WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Asiawealthบล.เอเชีย เวลท์ : Daily Market Outlook

 

ตัวเลขเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันร่วงฉุด
 คาดหุ้นไทยปรับตัวลงวันนี้ โดยที่ความต้องการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงถูกถ่วงโดยตลาดหุ้นโลกที่ส่วนใหญ่ปรับตัวลงในวันก่อนและราคาน้ำมันที่กลับมาร่วงต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ นอกจากตัวเลข PMI ภาคอุตสาหกรรมของจีน ที่กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 17 เดือนในเดือน ก.ค. ตัวเลขเศรษฐกิจส่วนใหญ่จากสหรัฐและญี่ปุ่นออกมาอ่อนแอทั้งหมด ปัจจัยภายในประเทศ ในขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ร่วงลงในครึ่งแรกของปี สะท้อนปัญหาในระดับโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทยที่ยังคงพึ่งพาสินค้าที่มีเทคโนโลยีขั้นต่ำเป็นส่วนใหญ่อยู่

หุ้นเด่นวันนี้ : SCB (Bt160.00; ซื้อ, ราคาเป้าหมายปี 59 ของ AWS 179.00 บาท)
  บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์น่าจะมีความกดดันน้อยลงในการตั้งสำรองในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เนื่องจากธนาคารได้ตั้งสำรองพิเศษไปแล้วในช่วงครึ่งแรกของปี ทำให้อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) กลับมาอยู่ในระดับเป้าหมายของธนาคารที่ 130.0% การตั้งสำรองที่ลดลงนี้น่าจะช่วยผลักดันกำไรของธนาคารให้เติบโตได้มากขึ้น ถึงแม้ว่าอัตราสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (NPL ratio) ในไตรมาส 2/59 จะแย่ลงอยู่ที่ 2.77% จาก 2.64% ในไตรมาส 1/59 แต่อัตราดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่อื่นๆ (BBL KBANK และ KTB) ซึ่งบ่งบอกว่าคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารยังอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ นอกจากนี้ SCB ได้ประกาศแผนปฏิรูปธนาคารเพื่อเสริมสร้างรากฐานให้แข็งแกร่งในระยะยาว โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยี กระบวนการและพนักงาน แผนดังกล่าวถูกออกแบบเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธนาคารท่ามกลางกระแสของดิจิตอลแบงกิ้งที่กำลังเติบโตรวมถึงโครงการ e-Payment ที่กำลังจะมาถึง แม้ว่าโครงการดังกล่าวอาจเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับธนาคารมากขึ้น แต่ SCB คาดว่าอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ต่อปี (Cost-to-income ratio) จะยังคงอยู่ในระดับเดิมที่ 38-40% เราคาดสินเชื่อของ SCB จะเติบโตที่ 5.0% และคาดการณ์กำไรจะเติบโตที่ 7.9% ในปี 59 และ 6.0% ในปี 60 หุ้นดังกล่าวให้อัตราเงินปันผลตอบแทนที่ 3.8% Price Pattern ของ SCB ยังคงมีความแข็งแกร่งอย่างมากในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) จากการเกิดทั้ง Daily, Weekly, & Monthly Buy Signal โดยเมื่อพิจารณา Price Pattern ของ SCB มีเป้าหมายสำคัญของการ Rebound รอบนี้อยู่ที่ 165 บาท ทั้งนี้ SCB มีจุด Stop Loss ระยะสั้นรอบนี้อยู่ที่ 149 บาท (Resistance: 161.50, 163.50, 165.50; Support: 158.00, 156.00, 154.00)

ปัจจัยสำคัญ
ประเด็นในประเทศ :
      ดัชนีราคาผู้บริโภคปรับขึ้นสี่เดือนติด ก.พาณิชย์ระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค ก.ค. อิงจากสินค้าและบริการ 450 รายการ เพิ่มขึ้น 0.1% เทียบปีก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นเดือนที่สี่ติดต่อกัน เงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.76% ดัชนีราคาผู้บริโภคในเจ็ดเดือนแรกหดตัว 0.07% เทียบปีก่อนและเงินเฟ้อพื้นฐานเท่ากับ 0.73% ก.พาณิชย์คาดว่าตัวเลขจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ ยังคงเป้าหมายเงินเฟ้อปี 59 ที่กรอบ 0-1% อิงการคาดการณ์ของเศรษฐกิจที่ 2.8-3.8% (Bangkok Post) ความเห็น: จากสัญญาณการฟื้นตัวอย่างก้าวหน้า เราเชื่อว่าเป้าหมายจะบรรลุได้
      FDI ร่วงลงต่ำสุดรอบกว่าทศวรรษ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในครึ่งแรกของปีนี้ร่วงกว่า 90% เทียบปีก่อนเหลือ 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่ำสุดนับแต่ 2548 เป็นเพราะโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทยซึ่งผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีต่ำขณะที่ค่าจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจโลกไม่ค่อยดีและนโยบายในประเทศไม่แน่นอน (Bangkok Post) ความเห็น: ตัวเลขน่าจะดีขึ้นในครึ่งหลังปีนี้ จากการที่คาดว่าเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศดีขึ้นเรื่อยๆ

      กฟน. เร่งโครงการนำสายไฟลงดิน การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กล่าวว่าหน่วยงานรัฐกำลังเดินหน้าโครงการนำสายไฟลงดิน 127 กม. ที่ริเริ่มไปตอนต้นปี ด้วยงบลงทุน 4.87 หมื่น ลบ. คาดว่าจะฝังลงดินภายในปี 63 เร็วกว่าที่เคยคาดไว้ที่ปี 68 นอกจากนี้ กฟน.ยังวางแผนเฟสสองครอบคลุมถนนต่างๆ เป็นระยะทางรวม 134.3 กม. คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 60 (Bangkok Post) ความเห็น: ผู้ได้ประโยชน์โดยตรงคือ CTW ซึ่งจัดจำหน่ายสายเคเบิลและสายไฟ และ ARROW ผู้ผลิตสายไฟ
กำหนดเส้นตายสองสัปดาห์ในข้อสรุปการพัฒนาพื้นที่โครงการรถไฟ รองนายกฯ สมคิดกำหนดเส้นตายสองอาทิตย์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาข้อสรุปในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในพื้นที่บริเวณรอบโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 โครงการ ได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ-ระยอง (Bangkok Post)

ต่างประเทศ

      อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวขึ้นเมื่อวันจันทร์ จากที่แตะระดับต่ำสุดในรอบหลายสัปดาห์เมื่อวันศุกร์เนื่องจาก บ.ไมโครซอฟท์ออกหุ้นกู้ครั้งที่ 5 ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และดึงความสนใจจากการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีความเสี่ยงต่ำ ราคาพันธบัตรสหรัฐอายุ 10 ปีล่าสุดปรับตัวลง 14/32 อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 1.5077% ต่ำสุดหลังจากแตะระดับต่ำสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ระดับ 1.450% เมื่อวันศุกร์ (Reuters)
ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อวันจันทร์ หลังจากที่สัปดาห์ก่อนมีผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ที่สุดในรอบ 3 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการแข็งค่าขึ้นเทียบกับเงินเยนซึ่งอ่อนค่าลงหลังจากที่แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อวันศุกร์หลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ไม่แรงอย่างที่คาดไว้ ดัชนีค่าเงินดอลลาร์ปิดบวก 0.2% อยู่ที่ 95.755 จุด ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 0.3% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 102.325 เยน ฟื้นตัวจากที่แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ (Reuters)

สหรัฐ :

ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐปิดทั้งบวกและลบเมื่อวันจันทร์ โดยดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P500 ปรับตัวลงจากหุ้นกลุ่มพลังงานหลังจากราคาน้ำมันดิบร่วงลงต่ำกว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐ ก่อนจะปิดที่ระดับ 40.06 ดอลลาร์สหรัฐ โดยหุ้น Exxon และ Chevron เป็นตัวฉุดตลาดมากที่สุด อย่างไรก็ตาม หุ้น Apple และ Alphabet ดึงดัชนี NASDAQ ให้ปิดเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 1 ปี (Reuters)
ภาคการผลิตสหรัฐในเดือนก.ค. ขยายตัวในอัตราชะลอตัวกว่าในเดือนก่อน ดัชนีภาคการผลิตของ ISM ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.6 ในเดือนก.ค. จากระดับ 53.2 ในเดือนมิ.ย. ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 53.0 ทั้งนี้ ดัชนีที่เคลื่อนไหวเหนือระดับ 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัวในภาคการผลิตและต่ำกว่าระดับ 50 หมายถึงการหดตัวในภาคการผลิต (Reuters)
กำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/59 ในตอนนี้คาดว่าจะลดลง 3% จากข้อมูลของทอมสัน รอยเตอร์ส ซึ่งดีขึ้นกว่าการคาดการณ์เมื่อวันศุกร์ที่แล้วที่คาดว่าจะลดลง 3.7% และดีกว่าที่คาดว่าจะลดลง 4.5% เมื่อวันที่ 1 ก.ค. (Reuters)
โอกาสที่ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสิ้นปีนี้ลดลงอยู่ที่ 35% จาก CME Group’s Fedwatch ซึ่งน้อยกว่าสัปดาห์ก่อนที่คาดว่ามีโอกาสถึง 50% (Reuters)

ยุโรป :

ตลาดหุ้นยุโรปเมื่อวันศุกร์ปรับตัวลดลง นำโดยหุ้นกลุ่มพลังงานซึ่งเป็นไปตามการปรับตัวลงแรงของราคาน้ำมันดิบโลก ขณะที่หุ้นธ.พ. ได้แก่ UniCredit และ Raiffeisen ปรับตัวลดลงจากผลลัพธ์จากการทำ Stress test ที่ออกมาในเชิงลบ (Reuters)

เอเชีย :

อัตราดอกเบี้ยติดลบของญี่ปุ่นกระทบธนาคารขนาดใหญ่: มิตซูบิชิยูเอฟเจไฟแนนเชียลกรุ๊ป (MUFG) ผู้ให้กู้รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นกล่าวว่า ช่วง มี.ค.- มิ.ย. กำไรรายไตรมาสลดลงเกือบหนึ่งในสาม ขณะที่อัตราดอกเบี้ยติดลบของ BOJ ไปลดผลตอบแทนจากเงินให้สินเชื่อ โดยไม่เห็นทางที่จะปล่อยเงินกู้ใหม่เพื่อสร้างเติบโตของสินเชื่อ (Reuters)


กิจกรรมการผลิตของญี่ปุ่นหดตัวลงในเดือน ก.ค..ในอัตราที่ช้าลงกว่าเดือนก่อน: การส่งออกหดตัวเร็วที่สุดในรอบกว่า 3.5 ปีที่ผ่านมา บ่งชี้ว่ากำไรที่แข็งค่าขึ้นทำร้ายผู้ส่งออก ดัชนี ไอเอชเอ Markit /นิกเกอิ ของญี่ปุ่น บอกถึงการผลิต PMI เพิ่มขึ้นเป็น 49.9 ในเดือน ก.ค. เมื่อเทียบกับ 49.0 ในเบื้องต้น และเทียบกับ 48.1 ในเดือน มิ.ย. แต่ดัชนียังคงต่ำกว่าเกณฑ์ 50 เป็นเดือน ที่ 5 (Reuters)
นายกรัฐมนตรี Shinzo Abe มีแนวโน้มที่จะอนุมัติเงิน 28 ล้านล้านเยน (273 พันล้านดอลลาร์) เพื่อออกแพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจในวันนี้ แม้ว่าการใช้จ่ายการคลังโดยตรงจะเป็นเพียงประมาณ 7 ล้านล้านเยน (Reuters)


หุ้นจีนลดลงไปอยู่ใกล้ระดับต่ำสุดในหนึ่งเดือน ในวันจันทร์ สะท้อนความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้รับผลกระทบจากการปราบปรามของหน่วยงานกำกับดูแลในการเก็งกำไร เช่นเดียวกับ หุ้นไอพีโอของจีน ที่ถูกจ้องจับผิด และมีกฎมากกว่ากองทุนป้องกันความเสี่ยง เพื่อจำกัดธุรกรรมของธนาคารเงา และมีการจัดทำร่างกฎที่มุ่งเป้าไปที่เหนี่ยวรั้งกระแสเงินสดจากธนาคาร ที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นผ่านผลิตภัณฑ์บริหารความมั่งคั่ง (Reuters)
กิจกรรมภาคการผลิตจีนขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนในเดือนก.ค. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน ซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกับไฉซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับ 50.6 ในเดือนก.ค. จากเดือนมิ.ย.ที่ระดับ 48.6 และดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 48.7 ทั้งนี้ดัชนีอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งบอกภาวะการขยายตัว เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 58 (Reuters)


สินค้าโภคภัณฑ์ :

ราคาน้ำมันหลุด 40 ดอลลาร์สหรัฐวันจันทร์ เป็นครั้งแรกนับแต่เดือน เม.ย. เพราะน้ำมันลดลงเกือบ 4% จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเรื่องน้ำมันล้นเกินแม้จะมีอุปสงค์สูงสุดสำหรับช่วงหน้าร้อน ราคาน้ำมันดิบสหรัฐล่วงหน้าได้ร่วงไปถึง 39.86 ดอลลาร์ ต่ำสุดนับแต่ 20 เม.ย. ก่อนจะปิดลบ 1.54 ดอลลาร์สหรัฐ (-3.7%) ที่ 40.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล Brent ล่วงหน้าปรับลง 1.39 ดอลลาร์สหรัฐ (-3.2%) ปิดที่ 42.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (Reuters)
ราคาทองปรับตัวเล็กน้อยวันจันทร์ เพราะเงินดอลลาร์อ่อนลงจากการที่นักลงทุนลดการคาดการณ์ว่าสหรัฐจะขึ้นดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้จากที่เศรษฐกิจสหรัฐเติบโตช้ากว่าที่คาด ราคาทองคำตลาดจรบวก 0.2% ปิด 1,353.29 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ทองคำขึ้นไปแตะถึง 1,355 ดอลลาร์ในวันศุกร์ สูงสุดนับแต่ 12 ก.ค. ทองคำสหรัฐล่วงหน้าส่งมอบ ส.ค. บวก 0.2% ปิด 1,359.60 ดอลลาร์ต่อออนซ์ (Reuters)

Mr. Warut Siwasariyanon (No.17923) Tel: 02 680 5041
Mr. Krit Suwanpibul (No.17968) Tel: 02 680 5090
Mrs. Vajiralux Sanglerdsillapachai (No. 17385) Tel: 02 680 5077
Mr. Narudon Rusme, CFA (No.29737) Tel: 02 680 5056
Mr. Napat Siworapongpun, FRM (No.49234) Tel: 02 680 5094

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!