing O’Rourke เมื่อ พ.ค. 57 จะทำให้การรับรู้รายได้ช่วง 2Q57 เพิ่มขึ้นมาที่ 950 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11%QoQ ขณะที่ยังรักษา gross margin 25% ใกล้เคียงกับงวด 1Q57 โดยรวมจึงคาดว่ามีกำไร 198 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18%QoQ และคาดจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญงวด 3Q57 เป็นต้นไป ทำให้นักวิเคราะห์ ASP ปรับเพิ่มคำแนะนำจากถือเป็นซื้อ แต่อย่างไรก็ตามวานนี้ราคาหุ้นได้ขยับตัวขึ้นแรง ทำให้ราคาตลาดมี upside จากมูลค่าเหมาะสมที่ 39.50 บาท ราว 7% จึงแนะนำซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว โดยยังไม่รวม Dividend Yield อีก 5.9%
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
พบชัย ภัทราวิชญ์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล